
Sign up to save your podcasts
Or
ไต้หวันไฮเทค -08 ก.ย. 63- Relajet ผู้พัฒนาเทคโนโลยจำแนกเสียง (voice recognition technologies) ช่วยให้ฟังเสียงได้อย่างชัดเจน
Relajet บริษัทสตร์ทอัพของไต้หวัน พัฒนาอุปกรณ์จำแนกคลื่นเสียง เฉินป๋อหรู่ (陳柏儒) ผู้ก่อตั้งบริษัทเป็นผู้ที่มีความพิการทางการได้ยิน เขาได้ร่วมมือกับพี่ชาย เฉินโหย่วเริ่น (陳宥任) ประดิษฐ์อุปกรณ์จำแนกเสียง เพื่อตัดเสียงรบกวนและทำให้ผู้พิการทางการได้ยิน ได้ฟังเสียงจากแหล่งเสียงหลักได้ชัดเจนมากขึ้น
ผู้ที่มีความพิการทางการได้ยินระดับรุนแรงแรงตั้งแต่เกิดนั้นในไต้หวัน มีการเก็บสถิติ มีสัดส่วน 1 ในพันคนของทารกที่เกิด แต่หากรวมผู้ที่พิการระดับกลางและระดับเบาหรือผู้ที่พิการหูข้างเดียว สัดส่วนจะสูงขึ้นเป็น 3 เท่า อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันนั้นการแพทย์มีความก้าวหน้ามากขึ้นผู้ที่พิการทางการได้ยินนั้น มีโอกาสได้รับรักษาหายตั้งแต่ระยะแรกที่เป็นทารก แต่ว่าในกรณีของเฉินป๋อหรู่ กว่าจะตรวจพบนั้น เขาอายุ 4 ขวบแล้ว ถือว่าได้ผ่านช่วงทองของการรักษา จึงทำให้เขาต้องประสบอุปสรรคในการเรียนรู้ภาษา
ความสามารถในการได้ยินของมนุษย์จะเกิดขึ้นหลังจากที่คลอดออกมาแล้วช่วงหนึ่ง สมองจะได้รับการกระตุ้นจากเสียงรอบด้าน ทำให้มีการพัฒนาเรื่องการได้ยินมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ผู้ที่พิการทางได้ยินจะไม่ได้ยินเสียงที่เข้าไปกระตุ้นสมองส่วนกลาง จึงเป็นอุปสรรคในการเรียนรู้ภาษา
การใช้ชีวิตของผู้พิการทางการได้ยินมีความยากลำบาก ยกตัวอย่าง คนทั่วไปนั้นเวลาที่เราได้ยินเสียงแตรรถ หรือเสียงเสียงรถพยาบาล เราก็จะสามารถจำแนกได้ว่าแหล่งที่มาของเสียงนั้นอยู่ทางใด แต่สำหรับเฉินป๋อหรู่ ในขณะที่เดินอยู่บนถนนหรือว่าในขณะที่ขับรถ ถ้าได้ยินเสียงแตรรถหรือว่าได้ยินเสียงรถพยาบาล เขาไม่สามารถรู้ว่าแหล่งที่มาของเสียงนั้นอยู่ทางไหนต้องรีบมองซ้ายมองขวามองหน้ามองหลังเพื่อดูว่าแหล่งที่มาของเสียงนั้นมาจากไหน
นอกจากนี้แล้วในยามที่มีคนพูด พร้อมกันหลายคนมีเสียงอึกทึกผู้ที่พิการทางการได้ยินไม่สามารถจำแนกเสียงของคนที่อยู่รอบข้างไม่รู้ว่าเสียงไหนเป็นเสียงของใคร การเรียนรู้ภาษาที่สองของผู้พิการทางการได้ยินมีอุปสรรคอย่างมากต้องอาศัยการอ่านริมฝีปากคือสังเกตการขยับของริมฝีปากประกอบกับการฟังเสียง
ด้วยความทุ่มเทผ่านมาหลายสิบปี Relajet ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง ในการประดิษฐ์อุปกรณ์ช่วยจำแนกหรือแยกเสียงสามารถจำแนกเสียงจากแหล่งต่างๆ ได้ในสภาพที่มีผู้คนพูดพร้อมๆ กันหลายคน ในที่มีเสียงอึกทึก อุปกรณ์จะจำแนกเสียง ทำการขจัดเสียงรบกวน ขยายเสียงจากแหล่งเสียงหลัก ส่งเสียงผ่านเครื่องช่วยฟังเพื่อให้ผู้พิการทางการได้ยินเสียงที่ต้องการฟัง อุปกรณ์นี้ช่วยแก้ปัญหาให้กับผู้พิการได้ในระดับหนึ่งคือฟังเสียงที่ต้องการฟังได้อย่างชัดเจน แต่การรู้ทิศทางหรือมิติของเสียงระดับอื่นๆ คงจะต้องรอการพัฒนาต่อไป
