
Sign up to save your podcasts
Or
ห้องปฏิบัติการวิจัยเชิงประยุกต์แห่งชาติ(NARLabs) จัดพิธีมอบรางวัลในวันที่ 27 กันยายน 2024 เพื่อเชิดชูความสำเร็จด้านวิจัยและพัฒนาอันโดดเด่นจากการใช้บริการแพลตฟอร์มวิจัยของ NARLabs ทีมจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวันได้รับรางวัลยอดเยี่ยมจากการวิจัยเทคโนโลยีโครงสร้างสิ่งก่อสร้างต้านการสั่นสะเทือน ขณะที่ทีมจากสถาบันวิจัยแห่งชาติ ได้รับรางวัลดีเด่นจากการใช้คอมพิวเตอร์ AI ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ TAIWANIA 2 ในการพัฒนาระบบวิเคราะห์การมองเห็นด้วยคอมพิวเตอร์แบบหลายภารกิจแบบเรียลไทม์ นำไปใช้กับระบบเฝ้าระวังมุมอับของรถบัสเพื่อเพิ่มความปลอดภัยของผู้ใช้ถนน
ศูนย์วิจัย 7 แห่ง ของ NARLabs ซึ่งอยู่ภายใต้กระทรวงวิทยาศาสตร์ ไม่เพียงแต่จัดหาอุปกรณ์ซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ซึ่งมหาวิทยาลัยในไต้หวันอาจไม่สามารถจัดหาได้เอง แต่ยังจัดเตรียมแพลตฟอร์มบริการวิจัยเฉพาะอย่างมืออาชีพเพื่อสนับสนุนวงการศึกษาและวิจัยอีกด้วย
การประกาศผลรางวัล "ผลงานวิจัยเด่นบนแพลตฟอร์มบริการวิจัย" ประจำปี 2024 รางวัลยอดเยี่ยมเป็นของทีมวิจัยจากภาควิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน นำโดยศาสตราจารย์ไช่เค่อฉวน(蔡克銓) ซึ่งได้รับเงินรางวัล 300,000 เหรียญไต้หวัน ผลงานวิจัยของพวกเขาคือ "การวิจัยเทคโนโลยีโครงสร้างสิ่งก่อสร้างต้านการสั่นสะเทือน" โดยใช้แพลตฟอร์มวิจัยการจำลองแผ่นดินไหว ของศูนย์วิศวกรรมวิจัยแผ่นดินไหวแห่งชาติ
ทีมของไช่เค่อฉวนได้ร่วมมือกับห้องปฏิบัติการทดสอบโครงสร้างขนาดใหญ่ของประเทศต่าง ๆ โดยแบ่งงานผ่านระบบอินเทอร์เน็ตแบบเรียลไทม์ เพื่อทำการวิจัยการต้านแผ่นดินไหวของสะพานเดียวกัน แบ่งเป็น 3 ตอม่อที่ต่างกัน นอกจากนี้ ยังได้ดำเนินการทดสอบการเคลื่อนที่จำลองแบบสองทิศทางของโครงสร้างสองชั้นขนาดจริงที่มีการใช้ "องค์อาคารยึดรั้งไร้การโก่งเดาะ" (Buckling Restrained Brace, BRB) ซึ่งเป็นครั้งแรกของโลก เพื่อยืนยันความเสถียรต่อ BRB รูปแบบใหม่ภายใต้แรงสั่นแผ่นดินไหวสองทิศทาง
NARLabs ระบุว่า เทคนิคการทดลองเครือข่ายขั้นสูงและการทดสอบโครงสร้างต้านแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ของทีมนี้ ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการทั้งในและต่างประเทศ พร้อมกับการจดสิทธิบัตรหลายฉบับ ทั้งนี้ยังมีผู้เชี่ยวชาญจากสหรัฐฯ และญี่ปุ่นหลายสิบคนที่เดินทางมาเยี่ยมชมด้วยตนเอง และส่งนักศึกษาเข้าร่วมฝึกงานในไต้หวัน ซึ่งได้ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางวิชาการระหว่างประเทศอย่างมาก และยกระดับสถานะของไต้หวันในวงการวิชาการนานาชาติอย่างชัดเจน
