หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม

By dhamma.com

What's หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม about?

ธรรมะเพื่อการเจริญสติ รู้กาย รู้ใจ ตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลางโดยพระปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม A collection of the Lord Buddha's teachings conveyed by the venerable Luangpor Pramote Pamojjo, a master teacher of mindfulness for the modern world and Vipassana meditation.

Download our free app to listen on your phone

LAST EPISODE

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช 17 ม...

03.29.2023

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม episodes:

03.21.2023

กัลยาณมิตรและโยนิโสมนสิการ : หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช 6 มีนาคม 2566

พระพุทธเจ้าท่านเคยบอกว่า “กัลยาณมิตร เป็นเครื่องหมายแรกของอริยมรรค” เหมือนกับแสงเงินแสงทองตอนเช้ามืด ถ้าแสงเงินแสงทองขึ้นตรงไหน สว่างขึ้นด้านไหน เป็นเครื่องหมายแรกว่า พระอาทิตย์กำลังจะขึ้นตรงนั้น การมีกัลยาณมิตร ก็เป็นเครื่องหมายแรกของการบรรลุอริยมรรค ท่านสอนอย่างนี้ แล้วต่อมาท่านก็สอนอีก “โยนิโสมนสิการ เป็นเครื่องหมายแรกของอริยมรรค” เหมือนแสงเงินแสงทองขึ้นมา แล้วพระอาทิตย์จะขึ้นตรงนี้ ถ้าเรามีโยนิโสมนสิการ ถึงวันหนึ่งอริยมรรคก็จะเกิดขึ้น ฉะนั้นใน 2 สิ่งนี้มีความสำคัญมาก คือกัลยาณมิตรกับโยนิโสมนสิการ แต่ วันนี้พิสูจน์ยากว่าใครคือกัลยาณมิตร สิ่งที่หลวงพ่อแนะนำพวกเราคือโยนิโสมนสิการ ปลอดภัยที่สุด โยนิโสมนสิการบอกแล้วไม่ใช่การพิจารณา ใคร่ครวญเอาตามใจกิเลส ต้องดูว่ามันถูกหลักของการปฏิบัติหรือเปล่า หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วันสวนสันติธรรม 6 มีนาคม 2566

03.21.2023

สิ่งที่เรียกว่าทุกข์ก็คือขันธ์ 5 : หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช 4 มีนาคม 2566

พอมีจิตที่ตั้งมั่นมากพอแล้วก็เดินปัญญา เดินปัญญาขั้นแรกก็คือการแยกขันธ์ เห็นร่างกายมันนั่งอยู่ จิตเป็นคนรู้ เห็นสุขทุกข์เกิดขึ้น จิตเป็นคนรู้ เห็นดีชั่วเกิดขึ้น จิตเป็นคนรู้ หัดแยกไป พอแยกขันธ์ชำนาญแล้ว ต่อไปมันจะเห็น แต่ละขันธ์นั้น ตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์ เห็นซ้ำแล้วซ้ำอีก ถึงวันหนึ่งก็แจ่มแจ้ง ขันธ์ทั้งหมดเกิดแล้วดับทั้งสิ้น นี่คือภูมิธรรมของพระโสดาบัน และพระสกทาคามี ขันธ์ทั้งหลายในส่วนของรูปนี้เป็นตัวทุกข์ เอาเป็นที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้ มีแต่จิตเท่านั้น ยังเป็นที่พึ่งที่อาศัยได้ นี่เป็นภูมิธรรมของพระอนาคามี แล้วขั้นสุดท้าย ขันธ์ทั้งหมดนั่นล่ะคือตัวทุกข์ พอภาวนามาถึงจุดนี้ มันจะตรงกับที่พระพุทธเจ้าสอนแล้ว สิ่งที่เรียกว่าทุกข์ก็คือขันธ์ 5 นั่นล่ะคือตัวทุกข์ ฉะนั้นค่อยๆ เรียน ค่อยๆ ฝึกไปจนกระทั่งวางขันธ์ได้ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วันสวนสันติธรรม 4 มีนาคม 2566

03.19.2023

ความเพียรชอบ : หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช 26 กุมภาพันธ์ 2566

