
Sign up to save your podcasts
Or
ไต้หวันไฮเทค - 20 ส.ค. 62- แพทย์ไต้หวันใช้ AI หาตำแหน่งเนื้องอกสมอง ใช้เวลาเพียง 30 วินาที
เนื้องอกสมองขนาดเล็กมักจะมีหลายตำแหน่ง อยู่ในบริเวณลึก ในการรักษามักจะใช้รังสีศัลยกรรม เป็นการลดความเสี่ยงจากการใช้มีดผ่าตัดได้ แต่แพทย์จะต้องใช้เวลานานในการหาตำแหน่งเนื้องอก
โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแพทย์ไต้หวัน(NTUH) แถลงข่าวในวันที่ 14 สิงหาคม ประสบความสำเร็จในการใช้ระบบ AI เพียง 30 วินาที หาตำแหน่งเนื้องอกได้ มีความแม่นยำเกินกว่า 90%
นพ. เซียวฝู่เหริน (蕭輔仁) แพทย์ศัลยกรรมประสาท ของ NTUH บอกว่า ปัจจุบันการแพทย์มีความก้าวหน้าผู้ป่วยมะเร็งมีโอกาสรอดชีวิตสูงขึ้น ทำให้มะเร็งเกิดการแพร่กระจายไปส่วนอื่นมากขึ้นด้วย เป็นสาเหตุของการเกิดเนื้องอกสมองที่แพร่จากที่อื่น นอกจากนี้ยังมีเนื้องอกเยื้อสมอง และเนื้องอกระบบประสาทการได้ยิน เนื้องอกทั้ง 3 ชนิดนี้ เป็นเนื้องอกขนาดเล็กที่พบบ่อย
นพ. เซียวบอกว่า เนื้องอกขนาดเล็กกว่า 3.5 ซ.ม. มักอยู่ในตำแหน่งลึก และมีหลายจุด หากผ่าตัดด้วยวิธีเปิดกะโหลกมีความเสี่ยงสูง ดังนั้น การรักษาด้วยรังสีศัลยกรรม หรือเรียกว่ามีดคอมพิวเตอร์ เป็นการรักษาโดยการฉายรังสีซึ่งมีความแม่นยำสูง เป็นการผ่าตัดแบบบอบช้ำน้อย ปัจจุบัน NTUH ใช้วิธีนี้รักษาผู้ป่วยเกินกว่า 3,150 รายแล้ว
นพ. สวี่โฟงหมิง (許峰銘) แพทย์แผนกเนื้องอก ของ NTUH บอกว่า ก่อนการผ่าตัดจะต้องมีการตรวจด้วยคลื่นสนามแม่เหล็กความเข้มข้นสูง (MRI) และการเอ็กซเรย์ด้วยคอมพิวเตอร์ CT Scan เพื่อหาตำแหน่งเนื้องอกและทำการวงกลมกำหนดขอบเขต จากนั้นจึงใช้เครื่องใช้รังสีศัลยกรรมตามขอบเขตที่กำหนดไว้
นพ. สวี่ บอกว่าการกำหนดตำแหน่งเนื้องอก แพทย์จะต้องมองภาพ ต้องอาศัยประสบการณ์และความชำนาญ จะต้องสังเกตุอย่างละเอียด แต่เนื้องอกมีหลายจุดและมีขนาดเล็ก จึงมีโอกาสหลุดรอดสายตาได้
การพัฒนาระบบ AI ซึ่งประสานกับข้อมูลคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาล ฝึกฝน AI เรียนรู้ภาพทางการแพทย์ ทำการกำหนดวงล้อมรอบตำแหน่งได้ผลเหมือนกับทีมแพทย์ประชุมเพื่อกำหนดตำแหน่งร่วมกัน ระบบดังกล่าวมีการให้คะแนนจุดเนื้องอก หากคะแนนยิ่งสูง โอกาสเป็นเนื้อร้ายสูงตามไปด้วย
