
Sign up to save your podcasts
Or
ไต้หวันไฮเทค -09 มี.ค. 63- 10 startup น่าสนใจของไต้หวัน ตอนที่ 5 (รายที่ 9 และ 10) เทคโนโลยจำแนกเสียงช่วยผู้พิการทางหูฟังเสียงได้อย่างชัดเจน และการส่งสัญญานคลื่น 5G ประสิทธิภาพสูง
9. Relajet ผู้พัฒนาเทคโนโลยจำแนกเสียง (voice recognition technologies)
Relajet บริษัทสตร์ทอัพของไต้หวัน พัฒนาอุปกรณ์จำแนกคลื่นเสียง เฉินป๋อหรู่ (陳柏儒) ผู้ก่อตั้งบริษัทเป็นผู้ที่มีความพิการทางการได้ยินร่วมมือกับพี่ชาย เฉินโหย่วเริ่น (陳宥任) ประดิษฐ์อุปกรณ์จำแนกเสียง ตัดเสียงรบกวน ทำให้ผู้พิการทางการได้ยิน ได้ฟังเสียงจากแหล่งเสียงหลักได้ชัดเจนมากขึ้น
การใช้ชีวิตของผู้พิการทางการได้ยินมีความยากลำบาก ยกตัวอย่าง คนทั่วไปนั้นเวลาได้ยินเสียงแตรรถ หรือเสียงรถพยาบาล เราก็จะสามารถจำแนกได้ว่าแหล่งที่มาของเสียงนั้นอยู่ทางใด แต่สำหรับเฉินป๋อหรู่ ในขณะที่เดินอยู่บนถนนหรือว่าในขณะที่ขับรถ ถ้าได้ยินเสียงแตรรถหรือว่าได้ยินเสียงรถพยาบาล เขาไม่สามารถรู้ว่าแหล่งที่มาของเสียงว่าอยู่ทางไหนต้องรีบมองซ้ายมองขวามองหน้ามองหลังเพื่อดูว่าแหล่งที่มาของเสียง
นอกจากนี้ ในยามที่มีคนพูดพร้อมกันหลายคนมีเสียงอึกทึก ผู้ที่พิการทางการได้ยินไม่สามารถจำแนกเสียงของคนที่อยู่รอบข้างไม่รู้ว่าเสียงไหนเป็นเสียงของใคร การเรียนรู้ภาษาที่สองของผู้พิการทางการได้ยินมีอุปสรรคอย่างมากต้องอาศัยการอ่านริมฝีปากคือสังเกตการขยับของริมฝีปากประกอบกับการฟังเสียง
ด้วยความทุ่มเทผ่านมาหลายสิบปี Relajet ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง ในการประดิษฐ์อุปกรณ์ช่วยจำแนกหรือแยกเสียงจากแหล่งต่างๆ ได้ ในสภาพที่มีผู้คนพูดพร้อมๆ กันหลายคน ในที่มีเสียงอึกทึก อุปกรณ์จะจำแนกและจดจำเสียง ทำการขจัดเสียงรบกวน ขยายเสียงจากแหล่งเสียงหลัก ส่งเสียงผ่านเครื่องช่วยฟังเพื่อให้ผู้พิการทางการได้ยินเสียงที่ต้องการฟังอย่างชัดเจน อุปกรณ์นี้ช่วยแก้ปัญหาให้กับผู้พิการได้ในระดับหนึ่ง แต่การรู้ทิศทางหรือมิติของเสียงระดับอื่นๆ คงจะต้องรอการพัฒนาต่อไป
บริษัทสตาร์อัพของไต้หวัน พัฒนาเทคโนโลยี 5G และการส่งสัญญานคลื่นดาวเทียม
TMYTEK (稜研科技) สตาร์ทอัพ ไต้หวันมุ่งเน้นพัฒนาเทคโนโลยี 5g การส่งสัญญานคลื่นในระบบดาวเทียม ผลิตภัณฑ์ที่สำคัญของบริษัทคือ BBox ชุดระบบยิงคลื่นระดับมิลลิมเมตร (Millimeter-Wave) ให้บริการลูกค้าพัฒนาอุปกรณ์ 5G คลื่นมิลลิเมตรประยุกต์ใช้ในแผ่นชิป เสาอากาศ สมาร์ทโฟน และ IoT
คุณจางซูเหวย (張書維) ร่วมมือกับ หลินเจวียเหริน (林決仁) ก่อตั้งบริษัท TMYTEK เมื่อปี 2014 ให้บริการลูกค้าในเรื่องการยิงคลื่น แก้ปัญหาการสื่อสารในภาคพื้นดินและในภาคอากาศ ปัจจุบันกล่าวได้ว่าเทคโนโลยี 5G กำลังเป็นกระแสหลักในวงการสื่อสารโทรคมนาคม