นั่งสมาธิมากๆ แล้วก็มีแต่โมหะครอบ ไม่เรียกว่าความเพียรชอบ เดินจงกรมหามรุ่งหามค่ำ แต่ไม่ได้พัฒนาสติ ไม่มีสติก็คือไม่มีกุศลล่ะ เดินหามรุ่งหามค่ำ มันก็คืออัตตกิลมถานุโยค การทำตัวเองให้ลำบาก มันไม่ใช่ทางสายกลาง การที่เราคอยสังเกตจิตใจตัวเอง จะทำให้สัมมาวายามะเจริญขึ้น อกุศลใดๆ ที่มันมีอยู่ พอเราสังเกตเห็น อกุศลนั้นจะดับ แล้วขณะที่เรามีสติอยู่ อกุศลใหม่จะเกิดไม่ได้ แล้วอย่างเรากำลังมีกิเลสอยู่ แล้วเราเกิดสติขึ้นมา ตรงที่มีสติ อกุศลดับ กุศลได้เกิดขึ้นแล้ว เพราะสติมันเป็นองค์ธรรมที่เกิดร่วมกับจิตที่เป็นกุศลทุกๆ ดวง เพราะฉะนั้นทันทีที่เราเกิดสติ กุศลได้เกิดขึ้นแล้ว อกุศลได้ดับลงไปแล้ว แล้วถ้าสติเราเกิดบ่อยๆ กุศลเราก็เจริญขึ้น พัฒนางอกงามขึ้นเป็นศีล เป็นสมาธิ เป็นปัญญา แก่รอบขึ้นมา สุดท้ายก็เข้าสู่โลกุตตระ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วันสวนสันติธรรม 26 กุมภาพันธ์ ...

03.13.2023

ปัญญาทำหน้าที่ล้างความเห็นผิด :: หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช 31 ธันวาคม 2565

เรามีศีลเพื่อสู้กับราคะ โทสะ โมหะ อย่างหยาบ ไม่ให้มันมาควบคุมจิตใจ จนกระทั่งเราทำความชั่วทางกาย ทางวาจา แล้วเรามาฝึกจิตให้มีสมาธิตั้งมั่นขึ้นมา เพื่อข่มกิเลสอย่างกลางคือนิวรณ์ นิวรณ์เป็นกิเลสที่ขัดขวางคุณงามความดี เวลาจะทำความดี นิวรณ์เกิดขึ้นมันก็ไม่มีแรงทำแล้ว ส่วนกิเลสละเอียด คือความไม่รู้ทั้งหลาย อาศัยปัญญา ไม่มีตัวอื่นจะมาช่วยได้ ศีลก็ไม่ได้ทำให้หายโง่ สมาธิก็ไม่ได้ทำให้หายโง่ เพียงแต่ศีลนั้นเกื้อกูลให้เกิดสมาธิ สมาธิเกื้อกูลให้เกิดปัญญา แล้วปัญญาเป็นตัวทำให้หายโง่ ฉะนั้นพวกเราต้องฝึก พยายามฝึกตัวเองให้มันได้ครบทุกอย่าง ศีลต้องรักษา ทุกวันต้องทำในรูปแบบ ทำกรรมฐานสักอย่างหนึ่งที่เราคุ้นเคย แล้วคอยรู้ทันจิตตัวเอง เราโน้มน้อมไปดูกายแล้วก็เห็นไตรลักษณ์ เรียกโน้มน้อมจิตไปเพื่อญาณทัศนะ เห็นจิตใจมันทำงาน จิตเราเป็นคนดู ก็เห็นจิตมันทำงานได้ ตั้งมั่นอยู่ หายใจพุทโธๆๆ เดี๋ยวหนีไปคิดได้ เห็นมันทำงาน อย่างนี้ก็เป็นญาณทัศนะ ได้เห็นอย่างมีปัญญา ค่อยๆ ดูไปเรื่อยๆ ...

