
Sign up to save your podcasts
Or
ไต้หวันไฮเทค -02 มี.ค. 63- 10 startup น่าสนใจของไต้หวัน ตอนที่ 4 (รายที่ 7 และ 8) การประยุกต์ IoT และ Big Data เพื่อการประหยัดพลังงาน และ เทคโนโลยีการกำหนดตำแหน่งที่ล้ำสมัย
7. NextDrive พัฒนาผลิตภัณฑ์ประหยัดพลังงาน
NextDrive ก่อตั้งเมื่อปี 2013 มุ่งเน้นในเรื่องของ IoT และ Big Data เพื่อการประหยัดพลังงาน เป็นผู้พัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์อำนวยความสะดวกให้กับผู้คนทั่วไป เป็นการประสานทีมงานในแนวตั้ง ด้วยทีมวิศวกรที่แข็งแกร่ง พัฒนาเทคโนโลยีหลายรายการ
ผลิตภัณฑ์ของบริษัท ได้แก่ มาตราไฟฟ้าอัจฉริยะ เครื่องตรวจจับอุณหภูมิและความชื้น กล้องวีดีโออินเตอร์เน็ต กล้องถ่ายภาพวีดีโอเพื่อติดตามความปลอดภัยในครัวเรือนและการดูแลสุขภาพ นอกจากนี้ยังได้พัฒนาผลิตภัณฑ์เชื่อมต่อกับโซเชียมีเดีย LINE สำหรับการเปิดประตูบ้านได้ เป้าหมายของ NextDrive คือการมุ่งให้บริการต่อลูกค้าให้มีความสะดวกสบาย ได้สัมผัสประสบการณ์อุปกรณ์อัจฉริยะที่น่าประทับใจ เสนอโซลูชั่น เพื่อการแก้ปัญหาให้แก่บุคคลต่างๆ รวมทั้งแก้ปัญหาให้แก่สังคม และการสร้างรูปแบบธุรกิจแบบ Sharing Economy
ผู้ก่อตั้งบริษัท เอี๋ยนเจ๋อยวน (顏哲淵) เดิมทำงานออกแบบ IC ในบริษัทชั้นนำของอเมริกา ได้ลาออกจากบริษัทดังกล่าวในปี 2013 มีแนวความคิดต้องการตั้งบริษัท startup ในครั้งหนึ่ง เขาได้พบกับ เฉินเหลียงซิ่น (陳良信) ซึ่งเป็นผู้ที่มีความชำนาญการเขียนโปรแกรมใช้งานทั้งในระบบแอ็บเปิล และวินโดว์ ทั้งสองตัดสินใจร่วมกับก่อตั้งบริษัท NextDrive คุณเอี๋ยน เป็นบุคคลสําคัญในวงการเซมิคอนดักเตอร์ ขณะที่คุณเฉินมีความเชี่ยวชาญด้านซอฟแวร์ การร่วมมือกันแบบนี้ถือว่าไม่เลว
ผลิตภัณฑ์ชิ้นแรกของ NextDrive Plug คือหัวเสียบอเนกประสงค์ ใช้งานได้ 18 อย่าง เช่น เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ใช้ชาร์จโทรศัพท์ ใช้ชาร์จแบตเตอรี่ และ เชื่อมต่อ USB บริษัท NextDrive มุ่งสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ในปี 2016 ผลิต Cube ซึ่งเป็น IoT Gateway เป็นอุปกรณ์กล่องสี่เหลี่ยมสีขาว ต่อมาได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ Cube ร่วมกับทางญี่ปุ่น
