
Sign up to save your podcasts
Or
โครงการพัฒนาความร้อนใต้พิภพภูเขาไฟแห่งแรกของไต้หวัน โรงไฟฟ้าความร้อนใต้พิภพซื่อหวงจื่อผิง (四磺子坪) ตั้งอยู่ในเขตจินซาน นครนิวไทเป เริ่มใช้งานเชิงพาณิชย์ในช่วงกลางเดือนตุลาคม 2023 เป็นโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพนำร่องขนาด 1MW อุปกรณ์ผลิตไฟฟ้าติดตั้งบนพื้นที่พัฒนาประมาณ 1,500 ตารางเมตร ผลิตไฟฟ้าได้ปีละ 6.4 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง ซึ่งสามารถจ่ายไฟฟ้าได้ 1,500 ครัวเรือน (ครัวเรือนละ 4 คน)
แหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพที่สำคัญของไต้หวันอยู่ที่พื้นที่ภูเขาไฟต้าถุน (大屯) Datun คิดเป็นประมาณ 70% ของทรัพยากรความร้อนใต้พิภพระดับตื้นของไต้หวัน มีพลังงานความร้อนที่เสถียร เหออี๋หมิง(何怡明) ผู้อำนวยการ สำนักพัฒนาเศรษฐกิจ ชี้ว่า ไต้หวันดำเนินการสำรวจความร้อนใต้พิภพ เขตภูเขาไฟต้าถุน ตั้งแต่ปี 1966 อย่างไรก็ตาม เนื่องจากแหล่งความร้อนใต้พิภพจากภูเขาไฟมีความเป็นกรดสูง ท่อส่งความร้อนถูกกัดกร่อนได้ง่าย การบุกเบิกพลังความร้อนใต้พิภพที่ผ่านมาไม่สำเร็จ เนื่องจากวัสดุมีความคงทนไม่เพียงพอ แต่ด้วยความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้ประกอบการนำเข้าเทคโนโลยีการก่อสร้างใหม่จากต่างประเทศ โดยใช้ชุดเครื่องกำเนิดไฟฟ้าไอน้ำแห้ง ผสมผสานกับการผลิตไฟฟ้าแบบเย็น เอาชนะกรด มีวิธีป้องกันท่อและสายถูกกัดกร่อน ทลายอุปสรรคของการพัฒนาความร้อนใต้พิภพ ถือเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาพลังงานความร้อนใต้พิภพจากภูเขาไฟในไต้หวัน
ซื่อหวงจื่อผิง เป็นส่วนหนึ่งของ "เขตสาธิตความร้อนใต้พิภพจินซาน หลิวหวงจื่อผิง(金山硫磺子坪地熱示範區)" ซึ่งมีพื้นที่สำหรับพัฒนาเกือบ 20,000 ตารางเมตร ตั้งเป้าหมายกำลังการผลิต 4 เมกะวัตต์ ผลิตไฟฟ้าได้ปีละ 27 ล้านหน่วย (กิโลวัตต์ชั่วโมง) สามารถป้อนไฟฟ้าให้กับครัวเรือนได้ 6,392 ครัวเรือน (ขนาด 4 คน/ครัวเรือน) สำหรับการติดตั้งอุปกรณ์ผลิตไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพชนิดนำร่องขนาด 1 เมกะวัตต์ ที่ซื่อข่วงจื่อผิง (四磺子坪) ใช้พื้นที่ 1,500 ตารางเมตร การผลิตไฟฟ้า ปีละ 6.4 ล้านหน่วย (กิโลวัตต์-ชั่วโมง) จ่ายให้กับ 1,500 ครัวเรือน
หลิว เหอหราน(劉和然) ชี้ว่าพลังงานทดแทนจะเข้ามาทดแทนปิโตรเคมีและก๊าซธรรมชาติในอนาคต พลังงานลม หรือพลังงานแสงอาทิตย์จะถูกใช้มากขึ้นในภาคกลางและภาคใต้ ในขณะที่พลังงานความร้อนใต้พิภพจะใช้ในภาคเหนือ ซึ่งจะการเปลี่ยนแปลงอย่างมากต่อ ต่อระบบนิเวศและพื้นใช้ที่ดิน เป้าหมายถัดไป 4 เมกะวัตต์จะเริ่มก่อสร้างในปลายปีนี้ ในอนาคตขยายเป็น 80 เมกกะวัตต์ ซึ่งเทียบเท่ากับการผลิตไฟฟ้า 1 เครื่อง ของโรงไฟฟ้าหลินโข่ว ซึ่งคาดหวังเป็นแหล่งพลังงานสำคัญได้
