
Sign up to save your podcasts
Or
ดาวเทียมวงโคจรต่ำกับการพัฒนาระบบสื่อสาร 6G
ในไต้หวันเริ่มเปิดให้บริการ 5G อย่างเป็นทางการเมื่อ กรกฎาคม ปี 2563 ที่ผ่านมาประมาณ 6 เดือนเท่านั้น บริษัทจงหัวเทเลคอม ซึ่งก็เป็นแม่ข่ายโทรศัพท์มือถือรายใหญ่ของไต้หวันรายหนึ่ง ได้เริ่มการวิจัยพัฒนาระบบ 6G แล้ว กล่าวกันว่า 6G จะเร็วกว่า 5G ประมาณ 50 เท่าขึ้นไป ในตอนนี้การพัฒนาระบบ 6G เริ่มมีผู้เล็งเห็นว่าการใช้ดาวเทียมวงโคจรต่ำน่าจะมีความเหมาะสม ถือว่าเป็นกุญแจสำคัญในการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีทางด้าน 6G
ในยุค 5G จีนกับสหรัฐอเมริกาขับเคี่ยวกันอย่างดุเดือด เมื่อเข้าสู่ยุค 6G เชื่อว่าทั้งสองฝ่ายนี้ก็คงยังจะสู้กันต่อไปแล้ว ประเทศอื่นๆนั้นก็จะกระโดดเข้ามาเพื่อแข่งขันด้วย บริษัทจงหัว เทเลคอม แถลงว่า ทางบริษัทพยายามเล็งหาโอกาสธุรกิจด้วยเช่นกัน ซึ่งเริ่มมองในเรื่องของดาวเทียมวงโคจรต่ำ ที่ผ่านมานั้นการสื่อสารด้วยดาวเทียมที่มีวงโคจรสูงห่างจากพื้นโลกประมาณ 36,000 กิโลเมตรขึ้นไปนั้น การส่งข้อมูลทำได้ในปริมาณน้อย มีความล่าช้า จึงไม่ค่อยเหมาะสมที่จะพัฒนาการใช้งานทางด้านระบบสื่อสารโทรคมนาคม แต่สำหรับดาวเทียมวงโคจรระดับต่ำ ที่ห่างจากพื้นโลกในระดับหลักร้อยกิโลเมตร น่าจะมีความเหมาะสม บริษัทยักษ์ใหญ่ทั่วโลกไม่ว่า จะเป็น Amazon รุกตลาดดาวเทียมวงโคจรระดับต่ำพัฒนาดาวเทียมที่มีชื่อว่า Kuiper ทาง เทสลา มีการพัฒนาดาวเทียม Starlink และในส่วนของ Microsoft ลงทุนในโครงการ Kymeta บริษัทโบอิ้งเริ่มหันมารุกตลาดดาวเทียมวงโคจรระดับต่ำ อีกทั้งบริษัทของอเมริกาอย่าง เช่น Aerkomm ร่วมมือกับบริษัทในไต้หวันร่วมจัดตั้งบริษัทบริการดาวเทียมวงโคจรต่ำในไต้หวัน ได้มีการขออนุญาตใบประกอบการจากคณะกรรมการสื่อสารโทรคมนาคมของไต้หวัน (NCC) จัดตั้งเป็นบริษัทข้ามชาติเข้ามาลงทุนในไต้หวัน
ดาวเทียมวงโคจรต่ำนั้นมีจุดเด่นคือ อยู่ห่างจากพื้นโลกในระดับหลักร้อยกิโลเมตร ด้วยระยะที่ไม่ไกลเกินไปนี้ ทำให้การสื่อสารระหว่างดาวเทียมกับพื้นโลกมีความรวดเร็วเหมาะกับการพัฒนาระบบสื่อสารโทรคมนาคม 6G ได้
ทั้งนี้ดาวเทียมวงโคจรต่ำเหมาะที่จะใช้ในการสื่อสารในพื้นที่ที่เป็นเกาะ ทะเล ในภูเขา หรือพื้นที่ชนบทห่างไกลโดยเฉพาะใช้ในเรื่องของการช่วยกู้ภัย ปัจจุบันเทคโนโลยีทางด้านนี้ยังจะต้องรอการพัฒนาต่อไป ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งก็คือสภาพดินฟ้าอากาศจะส่งผลกระทบต่อการสื่อสาร
การสื่อสารด้วยดาวเทียมวงโคจรต่ำจะมีความสุกงอมเมื่อไรเป็นสิ่งที่คาดเดายาก บริษัทจงหัว เทเลคอมแถลงว่า อาจจะไม่ลงทุนในด้านฮาร์ดแวร์ เพราะว่าต้องใช้เงินลงทุนเป็นจำนวนมาก แต่อาจจะพัฒนาในเรื่องของซอฟต์แวร์มากกว่า
สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU-R) วางแผนว่าปี 2021 จะเริ่มการกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับ 6G จากประสบการณ์ที่ผ่านมา การที่จะผ่านยุคจากยุคหนึ่งไปสู่อีกยุคหนึ่งต้องใช้เวลาประมาณ 10 ปี จึงมีการคาดการณ์ว่าระบบ 6G จะเริ่มปรากฏโฉมเป็นรูปเป็นร่างราวปี 2028 จะมีการใช้งานควบคู่กับระบบ 5G ระยะหนึ่ง จากนั้นจึงจะมีการใช้ระบบ 6G ในเชิงพาณิชย์อย่างสมบูรณ์ประมาณปี 2030
ในขณะที่ทั่วโลกกำลังเริ่มใช้งาน 5G ตอนนี้พูดถึง 6G จะเป็นการเร็วเกินไปหรือไม่ หลายคนน่าจะมีความรู้สึกแบบนี้ แต่ว่าโลกในยุคปัจจุบันนั้นเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ประเทศต่างๆ ไม่ยอมกัน จีนได้เริ่มพัฒนาเทคโนโลยี 6G ไปตั้งนานแล้ว เพราะฉะนั้นการที่จะพูดถึง 6G ในขณะนี้จึงไม่ใช่เรื่องที่แปลก
ระบบ 5G ที่ผ่านมาเรามีความรู้สึกว่า การสื่อสารเร็วมาก เร็วกว่าระบบ 4G อย่างมากมาย สามารถจะนำไปประยุกต์ใช้กับเรื่องของรถยนต์ไร้คนขับ เทคโนโลยีเสมือนจริง AR /VR หรือเรื่องของหุ่นยนต์ผ่าตัด ที่บอกว่าระบบ 5G นั้นสื่อสารได้รวดเร็ว ความหน่วงต่ำ จึงทำให้การสื่อสารนั้นอยู่ในสภาพที่เป็นแบบเรียลไทม์คือเป็นแบบฉับพลัน
ในยุค 6G จะรองรับต่อการทำงานของ AI และ IoT ได้ดีขึ้นถ้าจะเทียบความเร็วของระบบ 4G 5G 6G ให้เห็นได้ชัดเจนมากขึ้นอาจจะบอก ยุค 4G นั้นเราใช้เวลาดาวน์โหลดไฟล์ขนาดใหญ่เพื่อดูหนัง เล่นเกมต่างๆ นั้นอาจจะใช้เวลา 10 นาที แต่เมื่อเข้าสู่ยุค 5G ก็ใช้เวลาเพียงแค่ 10 วินาที เมื่อเข้าไปสู่ยุค 6G จะใช้เวลาเพียงแค่ 0.001 วินาที คือเรายังไม่ทันนับหนึ่งเลย หนังทั้งเรื่องก็โหลดเข้ามาเรียบร้อยแล้ว
การพัฒนาการสื่อสารระบบ 6G มีความจำเป็นเพื่อรองรับการทำงานอุปกรณ์จำนวนหลายล้านชิ้นที่เชื่อมต่อกัน ระบบ AI หรือว่าปัญญาประดิษฐ์เชื่อมต่อระบบจะทำงานได้อย่างรวดเร็วแก้ปัญหาให้ผู้ใช้งานได้ทันที ไม่ว่าปัญหานั้นจะมีความซับซ้อนมากเพียงใดก็ตาม ยกตัวอย่างอย่าง ในเมืองใหญ่ๆ ในแต่ละวันจะมีรถยนต์ประมาณ 3 ล้านคันวิ่งเข้าออกในเมืองตลอดเวลา แม้จะมีจำนวนหลายล้านคัน AI ก็สามารถที่จะประมวลผลได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ระบบรถยนต์ที่ขับเคลื่อนอัตโนมัติหรือว่ารถยนต์ไร้คนขับทำงานได้แม่นยำมากขึ้น จะไม่เกิดอุบัติเหตุหรือว่าเกิดปัญหาเมื่อมีการเดินรถมากๆ การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต หรือ IoT (Iinternet of Things) มีความคล่องตัวรวดเร็วทำให้ระบบการวิเคราะห์ต่างๆ ทำงานได้อย่างเต็มที่ วิเคราะห์แก้ปัญหาสืบค้นข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว การพัฒนา AI Deep Learning หรือว่า AI ที่สามารถจะตัดสินใจได้ด้วยตนเองนั้นจะมีประสิทธิภาพที่สูงมากขึ้น AI จะเลือกวิธีการที่ดีที่สุด ผ่านการเชื่อมต่อข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตเป็นจำนวนมหาศาล