อาศัยอุปกรณ์ Cube บริษัทไฟฟ้าของญี่ปุ่นจะได้รับข้อมูลการใช้ไฟฟ้าของ ผู้บริโภคในครัวเรือนเพื่อใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงการป้อนพลังงานไฟฟ้า ในแง่ของผู้บริโภคจะใช้เครื่องมือถือตรวจดูการปริมาณการใช้ไฟได้ ในขณะเดียวกัน สามารถประยุกต์ Cube ควบคุมแบตเตอรี่และเครื่องไฟฟ้า ทำให้ประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากในญี่ปุ่นมีการกำหนดอัตราค่าไฟตามช่วงเวลา ในช่วง Peak กับช่วง Off Peak ราคาต่างกัน ผลิตภัณฑ์ Cube จะช่วยสะสมกระแสไฟฟ้าไว้ในแบตเตอรี่ในช่วง Off Peak นำมาใช้งานในช่วง Peak
8. OSENSE กับเทคโนโลยีการกำหนดตำแหน่งที่ล้ำสมัย
OSENSE ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2017 มุ่งพัฒนาเทคโนโลยีภาพคอมพิวเตอร์ กับ AI การประมวลผลระดับล่างเพื่อให้ AI สามารถจำแนกและเข้าใจสภาพของพื้นที่ผ่านกล้องถ่ายภาพ ทีมงานของบริษัทพัฒนาเทคโนโลยีภาพคอมพิวเตอร์ VBIP (Vision Based Indoor Positioning) เป็นการจำแนกอัตลักษณ์ตำแหน่งโดยเฉพาะเชื่อมโยงสัญญาณคลื่นสนามแม่เหล็กโลก Bluetooth และคลื่นสัญญาณอื่นๆ เพื่อการกำหนดตำแหน่งที่แม่นยำ สำหรับการใช้งานในแพลตฟอร์ม O2O (Online to Offline)
เนื่องจากสัญญาณคลื่นสนามแม่เหล็กโลก และอัตลักษณ์ของภาพที่เห็นเป็นจุดสำคัญเพื่อใช้ในการจำแนกและกำหนดตำแหน่ง หวังอิ่วกวง (王友光) ผู้ก่อตั้งและ CEO ของ OSENSE ได้พัฒนาระบบ VBIP กำหนดตำแหน่งได้โดยไม่ต้องอาศัยโปรแกรม Beacon หรือระบบไวไฟ แม้ในห้องหรือในสภาพที่ไม่มี GPS ในการนำทาง ก็สามารถกำหนดตำแหน่งได้ถือเป็นการพัฒนาเทคโนโลยีการรับรู้แบบรอบด้าน
เทคโนโลยีการรับรู้แบบรอบด้านของ OSENSE เป็นการทำให้อุปกรณ์รับรู้ตำแหน่งต่างๆ ได้โดยการเชื่อมโยงกับสัญญาณสนามแม่เหล็กโลกและอัตลักษณ์จุดสำคัญในพื้นที่ ทำให้จำแนกบุคคล และสถานที่ และใช้ AI (ปัญญาประดิษฐ์) ช่วยประมวลผล
เทคโนโลยีของ OSENSE ประยุกต์ใช้งานแบบอัจฉริจยะในด้านต่าง ๆ ได้แก่ การผลิต การก่อสร้าง ควบคุมความปลอดภัย การค้าปลีก การเงิน การโฆษณา การแพทย์ การแสดงสินค้า
ในด้านการแพทย์ทีมงาน OSENSE ได้นำเอาฮาร์ดแวร์อุปกรณ์กล้องประสานกับภาพคอมพิวเตอร์ และ AI ประยุกต์ใช้กับระบบนำทางเพื่อการส่องกล้องท่อหายใจ แก้ปัญหาแพทย์ส่องกล้องทำให้คนไข้บาดเจ็บ ในด้านกิจการสิ่งทอได้ใช้ AI และ Big Data ค้นหาลวดลายผ้าที่ต้องการค้นหา ทำการเปรียบเทียบกับข้อมูลผ้าในสต๊อก วิเคราะห์ลวดลายผ้าและสีผ้า เป็นการค้นหาลวดลายผ้าแบบรวดเร็วและแม่นยำ แก้ปัญหาความล่าในแบบเดิม ซึ่งต้องใช้พนักงาน หรือ ช่างชำนาญในการเลือก
เป้าหมายต่อไปของทีมงานคือ การจัดทำสนามแข่งขันกีฬา Smart Studio Solution ในยุค 5G ที่มีความแพร่หลายจึงเหมาะกับการพัฒนาโซลูชั่นสนามกีฬาอัจฉริยะ ประสาน IoT และ ICT เทคโนโลยี VBIP เพื่อการใช้งาน App บนมือถือ เชื่อมต่อออนไลน์ ทำให้แฟนบอลได้รับประสบการณ์ที่ดีกว่า