โครงการพัฒนาความร้อนใต้พิภพภูเขาไฟแห่งแรกของไต้หวัน โรงไฟฟ้าความร้อนใต้พิภพซื่อหวงจื่อผิง (四磺子坪) ตั้งอยู่ในเขตจินซาน นครนิวไทเป เริ่มใช้งานเชิงพาณิชย์ในช่วงกลางเดือนตุลาคม 2023 เป็นโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพนำร่องขนาด 1MW อุปกรณ์ผลิตไฟฟ้าติดตั้งบนพื้นที่พัฒนาประมาณ 1,500 ตารางเมตร ผลิตไฟฟ้าได้ปีละ 6.4 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง ซึ่งสามารถจ่ายไฟฟ้าได้ 1,500 ครัวเรือน (ครัวเรือนละ 4 คน)
แหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพที่สำคัญของไต้หวันอยู่ที่พื้นที่ภูเขาไฟต้าถุน (大屯) Datun คิดเป็นประมาณ 70% ของทรัพยากรความร้อนใต้พิภพระดับตื้นของไต้หวัน มีพลังงานความร้อนที่เสถียร เหออี๋หมิง(何怡明) ผู้อำนวยการ สำนักพัฒนาเศรษฐกิจ ชี้ว่า ไต้หวันดำเนินการสำรวจความร้อนใต้พิภพ เขตภูเขาไฟต้าถุน ตั้งแต่ปี 1966 อย่างไรก็ตาม เนื่องจากแหล่งความร้อนใต้พิภพจากภูเขาไฟมีความเป็นกรดสูง ท่อส่งความร้อนถูกกัดกร่อนได้ง่าย การบุกเบิกพลังความร้อนใต้พิภพที่ผ่านมาไม่สำเร็จ เนื่องจากวัสดุมีความคงทนไม่เพียงพอ แต่ด้วยความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้ประกอบการนำเข้าเทคโนโลยีการก่อสร้างใหม่จากต่างประเทศ โดยใช้ชุดเครื่องกำเนิดไฟฟ้าไอน้ำแห้ง ผสมผสานกับการผลิตไฟฟ้าแบบเย็น เอาชนะกรด มีวิธีป้องกันท่อและสายถูกกัดกร่อน ทลายอุปสรรคของการพัฒนาความร้อนใต้พิภพ ถือเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาพลังงานความร้อนใต้พิภพจากภูเขาไฟในไต้หวัน
ซื่อหวงจื่อผิง เป็นส่วนหนึ่งของ "เขตสาธิตความร้อนใต้พิภพจินซาน หลิวหวงจื่อผิง(金山硫磺子坪地熱示範區)" ซึ่งมีพื้นที่สำหรับพัฒนาเกือบ 20,000 ตารางเมตร ตั้งเป้าหมายกำลังการผลิต 4 เมกะวัตต์ ผลิตไฟฟ้าได้ปีละ 27 ล้านหน่วย (กิโลวัตต์ชั่วโมง) สามารถป้อนไฟฟ้าให้กับครัวเรือนได้ 6,392 ครัวเรือน (ขนาด 4 คน/ครัวเรือน) สำหรับการติดตั้งอุปกรณ์ผลิตไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพชนิดนำร่องขนาด 1 เมกะวัตต์ ที่ซื่อข่วงจื่อผิง (四磺子坪) ใช้พื้นที่ 1,500 ตารางเมตร การผลิตไฟฟ้า ปีละ 6.4 ล้านหน่วย (กิโลวัตต์-ชั่วโมง) จ่ายให้กับ 1,500 ครัวเรือน
หลิว เหอหราน(劉和然) ชี้ว่าพลังงานทดแทนจะเข้ามาทดแทนปิโตรเคมีและก๊าซธรรมชาติในอนาคต พลังงานลม หรือพลังงานแสงอาทิตย์จะถูกใช้มากขึ้นในภาคกลางและภาคใต้ ในขณะที่พลังงานความร้อนใต้พิภพจะใช้ในภาคเหนือ ซึ่งจะการเปลี่ยนแปลงอย่างมากต่อ ต่อระบบนิเวศและพื้นใช้ที่ดิน เป้าหมายถัดไป 4 เมกะวัตต์จะเริ่มก่อสร้างในปลายปีนี้ ในอนาคตขยายเป็น 80 เมกกะวัตต์ ซึ่งเทียบเท่ากับการผลิตไฟฟ้า 1 เครื่อง ของโรงไฟฟ้าหลินโข่ว ซึ่งคาดหวังเป็นแหล่งพลังงานสำคัญได้