
Sign up to save your podcasts
Or
ไต้หวันไฮเทค -16 ก.พ. 63- 10 startup น่าสนใจของไต้หวัน ตอนที่ 2 AI วิเคราะห์ภาพ CT หาจุดเลือดออกในสมองภายใน 30 วินาที และ เครื่องฟังการหายใจ AI ลดความเสี่ยงติดเชื้อโรคโควิด-19
Deep01 AI วิเคราะห์ภาพ CT หาจุดเลือดออกในสมองภายใน 30 วินาที
DEEP 01 ผู้พัฒนา AI วิเคราะห์ภาพ CT Scan (ภาพเอ็กซเรย์ด้วยคอมพิวเตอร์) หาจุดเลือดออกในสมอง เทคโนโลยีมีความสุกงอม โดยทำการติดตั้งโปรแกรมไว้ในคอมพิวเตอร์ จากนั้นส่งภาพ CT Scan เข้าสู่ ระบบคลาวด์ของ DEEP 01 เพื่อทำการวิเคราะห์ ภายใน 30 วินาที จะได้รับการรายงานกลับ
โรคเลือดออกในสมอง เป็นโรคที่พบได้บ่อย เกิดจากอัมพาตหรือเกิดจากอุบัติเหตุ ทำให้พิการหรือเสียชีวิตในอัตราสูง แพทย์จะต้องรีบตัดสินใจทำการรักษา โรงพยาบาลเล็กที่เครื่องมือไม่พร้อมจะต้องส่งไปโรงพยาบาลอื่น ซึ่งอาจจะต้องทำการผ่าตัดในทันที
การวินิจฉัยภาวะเลือดออกในสมองต้องอาศัยความชำนาญ โจวเหรินไห่ (周仁海) ผู้ก่อตั้ง DEEP 01 บอกว่า จะต้องทำการถ่ายภาพ CT Scan ชั้นสมอง จำนวนตั้งแต่ 10 ใบหรือแม้กระทั่ง 100 ใบ จากนั้นแพทย์แผนกฉุกเฉินและแผนกฉายรังสีแพทย์ จะต้องทำการอ่านวิเคราะห์จึงจะตัดสินใจเลือกวิธีการรักษา บางครั้งในเวลากลางคืนแผนกฉุกเฉินโรงพยาบาลขนาดกลางและเล็กไม่มีแพทย์ระบบประสาทเข้าเวร แพทย์ฉายรังสีมีกำลังคนไม่พอ จึงทำให้เกิดความล่าช้าในการรักษาพยาบาล
โจวเหรินไห่ และแพทย์อายุรกรรมซึ่งเป็นเพื่อนกัน ได้มีโอกาสพบกันและคุยถึงปัญหาเช่นนี้ มีความเห็นตรงกันว่าต้องการจะแก้ปัญหา จึงได้ตัดสินใจร่วมมือกันหาทางช่วยลดขั้นตอนการวินิฉัย ตุลาคมปี 2016 ทั้งสองได้ร่วมมือกับเพื่อนอีกคนหนึ่งทำงานที่โรงพยาบาลไต้หวัน (ไถต้า) ก่อตั้งบริษัท DEEP 01 พัฒนา AI วิเคราะห์ภาพถ่ายทางการแพทย์ใช้ AI Deep Learning ในการวิเคราะห์ภาพถ่ายสมองเพื่อหาจุดเลือดออก
Heroic-Faith ประดิษฐ์เครื่องฟังการหายใจ AI ลดความเสี่ยงติดเชื้อโรคโควิด-19
ไล่เอี้ยนจวิน (賴彥均) ผู้อำนวยการการฝ่ายวิจัย ของบริษัท Heroic-Faith บอกว่า เครื่องฟังการหายใจแบบเดิมใช้ได้ทีละครั้งสำหรับผู้ป่วยแต่ละคน โดยแพทย์เป็นผู้ฟังเสียงและวินิจฉัยตามความเห็นส่วนตัว แต่ Heroic-Faith พัฒนาเครื่องฟังการหายใจมีระบบ AI ฟังได้ต่อเนื่องและยังมี AI ช่วยวินิจฉัยโรคด้วย
ไล่เอี้ยนจวินบอกว่า การฟังเสียงหายใจโดย AI สามารถแปลงเป็นภาพที่มองเห็นได้ เตือนได้หากมีการหยุดหายใจ ปัจจุบันมีการพัฒนา 2 แบบคือ แบบคลื่นเดียวสำหรับใช้ในกรณีการให้ยาสลบ อีกแบบหนึ่งเป็นแบบหลายคลื่นใช้ในการดูแลผู้ป่วยห้อง ICU