การพัฒนาสนามกีฬาอัจฉริยะมีแนวความคิดที่ว่า การเข้าไปชมบอลของแฟนบอลนั้น ส่วนใหญ่มักมีความเคยชินว่าในระหว่างการชมบอลอยู่ในสนาม ผู้ชมชอบที่จะดูการถ่ายทอดสดพร้อมกันไปด้วย (อาจเป็นLive TV, FB หรือ YouTube) จะมีนักวิจารณ์ให้ข้อมูลเพิ่ม เพราะฉะนั้นในระหว่างที่แฟนบอลชมกีฬาอยู่ในสนามกีฬา จะดู Smartphone ฟังการวิจารณ์หรือแม้แต่จะชมภาพ Replay ช็อตเด็ดๆ ระหว่างการแข่งขัน ผู้พัฒนาระบบเห็นว่าสิ่งเหล่านี้น่าจะกระทำในสนามกีฬาได้เลยไม่ต้องไปทำการดูถ่ายทอดสด ดังนั้น ในอนาคตผู้ชมใช้มาร์ทโฟนส่องไปยังจุดที่เขาอยากดูข้อมูลเพิ่มในสนามกีฬาได้ เช่น ส่องไปจุดที่เคยมีภาพช็อตเด็ดจะเห็นภาพ Replay ของการเตะฟุตบอลที่เป็นช็อตเด็ด หรือส่องไปที่ตัวนักกีฬาก็จะได้ข้อมูลเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับนักกีฬา แสดงออกมาใน smartphone ทันที เป็นการประสานทั้งออนไลน์และออฟไลน์ในขณะเดียวกัน นอกจากนี้แฟนบอลยังสามารถที่จะสั่งซื้ออาหารเครื่องดื่มหรือสั่งซื้อของที่ระลึกจาก App บนมือถือได้ในทันทีในขณะที่กำลังชมการแข่งขัน เป็นการตอบสนองความต้องการได้อย่างทันที จะช่วยสร้างโอกาสธุรกิจที่มหาศาล
ไต้หวันไฮเทค -02 มี.ค. 63- 10 startup น่าสนใจของไต้หวัน ตอนที่ 4 (รายที่ 7 และ 8) การประยุกต์ IoT และ Big Data เพื่อการประหยัดพลังงาน และ เทคโนโลยีการกำหนดตำแหน่งที่ล้ำสมัย
7. NextDrive พัฒนาผลิตภัณฑ์ประหยัดพลังงาน
NextDrive ก่อตั้งเมื่อปี 2013 มุ่งเน้นในเรื่องของ IoT และ Big Data เพื่อการประหยัดพลังงาน เป็นผู้พัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์อำนวยความสะดวกให้กับผู้คนทั่วไป เป็นการประสานทีมงานในแนวตั้ง ด้วยทีมวิศวกรที่แข็งแกร่ง พัฒนาเทคโนโลยีหลายรายการ
ผลิตภัณฑ์ของบริษัท ได้แก่ มาตราไฟฟ้าอัจฉริยะ เครื่องตรวจจับอุณหภูมิและความชื้น กล้องวีดีโออินเตอร์เน็ต กล้องถ่ายภาพวีดีโอเพื่อติดตามความปลอดภัยในครัวเรือนและการดูแลสุขภาพ นอกจากนี้ยังได้พัฒนาผลิตภัณฑ์เชื่อมต่อกับโซเชียมีเดีย LINE สำหรับการเปิดประตูบ้านได้ เป้าหมายของ NextDrive คือการมุ่งให้บริการต่อลูกค้าให้มีความสะดวกสบาย ได้สัมผัสประสบการณ์อุปกรณ์อัจฉริยะที่น่าประทับใจ เสนอโซลูชั่น เพื่อการแก้ปัญหาให้แก่บุคคลต่างๆ รวมทั้งแก้ปัญหาให้แก่สังคม และการสร้างรูปแบบธุรกิจแบบ Sharing Economy