ประเทศต่างๆ ไม่หยุดยั้งที่จะพัฒนาไปข้างหน้าก้าวเข้าสู่ยุค 6G บริษัทจงหัว เทเลคอมของไต้หวันเริ่มเล็งหาโอกาสธุรกิจในยุค 6G โดยมองว่าอาจจะเริ่มจากเรื่องของดาวเทียมวงโคจรระดับต่ำ ที่ห่างจากโลกในระดับหลักร้อยกิโลเมตรอาจจะประมาณ 500-600 กิโลเมตร ซึ่งสามารถสื่อสารกับพื้นโลกได้อย่างรวดเร็วน่าจะนำมาพัฒนาใช้งานในระบบ 6G ได้ แต่ว่าดาวเทียมวงโคจรระดับจะเหมาะกับระบบ 6G หรือไม่ ไม่สามารถจะคาดเดาได้ การลงทุนดาวเทียมวงโคจรระดับต่ำต้องใช้งบประมาณค่อนข้างสูงอยู่ ปัจจุบันนั้นระบบไฟเบอร์ออฟติก ระบบอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ของไต้หวันค่อนข้างที่จะใช้งานได้ดีอยู่แล้วจึงอาจไม่ต้องลงทุนดาวเทียมวงโคจรต่ำก็ได้
ทางบริษัทจงหัว เทเลคอมแถลงว่า จะลงทุนดาวเทียมวงโคจรต่ำหรือไม่นั้นคงต้องดูแนวโน้มในอนาคตว่าต้นทุนทางด้านฮาร์ดแวร์จะลดลงมาจนถึงระดับที่แข่งขันได้หรือไม่ การพัฒนาซอฟต์แวร์มีความเสี่ยงต่ำกว่า
ทิศทางการพัฒนาเทคโนโลยี 6G ยังไม่ชัดเจน ต้องติดตามกันต่อไป
ดาวเทียมวงโคจรต่ำกับการพัฒนาระบบสื่อสาร 6G
ในไต้หวันเริ่มเปิดให้บริการ 5G อย่างเป็นทางการเมื่อ กรกฎาคม ปี 2563 ที่ผ่านมาประมาณ 6 เดือนเท่านั้น บริษัทจงหัวเทเลคอม ซึ่งก็เป็นแม่ข่ายโทรศัพท์มือถือรายใหญ่ของไต้หวันรายหนึ่ง ได้เริ่มการวิจัยพัฒนาระบบ 6G แล้ว กล่าวกันว่า 6G จะเร็วกว่า 5G ประมาณ 50 เท่าขึ้นไป ในตอนนี้การพัฒนาระบบ 6G เริ่มมีผู้เล็งเห็นว่าการใช้ดาวเทียมวงโคจรต่ำน่าจะมีความเหมาะสม ถือว่าเป็นกุญแจสำคัญในการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีทางด้าน 6G
ในยุค 5G จีนกับสหรัฐอเมริกาขับเคี่ยวกันอย่างดุเดือด เมื่อเข้าสู่ยุค 6G เชื่อว่าทั้งสองฝ่ายนี้ก็คงยังจะสู้กันต่อไปแล้ว ประเทศอื่นๆนั้นก็จะกระโดดเข้ามาเพื่อแข่งขันด้วย บริษัทจงหัว เทเลคอม แถลงว่า ทางบริษัทพยายามเล็งหาโอกาสธุรกิจด้วยเช่นกัน ซึ่งเริ่มมองในเรื่องของดาวเทียมวงโคจรต่ำ ที่ผ่านมานั้นการสื่อสารด้วยดาวเทียมที่มีวงโคจรสูงห่างจากพื้นโลกประมาณ 36,000 กิโลเมตรขึ้นไปนั้น การส่งข้อมูลทำได้ในปริมาณน้อย มีความล่าช้า จึงไม่ค่อยเหมาะสมที่จะพัฒนาการใช้งานทางด้านระบบสื่อสารโทรคมนาคม แต่สำหรับดาวเทียมวงโคจรระดับต่ำ ที่ห่างจากพื้นโลกในระดับหลักร้อยกิโลเมตร น่าจะมีความเหมาะสม บริษัทยักษ์ใหญ่ทั่วโลกไม่ว่า จะเป็น