ไต้หวันไฮเทค

ไต้หวันไฮเทค วันอังคารที่ 16 ม.ค.2567


Listen Later

   การใช้พลังงานลมนอกชายฝั่งของไต้หวันกำลังเติบโตไล่ตามกระแสโลก ตามสถิติของกระทรวงเศรษฐการ แม้ว่าในปี 2023 ที่ผ่านมามีการสร้างกังหันลมนอกชายฝั่งเกือบ 100 ตัว แต่จำนวนกังหันลมสะสมมีมากถึง 283 ตัวแล้ว โดยมีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวม 2.25 GW จัดเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศของโลกที่มีพลังงานลมนอกชายฝั่งเกิน 2 GW อยู่ในอันดับที่ 7 รองจากประเทศ จีน อังกฤษ เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก และเบลเยียม กระทรวงเศรษฐการตั้งเป้าบรรลุเป้าหมาย 3 GW ในปี 2024 นี้

 ไต้หวันเริ่มทุ่มเทความพยายามในการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนตั้งแต่ปี 2016 พลังงานลมนอกชายฝั่งเป็นเป้าหมายสำคัญประการหนึ่งและถือเป็นอุตสาหกรรมแขนงใหม่ มีการติดตั้งฟาร์มกังหันลมสาธิตเสร็จในปี 2019 ซึ่งต้องเผชิญกับความท้าทายจากโรคโควิด-19 ระบาดด้วย แต่สามารถติด 10 อันดับแรกจากการจัดอันดับการติดตั้งพลังงานลมนอกชายฝั่งทั่วโลกโดยสภาพลังงานลมโลก (GWEC) ตั้งแต่ติดตั้งฟาร์มกังหันลมสาธิตเสร็จในปี 2019

  จากข้อมูลของ GWEC ระบุว่าการส่งเสริมพลังงานลมนอกชายฝั่งในหลายประเทศได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการแพร่ระบาดตั้งแต่ปี 2019 รวมทั้งอังกฤษ เยอรมนี จีน สเปน อิตาลี และประเทศในยุโรปล้วนเกิดผลกระทบ ปัจจุบันยังมีผลกระทบจากปัจจัยอื่นๆ เช่น สงครามยูเครน-รัสเซีย อีกด้วย สำหรับไต้หวันต้องเผชิญความท้าทายมากกว่า กล่าวคือบางช่วงมีลมแรงและฝนตกหนัก ในแต่ละปีจึงมีระยะเวลาก่อสร้างที่สภาพอากาศเอื้ออำนวยเพียง 6-7 เดือน กระทรวงพลังงานแถลงว่า ไต้ฝุ่นหลายลูกถล่มเข้าไต้หวันเมื่อ ปี2023 ที่ผ่านมา ทำให้เกิดความล่าช้าในการก่อสร้าง แต่ผู้รับเหมาก่อสร้างพยายามเร่งก่อสร้างในจังหวะที่สภาพภูมิอากาศเอื้ออำนวยจึงทำให้เกิดผลสำเร็จบรรลุเป้าหมายได้

  จากสถิติของกรมพลังงาน ปีที่แล้วเพียงปีเดียว มีการติดตั้งกังหันลมแล้วเสร็จ 837 เมกะวัตต์ โดยมีกังหันลมประมาณ 95 ตัว โดยรวมแล้วไต้หวันติดตั้งกังหันลมเสร็จแล้วสะสม 283 ตัว มีปริมาณ 2.25 GW บรรลุเป้าหมายการติดตั้งพลังงานลมนอกชายฝั่งซึ่งตั้งเป้าหมายระหว่าง 2.03 – 2.43 GW

...more
View all episodesView all episodes
Download on the App Store

ไต้หวันไฮเทคBy แสงชัย กิตติภูมิวงศ์, Rti