ผู้ก่อตั้งบริษัท เอี๋ยนเจ๋อยวน (顏哲淵) เดิมทำงานออกแบบ IC ในบริษัทชั้นนำของอเมริกา ได้ลาออกจากบริษัทดังกล่าวในปี 2013 มีแนวความคิดต้องการตั้งบริษัท startup ในครั้งหนึ่ง เขาได้พบกับ เฉินเหลียงซิ่น (陳良信) ซึ่งเป็นผู้ที่มีความชำนาญการเขียนโปรแกรมใช้งานทั้งในระบบแอ็บเปิล และวินโดว์ ทั้งสองตัดสินใจร่วมกับก่อตั้งบริษัท NextDrive คุณเอี๋ยน เป็นบุคคลสําคัญในวงการเซมิคอนดักเตอร์ ขณะที่คุณเฉินมีความเชี่ยวชาญด้านซอฟแวร์ การร่วมมือกันแบบนี้ถือว่าไม่เลว
ผลิตภัณฑ์ชิ้นแรกของ NextDrive Plug คือหัวเสียบอเนกประสงค์ ใช้งานได้ 18 อย่าง เช่น เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ใช้ชาร์จโทรศัพท์ ใช้ชาร์จแบตเตอรี่ และ เชื่อมต่อ USB บริษัท NextDrive มุ่งสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ในปี 2016 ผลิต Cube ซึ่งเป็น IoT Gateway เป็นอุปกรณ์กล่องสี่เหลี่ยมสีขาว ต่อมาได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ Cube ร่วมกับทางญี่ปุ่น
อาศัยอุปกรณ์ Cube บริษัทไฟฟ้าของญี่ปุ่นจะได้รับข้อมูลการใช้ไฟฟ้าของ ผู้บริโภคในครัวเรือนเพื่อใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงการป้อนพลังงานไฟฟ้า ในแง่ของผู้บริโภคจะใช้เครื่องมือถือตรวจดูการปริมาณการใช้ไฟได้ ในขณะเดียวกัน สามารถประยุกต์ Cube ควบคุมแบตเตอรี่และเครื่องไฟฟ้า ทำให้ประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากในญี่ปุ่นมีการกำหนดอัตราค่าไฟตามช่วงเวลา ในช่วง Peak กับช่วง Off Peak ราคาต่างกัน ผลิตภัณฑ์ Cube จะช่วยสะสมกระแสไฟฟ้าไว้ในแบตเตอรี่ในช่วง Off Peak นำมาใช้งานในช่วง Peak
8. OSENSE กับเทคโนโลยีการกำหนดตำแหน่งที่ล้ำสมัย
OSENSE ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2017 มุ่งพัฒนาเทคโนโลยีภาพคอมพิวเตอร์ กับ AI การประมวลผลระดับล่างเพื่อให้ AI สามารถจำแนกและเข้าใจสภาพของพื้นที่ผ่านกล้องถ่ายภาพ ทีมงานของบริษัทพัฒนาเทคโนโลยีภาพคอมพิวเตอร์ VBIP (Vision Based Indoor Positioning) เป็นการจำแนกอัตลักษณ์ตำแหน่งโดยเฉพาะเชื่อมโยงสัญญาณคลื่นสนามแม่เหล็กโลก Bluetooth และคลื่นสัญญาณอื่นๆ เพื่อการกำหนดตำแหน่งที่แม่นยำ สำหรับการใช้งานในแพลตฟอร์ม O2O (Online to Offline)
เนื่องจากสัญญาณคลื่นสนามแม่เหล็กโลก และอัตลักษณ์ของภาพที่เห็นเป็นจุดสำคัญเพื่อใช้ในการจำแนกและกำหนดตำแหน่ง หวังอิ่วกวง (王友光) ผู้ก่อตั้งและ CEO ของ OSENSE ได้พัฒนาระบบ VBIP กำหนดตำแหน่งได้โดยไม่ต้องอาศัยโปรแกรม Beacon หรือระบบไวไฟ แม้ในห้องหรือในสภาพที่ไม่มี GPS ในการนำทาง ก็สามารถกำหนดตำแหน่งได้ถือเป็นการพัฒนาเทคโนโลยีการรับรู้แบบรอบด้าน
