
Sign up to save your podcasts
Or
ไต้หวันไฮเทค -31 ธ.ค. 62- การวิจัยวงจรประสาทสมองแมลงวันผลไม้ จะช่วยรักษาโรคซึมเศร้าและโรคเบื่ออาหารได้
สถาบันวิจัยกลาง (Academia Sinica) แถลงวันที่ 20 ทีมวิจัยข้ามประเทศจัดตั้งโดยสถาบันวิจัยอณูชีววิทยา (Institute of Molecular Biology) ค้นพบสัญญานการทำงานวงจรประสาทในสมองของแมลงวัลผลไม้ มีความสัมพันธ์กับความกระหายและความหิว คาดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการรักษาโรคซึมเศร้าและโรคเบื่ออาหาร ผลการวิจัยได้ตีพิมพ์ในวารสาร Nature Neuroscience เดือนธันวาคม
ความรู้สึกหิว กระหายความมีความสำคัญอย่างมากต่อการมีชีวิตของมนุษย์ หากขาดรู้สึกเหล่านี้ จะทำให้ร่างกายขาดน้ำขาดสารอาหาร เกิดโรคต่างๆ ได้
หลินซูเหว่ย (林書葦) ผู้ช่วยนักวิจัยสถาบันวิจัยอณูชีววิทยาและ Bhagyashree Senapati นักศึกษาปริญญาเอกร่วมกันจัดตั้งทีมวิจัยข้ามประเทศ ค้นพบสารสัญญานประสาท leucokinin ในสมองของแมลงวันผลไม้ ซึ่งใช้ในการบังคับส่วนต่างๆ ของประสาทในสมอง ส่งผลต่อพฤติกรมการแสวงหาน้ำหรืออาหารของแมลงวัล หลินซูเหว่ยบอกว่า “พวกเราพบเซลล์ประสาทอย่างหนึ่งในตัวแมลงวันผลไม้ สามารถปล่อยสัญญานประสาท เรียกว่า leucokinin เป็นสัญญาณร่วมกันของความหิวและความกระหาย ซึ่งมันจะทำหน้าที่ในการควบคุมเซลล์ประสาทโดพามีนระดับล่าง ส่งผลให้แมลงวัลไปหาน้ำหรืออาหาร เซลโดพามีนเป็นสิ่งที่มีอยู่ในมนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม พวกเราเชื่อว่ากลไกที่คล้ายคลึงกันมีอยู่ในสมองของมนุษย์” หากค้นพบความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ จะนำมาประยุกต์ใช้ในการรักษาโรคซึมเศร้าและโรคเบื่ออาหารในมนุษย์ได้
ไต้หวันไฮเทค -31 ธ.ค. 62- การวิจัยวงจรประสาทสมองแมลงวันผลไม้ จะช่วยรักษาโรคซึมเศร้าและโรคเบื่ออาหารได้
สถาบันวิจัยกลาง (Academia Sinica) แถลงวันที่ 20 ทีมวิจัยข้ามประเทศจัดตั้งโดยสถาบันวิจัยอณูชีววิทยา (Institute of Molecular Biology) ค้นพบสัญญานการทำงานวงจรประสาทในสมองของแมลงวัลผลไม้ มีความสัมพันธ์กับความกระหายและความหิว คาดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการรักษาโรคซึมเศร้าและโรคเบื่ออาหาร ผลการวิจัยได้ตีพิมพ์ในวารสาร Nature Neuroscience เดือนธันวาคม
ความรู้สึกหิว กระหายความมีความสำคัญอย่างมากต่อการมีชีวิตของมนุษย์ หากขาดรู้สึกเหล่านี้ จะทำให้ร่างกายขาดน้ำขาดสารอาหาร เกิดโรคต่างๆ ได้
หลินซูเหว่ย (林書葦) ผู้ช่วยนักวิจัยสถาบันวิจัยอณูชีววิทยาและ Bhagyashree Senapati นักศึกษาปริญญาเอกร่วมกันจัดตั้งทีมวิจัยข้ามประเทศ ค้นพบสารสัญญานประสาท leucokinin ในสมองของแมลงวันผลไม้ ซึ่งใช้ในการบังคับส่วนต่างๆ ของประสาทในสมอง ส่งผลต่อพฤติกรมการแสวงหาน้ำหรืออาหารของแมลงวัล หลินซูเหว่ยบอกว่า “พวกเราพบเซลล์ประสาทอย่างหนึ่งในตัวแมลงวันผลไม้ สามารถปล่อยสัญญานประสาท เรียกว่า leucokinin เป็นสัญญาณร่วมกันของความหิวและความกระหาย ซึ่งมันจะทำหน้าที่ในการควบคุมเซลล์ประสาทโดพามีนระดับล่าง ส่งผลให้แมลงวัลไปหาน้ำหรืออาหาร เซลโดพามีนเป็นสิ่งที่มีอยู่ในมนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม พวกเราเชื่อว่ากลไกที่คล้ายคลึงกันมีอยู่ในสมองของมนุษย์” หากค้นพบความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ จะนำมาประยุกต์ใช้ในการรักษาโรคซึมเศร้าและโรคเบื่ออาหารในมนุษย์ได้