ในภาวะการณ์ระบาดโควิด-19 บริษัท heroic-Faith ซึ่งเป็นผู้วิจัยพัฒนาเครื่องฟังการหายใจ AI ติดตามการทำงานของปอดได้อย่างต่อเนื่อง ในตอนแรกการพัฒนาเครื่องฟังการหายใจมีวัตถุประสงค์ต้องการลดความเสี่ยงจากการวางยาสลบ แต่ได้กลายเป็นอุปกรณ์สำคัญสำหรับแพทย์ซึ่งอยู่ในแนวหน้ารักษาผู้ป่วยโควิด-19
ในการรักษาโควิด- 19 จุดสำคัญคือจะต้องสังเกตอาหาร ได้แก่ ไอแห้ง (ไม่มีเสมหะ) หายใจหอบ และตรวจวัดว่ามีไข้หรือไม่ แต่ว่าอาการไข้มักเกิดขึ้นช้ามาก เนื่องจากเชื่อโรคมีระยะฟักตัวนาน ผู้ติดเชื้อมักไม่มีอาการแต่สามารถแพร่เชื้อโรคได้ ถือว่ามีความอันตรายหากมีการสัมผัสกับผู้อื่น อาจจะแพร่เชื้อโดยไม่รู้ตัว แพยท์ที่ตรวจโรคจะต้องป้องกันตนเอง ด้วยการใส่เสื้อคลุม แต่การใส่เสื้อคลุมจะเป็นอุปสรรคต่อการสวมหูฟังเพื่อการวินิจฉัยโรค
การใช้อุปกรณ์ AI ช่วยกันฟังแบบอัจฉริยะ จึงมีความจำเป็น เพราะอุปกรณ์ช่วยฟังจะแนบติดอยู่ที่หน้าอกของผู้ป่วยและแสดงผลด้วยภาพเส้นกราฟ หรือแสดงผลด้วยเสียง แพทย์ที่ได้ใช้เครื่องฟังการหายใจของ Heroic-Faith รู้สึกตื่นเต้นดีใจและยอมรับต่ออปุกรณ์ชนิดนี้ในระดับสูงยิ่ง
อุปกรณ์ดังกล่าว สามารถที่จะแปลงสัญญาณการฟังให้กลายเป็นภาพปรากฏบนจอ และยังสามารถขยายเสียงเพื่อฟังการหายใจฟังได้อย่างชัดเจน อุปกรณ์นี้ยังสามารถเชื่อมต่อกับ สมาร์ทโฟนได้ 4 เครื่อง และยังสามารถ ส่งคลื่นด้วยความถี่ 16 ช่อง นอกจากนี้มีการติดตั้งระบบ AI ช่วยวินิจฉัยโรค
ไต้หวันไฮเทค -16 ก.พ. 63- 10 startup น่าสนใจของไต้หวัน ตอนที่ 2 AI วิเคราะห์ภาพ CT หาจุดเลือดออกในสมองภายใน 30 วินาที และ เครื่องฟังการหายใจ AI ลดความเสี่ยงติดเชื้อโรคโควิด-19
Deep01 AI วิเคราะห์ภาพ CT หาจุดเลือดออกในสมองภายใน 30 วินาที
DEEP 01 ผู้พัฒนา AI วิเคราะห์ภาพ CT Scan (ภาพเอ็กซเรย์ด้วยคอมพิวเตอร์) หาจุดเลือดออกในสมอง เทคโนโลยีมีความสุกงอม โดยทำการติดตั้งโปรแกรมไว้ในคอมพิวเตอร์ จากนั้นส่งภาพ CT Scan เข้าสู่ ระบบคลาวด์ของ DEEP 01 เพื่อทำการวิเคราะห์ ภายใน 30 วินาที จะได้รับการรายงานกลับ
โรคเลือดออกในสมอง เป็นโรคที่พบได้บ่อย เกิดจากอัมพาตหรือเกิดจากอุบัติเหตุ ทำให้พิการหรือเสียชีวิตในอัตราสูง แพทย์จะต้องรีบตัดสินใจทำการรักษา โรงพยาบาลเล็กที่เครื่องมือไม่พร้อมจะต้องส่งไปโรงพยาบาลอื่น ซึ่งอาจจะต้องทำการผ่าตัดในทันที
การวินิจฉัยภาวะเลือดออกในสมองต้องอาศัยความชำนาญ โจวเหรินไห่ (周仁海) ผู้ก่อตั้ง DEEP 01 บอกว่า จะต้องทำการถ่ายภาพ CT Scan ชั้นสมอง จำนวนตั้งแต่ 10 ใบหรือแม้กระทั่ง 100 ใบ จากนั้นแพทย์แผนกฉุกเฉินและแผนกฉายรังสีแพทย์ จะต้องทำการอ่านวิเคราะห์จึงจะตัดสินใจเลือกวิธีการรักษา บางครั้งในเวลากลางคืนแผนกฉุกเฉินโรงพยาบาลขนาดกลางและเล็กไม่มีแพทย์ระบบประสาทเข้าเวร แพทย์ฉายรังสีมีกำลังคนไม่พอ จึงทำให้เกิดความล่าช้าในการรักษาพยาบาล