เทคโนโลยีการรับรู้แบบรอบด้านของ OSENSE เป็นการทำให้อุปกรณ์รับรู้ตำแหน่งต่างๆ ได้โดยการเชื่อมโยงกับสัญญาณสนามแม่เหล็กโลกและอัตลักษณ์จุดสำคัญในพื้นที่ ทำให้จำแนกบุคคล และสถานที่ และใช้ AI (ปัญญาประดิษฐ์) ช่วยประมวลผล
เทคโนโลยีของ OSENSE ประยุกต์ใช้งานแบบอัจฉริจยะในด้านต่าง ๆ ได้แก่ การผลิต การก่อสร้าง ควบคุมความปลอดภัย การค้าปลีก การเงิน การโฆษณา การแพทย์ การแสดงสินค้า
ในด้านการแพทย์ทีมงาน OSENSE ได้นำเอาฮาร์ดแวร์อุปกรณ์กล้องประสานกับภาพคอมพิวเตอร์ และ AI ประยุกต์ใช้กับระบบนำทางเพื่อการส่องกล้องท่อหายใจ แก้ปัญหาแพทย์ส่องกล้องทำให้คนไข้บาดเจ็บ ในด้านกิจการสิ่งทอได้ใช้ AI และ Big Data ค้นหาลวดลายผ้าที่ต้องการค้นหา ทำการเปรียบเทียบกับข้อมูลผ้าในสต๊อก วิเคราะห์ลวดลายผ้าและสีผ้า เป็นการค้นหาลวดลายผ้าแบบรวดเร็วและแม่นยำ แก้ปัญหาความล่าในแบบเดิม ซึ่งต้องใช้พนักงาน หรือ ช่างชำนาญในการเลือก
เป้าหมายต่อไปของทีมงานคือ การจัดทำสนามแข่งขันกีฬา Smart Studio Solution ในยุค 5G ที่มีความแพร่หลายจึงเหมาะกับการพัฒนาโซลูชั่นสนามกีฬาอัจฉริยะ ประสาน IoT และ ICT เทคโนโลยี VBIP เพื่อการใช้งาน App บนมือถือ เชื่อมต่อออนไลน์ ทำให้แฟนบอลได้รับประสบการณ์ที่ดีกว่า
การพัฒนาสนามกีฬาอัจฉริยะมีแนวความคิดที่ว่า การเข้าไปชมบอลของแฟนบอลนั้น ส่วนใหญ่มักมีความเคยชินว่าในระหว่างการชมบอลอยู่ในสนาม ผู้ชมชอบที่จะดูการถ่ายทอดสดพร้อมกันไปด้วย (อาจเป็นLive TV, FB หรือ YouTube) จะมีนักวิจารณ์ให้ข้อมูลเพิ่ม เพราะฉะนั้นในระหว่างที่แฟนบอลชมกีฬาอยู่ในสนามกีฬา จะดู Smartphone ฟังการวิจารณ์หรือแม้แต่จะชมภาพ Replay ช็อตเด็ดๆ ระหว่างการแข่งขัน ผู้พัฒนาระบบเห็นว่าสิ่งเหล่านี้น่าจะกระทำในสนามกีฬาได้เลยไม่ต้องไปทำการดูถ่ายทอดสด ดังนั้น ในอนาคตผู้ชมใช้มาร์ทโฟนส่องไปยังจุดที่เขาอยากดูข้อมูลเพิ่มในสนามกีฬาได้ เช่น ส่องไปจุดที่เคยมีภาพช็อตเด็ดจะเห็นภาพ Replay ของการเตะฟุตบอลที่เป็นช็อตเด็ด หรือส่องไปที่ตัวนักกีฬาก็จะได้ข้อมูลเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับนักกีฬา แสดงออกมาใน smartphone ทันที เป็นการประสานทั้งออนไลน์และออฟไลน์ในขณะเดียวกัน นอกจากนี้แฟนบอลยังสามารถที่จะสั่งซื้ออาหารเครื่องดื่มหรือสั่งซื้อของที่ระลึกจาก App บนมือถือได้ในทันทีในขณะที่กำลังชมการแข่งขัน เป็นการตอบสนองความต้องการได้อย่างทันที จะช่วยสร้างโอกาสธุรกิจที่มหาศาล