
Sign up to save your podcasts
Or
ไต้หวันซอฟต์แวร์อัจฉริยะ บริหารจัดการเพาะเลี้ยงกล้วยไม้
ไต้หวันผลิตส่งออกกล้วยไม้ปีละ 5 พันล้านเหรียญไต้หวัน เป็นสินค้าเกษตรสำคัญรายการหนึ่ง การปลูกกล้วยไม้ในไต้หวันใช้เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อคิดเป็นสัดส่วน 90% ผู้เพาะเลี้ยงกล้วยไม้มีจำนวนนับร้อยราย ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อม ขาดแคลนความสามารถทางด้านไอที สถานีย์ปรับปรุงพันธุ์พืชหน่วยงานภายใต้คณะกรรมการการเกษตรไต้หวันจึงได้ร่วมมือกับบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์ เพื่อบริหารจัดการการผลิตช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อย ขณะนี้เปิดให้ผู้ประกอบการใช้งานได้ฟรี
การปลูกพืชต่างๆ ใช้เทคนิกการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อได้ สำหรับการปลูกกล้วยไม้ปัจจุบันใช้เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อคิดเป็นสัดส่วนเกินกว่า 70% รองลงมาคือกล้วยหอม มะละกอ เป็นต้น จางเจียฉี (張珈錡) ผู้ช่วยนักวิจัยสถานีปรับปรุงพันธุ์พืชบอกว่าการพัฒนาซอฟต์แวร์ระบบบริหารจัดการไม่ใช่เรื่องง่าย ผู้ประกอบการขนาดใหญ่ที่มีเงินทุนจึงสามารถจัดทำได้ แต่ผู้ประกอบการขนาดเล็กส่วนใหญ่จะใช้วิธีจดบันทึกโดยใช้โปรแกรม excel เท่านั้น จึงไม่สามารถเก็บข้อมูลและประมวลผลที่มีความซับซ้อน การใช้ซอฟต์แวร์บริหารจัดการเพื่อการผลิตกล้วยไม้จึงไม่แพร่หลายในไต้หวัน
ซอฟต์แวร์ที่สถานีปรับปรุงพันธุ์พืชจัดทำขึ้นมีความเป็นอัจฉริยะ ใช้เทคโนโลยีไอโอที การเชื่อมต่อสรรพสิ่งผ่านอินเทอร์เน็ต (IoT) มีความสามารถในการบริหารคลังสินค้า การวิจัยพัฒนาขั้นตอนการผลิต การบันทึกข้อมูลระบบตรวจสอบย้อนกลับ การตรวจดูสภาพการเพาะเลี้ยง เป็นซอฟต์แวร์ที่มองเห็นภาพและควบคุมการผลิตในส่วนต่างๆ ได้ เป็นการสร้างขั้นตอนการผลิตที่เป็นมาตรฐาน ยกระดับคุณภาพและเพิ่มผลกำไรให้แก่เกษตกร
จางเจียฉีบอกว่า ระบบบริหารจัดการนี้เป็นสิ่งที่เหมาะสมกับผู้ประกอบการในไต้หวัน ซอฟต์แวร์มีฟังก์ชันหรือโหมดการใช้งานที่ครบถ้วนทุกด้าน ประกอบด้วยการวิจัยพัฒนา การทดสอบเงื่อนไขการเพาะเลี้ยง การรับใบสั่งซื้อ บริหารการผลิต การส่งสินค้า แต่ผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อมมักใช้ในส่วนของการผลิตและสต๊อกสินค้าเท่านั้น อย่างไรก็ตาม หากต้องการใช้งานในโหมดอื่นๆ ก็สามารถเปิดใช้งานเพิ่มได้ ซึ่งโปรแกรมที่พัฒนาเป็นเวอร์ชั่นใช้งานบนคลาวด์ หากผู้ประกอบการไม่มั่นใจระบบคลาวด์ สามารถดาวน์โหลดเพื่อใช้ในระบบส่วนบุคคลก็ได้
ไต้หวันซอฟต์แวร์อัจฉริยะ บริหารจัดการเพาะเลี้ยงกล้วยไม้
ไต้หวันซอฟต์แวร์อัจฉริยะ บริหารจัดการเพาะเลี้ยงกล้วยไม้
ไต้หวันผลิตส่งออกกล้วยไม้ปีละ 5 พันล้านเหรียญไต้หวัน เป็นสินค้าเกษตรสำคัญรายการหนึ่ง การปลูกกล้วยไม้ในไต้หวันใช้เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อคิดเป็นสัดส่วน 90% ผู้เพาะเลี้ยงกล้วยไม้มีจำนวนนับร้อยราย ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อม ขาดแคลนความสามารถทางด้านไอที สถานีย์ปรับปรุงพันธุ์พืชหน่วยงานภายใต้คณะกรรมการการเกษตรไต้หวันจึงได้ร่วมมือกับบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์ เพื่อบริหารจัดการการผลิตช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อย ขณะนี้เปิดให้ผู้ประกอบการใช้งานได้ฟรี
การปลูกพืชต่างๆ ใช้เทคนิกการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อได้ สำหรับการปลูกกล้วยไม้ปัจจุบันใช้เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อคิดเป็นสัดส่วนเกินกว่า 70% รองลงมาคือกล้วยหอม มะละกอ เป็นต้น จางเจียฉี (張珈錡) ผู้ช่วยนักวิจัยสถานีปรับปรุงพันธุ์พืชบอกว่าการพัฒนาซอฟต์แวร์ระบบบริหารจัดการไม่ใช่เรื่องง่าย ผู้ประกอบการขนาดใหญ่ที่มีเงินทุนจึงสามารถจัดทำได้ แต่ผู้ประกอบการขนาดเล็กส่วนใหญ่จะใช้วิธีจดบันทึกโดยใช้โปรแกรม excel เท่านั้น จึงไม่สามารถเก็บข้อมูลและประมวลผลที่มีความซับซ้อน การใช้ซอฟต์แวร์บริหารจัดการเพื่อการผลิตกล้วยไม้จึงไม่แพร่หลายในไต้หวัน
ซอฟต์แวร์ที่สถานีปรับปรุงพันธุ์พืชจัดทำขึ้นมีความเป็นอัจฉริยะ ใช้เทคโนโลยีไอโอที การเชื่อมต่อสรรพสิ่งผ่านอินเทอร์เน็ต (IoT) มีความสามารถในการบริหารคลังสินค้า การวิจัยพัฒนาขั้นตอนการผลิต การบันทึกข้อมูลระบบตรวจสอบย้อนกลับ การตรวจดูสภาพการเพาะเลี้ยง เป็นซอฟต์แวร์ที่มองเห็นภาพและควบคุมการผลิตในส่วนต่างๆ ได้ เป็นการสร้างขั้นตอนการผลิตที่เป็นมาตรฐาน ยกระดับคุณภาพและเพิ่มผลกำไรให้แก่เกษตกร
จางเจียฉีบอกว่า ระบบบริหารจัดการนี้เป็นสิ่งที่เหมาะสมกับผู้ประกอบการในไต้หวัน ซอฟต์แวร์มีฟังก์ชันหรือโหมดการใช้งานที่ครบถ้วนทุกด้าน ประกอบด้วยการวิจัยพัฒนา การทดสอบเงื่อนไขการเพาะเลี้ยง การรับใบสั่งซื้อ บริหารการผลิต การส่งสินค้า แต่ผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อมมักใช้ในส่วนของการผลิตและสต๊อกสินค้าเท่านั้น อย่างไรก็ตาม หากต้องการใช้งานในโหมดอื่นๆ ก็สามารถเปิดใช้งานเพิ่มได้ ซึ่งโปรแกรมที่พัฒนาเป็นเวอร์ชั่นใช้งานบนคลาวด์ หากผู้ประกอบการไม่มั่นใจระบบคลาวด์ สามารถดาวน์โหลดเพื่อใช้ในระบบส่วนบุคคลก็ได้
ไต้หวันซอฟต์แวร์อัจฉริยะ บริหารจัดการเพาะเลี้ยงกล้วยไม้