03.12.2023

ทำสมาธิด้วยความมีสติ : หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช 19 กุมภาพันธ์ 2566

วิปัสสนาคือการเห็น ปัสสนะ แปลว่าการเห็น ตรงตัวเลย วิ แปลว่าแจ้ง คือเห็นถูกต้องตามความเป็นจริง เราเห็นกายถูกต้องตามความเป็นจริง คือเห็นกายเป็นไตรลักษณ์ เห็นจิตถูกต้องตามความเป็นจริง ก็คือเห็นจิตเป็นไตรลักษณ์ เราจะเห็นตามความเป็นจริงได้ จิตต้องไม่หลงไปอยู่ในโลกของความคิด มิฉะนั้นผิดทันที จิตต้องตื่น ตื่นขึ้นมาให้ได้ เพราะฉะนั้นเรื่องภาวะที่จิตเราตื่นขึ้นมา มีสมาธิที่ถูกต้องขึ้นมา เป็นเรื่องใหญ่ ตรงนี้เป็นสิ่งที่พวกเราขาดมากที่สุดเลย ฆราวาสทั้งหลายขาดสัมมาสมาธิ ขาดสมาธิที่ถูกต้อง มีสมาธิเคลิ้มๆ สมาธิเห็นโน่นเห็นนี่ อันนั้นไม่ได้เรื่องอะไร ไปทำสมาธิแล้วก็มีสติคอยรู้ทันจิตเอาไว้ แล้วเราจะได้สมาธิที่ถูกต้อง สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาๆ ทั้ง 8 ประกอบด้วยสติทั้งสิ้น ขาดสติตัวเดียว สัมมาทั้งหลายหายหมด กลายเป็นมิจฉาหมดเลย ฉะนั้นสติจำเป็น จำเป็นในที่ทุกสถาน ในกาลทุกเมื่อ หลวงพ่อปราโมทย์ ...

03.09.2023

อยากเป็นพระโสดาบัน : หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช 18 กุมภาพันธ์ 2566

อยากเป็นพระโสดาบัน ขั้นแรกเลยจิตต้องตั้งมั่นขึ้นมาก่อน พอจิตตั้งมั่นแล้ว สติระลึกรู้กาย มันจะเห็นกายนี้ถูกรู้ ไม่ใช่เรา จิตตั้งมั่นแล้วสติระลึกรู้เวทนา มันก็เห็นเวทนาถูกรู้ ไม่ใช่เรา จิตตั้งมั่น สติระลึกรู้สังขารทั้งหลาย ความดีชั่วทั้งหลายที่ปรุงขึ้นมา ก็จะเห็นสังขารทั้งหลายไม่ใช่เรา จิตตั้งมั่นแล้วก็ดับ เกิดจิตไม่ตั้งมั่น หลงไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ บางทีมีจิตตั้งมั่น แล้วก็หลงไปเกิดราคะ มีความสุข บางทีจิตตั้งมั่นแล้วก็ดับ หลงไป เกิดโทสะ มีความทุกข์ในใจ บางทีจิตตั้งมั่นอยู่ จิตก็มีความสุขอยู่ทั้งๆ ที่ตั้งมั่น บางทีจิตตั้งมั่นอยู่ แล้วก็เป็นอุเบกขาอยู่ก็มี จิตมันมีหลายชนิด แล้วเราจะเห็น มันทำงานเอง มันถูกรู้ จิตเองก็ถูกรู้ จิตก็ไม่ใช่เราอีก ถ้าเราสามารถเห็นได้ ...

03.08.2023

จับหลักให้แม่น : หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช 12 กุมภาพันธ์ 2566

ถ้าหลักเราแม่น การภาวนามันจะไม่ยากหรอก อย่างบางคนจะทำสมาธิ ทำอย่างไรก็ไม่สงบ มันไม่รู้หลัก ไม่รู้เคล็ดลับ ไปเลือกอารมณ์กรรมฐานที่ไม่เหมาะกับตัวเอง ไปรู้อารมณ์อันนั้นแล้วก็ไม่ได้มีความสุข จิตใจที่ไปรู้ก็ถูกดัดแปลงให้มีโมหะบ้าง ให้เคลิ้มๆ อะไรอย่างนี้ ถ้าเรารู้หลักของการปฏิบัติ การปฏิบัติไม่ว่าสมถะหรือวิปัสสนาจะไม่ใช่เรื่องยาก สมถะเราเลือกอารมณ์ที่เราอยู่ด้วยแล้วมีความสุข แล้วก็ต้องมีสติกำกับตลอด สงบก็ช่าง ไม่สงบก็ช่าง แต่ต้องมีสติไว้ แล้วก็ทำกรรมฐานไปเรื่อยๆ ไม่นานจิตจะสงบ แล้วก็มีเรี่ยวมีแรง แล้วก็ไม่ขาดสติ สะสมไปเรื่อยๆ ทุกครั้งที่สติที่แท้จริงเกิดขึ้นมา สัมมาสมาธิก็จะเกิดด้วย พอสะสมไปเรื่อยๆ พลังของสมาธิมันจะเพิ่ม จิตมันจะรู้ ตื่น เบิกบานขึ้นมา มีแรง มันจะรู้ด้วยตัวเองเลยว่าจิตมันตื่นแล้ว จิตมันมีแรงแล้ว ถึงจุดนั้นเราถึงจะเดินปัญญาได้ดี ก่อนหน้านั้นยังไม่ได้จริงหรอก ทำวิปัสสนาไม่ได้จริง ถ้าจิตไม่มีกำลัง ไม่ตั้งมั่น หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ...

