ไต้หวันไฮเทค

ไต้หวันไฮเทค วันอังคารที่ 22 พ.ย.2565


Listen Later

ดาวเทียมพยากรณ์อากาศดวงแรกที่ไต้หวันออกแบบและประกอบติดตั้งเอง Triton (獵風者 - Formosat 7R) ดำเนินการโดยศูนย์อวกาศแห่งชาติ (National Space Organization – NSPO) หน่วยงานภายใต้ ห้องปฏิบัติการวิจัยเชิงประยุกต์แห่งชาติ (National Applied Research Laboratories - NARLabs)  อยู่ระหว่างการทดสอบขั้นตอนสุดท้าย ตรวจสอบฟังก์ชันการใช้งานทั้งหมด

นรม. ซูเจินชาง ของไต้หวัน ได้ไปตรวจเยี่ยมที่ศูนย์อวกาศแห่งชาติในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2565 กล่าวว่า ผู้ประกอบการไต้หวันต้องผนึกกำลังและเทคโนโลยีสร้างความสุดยอดด้านเซมิคอนดักเตอร์ และ ICT แม้ดาวเทียมพยากรณ์อากาศยังไล่หลังประเทศอื่น แต่ยังคงยืดหยัดในเวทีโลกให้ได้

อู๋เจิ้งจง (吳政忠) รมว. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Council of Science and Technology) บอกว่าปีนี้เป็นปีเริ่มต้นแห่งอุตสาหกรรมอวกาศของไต้หวัน ที่ผ่านมาไต้หวันมีความสามารถในการผลิตดาวเทียม Remote Sensing ดาวเทียมพยากรณ์อากาศ และดาวเทียมวงโคจรต่ำ สำหรับดาวเทียม Triton เป็นความร่วมมือของผู้ประกอบการ 20 ราย ชิ้นส่วนที่ไต้หวันผลิตเองมีสัดส่วน 82% หลังส่งขึ้นอวกาศแล้ว จะเป็นการยืนยันความสามารถวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและชิ้นส่วนที่สำคัญของไต้หวัน ขยายอุตสาหกรรมอวกาศของไต้หวันเข้าสู่เวทีโลก

Triton เป็นดาวเทียม ต่อจาก Formosat 5 เป็นดาวเทียมดวงที่ 2 ที่ไต้หวันดำเนินการเอง หากจะกล่าวว่า Formosat 5 เป็นดาวเทียมสำรวจระยะไกล( Remote Sensing satellite) ดวงแรกที่ไต้หวันดำเนินการเอง Triton ก็จะเป็นดาวเทียมพยากรณ์อากาศดวงแรกที่ไต้หวันดำเนินการเองเช่นกัน ซึ่งการออกแบบดาวเทียม Triton ในเบื้องต้นเริ่มขึ้นเมื่อ ปี 2014 ต่อมาได้ทำการออกแบบชิ้นส่วนสำคัญในปี  2015 เริ่มประกอบเมื่อปี 2017 เสร็จสิ้นในเดือนกรกฎาคม ปี 2022 จากนั้นได้ทำการทดสอบทางด้านต่างๆ ขณะนี้ได้มีการทดสอบในสภาพเคลื่อนไหว และกำลังจะเข้าสู่ขั้นตอนสุดท้ายการตรวจสอบฟังก์ชันการใช้งานทั้งหมด คาดว่าจะทดสอบเสร็จสิ้นในเดือนพฤศจิกายน 2022 หากทุกอย่างมีความพร้อม จะส่งไปที่ประเทศกายอานา เพื่อยิงเข้าสู่อวกาศในเดือน มีนาคม ปี 2023

ข้อมูลจำเพาะดาวเทียม Triton

  • เป็นดาวเทียมพยากรณ์อากาศดวงแรกของไต้หวัน
  • เก็บข้อมูล การสัญญาณสะท้อนบนผิวทะเลของดาวเทียมระบบนำทาง ใช้หลักการทางฟิสิกส์เกี่ยวกับสัญญาณสะท้อนเพื่อคำนวนความเร็วลม เพิ่มความแม่นยำในการพยากรณ์ไต้ฝุ่น
  • อุปกรณ์ที่ติดตั้ง : ตัวรับ-ส่ง สัญญานสะท้อนระบบดาวเทียมนำทาง Global Navigation Satellite System (GNSS-R) รับส่งข้อมูลได้ 8 รายการ ดีกว่าประเทศอื่น ในปัจจุบันมีอุปกรณ์เพียง 4 ชุด
  • ชิ้นส่วนที่ไต้หวันผลิตเอง : คอมพิวเตอร์ดาวเทียม ระบบไฟฟ้า Fibre-optic gyroscope เครื่องรับส่งสัญญาณนำวิถี GNSS-R
  • อายุใช้งาน 5 ปี
  • จะส่งเข้าสู่อวกาศเดือนมีนาคม ปี 2023
  • ...more
    View all episodesView all episodes
    Download on the App Store

    ไต้หวันไฮเทคBy แสงชัย กิตติภูมิวงศ์, Rti