
Sign up to save your podcasts
Or
ทีมวิจัยคณะวิศวกรรมเครื่องจักรกลไฟฟ้า มหาวิทยาลัยแห่งชาติเฉิงกง(National Cheng Kung University:NCKU) ซึ่งตั้งอยู่ที่นครไถหนาน ทางภาคใต้ของไต้หวัน ประดิษฐ์ดาวเทียม ขนาดเล็ก IRIS-A ยิงเข้าสู่วงโคจร เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2022 โดยจรวจ Falcon 9 ที่รัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา อยู่ที่ระดับความสูง 500 กว่ากิโลเมตร
ม. เฉิงกง แถลงข่าวในวันที่ 27 มกราคม 2022 ว่า ทีมนักศึกษาภายใต้การดูแลของ ศ. จวงจื้อชิง (莊智清) สาขาวิศวกรรมเครื่องกลไฟฟ้า ได้ประดิษฐ์ดาวเทียมน้ำหนัก 2 กิโลกรัม กว้าง ยาว สูง 10cm x 10cm x 20 cm เป็นโครงการต่อเนื่องจากดาวเทียมขนาดเล็ก Phoenix ที่ประสบความสำเร็จในการยิงเข้าสู่วงโคจรเมื่อปี 2017 ทั้งนี้ ดาวเทียม Phoenix ใช้งานตั้งแต่ปี 2017 หลังจากใช้งานเป็นเวลา 2 ปี ได้หยุดใช้งานเมื่อปี 2019 ทางมหาวิทยาลัยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกระทรวงวิทยาศาสตร์ของไต้หวัน จึงได้ดำเนินโครงการพัฒนาดาวเทียมต่อเนื่อง สร้างดาวเทียมขนาดเล็ก IRIS มีชื่อเต็ม Intelligent Remote sensing and Internet Satellite เป็นดาวเทียมอัจฉริยะควบคุมจากระยะไกล มีความสามารถสนับสนุนการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตสรรพสิ่ง (IoT) ซึ่งโครงการดาวเทียม IRIS ประกอบด้วยดาวเทียม 3 ดวง โดยดวงแรกประสบความสำเร็จในการยิงเข้าสู่วงโคจรและเชื่อมต่อมายังภาคพื้นโลก แสดงให้เห็นว่าระบบดาวเทียมที่พัฒนาขึ้นและฟังก์ชันการทำงานต่างๆ มีความสุกงอมใช้งานได้จริง คาดว่าดาวเทียม IRIS จะมีอายุการใช้งานนาน 6-7 ปี
ทีมวิจัยคณะวิศวกรรมเครื่องจักรกลไฟฟ้า ม.เฉิงกง นำโดย ศ.จวงจื้องชิง(ภาพกลาง)
ศ. จวง บอกด้วยว่า การพัฒนาดาวเทียมขนาดเล็กมีข้อดีคือ สร้างสำเร็จได้ในเวลาสั้นและมีความยืดหยุ่นในการใช้งาน มีส่วนช่วยในการพัฒนาการสื่อสารระบบดาวเทียมเชื่อมต่อกับเขตชนบทห่างไกล ในทะเล และยังสามารถใช้ในการช่วยเหลือกู้ภัยการติดตามคนและสิ่งของ เป็นต้น ประยุกต์ใช้งานได้อย่างไร้ขีดจำกัด ทำให้การเชื่อมต่อระบบสื่อสารโทรคมนาคมมีความราบรื่นไร้รอยตะเข็บ
ดาวเทียม IRIS ที่ยิงเข้าสู่วงโคจรเคลื่อนตัวแบบวงโคจรสัมพันธ์กับดวงอาทิตย์ (Sun Synchronous Orbit : SSO) การเคลื่อนมาอยู่เหนือน่านฟ้าไต้หวันไม่มีกำหนดเวลาประจำ แต่สามารถคำนวณเวลาที่จะเคลื่อนตัวมาถึงได้ และจะเคลื่อนผ่านสถานีภาคพื้นดินวิทยาเขตกุยเหริน (歸仁) ของ ม. เฉิงกง วันละ 4 ครั้ง ซึ่งขณะนี้ ทางทีมวิจัยกำลังพัฒนา IRIS –B และ IRIS-C เป็นลำดับต่อไป คาดว่าจะยิงเข้าสู่วงโคจรในปี 2023 โดยวัตถุประสงค์การพัฒนาดาวเทียม IRIS-B เพื่อจัดการข้อมูลกาการวิเคราะห์และจดจำภาพประสานกับ AI ส่วน IRIC-C จะเน้นการพัฒนาทดสอบสมรรถนะแท้จริงของอปุกรณ์และชิ้นส่วนต่างๆ ในสภาวะไร้น้ำหนักขณะอยู่ในอวกาศ