03.06.2023

แม่บทใหญ่ของการปฏิบัติ : หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช 5 กุมภาพันธ์ 2566

แนวทางของอริยสัจเป็นแนวทางที่เป็นแม่บท ถ้าการปฏิบัติเราพลาดจากหลักอริยสัจ ผิดแน่นอน หลักของอริยสัจก็คือ “ทุกข์ก็ให้รู้ สมุทัยให้ละ นิโรธทำให้แจ้ง มรรคทำให้เจริญ” ถ้าหลุดออกจากหลักนี้ก็ผิด หน้าที่ต่อทุกข์คือการรู้ แล้วได้รู้แล้ว 3 ข้อ สมุทัยคือตัวเหตุของทุกข์ ได้แก่ตัณหา หน้าที่ต่อตัณหาคือละเสีย แล้วก็ได้ละแล้ว นิโรธ คือความดับสนิทแห่งทุกข์ หน้าที่ต่อนิโรธไม่ได้ทำนิโรธให้เกิดขึ้น แต่ว่าเข้าไปเห็นนิโรธ เขาเรียกสัจฉิกิริยา เข้าไปประจักษ์เข้าไปเห็นแจ่มแจ้ง ในความจริงของความพ้นทุกข์ คือไปเห็นพระนิพพานนั้นเอง ฉะนั้นหน้าที่ต่อนิโรธคือการเห็น ถ้าเราปฏิบัติแล้ว เราได้เห็นแล้ว หน้าที่ต่อมรรคมีองค์ 8 ประการ ย่อลงมาเป็นศีล สมาธิ ปัญญา หน้าที่ต่อมรรคก็คือการเจริญ ทำให้มาก ศีลต้องรักษา สมาธิต้องฝึก ฝึกจิตฝึกใจ เจริญปัญญาต้องทำ ...

02.26.2023

GPS เส้นทางการปฏิบัติ : หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช 4 กุมภาพันธ์ 2566

หลวงพ่อจะต่างกับครูบาอาจารย์ทั่วไป ส่วนใหญ่ท่านจะสอนให้เดินทีละก้าว เอ้า ไปพุทโธ พอสัก 3 ปีก็ค่อยมาว่ากันต่อ ซึ่งคนรุ่นนี้มันทำไม่ได้ ที่หลวงพ่อสอนมันเลยเป็นภาพทั้งกระดานเลย เหมือนเราดู GPS เราไม่ได้ดูเฉพาะหน้านี้ใช่ไหม เริ่มต้นเราก็ดูภาพรวมก่อน จากกรุงเทพฯ จะไปเชียงใหม่ มันจะไปทางทิศทางไหน มันจะเห็นภาพรวมก่อน แล้วค่อยลงรายละเอียด ฉะนั้นเวลาที่หลวงพ่อสอน หลวงพ่อจะสอนในระบบ GPS เห็นภาพกว้างๆ ก่อน แล้วก็มาลงรายละเอียดเป็นช็อตๆ ไป ถ้าบอกพวกเราบอกว่า “เดินไปทางนี้ เลี้ยวซ้ายไป เดินไปข้างหน้า 300 เมตรแล้วเลี้ยวซ้าย” มันก็จะสงสัย จะให้เราเลี้ยวไปไหน สันดานของคนรุ่นนี้ ไม่ยอมเชื่ออะไรง่ายๆ หรอก จะฟุ้งซ่านง่าย ฉะนั้นถึงต้องบอกทั้งระบบ พอเข้าใจทั้งกระดานแล้ว ทั้งระบบ ...

