
Sign up to save your podcasts
Or
การพัฒนาสารเคมีทางการเกษตรเพื่อนำเข้าสู่ตลาด โดยทั่วไปจะต้องทำการทดสอบความเป็นพิษผ่านการทดลองกับสัตว์ ทำให้หนูทดลองต้องเสียชีวิตจำนวนมาก การทำเช่นนี้ไม่สอดคล้องกับแนวโน้มของโลกที่เรียกร้องให้ลดการใช้สัตว์ทดลอง ดังนั้น หน่วยงานในไต้หวันคือ สถาบันวิจัยสารเคมีเกษตรและสารพิษ สถาบันวิจัยสุขภาพแห่งชาติ และมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวันได้ร่วมมือกันพัฒนา " "แพลตฟอร์มอัลกอริทึม AI สำหรับการประเมินความเสี่ยงของการเกิดอาการแพ้ทางผิวหนัง" " เป็นการลดการใช้สัตว์ทดลอง ในการประเมินความปลอดภัยสารเคมีทางการเกษตรในอนาคต
แพลตฟอร์มนี้เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินสารเคมีทางการเกษตร โดยมีการป้อนข้อมูลสารเคมีจำนวนมากเข้าไปในระบบ จากนั้นใช้ระบบค้นหาโครงสร้างเคมีที่มีคุณสมบัติทำให้เกิดอาการแพ้ หลังจากนั้นจะใช้วิธีทดสอบเซลล์ภายนอกร่างกาย(การทดสอบในหลอดแก้ว) เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการตรวจสอบ วิธีการเช่นนี้ สามารถประหยัดเวลาในการตรวจสอบความเป็นพิษของสารเคมีได้ถึง 80% เป็นแพลตฟอร์มการตรวจสอบที่ใช้เทคโนโลยี AI ในการประเมินสารเคมีทางการเกษตรเป็นครั้งแรกของโลก ความสำเร็จการพัฒนาเทคโนโลยีนี้ได้มีการเผยแพร่ในวารสารระดับนานาชาติแล้ว และสถาบันวิจัยสารเคมีเกษตรฯ กำลังหารือกับกรมตรวจสอบสุขอนามัยและการกักกันพืชและสัตว์ของไต้หวัน เพื่อส่งเสริมให้นำเทคโนโลยีนี้ไปใช้ในการตรวจสอบสารเคมีทางการเกษตรในไต้หวันโดยเร็ว
การใช้ปัญญาประดิษฐ์ในการประเมินความอ่อนไหวต่อการแพ้สารเคมีเกษตร ทนแทนการใช้สัตว์ทดลองได้ สอดคล้องกับการส่งเสริมสวัสดิภาพของสัตว์ เนื่องจากการทดสอบในสัตว์แต่ละครั้งทำให้หนูตะเภาต้องเสียชีวิตประมาณ 30 ตัว การช่วยเหลือของ AI ลดการสูญเสียชีวิตของหนูตะเภาได้
การพัฒนาสารเคมีทางการเกษตรเพื่อนำเข้าสู่ตลาด โดยทั่วไปจะต้องทำการทดสอบความเป็นพิษผ่านการทดลองกับสัตว์ ทำให้หนูทดลองต้องเสียชีวิตจำนวนมาก การทำเช่นนี้ไม่สอดคล้องกับแนวโน้มของโลกที่เรียกร้องให้ลดการใช้สัตว์ทดลอง ดังนั้น หน่วยงานในไต้หวันคือ สถาบันวิจัยสารเคมีเกษตรและสารพิษ สถาบันวิจัยสุขภาพแห่งชาติ และมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวันได้ร่วมมือกันพัฒนา " "แพลตฟอร์มอัลกอริทึม AI สำหรับการประเมินความเสี่ยงของการเกิดอาการแพ้ทางผิวหนัง" " เป็นการลดการใช้สัตว์ทดลอง ในการประเมินความปลอดภัยสารเคมีทางการเกษตรในอนาคต
แพลตฟอร์มนี้เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินสารเคมีทางการเกษตร โดยมีการป้อนข้อมูลสารเคมีจำนวนมากเข้าไปในระบบ จากนั้นใช้ระบบค้นหาโครงสร้างเคมีที่มีคุณสมบัติทำให้เกิดอาการแพ้ หลังจากนั้นจะใช้วิธีทดสอบเซลล์ภายนอกร่างกาย(การทดสอบในหลอดแก้ว) เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการตรวจสอบ วิธีการเช่นนี้ สามารถประหยัดเวลาในการตรวจสอบความเป็นพิษของสารเคมีได้ถึง 80% เป็นแพลตฟอร์มการตรวจสอบที่ใช้เทคโนโลยี AI ในการประเมินสารเคมีทางการเกษตรเป็นครั้งแรกของโลก ความสำเร็จการพัฒนาเทคโนโลยีนี้ได้มีการเผยแพร่ในวารสารระดับนานาชาติแล้ว และสถาบันวิจัยสารเคมีเกษตรฯ กำลังหารือกับกรมตรวจสอบสุขอนามัยและการกักกันพืชและสัตว์ของไต้หวัน เพื่อส่งเสริมให้นำเทคโนโลยีนี้ไปใช้ในการตรวจสอบสารเคมีทางการเกษตรในไต้หวันโดยเร็ว
การใช้ปัญญาประดิษฐ์ในการประเมินความอ่อนไหวต่อการแพ้สารเคมีเกษตร ทนแทนการใช้สัตว์ทดลองได้ สอดคล้องกับการส่งเสริมสวัสดิภาพของสัตว์ เนื่องจากการทดสอบในสัตว์แต่ละครั้งทำให้หนูตะเภาต้องเสียชีวิตประมาณ 30 ตัว การช่วยเหลือของ AI ลดการสูญเสียชีวิตของหนูตะเภาได้