ชิ้นส่วน IRIS-A ก่อนการติดตั้ง
ทีมวิจัยคณะวิศวกรรมเครื่องจักรกลไฟฟ้า มหาวิทยาลัยแห่งชาติเฉิงกง(National Cheng Kung University:NCKU) ซึ่งตั้งอยู่ที่นครไถหนาน ทางภาคใต้ของไต้หวัน ประดิษฐ์ดาวเทียม ขนาดเล็ก IRIS-A ยิงเข้าสู่วงโคจร เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2022 โดยจรวจ Falcon 9 ที่รัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา อยู่ที่ระดับความสูง 500 กว่ากิโลเมตร
ม. เฉิงกง แถลงข่าวในวันที่ 27 มกราคม 2022 ว่า ทีมนักศึกษาภายใต้การดูแลของ ศ. จวงจื้อชิง (莊智清) สาขาวิศวกรรมเครื่องกลไฟฟ้า ได้ประดิษฐ์ดาวเทียมน้ำหนัก 2 กิโลกรัม กว้าง ยาว สูง 10cm x 10cm x 20 cm เป็นโครงการต่อเนื่องจากดาวเทียมขนาดเล็ก Phoenix ที่ประสบความสำเร็จในการยิงเข้าสู่วงโคจรเมื่อปี 2017 ทั้งนี้ ดาวเทียม Phoenix ใช้งานตั้งแต่ปี 2017 หลังจากใช้งานเป็นเวลา 2 ปี ได้หยุดใช้งานเมื่อปี 2019 ทางมหาวิทยาลัยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกระทรวงวิทยาศาสตร์ของไต้หวัน จึงได้ดำเนินโครงการพัฒนาดาวเทียมต่อเนื่อง สร้างดาวเทียมขนาดเล็ก IRIS มีชื่อเต็ม Intelligent Remote sensing and Internet Satellite เป็นดาวเทียมอัจฉริยะควบคุมจากระยะไกล มีความสามารถสนับสนุนการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตสรรพสิ่ง (IoT) ซึ่งโครงการดาวเทียม IRIS ประกอบด้วยดาวเทียม 3 ดวง โดยดวงแรกประสบความสำเร็จในการยิงเข้าสู่วงโคจรและเชื่อมต่อมายังภาคพื้นโลก แสดงให้เห็นว่าระบบดาวเทียมที่พัฒนาขึ้นและฟังก์ชันการทำงานต่างๆ มีความสุกงอมใช้งานได้จริง คาดว่าดาวเทียม IRIS จะมีอายุการใช้งานนาน 6-7 ปี
ทีมวิจัยคณะวิศวกรรมเครื่องจักรกลไฟฟ้า ม.เฉิงกง นำโดย ศ.จวงจื้องชิง(ภาพกลาง)
ศ. จวง บอกด้วยว่า การพัฒนาดาวเทียมขนาดเล็กมีข้อดีคือ สร้างสำเร็จได้ในเวลาสั้นและมีความยืดหยุ่นในการใช้งาน มีส่วนช่วยในการพัฒนาการสื่อสารระบบดาวเทียมเชื่อมต่อกับเขตชนบทห่างไกล ในทะเล และยังสามารถใช้ในการช่วยเหลือกู้ภัยการติดตามคนและสิ่งของ เป็นต้น ประยุกต์ใช้งานได้อย่างไร้ขีดจำกัด ทำให้การเชื่อมต่อระบบสื่อสารโทรคมนาคมมีความราบรื่นไร้รอยตะเข็บ
ดาวเทียม IRIS ที่ยิงเข้าสู่วงโคจรเคลื่อนตัวแบบวงโคจรสัมพันธ์กับดวงอาทิตย์ (Sun Synchronous Orbit : SSO) การเคลื่อนมาอยู่เหนือน่านฟ้าไต้หวันไม่มีกำหนดเวลาประจำ แต่สามารถคำนวณเวลาที่จะเคลื่อนตัวมาถึงได้ และจะเคลื่อนผ่านสถานีภาคพื้นดินวิทยาเขตกุยเหริน (歸仁) ของ ม. เฉิงกง วันละ 4 ครั้ง ซึ่งขณะนี้ ทางทีมวิจัยกำลังพัฒนา IRIS –B และ IRIS-C เป็นลำดับต่อไป คาดว่าจะยิงเข้าสู่วงโคจรในปี 2023 โดยวัตถุประสงค์การพัฒนาดาวเทียม IRIS-B เพื่อจัดการข้อมูลกาการวิเคราะห์และจดจำภาพประสานกับ AI ส่วน IRIC-C จะเน้นการพัฒนาทดสอบสมรรถนะแท้จริงของอปุกรณ์และชิ้นส่วนต่างๆ ในสภาวะไร้น้ำหนักขณะอยู่ในอวกาศ
ชิ้นส่วน IRIS-A ก่อนการติดตั้ง