02.20.2023

เราสามารถปฏิบัติธรรมได้ตลอดเวลา : หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช 29 มกราคม 2566

เราสามารถสร้างความดีขึ้นในจิตใจเราได้ในทุกๆ สถานการณ์ ฉะนั้นที่บอกว่าเราไม่มีเวลาจะสร้างความดี ไม่มีเวลาปฏิบัติ เพราะยังไม่เข้าใจคำว่าปฏิบัติ ไปคิดว่าการปฏิบัติคือการนั่งสมาธิ เดินจงกรม หลวงพ่อบอกเลย หลวงพ่อภาวนามา นั่งสมาธิ เดินจงกรมพอประมาณเท่านั้น ทำทุกวันล่ะแต่ว่าไม่ได้ทำเยอะ ทำพอให้จิตใจมีเครื่องอยู่ มีที่อยู่ที่อาศัย มีกำลังขึ้นมา แล้วก็เจริญปัญญา ตรงที่เราทำงานอยู่นั้น เราสามารถปฏิบัติธรรมได้ อย่างเวลาจะจัดประชุม เราต้องเตรียมข้อมูล เตรียมอะไรมากมาย หัวหมุนติ้วๆ เลย เราก็ดูใจไป ใจมันเบื่อ ใจมันร้อนรน กลัวจะทำไม่ทันอย่างนี้ ดูลงไปเลย เราได้ปฏิบัติอยู่แล้ว พองานเราเสร็จ เราก็รอเวลาประชุม เมมเบอร์มาไม่ครบเสียที ยืดเยื้อ เย็นนี้เราก็จะต้องมีธุระไปโน่นไปนี่ การประชุมก็ล่าช้า เลท เพราะว่าบางคนมันไม่มาง่ายๆ เถลไถล ไม่เคารพเวลาของคนอื่นอะไรอย่างนี้ ใจเรากลุ้มใจ ...

02.13.2023

ฝึกให้จิตมีแรงแล้วเดินปัญญา : หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช 28 มกราคม 2566

ธรรมดาจิตเราวิ่งพล่านๆ ทั้งวัน เดี๋ยววิ่งไปคิด เดี๋ยววิ่งไปดู วิ่งไปฟัง วิ่งไปดมกลิ่น วิ่งไปลิ้มรส วิ่งไปรู้สัมผัสทางร่างกาย จิตมันวิ่งตลอดเวลา มันก็เหนื่อย หมดเรี่ยวหมดแรง คล้ายๆ ร่างกาย วิ่งๆ ไปเรื่อยๆ ก็หมดแรง ก็ต้องพัก จิตก็ต้องพักเหมือนกัน เพราะฉะนั้นเราจะต้องหัดกรรมฐานที่เรียกว่าสมถกรรมฐาน พอพักพอสมควรมีเรี่ยวมีแรงแล้ว ก็ต้องออกไปทำมาหากิน ถ้าร่างกายพักพอสมควรมีแรงแล้ว ออกไปทำมาหากิน หาผลประโยชน์ จิตใจนี้ก็เหมือนกัน เราพักพอสมควรแล้ว ออกไปทำประโยชน์ ออกไปเจริญปัญญา นั่นล่ะหาของดีมาให้จิตใจ ปัญญามันเป็นอาหารชั้นเลิศของใจ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม 28 มกราคม 2566

02.12.2023

ถ้าจิตตั้งมั่นจะเห็นไตรลักษณ์ : หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช 22 มกราคม 2566

ต้องมาฝึกจิตให้มันตั้งมั่นจริงๆ ทำกรรมฐานสักอย่างหนึ่ง จิตเคลื่อนไปไหนก็รู้ จิตหลงไปคิดก็รู้ จิตถลำลงไปเพ่งก็รู้ รู้อย่างนี้เยอะๆ จิตมันจะค่อยตั้งมั่นเด่นดวงขึ้นมา คราวนี้ไม่ได้เจตนาเลย แล้วพอจิตมันตั้งมั่น สติระลึกรู้กาย เห็นเลยกายไม่ใช่เรา ระลึกรู้เวทนา เวทนาไม่ใช่เรา ระลึกรู้สังขาร สังขารไม่ใช่เรา สุดท้ายก็ระลึกรู้จิต จิตก็ไม่ใช่เรา หรือถ้าชำนาญจริง สมาธิพอ ดูโลกข้างนอก จักรวาลข้างนอก คนอื่นๆ ตัวเรา ร่างกาย จิตใจนี้ มันอันเดียวกัน มันก็คือวัตถุ มันคือก้อนธาตุอันเดียวกันนั่นล่ะ เหมือนกันหมด เสมอกันหมด มีความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เสมอกันหมด หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม 22 มกราคม 2566

