ไต้หวันไฮเทค

ไต้หวันไฮเทค วันอังคารที่ 15 ต.ค.2567


Listen Later

   วันที่ 10 ตุลาคม 2024 กรมอุตุนิยมวิทยาประกาศเตือนพายุแม่เหล็ก ซึ่งคาดว่าจะส่งผลกระทบประมาณ 54 ชั่วโมง มหาวิทยาลัยจงยัง (National Central University) ซึ่งเป็นผู้สร้าง "สถานีสังเกตคลื่นวิทยุสุริยะแห่งแรกของไต้หวัน" ได้ตรวจพบสัญญาณการปะทุของคลื่นวิทยุสุริยะหลายประเภทที่เกิดจากพายุสุริยะตั้งแต่วันพุธ (9 ตุลาคม) โดยมีค่าสูงกว่าแบ็กกราวด์ปกติ 8 ถึง 15 เท่า แต่ยังคงต่ำกว่าค่าสูงสุดในเดือนพฤษภาคม 2024 นี้ที่สูงกว่าปกติถึง 25 เท่า ทางมหาวิทยาลัยจงยังระบุว่า พายุแม่เหล็กนี้จะดำเนินต่อไปจนถึงปีหน้า ทำให้ประชาชนมีโอกาสพบกับสถานการณ์ที่คล้ายกับในช่วงนี้อีก

   กรมอุตุนิยมวิทยาได้ประกาศเตือนพายุแม่เหล็กเมื่อวานนี้ ขณะที่อดีตผู้อำนวยการกรมอุตุนิยมวิทยา เจิ้งหมิงเตี่ยน(鄭明典) ได้โพสต์บนเฟซบุ๊กในวันนี้ว่า เกิดพายุแม่เหล็กระดับ G5 ซึ่งเป็นพายุที่รุนแรงมาก และจะส่งผลกระทบต่อการสื่อสารด้วยคลื่นวิทยุ ความแม่นยำของการระบุตำแหน่งดาวเทียม ระบบไฟฟ้า และการควบคุมยานอวกาศ

   ทีมงานของมหาวิทยาลัยจงได้สร้าง "สถานีสังเกตคลื่นวิทยุสุริยะ" แห่งแรกของไต้หวันที่สถานีเรดาร์ความถี่สูงมากในเขตจงลี่ นครเถาหยวน และในช่วงหลายวันที่ผ่านมาสามารถจับสัญญาณการปะทุของคลื่นวิทยุสุริยะ (solar radio burst) ที่เกิดจากพายุสุริยะได้อีกครั้งหลังจากที่เคยตรวจพบเมื่อเดือนพฤษภาคมปีนี้

   ศาสตราจารย์ หยางหย่าฮุ่ย (楊雅惠) จากภาควิชาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมอวกาศของมหาวิทยาลัยจงยัง ผู้รับผิดชอบสถานีสังเกตการณ์นี้ กล่าวว่า "สถานีสังเกตคลื่นวิทยุสุริยะของไต้หวัน" เป็นแพลตฟอร์มแรกและแพลตฟอร์มเดียวในไต้หวันที่ประสบความสำเร็จในการสังเกตการณ์การปะทุของคลื่นวิทยุสุริยะ เนื่องจากการปะทุของคลื่นวิทยุจะมาถึงโลกก่อนโครงสร้างลมสุริยะ จึงสามารถใช้เป็นข้อมูลเตือนล่วงหน้าสำหรับสภาพอากาศในอวกาศที่แปรปรวนรุนแรงได้ ทีมงานตรวจพบสัญญาณที่เกี่ยวพันตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม และจนถึงวันนี้ ความแรงของสัญญาณสูงกว่าแบ็กกราวด์ปกติ 8 ถึง 15 เท่า แต่ยังคงต่ำกว่าค่าสูงสุดในวันที่ 10 พฤษภาคม 2024 ซึ่งสูงถึง 25 เท่า โดยครั้งนี้มีความรุนแรงต่ำกว่าเล็กน้อย

   ศาสตราจารย์ เฉินเหวินผิง(陳文屏) จากสถาบันดาราศาสตร์ของมหาวิทยาลัยจงยัง กล่าวเพิ่มเติมว่า ปรกฎการณ์บนพื้นผิวดวงอาทิตย์ที่เพิ่มขึ้นทำให้เกิดการจัดเรียงใหม่ของสนามแม่เหล็ก ส่งผลให้เกิดพายุสุริยะซึ่งเคลื่อนตัวเข้าใกล้โลก เมื่อพายุสุริยะเหล่านี้ปะทะกับสนามแม่เหล็กโลกจะทำให้เกิดพายุแม่เหล็กโลก อนุภาคที่มีประจุจะเคลื่อนตัวไปยังขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ ส่งผลให้เกิดการรบกวนกับระบบไฟฟ้าและการสื่อสาร ประชาชนอาจสามารถเห็นแสงออโรราได้ คาดการณ์ว่าพายุแม่เหล็กโลกนี้จะดำเนินต่อไปจนถึงปีหน้า

...more
View all episodesView all episodes
Download on the App Store

ไต้หวันไฮเทคBy แสงชัย กิตติภูมิวงศ์, Rti