TMYTEK เชี่ยวชาญในด้านการพัฒนาเสาอากาศกำหนดทิศทางการส่งคลื่น รวมทั้งการเสนอโซลูชั่นในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการตรวจจับคลื่นสัญญาณ โดยเฉพาะในเรื่องของการส่งสัญญาณด้วยดาวเทียมวงโคจรต่ำ ลูกค้าของ TMYTEK มีทั้งในไต้หวัน ญี่ปุ่น ในจีน เป้าหมายต่อไปพยายามเจาะตลาดในอเมริกา เน้นการให้บริการผู้ประกอบการโทรคมนาคมเกี่ยวกับการส่งสัญญาณต่างๆ ทั้งในส่วนของ เสาอากาศ โมดูล การทดสอบผลิตภัณฑ์
TMYTEK ได้นำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีความโดดเด่นอีกอย่างคือ XBeam เป็นระบบการทดสอบประยุตก์ใช้ในโรงงานผลิตชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์แบบอัตโนมัติ ใช้ทดสอบชิ้นส่วน ด้วยเทคโนโลยี Millimeter Wave หรือว่าเคลื่นระดับมิลลิเมตร ผู้ผลิตออกแบบแผ่นชิปสื่อสารโทรคมนาคมใช้ระบบทดสอบนี้จะเพิ่มประสิทธิภาพในการทดสอบผลิตภัณฑ์ได้อย่างมาก
จุดสำคัญก็คือบริษัท TMYTEK ช่วยลดเวลาในกระบวนการทดสอบ โมดุล AiP (Antenna-in-Package, AiP) ให้ใช้เวลาสั้นที่สุด สามารถลดเวลาเหลือเพียง 1 ใน 20 ของสายการผลิตโมดุลสื่อสารในปัจจุบัน ทำให้ต้นทุนของโมดุลต่ำลงเท่ากับผลิตภัณฑ์ยุค 4G โดยที่ไม่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนสายการผลิตขนานใหญ่
ไต้หวันไฮเทค -09 มี.ค. 63- 10 startup น่าสนใจของไต้หวัน ตอนที่ 5 (รายที่ 9 และ 10) เทคโนโลยจำแนกเสียงช่วยผู้พิการทางหูฟังเสียงได้อย่างชัดเจน และการส่งสัญญานคลื่น 5G ประสิทธิภาพสูง
9. Relajet ผู้พัฒนาเทคโนโลยจำแนกเสียง (voice recognition technologies)
Relajet บริษัทสตร์ทอัพของไต้หวัน พัฒนาอุปกรณ์จำแนกคลื่นเสียง เฉินป๋อหรู่ (陳柏儒) ผู้ก่อตั้งบริษัทเป็นผู้ที่มีความพิการทางการได้ยินร่วมมือกับพี่ชาย เฉินโหย่วเริ่น (陳宥任) ประดิษฐ์อุปกรณ์จำแนกเสียง ตัดเสียงรบกวน ทำให้ผู้พิการทางการได้ยิน ได้ฟังเสียงจากแหล่งเสียงหลักได้ชัดเจนมากขึ้น
การใช้ชีวิตของผู้พิการทางการได้ยินมีความยากลำบาก ยกตัวอย่าง คนทั่วไปนั้นเวลาได้ยินเสียงแตรรถ หรือเสียงรถพยาบาล เราก็จะสามารถจำแนกได้ว่าแหล่งที่มาของเสียงนั้นอยู่ทางใด แต่สำหรับเฉินป๋อหรู่ ในขณะที่เดินอยู่บนถนนหรือว่าในขณะที่ขับรถ ถ้าได้ยินเสียงแตรรถหรือว่าได้ยินเสียงรถพยาบาล เขาไม่สามารถรู้ว่าแหล่งที่มาของเสียงว่าอยู่ทางไหนต้องรีบมองซ้ายมองขวามองหน้ามองหลังเพื่อดูว่าแหล่งที่มาของเสียง
นอกจากนี้ ในยามที่มีคนพูดพร้อมกันหลายคนมีเสียงอึกทึก ผู้ที่พิการทางการได้ยินไม่สามารถจำแนกเสียงของคนที่อยู่รอบข้างไม่รู้ว่าเสียงไหนเป็นเสียงของใคร การเรียนรู้ภาษาที่สองของผู้พิการทางการได้ยินมีอุปสรรคอย่างมากต้องอาศัยการอ่านริมฝีปากคือสังเกตการขยับของริมฝีปากประกอบกับการฟังเสียง