02.06.2023

อุบายฝึกจิตให้สงบ : หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช 14 มกราคม 2566

สมถกรรมฐานเป็นอุบายฝึกจิตให้สงบ จิตจะสงบได้ต้องน้อมจิต ไปอยู่ในอารมณ์อันเดียวที่มีความสุขอย่างต่อเนื่อง คีย์เวิร์ดอยู่ตรงนี้ ธรรมะที่มากมายมหาศาล ในภาคของสมถะ หลวงพ่อรวบลงมาเหลือแค่นี้เอง “น้อมจิตไปอยู่ในอารมณ์อันเดียว ที่มีความสุขอย่างต่อเนื่อง” มันเป็นการน้อมจิตไป อย่างถ้าเรามีความสุขกับการหายใจ ทำอานาปานสติแล้วมีความสุข เราก็หายใจให้จิตจดจ่ออยู่กับการหายใจ แป๊บเดียวก็สงบแล้ว หรือบางคนชำนาญในแสงสว่าง หลับตาลงก็กำหนดจิต มันก็สว่างขึ้นมาแล้ว มีความสุขอยู่กับแสงสว่าง ก็น้อมจิตไปอยู่กับแสงสว่างอย่างต่อเนื่อง แค่น้อมๆ ไป ไม่ได้บังคับ ถ้าบังคับไม่รอดหรอก อย่างเราจะหายใจจิตมันจะหนี เราบังคับมัน ต้องอยู่กับลมๆ อยู่ด้วยความไม่มีความสุข อยู่อย่างไม่มีความสุข ทำอย่างไรจิตก็ไม่สงบ เคล็ดลับมันอยู่ที่ว่า “ต้องมีความสุข” ใช้จิตใจธรรมดาๆ จิตใจสบายๆ ไปรู้อารมณ์ที่รู้แล้วสบาย แล้วก็รู้ไปแบบสบายๆ มี 3 สบาย ใช้จิตใจธรรมดา จิตใจสบายๆ ...

02.05.2023

ธรรมะช่วยเราได้สารพัด : หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช 1 มกราคม 2566

ธรรมะช่วยเราได้สารพัด แต่เราไม่เข้าใจคำว่าธรรมะ คิดว่าธรรมะคือการนั่งสมาธิ เดินจงกรม อันนั้นตื้นเกินไป การใช้ชีวิตอย่างมีเหตุมีผลก็เป็นธรรมะแล้ว เป็นธรรมะเพื่อการอยู่กับโลก พระพุทธเจ้าสอนธรรมะที่อยู่กับโลกเอาไว้เยอะแยะ จะดูแลครอบครัวอย่างไร ดูแลลูกน้องอย่างไร จะปฏิบัติต่อพ่อแม่อย่างไร ท่านสอนไว้เยอะแยะ เอาไปทำได้ก็ดี ถ้าง่ายที่สุดก็คือเรียนรู้ทันจิตใจตัวเอง ไม่ว่าจะคิดอะไร จะพูดอะไร จะทำอะไร อย่าให้กิเลสมันครอบงำ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม 1 มกราคม 2566

01.30.2023

ทาน ศีล ภาวนา : หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช 15 มกราคม 2566

