
Sign up to save your podcasts
Or
นาข้าวอัจฉริยะ
ในภาวะโลกร้อน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสร้างผลกระทบและความเสียหายต่อการเกษตรรุนแรงขึ้น การปลูกข้าวซึ่งเป็นอาหารหลักของชาวไต้หวัน ตามสถิติระบุว่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา การปลูกข้าวของไต้หวันได้รับผลกระทบจากดินฟ้าอากาศคิดเป็นมูลค่าเกือบ 10,000 ล้านเหรียญไต้หวัน ซึ่งการปลูกข้าวแบบดั้งเดิมจะต้องอาศัยความชำนาญของเกษตรกรในการดูสภาพต่างๆ ด้วยตาและตัดสินใจแก้ไขด้วยประสบการณ์
ไต้หวันเผชิญกับภาวะขาดแคลนแรงงาน ส่งผลต่อการผลิตข้าวถดถอย
นอกจากนี้ ในปัจจุบันไต้หวันกำลังเผชิญกับภาวะประชากรสูงวัยและการมีบุตรน้อย จำนวนผู้ยึดอาชีพเกษตรกร การทำนาลดลง อีกทั้งเกิดภาวะขาดแคลนแรงงาน ประกอบกับเกษตรกรรุ่นใหม่ขาดความรู้ความชำนาญ ส่งผลต่อการผลิตข้าวของไต้หวันอยู่ในภาวะถดถอย จึงต้องอาศัยเทคโนโลยี ICT(Information and Communication Technology) ประสานกับอุปกรณ์ตรวจวัดและอุปกรณ์เซ็นเซอร์ เครื่องจักรการเกษตร พัฒนาเป็นนาข้าวอัจฉริยะ มีการควบคุมการผลิต โดยใช้โดรนถ่ายภาพเก็บข้อมูลเพื่อวิเคราะห์และบริหารจัดการนาข้าว ติดตามสภาพนาข้าวได้อย่างแม่นยำ เป็นการประหยัดแรงงาน ประหยัดเวลาเพิ่มประสิทธิภาพ การพัฒนาการเกษตรอัจฉริยะเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเร่งด่วน
ไต้หวันเผชิญกับภาวะขาดแคลนแรงงาน จำเป็นต้องพัฒนาเป็นนาข้าวอัจฉริยะ
การพัฒนานาข้าวอัจฉริยะของไต้หวัน แบ่งย่อยเป็นระบบต่างๆ ได้แก่ ระบบการขนส่งต้นกล้า การหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวเคลือบผงเหล็ก บริหารจัดการป้องกันแมลง การตรวจดูนาข้าวการจัดการน้ำ และการให้ปุ๋ย การเก็บเกี่ยว การบริหารยุ้งข้าว ได้ใช้ระบบเทคโนโลยีอัจฉริยะจนประสบความสำเร็จ การปลูกข้าวในไต้หวันส่วนใหญ่ยังใช้วิธีการเพาะต้นกล้า แล้วจึงย้ายไปปลูกในนาข้าว กระบวนการเพาะต้นกล้าแม้ว่าจะมีการใช้เครื่องจักรใช้อัตโนมัติและใช้สายพานลำเลียง แต่ในขั้นตอนการนำกระบะเมล็ดพันธุ์ข้าววางบนแปลงดิน เพื่อเพาะให้งอกเป็นต้นกล้าจนเติบโตได้ขนาดแล้ว จะต้องทำการเก็บต้นกล้าในกระบะโดยม้วนให้กลายเป็นแท่งกลม แล้วจึงยกวางขึ้นบนสายพานเพื่อลำเลียงส่งไปใช้ปักดำในนาข้าวต่อไป กระบวนการที่กล่าวมานี้ต้องอาศัยแรงงานคน ในภาวะที่ไต้หวันขาดแคลนแรงงาน คณะกรรมการการเกษตรจึงได้พัฒนาแขนกลหยิบจับเพื่อทำให้ขั้นตอนต่างๆ ดำเนินไปโดยอัตโนมัติ ในอนาคตการทำงานในแปลงต้นกล้า เกษตรกรเพียงคนเดียวก็สามารถทำหน้าที่คุมเครื่องจักรได้เอง กระบวนการทุกอย่างจะเป็นไปโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องใช้กำลังคนก้มๆ เงยๆ อีกต่อไป ประหยัดคน ประหยัดเวลา และมีประสิทธิภาพยอดเยี่ยม
ไต้หวันวิจัยพัฒนาแขนกล ใช้หยิบจับในกระบวนการเพาะต้นกล้า
นาข้าวอัจฉริยะ
ในภาวะโลกร้อน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสร้างผลกระทบและความเสียหายต่อการเกษตรรุนแรงขึ้น การปลูกข้าวซึ่งเป็นอาหารหลักของชาวไต้หวัน ตามสถิติระบุว่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา การปลูกข้าวของไต้หวันได้รับผลกระทบจากดินฟ้าอากาศคิดเป็นมูลค่าเกือบ 10,000 ล้านเหรียญไต้หวัน ซึ่งการปลูกข้าวแบบดั้งเดิมจะต้องอาศัยความชำนาญของเกษตรกรในการดูสภาพต่างๆ ด้วยตาและตัดสินใจแก้ไขด้วยประสบการณ์
ไต้หวันเผชิญกับภาวะขาดแคลนแรงงาน ส่งผลต่อการผลิตข้าวถดถอย
นอกจากนี้ ในปัจจุบันไต้หวันกำลังเผชิญกับภาวะประชากรสูงวัยและการมีบุตรน้อย จำนวนผู้ยึดอาชีพเกษตรกร การทำนาลดลง อีกทั้งเกิดภาวะขาดแคลนแรงงาน ประกอบกับเกษตรกรรุ่นใหม่ขาดความรู้ความชำนาญ ส่งผลต่อการผลิตข้าวของไต้หวันอยู่ในภาวะถดถอย จึงต้องอาศัยเทคโนโลยี ICT(Information and Communication Technology) ประสานกับอุปกรณ์ตรวจวัดและอุปกรณ์เซ็นเซอร์ เครื่องจักรการเกษตร พัฒนาเป็นนาข้าวอัจฉริยะ มีการควบคุมการผลิต โดยใช้โดรนถ่ายภาพเก็บข้อมูลเพื่อวิเคราะห์และบริหารจัดการนาข้าว ติดตามสภาพนาข้าวได้อย่างแม่นยำ เป็นการประหยัดแรงงาน ประหยัดเวลาเพิ่มประสิทธิภาพ การพัฒนาการเกษตรอัจฉริยะเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเร่งด่วน
ไต้หวันเผชิญกับภาวะขาดแคลนแรงงาน จำเป็นต้องพัฒนาเป็นนาข้าวอัจฉริยะ
การพัฒนานาข้าวอัจฉริยะของไต้หวัน แบ่งย่อยเป็นระบบต่างๆ ได้แก่ ระบบการขนส่งต้นกล้า การหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวเคลือบผงเหล็ก บริหารจัดการป้องกันแมลง การตรวจดูนาข้าวการจัดการน้ำ และการให้ปุ๋ย การเก็บเกี่ยว การบริหารยุ้งข้าว ได้ใช้ระบบเทคโนโลยีอัจฉริยะจนประสบความสำเร็จ การปลูกข้าวในไต้หวันส่วนใหญ่ยังใช้วิธีการเพาะต้นกล้า แล้วจึงย้ายไปปลูกในนาข้าว กระบวนการเพาะต้นกล้าแม้ว่าจะมีการใช้เครื่องจักรใช้อัตโนมัติและใช้สายพานลำเลียง แต่ในขั้นตอนการนำกระบะเมล็ดพันธุ์ข้าววางบนแปลงดิน เพื่อเพาะให้งอกเป็นต้นกล้าจนเติบโตได้ขนาดแล้ว จะต้องทำการเก็บต้นกล้าในกระบะโดยม้วนให้กลายเป็นแท่งกลม แล้วจึงยกวางขึ้นบนสายพานเพื่อลำเลียงส่งไปใช้ปักดำในนาข้าวต่อไป กระบวนการที่กล่าวมานี้ต้องอาศัยแรงงานคน ในภาวะที่ไต้หวันขาดแคลนแรงงาน คณะกรรมการการเกษตรจึงได้พัฒนาแขนกลหยิบจับเพื่อทำให้ขั้นตอนต่างๆ ดำเนินไปโดยอัตโนมัติ ในอนาคตการทำงานในแปลงต้นกล้า เกษตรกรเพียงคนเดียวก็สามารถทำหน้าที่คุมเครื่องจักรได้เอง กระบวนการทุกอย่างจะเป็นไปโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องใช้กำลังคนก้มๆ เงยๆ อีกต่อไป ประหยัดคน ประหยัดเวลา และมีประสิทธิภาพยอดเยี่ยม
ไต้หวันวิจัยพัฒนาแขนกล ใช้หยิบจับในกระบวนการเพาะต้นกล้า