โจวเหรินไห่ และแพทย์อายุรกรรมซึ่งเป็นเพื่อนกัน ได้มีโอกาสพบกันและคุยถึงปัญหาเช่นนี้ มีความเห็นตรงกันว่าต้องการจะแก้ปัญหา จึงได้ตัดสินใจร่วมมือกันหาทางช่วยลดขั้นตอนการวินิฉัย ตุลาคมปี 2016 ทั้งสองได้ร่วมมือกับเพื่อนอีกคนหนึ่งทำงานที่โรงพยาบาลไต้หวัน (ไถต้า) ก่อตั้งบริษัท DEEP 01 พัฒนา AI วิเคราะห์ภาพถ่ายทางการแพทย์ใช้ AI Deep Learning ในการวิเคราะห์ภาพถ่ายสมองเพื่อหาจุดเลือดออก
Heroic-Faith ประดิษฐ์เครื่องฟังการหายใจ AI ลดความเสี่ยงติดเชื้อโรคโควิด-19
ไล่เอี้ยนจวิน (賴彥均) ผู้อำนวยการการฝ่ายวิจัย ของบริษัท Heroic-Faith บอกว่า เครื่องฟังการหายใจแบบเดิมใช้ได้ทีละครั้งสำหรับผู้ป่วยแต่ละคน โดยแพทย์เป็นผู้ฟังเสียงและวินิจฉัยตามความเห็นส่วนตัว แต่ Heroic-Faith พัฒนาเครื่องฟังการหายใจมีระบบ AI ฟังได้ต่อเนื่องและยังมี AI ช่วยวินิจฉัยโรคด้วย
ไล่เอี้ยนจวินบอกว่า การฟังเสียงหายใจโดย AI สามารถแปลงเป็นภาพที่มองเห็นได้ เตือนได้หากมีการหยุดหายใจ ปัจจุบันมีการพัฒนา 2 แบบคือ แบบคลื่นเดียวสำหรับใช้ในกรณีการให้ยาสลบ อีกแบบหนึ่งเป็นแบบหลายคลื่นใช้ในการดูแลผู้ป่วยห้อง ICU
ในภาวะการณ์ระบาดโควิด-19 บริษัท heroic-Faith ซึ่งเป็นผู้วิจัยพัฒนาเครื่องฟังการหายใจ AI ติดตามการทำงานของปอดได้อย่างต่อเนื่อง ในตอนแรกการพัฒนาเครื่องฟังการหายใจมีวัตถุประสงค์ต้องการลดความเสี่ยงจากการวางยาสลบ แต่ได้กลายเป็นอุปกรณ์สำคัญสำหรับแพทย์ซึ่งอยู่ในแนวหน้ารักษาผู้ป่วยโควิด-19
ในการรักษาโควิด- 19 จุดสำคัญคือจะต้องสังเกตอาหาร ได้แก่ ไอแห้ง (ไม่มีเสมหะ) หายใจหอบ และตรวจวัดว่ามีไข้หรือไม่ แต่ว่าอาการไข้มักเกิดขึ้นช้ามาก เนื่องจากเชื่อโรคมีระยะฟักตัวนาน ผู้ติดเชื้อมักไม่มีอาการแต่สามารถแพร่เชื้อโรคได้ ถือว่ามีความอันตรายหากมีการสัมผัสกับผู้อื่น อาจจะแพร่เชื้อโดยไม่รู้ตัว แพยท์ที่ตรวจโรคจะต้องป้องกันตนเอง ด้วยการใส่เสื้อคลุม แต่การใส่เสื้อคลุมจะเป็นอุปสรรคต่อการสวมหูฟังเพื่อการวินิจฉัยโรค
การใช้อุปกรณ์ AI ช่วยกันฟังแบบอัจฉริยะ จึงมีความจำเป็น เพราะอุปกรณ์ช่วยฟังจะแนบติดอยู่ที่หน้าอกของผู้ป่วยและแสดงผลด้วยภาพเส้นกราฟ หรือแสดงผลด้วยเสียง แพทย์ที่ได้ใช้เครื่องฟังการหายใจของ Heroic-Faith รู้สึกตื่นเต้นดีใจและยอมรับต่ออปุกรณ์ชนิดนี้ในระดับสูงยิ่ง
อุปกรณ์ดังกล่าว สามารถที่จะแปลงสัญญาณการฟังให้กลายเป็นภาพปรากฏบนจอ และยังสามารถขยายเสียงเพื่อฟังการหายใจฟังได้อย่างชัดเจน อุปกรณ์นี้ยังสามารถเชื่อมต่อกับ สมาร์ทโฟนได้ 4 เครื่อง และยังสามารถ ส่งคลื่นด้วยความถี่ 16 ช่อง นอกจากนี้มีการติดตั้งระบบ AI ช่วยวินิจฉัยโรค