พระพุทธเจ้าท่านสอนเรา ให้รู้จักทำทาน หมายถึงแบ่งปันส่วนที่เกิน ให้ส่วนที่เกินไปกับคนที่เขาจำเป็นกว่าเรา อย่างเรามีเสื้อผ้าเยอะ ช่วงนี้ฤดูหนาว คนที่เขาขาดแคลน เขาจำเป็นต้องใช้เสื้อผ้าอันนี้มากกว่าเรา พวกเราไม่จำเป็นเท่าไร มีมากอะไรอย่างนี้ ท่านสอนให้รู้จักให้ทานเพื่อลดละความเห็นแก่ตัว การฝึกจิตใจที่สูงขึ้นมาคือการรักษาศีล หลวงพ่อแนะนำ พวกเราควรจะถือศีล 5 ให้ได้ ศีล 5 จำเป็นสำหรับความเป็นมนุษย์ ถ้าเรามีความสามารถพิเศษ เราจะรู้เลย สัตว์ในอบายภูมิมากมาย ที่ไปสู่อบายภูมิเพราะไม่มีศีล มาถึงภาวนา ภาวนาเป็นงานของจิตทั้งสิ้นเลย เป็นงานพัฒนาจิตโดยตรง มี 2 งาน งานหนึ่งเป็นการพัฒนาจิตให้สงบและตั้งมั่น งานที่สองเป็นการฝึกจิตให้ฉลาดรอบรู้ เข้าใจความจริงของโลก ของชีวิต พระพุทธเจ้าท่านบอก “บุคคลถึงความบริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญา” เพราะฉะนั้นมันต้องผ่านงานที่สอง ถึงจะเข้าถึงความบริสุทธิ์หลุดพ้นได้ ถ้าลำพังมีแต่แค่งานที่หนึ่ง ทำสมาธิเพื่อความสุขความสงบ ยังไม่บรรลุมรรคผลหรอก ...

01.29.2023

ภาวนาไปตามลำดับ : หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช 8 มกราคม 2566

ค่อยๆ ภาวนา ทำไปตามลำดับ เราต้องทำมาตามขั้นตอนแล้วมันไม่ยาก ถ้าทำข้ามขั้นตอนมันยาก เรายังไม่ถึงขั้นจะข้ามภพข้ามชาติ ภาวนาค่อยๆ ดูเท่าที่เราดูได้ ดูสิ่งที่เราดูเห็น อะไรที่ยังไม่เห็นไม่ต้องคิดมาก เจริญสติ เจริญสมาธิ เจริญปัญญาไป เดี๋ยววันหนึ่งก็เห็นเอง วันนี้ไม่เห็นไม่เป็นไร เราฝึกวิปัสสนากรรมฐาน เรามารู้สึกกาย รู้สึกจิตของเรา เพื่อวันหนึ่งเราจะได้เห็น กายนี้คือทุกข์ จิตนี้คือทุกข์ ตอนนี้ยังไม่เห็น ตอนนี้เห็นว่ากายนี้คือทุกข์บ้างสุขบ้าง จิตนี้ทุกข์บ้างสุขบ้าง ยังเห็นอย่างนี้อยู่ ไม่เป็นไร ไม่ต้องตกใจ เห็นอย่างที่มันเป็นเท่าที่รู้สึกได้นั่นล่ะ แล้วมันจะค่อยๆ แก่กล้าขึ้น หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม 8 มกราคม 2566

01.27.2023

ทุกสิ่งเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา : หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช 7 มกราคม 2566

อะไรๆ ก็ต้องเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ไม่มีอะไรหยุดนิ่ง ไม่มีอะไรคงที่ สิ่งที่เรารู้จัก สิ่งที่เราเคยรู้ เคยเห็น เคยคุ้นเคย ก็กำลังเลื่อนเคลื่อนผ่านเราไปตลอดเวลา วันหนึ่งมันก็ผ่านไป ปรากฏการณ์ใหม่ๆ ก็เข้ามาแทนที่ คนรุ่นใหม่มันก็มาแทนที่คนรุ่นเก่า โลกมันหมุนเวียนไปเรื่อยๆ เราก็ทำความเข้าใจกับมัน อย่าไปคร่ำครวญถึงอดีตซึ่งมันเลยไปแล้ว มันผ่านไปแล้ว ไม่ต้องไปห่วงอนาคตมากเกินไป ทุกสิ่งทุกอย่างมันก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆ คอยรู้ คอยดู ถ้าใจเราเข้าใจความจริงตรงนี้ ใจจะค่อยๆ คลายออกจากโลก อย่างร่างกายเรามันก็เปลี่ยนแปลงทุกวัน จิตใจเราเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เฝ้ารู้เฝ้าดู โลกข้างนอกก็เหมือนกัน ก็เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เดี๋ยวก็ปีหนึ่งๆ หนึ่งปีผ่านไป โลกข้างนอกก็เปลี่ยนไป ร่างกายเราก็เปลี่ยนไป จิตใจเราก็เดี๋ยวสุข เดี๋ยวทุกข์ วุ่นวายไปเรื่อยๆ ถ้าคนไหนทำกรรมฐาน 1 ปีผ่านไป จิตใจเราก็สงบ ...