
Sign up to save your podcasts
Or
ไต้หวันพัฒนา AI+HI เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ยกระดับการผลิต
การประยุกต์ปัญญาประดิษฐ์ AI ในภาคบริการและการผลิตมีความแพร่หลายมากขึ้น ในภาวะไต้หวันขาดแคลนแรงงานโดยเฉพาะในภาคการเกษตรที่ขาดแคลนหนักหน่วง สถาบันอุตสาหกรรมสารสนเทศ (Institute for Information Industry:III) ของไต้หวันได้พัฒนาการประยุกต์ใช้ AI ที่มีความทันสมัยมากขึ้น หวังว่าจะช่วยเหลือภาคการเกษตรของไต้หวันสร้างโอกาสธุรกิจที่มากขึ้น และด้วยแนวความคิดเช่นนี้ ทีมวิจัยพัฒนา III ได้ทำการวิจัย AI + HI (Human Intelligent) ได้นำเอาเทคโนโลยี AI ผสมผสานกับความรู้ประสบการณ์การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่สะสมมาตั้งแต่ดั้งเดิม ยกระดับการผลิตสัตว์น้ำแบบดั้งเดิมให้ทันสมัย สอดคล้องกับการส่งเสริมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคู่กับการผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำโดยรอบด้าน
การใช้หุ่นยนต์ AI + เทคโนโลยีชีวภาพเป็นแนวโน้มทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรม 4.0 ตอบสนองเศรษฐกิจโลกในยุคใหม่ที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ดังเช่น Klaus Schwab ผู้ก่อตั้งและประธาน world economic forum (WEF) ก็เคยกล่าวว่า แต่ละประเทศจะต้องหาทางยกระดับแรงงาน
ภาคการผลิตของไต้หวันมีความจำเป็นต้องยกระดับเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเร่งด่วน โดยจะต้องรวบรวมความรู้ของช่างเทคนิคให้กลายเป็นรูปแบบดิจิทัล พัฒนาเป็น AI เปรียบเสมือนเป็นช่างฝีมือสูงและมีชำนาญงานในระบบดิจิทัล อันจะเป็นการแก้ปัญหาการขาดแคลนผู้สืบทอดความรู้ทั้งในด้านการเกษตร/การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เป็นการยกระดับการเกษตรแบบดั้งเดิมให้กลายเป็นการเกษตรในเชิงเทคโนโลยี การก๊อปปี้ความสามารถและประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญเป็นรูปแบบหนึ่งในการแก้ปัญหายกระดับการผลิตและเพิ่มมูลค่าอุตสาหกรรม
ไต้หวันพัฒนา AI+HI เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ยกระดับการผลิต
การประยุกต์ปัญญาประดิษฐ์ AI ในภาคบริการและการผลิตมีความแพร่หลายมากขึ้น ในภาวะไต้หวันขาดแคลนแรงงานโดยเฉพาะในภาคการเกษตรที่ขาดแคลนหนักหน่วง สถาบันอุตสาหกรรมสารสนเทศ (Institute for Information Industry:III) ของไต้หวันได้พัฒนาการประยุกต์ใช้ AI ที่มีความทันสมัยมากขึ้น หวังว่าจะช่วยเหลือภาคการเกษตรของไต้หวันสร้างโอกาสธุรกิจที่มากขึ้น และด้วยแนวความคิดเช่นนี้ ทีมวิจัยพัฒนา III ได้ทำการวิจัย AI + HI (Human Intelligent) ได้นำเอาเทคโนโลยี AI ผสมผสานกับความรู้ประสบการณ์การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่สะสมมาตั้งแต่ดั้งเดิม ยกระดับการผลิตสัตว์น้ำแบบดั้งเดิมให้ทันสมัย สอดคล้องกับการส่งเสริมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคู่กับการผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำโดยรอบด้าน
การใช้หุ่นยนต์ AI + เทคโนโลยีชีวภาพเป็นแนวโน้มทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรม 4.0 ตอบสนองเศรษฐกิจโลกในยุคใหม่ที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ดังเช่น Klaus Schwab ผู้ก่อตั้งและประธาน world economic forum (WEF) ก็เคยกล่าวว่า แต่ละประเทศจะต้องหาทางยกระดับแรงงาน
ภาคการผลิตของไต้หวันมีความจำเป็นต้องยกระดับเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเร่งด่วน โดยจะต้องรวบรวมความรู้ของช่างเทคนิคให้กลายเป็นรูปแบบดิจิทัล พัฒนาเป็น AI เปรียบเสมือนเป็นช่างฝีมือสูงและมีชำนาญงานในระบบดิจิทัล อันจะเป็นการแก้ปัญหาการขาดแคลนผู้สืบทอดความรู้ทั้งในด้านการเกษตร/การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เป็นการยกระดับการเกษตรแบบดั้งเดิมให้กลายเป็นการเกษตรในเชิงเทคโนโลยี การก๊อปปี้ความสามารถและประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญเป็นรูปแบบหนึ่งในการแก้ปัญหายกระดับการผลิตและเพิ่มมูลค่าอุตสาหกรรม