Amazon รุกตลาดดาวเทียมวงโคจรระดับต่ำพัฒนาดาวเทียมที่มีชื่อว่า Kuiper ทาง เทสลา มีการพัฒนาดาวเทียม Starlink และในส่วนของ Microsoft ลงทุนในโครงการ Kymeta บริษัทโบอิ้งเริ่มหันมารุกตลาดดาวเทียมวงโคจรระดับต่ำ อีกทั้งบริษัทของอเมริกาอย่าง เช่น Aerkomm ร่วมมือกับบริษัทในไต้หวันร่วมจัดตั้งบริษัทบริการดาวเทียมวงโคจรต่ำในไต้หวัน ได้มีการขออนุญาตใบประกอบการจากคณะกรรมการสื่อสารโทรคมนาคมของไต้หวัน (NCC) จัดตั้งเป็นบริษัทข้ามชาติเข้ามาลงทุนในไต้หวัน
ดาวเทียมวงโคจรต่ำนั้นมีจุดเด่นคือ อยู่ห่างจากพื้นโลกในระดับหลักร้อยกิโลเมตร ด้วยระยะที่ไม่ไกลเกินไปนี้ ทำให้การสื่อสารระหว่างดาวเทียมกับพื้นโลกมีความรวดเร็วเหมาะกับการพัฒนาระบบสื่อสารโทรคมนาคม 6G ได้
ทั้งนี้ดาวเทียมวงโคจรต่ำเหมาะที่จะใช้ในการสื่อสารในพื้นที่ที่เป็นเกาะ ทะเล ในภูเขา หรือพื้นที่ชนบทห่างไกลโดยเฉพาะใช้ในเรื่องของการช่วยกู้ภัย ปัจจุบันเทคโนโลยีทางด้านนี้ยังจะต้องรอการพัฒนาต่อไป ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งก็คือสภาพดินฟ้าอากาศจะส่งผลกระทบต่อการสื่อสาร
การสื่อสารด้วยดาวเทียมวงโคจรต่ำจะมีความสุกงอมเมื่อไรเป็นสิ่งที่คาดเดายาก บริษัทจงหัว เทเลคอมแถลงว่า อาจจะไม่ลงทุนในด้านฮาร์ดแวร์ เพราะว่าต้องใช้เงินลงทุนเป็นจำนวนมาก แต่อาจจะพัฒนาในเรื่องของซอฟต์แวร์มากกว่า
สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU-R) วางแผนว่าปี 2021 จะเริ่มการกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับ 6G จากประสบการณ์ที่ผ่านมา การที่จะผ่านยุคจากยุคหนึ่งไปสู่อีกยุคหนึ่งต้องใช้เวลาประมาณ 10 ปี จึงมีการคาดการณ์ว่าระบบ 6G จะเริ่มปรากฏโฉมเป็นรูปเป็นร่างราวปี 2028 จะมีการใช้งานควบคู่กับระบบ 5G ระยะหนึ่ง จากนั้นจึงจะมีการใช้ระบบ 6G ในเชิงพาณิชย์อย่างสมบูรณ์ประมาณปี 2030
ในขณะที่ทั่วโลกกำลังเริ่มใช้งาน 5G ตอนนี้พูดถึง 6G จะเป็นการเร็วเกินไปหรือไม่ หลายคนน่าจะมีความรู้สึกแบบนี้ แต่ว่าโลกในยุคปัจจุบันนั้นเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ประเทศต่างๆ ไม่ยอมกัน จีนได้เริ่มพัฒนาเทคโนโลยี 6G ไปตั้งนานแล้ว เพราะฉะนั้นการที่จะพูดถึง 6G ในขณะนี้จึงไม่ใช่เรื่องที่แปลก
ระบบ 5G ที่ผ่านมาเรามีความรู้สึกว่า การสื่อสารเร็วมาก เร็วกว่าระบบ 4G อย่างมากมาย สามารถจะนำไปประยุกต์ใช้กับเรื่องของรถยนต์ไร้คนขับ เทคโนโลยีเสมือนจริง AR /VR หรือเรื่องของหุ่นยนต์ผ่าตัด ที่บอกว่าระบบ 5G นั้นสื่อสารได้รวดเร็ว ความหน่วงต่ำ จึงทำให้การสื่อสารนั้นอยู่ในสภาพที่เป็นแบบเรียลไทม์คือเป็นแบบฉับพลัน
