
Sign up to save your podcasts
Or
ไต้หวันไฮเทค -05 พ.ย. 62- ไต้หวันใช้ AI ไขปริศนาสีของแมลงเกี่ยวพันกับระดับความสูง
ศูนย์วิจัยความหลากหลายชีวภาพสถาบันวิจัยแห่งชาติ (Academia Sinica) ไต้หวัน ทำการวิจัยผีเสื้อกลางคืน (moth) ผ่านมาเป็นเวลานาน ได้แถลงวันที่ 24 ต.ฅ. ว่า ตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 อัลเฟรด รัสเซล วอลเลซ ( Alfred Russel Wallace หรือ A. R. Wallace) นักวิชาการอังกฤษได้พบว่าสีของสิ่งมีชีวิตมีความหลากหลายสัมพันธ์กับระดับความสูงจากน้ำทะเล แต่การทดลองทางด้านนี้ยังมีข้อจำกัดเกี่ยวกับการเก็บตัวอย่างและภาพที่มีคุณภาพเพียงพอ จึงไม่สามารถหาข้อสรุปได้
อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ปี 2011 ถึง 2016 ศูนย์เพาะเลี้ยงวิจัยสิ่งมีชีวิตเฉพาะด้านคณะกรรมการการเกษตรไต้หวัน ได้ให้อาสาสมัครช่วยเหลือสะสมภาพผีเสื้อกลางคืนของไต้หวันเกินกว่า 20,000 ชิ้น จัดทำเป็นแมลงสตาฟและภาพดิจิตอล ประกอบกับนายเสิ่นเซิ่งฟง (沈聖峰)รองนักวิจัยศูนย์วิจัยความหลากหลายชีวภาพ สถาบันวิจัยแห่งชาติได้ร่วมมือกับนายเฉินเซิงเหว่ย(陳昇瑋)นักวิจัยของสถาบันสารสนเทศ ใช้ AI ในการจำแนกผีเสื้อกลางคืนตามระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล
นายเฉินเซิงเหว่ยชี้ว่า ขอเพียงฝึก AI ให้จำภาพของผีเสื้อกลางคืนว่าอยู่ระดับความสูงเท่าไหร่ ภาพยิ่งชัดเจนจะยิ่งมี ประสิทธิภาพในการวิเคราะห์ การใช้ AI deep learning เมื่อมีข้อมูลมากจะทำให้ AI สามารถระบุระดับความสูงของภาพได้ทันที
ด้วยความพยายาม 1 ปีพวกเขาสรุปยืนยันว่าสีของผีเสื้อกลางคืนมีความเข้มและหลากหลายมากในความสูงระดับล่าง ระดับความสูงมากขึ้นสีจะจืดจางยิ่งขึ้น ซึ่งการสังเกตุโดยตาของมนุษย์ไม่สามารถจำแนกได้ ผลงานวิทยานิพนธ์นี้มีการตีพิมพ์ในวารสาร Nature Communications เมื่อ 7 ตุลาคม 2019
ไต้หวันไฮเทค -05 พ.ย. 62- ไต้หวันใช้ AI ไขปริศนาสีของแมลงเกี่ยวพันกับระดับความสูง
ศูนย์วิจัยความหลากหลายชีวภาพสถาบันวิจัยแห่งชาติ (Academia Sinica) ไต้หวัน ทำการวิจัยผีเสื้อกลางคืน (moth) ผ่านมาเป็นเวลานาน ได้แถลงวันที่ 24 ต.ฅ. ว่า ตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 อัลเฟรด รัสเซล วอลเลซ ( Alfred Russel Wallace หรือ A. R. Wallace) นักวิชาการอังกฤษได้พบว่าสีของสิ่งมีชีวิตมีความหลากหลายสัมพันธ์กับระดับความสูงจากน้ำทะเล แต่การทดลองทางด้านนี้ยังมีข้อจำกัดเกี่ยวกับการเก็บตัวอย่างและภาพที่มีคุณภาพเพียงพอ จึงไม่สามารถหาข้อสรุปได้
อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ปี 2011 ถึง 2016 ศูนย์เพาะเลี้ยงวิจัยสิ่งมีชีวิตเฉพาะด้านคณะกรรมการการเกษตรไต้หวัน ได้ให้อาสาสมัครช่วยเหลือสะสมภาพผีเสื้อกลางคืนของไต้หวันเกินกว่า 20,000 ชิ้น จัดทำเป็นแมลงสตาฟและภาพดิจิตอล ประกอบกับนายเสิ่นเซิ่งฟง (沈聖峰)รองนักวิจัยศูนย์วิจัยความหลากหลายชีวภาพ สถาบันวิจัยแห่งชาติได้ร่วมมือกับนายเฉินเซิงเหว่ย(陳昇瑋)นักวิจัยของสถาบันสารสนเทศ ใช้ AI ในการจำแนกผีเสื้อกลางคืนตามระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล
นายเฉินเซิงเหว่ยชี้ว่า ขอเพียงฝึก AI ให้จำภาพของผีเสื้อกลางคืนว่าอยู่ระดับความสูงเท่าไหร่ ภาพยิ่งชัดเจนจะยิ่งมี ประสิทธิภาพในการวิเคราะห์ การใช้ AI deep learning เมื่อมีข้อมูลมากจะทำให้ AI สามารถระบุระดับความสูงของภาพได้ทันที
ด้วยความพยายาม 1 ปีพวกเขาสรุปยืนยันว่าสีของผีเสื้อกลางคืนมีความเข้มและหลากหลายมากในความสูงระดับล่าง ระดับความสูงมากขึ้นสีจะจืดจางยิ่งขึ้น ซึ่งการสังเกตุโดยตาของมนุษย์ไม่สามารถจำแนกได้ ผลงานวิทยานิพนธ์นี้มีการตีพิมพ์ในวารสาร Nature Communications เมื่อ 7 ตุลาคม 2019