ไต้หวันไฮเทค -08 ก.ย. 63- Relajet ผู้พัฒนาเทคโนโลยจำแนกเสียง (voice recognition technologies) ช่วยให้ฟังเสียงได้อย่างชัดเจน
Relajet บริษัทสตร์ทอัพของไต้หวัน พัฒนาอุปกรณ์จำแนกคลื่นเสียง เฉินป๋อหรู่ (陳柏儒) ผู้ก่อตั้งบริษัทเป็นผู้ที่มีความพิการทางการได้ยิน เขาได้ร่วมมือกับพี่ชาย เฉินโหย่วเริ่น (陳宥任) ประดิษฐ์อุปกรณ์จำแนกเสียง เพื่อตัดเสียงรบกวนและทำให้ผู้พิการทางการได้ยิน ได้ฟังเสียงจากแหล่งเสียงหลักได้ชัดเจนมากขึ้น
ผู้ที่มีความพิการทางการได้ยินระดับรุนแรงแรงตั้งแต่เกิดนั้นในไต้หวัน มีการเก็บสถิติ มีสัดส่วน 1 ในพันคนของทารกที่เกิด แต่หากรวมผู้ที่พิการระดับกลางและระดับเบาหรือผู้ที่พิการหูข้างเดียว สัดส่วนจะสูงขึ้นเป็น 3 เท่า อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันนั้นการแพทย์มีความก้าวหน้ามากขึ้นผู้ที่พิการทางการได้ยินนั้น มีโอกาสได้รับรักษาหายตั้งแต่ระยะแรกที่เป็นทารก แต่ว่าในกรณีของเฉินป๋อหรู่ กว่าจะตรวจพบนั้น เขาอายุ 4 ขวบแล้ว ถือว่าได้ผ่านช่วงทองของการรักษา จึงทำให้เขาต้องประสบอุปสรรคในการเรียนรู้ภาษา
ความสามารถในการได้ยินของมนุษย์จะเกิดขึ้นหลังจากที่คลอดออกมาแล้วช่วงหนึ่ง สมองจะได้รับการกระตุ้นจากเสียงรอบด้าน ทำให้มีการพัฒนาเรื่องการได้ยินมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ผู้ที่พิการทางได้ยินจะไม่ได้ยินเสียงที่เข้าไปกระตุ้นสมองส่วนกลาง จึงเป็นอุปสรรคในการเรียนรู้ภาษา
การใช้ชีวิตของผู้พิการทางการได้ยินมีความยากลำบาก ยกตัวอย่าง คนทั่วไปนั้นเวลาที่เราได้ยินเสียงแตรรถ หรือเสียงเสียงรถพยาบาล เราก็จะสามารถจำแนกได้ว่าแหล่งที่มาของเสียงนั้นอยู่ทางใด แต่สำหรับเฉินป๋อหรู่ ในขณะที่เดินอยู่บนถนนหรือว่าในขณะที่ขับรถ ถ้าได้ยินเสียงแตรรถหรือว่าได้ยินเสียงรถพยาบาล เขาไม่สามารถรู้ว่าแหล่งที่มาของเสียงนั้นอยู่ทางไหนต้องรีบมองซ้ายมองขวามองหน้ามองหลังเพื่อดูว่าแหล่งที่มาของเสียงนั้นมาจากไหน
นอกจากนี้แล้วในยามที่มีคนพูด พร้อมกันหลายคนมีเสียงอึกทึกผู้ที่พิการทางการได้ยินไม่สามารถจำแนกเสียงของคนที่อยู่รอบข้างไม่รู้ว่าเสียงไหนเป็นเสียงของใคร การเรียนรู้ภาษาที่สองของผู้พิการทางการได้ยินมีอุปสรรคอย่างมากต้องอาศัยการอ่านริมฝีปากคือสังเกตการขยับของริมฝีปากประกอบกับการฟังเสียง
ด้วยความทุ่มเทผ่านมาหลายสิบปี Relajet ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง ในการประดิษฐ์อุปกรณ์ช่วยจำแนกหรือแยกเสียงสามารถจำแนกเสียงจากแหล่งต่างๆ ได้ในสภาพที่มีผู้คนพูดพร้อมๆ กันหลายคน ในที่มีเสียงอึกทึก อุปกรณ์จะจำแนกเสียง ทำการขจัดเสียงรบกวน ขยายเสียงจากแหล่งเสียงหลัก ส่งเสียงผ่านเครื่องช่วยฟังเพื่อให้ผู้พิการทางการได้ยินเสียงที่ต้องการฟัง อุปกรณ์นี้ช่วยแก้ปัญหาให้กับผู้พิการได้ในระดับหนึ่งคือฟังเสียงที่ต้องการฟังได้อย่างชัดเจน แต่การรู้ทิศทางหรือมิติของเสียงระดับอื่นๆ คงจะต้องรอการพัฒนาต่อไป