ด้วยความทุ่มเทผ่านมาหลายสิบปี Relajet ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง ในการประดิษฐ์อุปกรณ์ช่วยจำแนกหรือแยกเสียงจากแหล่งต่างๆ ได้ ในสภาพที่มีผู้คนพูดพร้อมๆ กันหลายคน ในที่มีเสียงอึกทึก อุปกรณ์จะจำแนกและจดจำเสียง ทำการขจัดเสียงรบกวน ขยายเสียงจากแหล่งเสียงหลัก ส่งเสียงผ่านเครื่องช่วยฟังเพื่อให้ผู้พิการทางการได้ยินเสียงที่ต้องการฟังอย่างชัดเจน อุปกรณ์นี้ช่วยแก้ปัญหาให้กับผู้พิการได้ในระดับหนึ่ง แต่การรู้ทิศทางหรือมิติของเสียงระดับอื่นๆ คงจะต้องรอการพัฒนาต่อไป
บริษัทสตาร์อัพของไต้หวัน พัฒนาเทคโนโลยี 5G และการส่งสัญญานคลื่นดาวเทียม
TMYTEK (稜研科技) สตาร์ทอัพ ไต้หวันมุ่งเน้นพัฒนาเทคโนโลยี 5g การส่งสัญญานคลื่นในระบบดาวเทียม ผลิตภัณฑ์ที่สำคัญของบริษัทคือ BBox ชุดระบบยิงคลื่นระดับมิลลิมเมตร (Millimeter-Wave) ให้บริการลูกค้าพัฒนาอุปกรณ์ 5G คลื่นมิลลิเมตรประยุกต์ใช้ในแผ่นชิป เสาอากาศ สมาร์ทโฟน และ IoT
คุณจางซูเหวย (張書維) ร่วมมือกับ หลินเจวียเหริน (林決仁) ก่อตั้งบริษัท TMYTEK เมื่อปี 2014 ให้บริการลูกค้าในเรื่องการยิงคลื่น แก้ปัญหาการสื่อสารในภาคพื้นดินและในภาคอากาศ ปัจจุบันกล่าวได้ว่าเทคโนโลยี 5G กำลังเป็นกระแสหลักในวงการสื่อสารโทรคมนาคม
TMYTEK เชี่ยวชาญในด้านการพัฒนาเสาอากาศกำหนดทิศทางการส่งคลื่น รวมทั้งการเสนอโซลูชั่นในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการตรวจจับคลื่นสัญญาณ โดยเฉพาะในเรื่องของการส่งสัญญาณด้วยดาวเทียมวงโคจรต่ำ ลูกค้าของ TMYTEK มีทั้งในไต้หวัน ญี่ปุ่น ในจีน เป้าหมายต่อไปพยายามเจาะตลาดในอเมริกา เน้นการให้บริการผู้ประกอบการโทรคมนาคมเกี่ยวกับการส่งสัญญาณต่างๆ ทั้งในส่วนของ เสาอากาศ โมดูล การทดสอบผลิตภัณฑ์
TMYTEK ได้นำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีความโดดเด่นอีกอย่างคือ XBeam เป็นระบบการทดสอบประยุตก์ใช้ในโรงงานผลิตชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์แบบอัตโนมัติ ใช้ทดสอบชิ้นส่วน ด้วยเทคโนโลยี Millimeter Wave หรือว่าเคลื่นระดับมิลลิเมตร ผู้ผลิตออกแบบแผ่นชิปสื่อสารโทรคมนาคมใช้ระบบทดสอบนี้จะเพิ่มประสิทธิภาพในการทดสอบผลิตภัณฑ์ได้อย่างมาก
จุดสำคัญก็คือบริษัท TMYTEK ช่วยลดเวลาในกระบวนการทดสอบ โมดุล AiP (Antenna-in-Package, AiP) ให้ใช้เวลาสั้นที่สุด สามารถลดเวลาเหลือเพียง 1 ใน 20 ของสายการผลิตโมดุลสื่อสารในปัจจุบัน ทำให้ต้นทุนของโมดุลต่ำลงเท่ากับผลิตภัณฑ์ยุค 4G โดยที่ไม่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนสายการผลิตขนานใหญ่