ไต้หวันไฮเทค

ไต้หวันไฮเทค วันอังคารที่ 10 ก.ย.2567


Listen Later

ไต้หวันส่งเสริมใช้ AI เร่งการพัฒนายาใหม่

   การประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษากลยุทธ์อุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพของสภาบริหารเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2024 เน้นนวัตกรรมอัจฉริยะ ความยั่งยืนด้านชีวเวชศาสตร์ และสุขภาพที่ดีของชาวไต้หวัน โดย ลวิเพ่ยหรง (呂佩融) รองเลขาธิการสำนักงานเทคโนโลยี กระทรวงวิทยาศาสตร์ กล่าวว่า AI จะถูกนำมาใช้ในการวิจัยและพัฒนายาใหม่ๆ โดยสามารถจำลองและเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการวิจัยและพัฒนาได้ โดยยกตัวอย่างการวิจัยสารยับยั้งโมเลกุลขนาดเล็ก ระยะเวลาการวิจัยและพัฒนาจะสั้นลง ลดจาก 5 ปีเป็น 1.5 ปี และค่าใช้จ่ายลดลงจาก 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เหลือ 2.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นักวิชาการแนะนำว่าหากใช้เทคโนโลยีใหม่ AI ในด้านเภสัชกรรม ไต้หวันควรบ่มเพาะบุคคลกรในอุตสาหกรรมยาอย่างจริงจัง มีเพียงการอยู่ในแนวหน้าเท่านั้นจึงจะมีอนาคตที่ดีได้

   นรม. จั๋วหรงไท่  เข้าร่วมพิธีเปิดเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2024 ชี้ใว่า ปธน. ไล่ชิงเต๋อ เน้นย้ำในขณะหาเสียงเลือกตั้งถึงความจำเป็นในการขยายการลงทุนทางการแพทย์ เพื่อให้ชาวไต้หวันมีสุขภาพดี รัฐบาลได้ดำเนินนโยบาย กำหนดกฎระเบียบ และลงทุนทุน ส่งเสริม วางรากฐานการพัฒนาที่ดีขึ้นสำหรับอุตสาหกรรม เขาหวังว่า ที่ประชุมจะสามารถระดมความคิดเพื่อกำหนดนโยบายต่างๆ สำหรับอุตสาหกรรมชีวการแพทย์แห่งชาติ

   หลินไป่หลี่ (林百里 )Lin Baili ผู้ก่อตั้ง Quanta Group แชร์ประสบการณ์แพลตฟอร์มที่ทีมงานของเขาพัฒนาขึ้น ใช้ AI เพื่อช่วยงานทางการแพทย์ ลวิเพ่ยหรงชี้ว่าในแง่ของการวิจัยและพัฒนายา การใช้ AI สามารถจำลองและเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการวิจัยและพัฒนาได้

   ภาวะปัจจุบันของการใช้ AI ในการพัฒนายาใหม่เป็นอย่างไร? เสิ่นลี่เจวียน (沈麗娟) ประธานมูลนิธิเวชศาสตร์จงหัวจิ่งคัง (中華景康藥學基金會) และศาสตราจารย์ของคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน กล่าวว่าบริษัทยาขนาดใหญ่มีการพัฒนายาในด้านนี้ผ่านมาอย่างน้อย 5 – 10 ปี ก่อนอื่นจะต้องค้นหาโมเลกุลที่มีศักยภาพในการรักษาโรค สังเกตผลกระทบของมันต่อเซลล์ในร่างกายผ่านการจำลองด้วยคอมพิวเตอร์ จากนั้นตรวจสอบผ่านการทดลองในสัตว์และการทดลองในมนุษย์ กระบวนการนี้ใช้เวลาและเงินเป็นจำนวนมาก

   ปัจจุบัน AI สามารถวิเคราะห์ฐานข้อมูลยาที่พัฒนาขึ้นในอดีตได้อย่างรวดเร็ว หลังจากเรียนรู้บิ๊กดาตาด้วยคอมพิวเตอร์ AI ก็สามารถค้นหาโครงสร้างโมเลกุลที่สามารถนำไปใช้ในเภสัชภัณฑ์ แล้วจึงทำการจำลองได้ หรืออาจจะค้นหาปฏิกริยาของฟังชั่นตัวรับโปรตีน จากยาเก่าหรือยาที่ได้รับการพัฒนาขึ้น พัฒนากลไกใหม่และขอบเขตที่เกี่ยวข้อง  ลดระยะเวลาในการทดลองกับสัตว์และการทดลองในมนุษย์ และค้นหาตัวยาที่มีศักยภาพได้อย่างรวดเร็ว

   Insilico Medicine, Inc. บริษัท AI ระดับนานาชาติที่เกี่ยวข้องกับชีวเภสัชภัณฑ์ ได้จัดตั้งศูนย์ R&D แห่งแรกในเอเชียในไต้หวัน เซิ่นลี่เจยียน กล่าวว่าบริษัทได้ร่วมมือกับบริษัทยาและสถาบันการศึกษาเพื่อศึกษาร่วมกันในด้านวิชาการ การวิจัย การวิจัยและพัฒนา และด้านอื่นๆ ซึ่งช่วยลดเวลาและต้นทุนในการพัฒนายาได้อย่างมาก ปัจจุบัน อาจารย์ในสถาบันการศึกษาได้ใช้ AI และการจำลองด้วยคอมพิวเตอร์เพื่อประยุกต์ใช้ ในการพัฒนายาใหม่ๆ

    "ไต้หวันควรบ่มเพาะบุคคลากรในอุตสาหกรรมยาอย่างจริงจัง พวกเขาจะต้องอยู่ในระดับแนวหน้าไต้หวันจึงจะมีอนาคต" เสิ่นลี่เจวียนกล่าวว่ากระบวนการผลิตยามีความซับซ้อน และหากคุณต้องการนำเทคโนโลยีใหม่ ด้าน AI มาสู่กระบวนการผลิตยา คุณก็จำเป็นต้องมี ความสามารถที่เกี่ยวข้อง สวิตเซอร์แลนด์เป็นตัวอย่างที่ดีด้านการบ่มเพาะบุคคลากร จึงพัฒนาเภสัชภัณฑ์ได้ก้าวหน้า เธอแนะนำว่าไต้หวันควรจัดตั้งสถาบันการศึกษาเฉพาะทางเพื่อสร้างบุคคลกรมีความสามารถระดับสูงมากขึ้น ซึ่งเป็นที่ต้องการของอุตสาหกรรมยา ขณะเดียวกันก็ดึงดูดผู้มีความสามารถที่โดดเด่นจากประเทศอื่น ๆ และบูรณาการร่วมกันอย่างแข็งขัน จะทำให้อุตสาหกรรมยาในไต้หวันพัฒนาอย่างเฟื่องฟูได้

...more
View all episodesView all episodes
Download on the App Store

ไต้หวันไฮเทคBy แสงชัย กิตติภูมิวงศ์, Rti