ไต้หวันไฮเทค - 20 ส.ค. 62- แพทย์ไต้หวันใช้ AI หาตำแหน่งเนื้องอกสมอง ใช้เวลาเพียง 30 วินาที
เนื้องอกสมองขนาดเล็กมักจะมีหลายตำแหน่ง อยู่ในบริเวณลึก ในการรักษามักจะใช้รังสีศัลยกรรม เป็นการลดความเสี่ยงจากการใช้มีดผ่าตัดได้ แต่แพทย์จะต้องใช้เวลานานในการหาตำแหน่งเนื้องอก
โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแพทย์ไต้หวัน(NTUH) แถลงข่าวในวันที่ 14 สิงหาคม ประสบความสำเร็จในการใช้ระบบ AI เพียง 30 วินาที หาตำแหน่งเนื้องอกได้ มีความแม่นยำเกินกว่า 90%
นพ. เซียวฝู่เหริน (蕭輔仁) แพทย์ศัลยกรรมประสาท ของ NTUH บอกว่า ปัจจุบันการแพทย์มีความก้าวหน้าผู้ป่วยมะเร็งมีโอกาสรอดชีวิตสูงขึ้น ทำให้มะเร็งเกิดการแพร่กระจายไปส่วนอื่นมากขึ้นด้วย เป็นสาเหตุของการเกิดเนื้องอกสมองที่แพร่จากที่อื่น นอกจากนี้ยังมีเนื้องอกเยื้อสมอง และเนื้องอกระบบประสาทการได้ยิน เนื้องอกทั้ง 3 ชนิดนี้ เป็นเนื้องอกขนาดเล็กที่พบบ่อย
นพ. เซียวบอกว่า เนื้องอกขนาดเล็กกว่า 3.5 ซ.ม. มักอยู่ในตำแหน่งลึก และมีหลายจุด หากผ่าตัดด้วยวิธีเปิดกะโหลกมีความเสี่ยงสูง ดังนั้น การรักษาด้วยรังสีศัลยกรรม หรือเรียกว่ามีดคอมพิวเตอร์ เป็นการรักษาโดยการฉายรังสีซึ่งมีความแม่นยำสูง เป็นการผ่าตัดแบบบอบช้ำน้อย ปัจจุบัน NTUH ใช้วิธีนี้รักษาผู้ป่วยเกินกว่า 3,150 รายแล้ว
นพ. สวี่โฟงหมิง (許峰銘) แพทย์แผนกเนื้องอก ของ NTUH บอกว่า ก่อนการผ่าตัดจะต้องมีการตรวจด้วยคลื่นสนามแม่เหล็กความเข้มข้นสูง (MRI) และการเอ็กซเรย์ด้วยคอมพิวเตอร์ CT Scan เพื่อหาตำแหน่งเนื้องอกและทำการวงกลมกำหนดขอบเขต จากนั้นจึงใช้เครื่องใช้รังสีศัลยกรรมตามขอบเขตที่กำหนดไว้
นพ. สวี่ บอกว่าการกำหนดตำแหน่งเนื้องอก แพทย์จะต้องมองภาพ ต้องอาศัยประสบการณ์และความชำนาญ จะต้องสังเกตุอย่างละเอียด แต่เนื้องอกมีหลายจุดและมีขนาดเล็ก จึงมีโอกาสหลุดรอดสายตาได้
การพัฒนาระบบ AI ซึ่งประสานกับข้อมูลคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาล ฝึกฝน AI เรียนรู้ภาพทางการแพทย์ ทำการกำหนดวงล้อมรอบตำแหน่งได้ผลเหมือนกับทีมแพทย์ประชุมเพื่อกำหนดตำแหน่งร่วมกัน ระบบดังกล่าวมีการให้คะแนนจุดเนื้องอก หากคะแนนยิ่งสูง โอกาสเป็นเนื้อร้ายสูงตามไปด้วย