ในยุค 6G จะรองรับต่อการทำงานของ AI และ IoT ได้ดีขึ้นถ้าจะเทียบความเร็วของระบบ 4G 5G 6G ให้เห็นได้ชัดเจนมากขึ้นอาจจะบอก ยุค 4G นั้นเราใช้เวลาดาวน์โหลดไฟล์ขนาดใหญ่เพื่อดูหนัง เล่นเกมต่างๆ นั้นอาจจะใช้เวลา 10 นาที แต่เมื่อเข้าสู่ยุค 5G ก็ใช้เวลาเพียงแค่ 10 วินาที เมื่อเข้าไปสู่ยุค 6G จะใช้เวลาเพียงแค่ 0.001 วินาที คือเรายังไม่ทันนับหนึ่งเลย หนังทั้งเรื่องก็โหลดเข้ามาเรียบร้อยแล้ว
การพัฒนาการสื่อสารระบบ 6G มีความจำเป็นเพื่อรองรับการทำงานอุปกรณ์จำนวนหลายล้านชิ้นที่เชื่อมต่อกัน ระบบ AI หรือว่าปัญญาประดิษฐ์เชื่อมต่อระบบจะทำงานได้อย่างรวดเร็วแก้ปัญหาให้ผู้ใช้งานได้ทันที ไม่ว่าปัญหานั้นจะมีความซับซ้อนมากเพียงใดก็ตาม ยกตัวอย่างอย่าง ในเมืองใหญ่ๆ ในแต่ละวันจะมีรถยนต์ประมาณ 3 ล้านคันวิ่งเข้าออกในเมืองตลอดเวลา แม้จะมีจำนวนหลายล้านคัน AI ก็สามารถที่จะประมวลผลได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ระบบรถยนต์ที่ขับเคลื่อนอัตโนมัติหรือว่ารถยนต์ไร้คนขับทำงานได้แม่นยำมากขึ้น จะไม่เกิดอุบัติเหตุหรือว่าเกิดปัญหาเมื่อมีการเดินรถมากๆ การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต หรือ IoT (Iinternet of Things) มีความคล่องตัวรวดเร็วทำให้ระบบการวิเคราะห์ต่างๆ ทำงานได้อย่างเต็มที่ วิเคราะห์แก้ปัญหาสืบค้นข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว การพัฒนา AI Deep Learning หรือว่า AI ที่สามารถจะตัดสินใจได้ด้วยตนเองนั้นจะมีประสิทธิภาพที่สูงมากขึ้น AI จะเลือกวิธีการที่ดีที่สุด ผ่านการเชื่อมต่อข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตเป็นจำนวนมหาศาล
ประเทศต่างๆ ไม่หยุดยั้งที่จะพัฒนาไปข้างหน้าก้าวเข้าสู่ยุค 6G บริษัทจงหัว เทเลคอมของไต้หวันเริ่มเล็งหาโอกาสธุรกิจในยุค 6G โดยมองว่าอาจจะเริ่มจากเรื่องของดาวเทียมวงโคจรระดับต่ำ ที่ห่างจากโลกในระดับหลักร้อยกิโลเมตรอาจจะประมาณ 500-600 กิโลเมตร ซึ่งสามารถสื่อสารกับพื้นโลกได้อย่างรวดเร็วน่าจะนำมาพัฒนาใช้งานในระบบ 6G ได้ แต่ว่าดาวเทียมวงโคจรระดับจะเหมาะกับระบบ 6G หรือไม่ ไม่สามารถจะคาดเดาได้ การลงทุนดาวเทียมวงโคจรระดับต่ำต้องใช้งบประมาณค่อนข้างสูงอยู่ ปัจจุบันนั้นระบบไฟเบอร์ออฟติก ระบบอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ของไต้หวันค่อนข้างที่จะใช้งานได้ดีอยู่แล้วจึงอาจไม่ต้องลงทุนดาวเทียมวงโคจรต่ำก็ได้
ทางบริษัทจงหัว เทเลคอมแถลงว่า จะลงทุนดาวเทียมวงโคจรต่ำหรือไม่นั้นคงต้องดูแนวโน้มในอนาคตว่าต้นทุนทางด้านฮาร์ดแวร์จะลดลงมาจนถึงระดับที่แข่งขันได้หรือไม่ การพัฒนาซอฟต์แวร์มีความเสี่ยงต่ำกว่า
ทิศทางการพัฒนาเทคโนโลยี 6G ยังไม่ชัดเจน ต้องติดตามกันต่อไป