สถาบันวิจัยแห่งชาติยังระบุว่า ทีมของเหลียวหงหยวนใช้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ "Taiwania 2 AI" ของศูนย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูงแห่งชาติ เพื่อพัฒนาระบบวิเคราะห์ภาพด้วยคอมพิวเตอร์แบบหลายภารกิจ MTYOLO ที่เร็วและแม่นยำที่สุดในโลก
สถาบันวิจัยแห่งชาติระบุว่าผลงานนี้ได้ถูกนำไปใช้ในภาคอุตสาหกรรมเพื่อพัฒนาระบบบริการสังคมแล้ว รวมถึงระบบเฝ้าระวังมุมอับของรถบัสของบริษัทจงซิง ซึ่งสามารถเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้ถนน และระบบวิเคราะห์การจราจรพร้อมกับระบบควบคุมสัญญาณไฟจราจรอัจฉริยะของบริษัท Elan Microelectronics ซึ่งช่วยบรรเทาการจราจรและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการเดินทาง นอกจากนี้ โค้ดแบบโอเพนซอร์สยังถูกนำไปใช้ในการพัฒนาระบบเฝ้าระวังข้อบกพร่องของถนน และอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยสำหรับการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
ห้องปฏิบัติการวิจัยเชิงประยุกต์แห่งชาติ(NARLabs) จัดพิธีมอบรางวัลในวันที่ 27 กันยายน 2024 เพื่อเชิดชูความสำเร็จด้านวิจัยและพัฒนาอันโดดเด่นจากการใช้บริการแพลตฟอร์มวิจัยของ NARLabs ทีมจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวันได้รับรางวัลยอดเยี่ยมจากการวิจัยเทคโนโลยีโครงสร้างสิ่งก่อสร้างต้านการสั่นสะเทือน ขณะที่ทีมจากสถาบันวิจัยแห่งชาติ ได้รับรางวัลดีเด่นจากการใช้คอมพิวเตอร์ AI ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ TAIWANIA 2 ในการพัฒนาระบบวิเคราะห์การมองเห็นด้วยคอมพิวเตอร์แบบหลายภารกิจแบบเรียลไทม์ นำไปใช้กับระบบเฝ้าระวังมุมอับของรถบัสเพื่อเพิ่มความปลอดภัยของผู้ใช้ถนน
ศูนย์วิจัย 7 แห่ง ของ NARLabs ซึ่งอยู่ภายใต้กระทรวงวิทยาศาสตร์ ไม่เพียงแต่จัดหาอุปกรณ์ซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ซึ่งมหาวิทยาลัยในไต้หวันอาจไม่สามารถจัดหาได้เอง แต่ยังจัดเตรียมแพลตฟอร์มบริการวิจัยเฉพาะอย่างมืออาชีพเพื่อสนับสนุนวงการศึกษาและวิจัยอีกด้วย
การประกาศผลรางวัล "ผลงานวิจัยเด่นบนแพลตฟอร์มบริการวิจัย" ประจำปี 2024 รางวัลยอดเยี่ยมเป็นของทีมวิจัยจากภาควิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน นำโดยศาสตราจารย์ไช่เค่อฉวน(蔡克銓) ซึ่งได้รับเงินรางวัล 300,000 เหรียญไต้หวัน ผลงานวิจัยของพวกเขาคือ "การวิจัยเทคโนโลยีโครงสร้างสิ่งก่อสร้างต้านการสั่นสะเทือน" โดยใช้แพลตฟอร์มวิจัยการจำลองแผ่นดินไหว ของศูนย์วิศวกรรมวิจัยแผ่นดินไหวแห่งชาติ
ทีมของไช่เค่อฉวนได้ร่วมมือกับห้องปฏิบัติการทดสอบโครงสร้างขนาดใหญ่ของประเทศต่าง ๆ โดยแบ่งงานผ่านระบบอินเทอร์เน็ตแบบเรียลไทม์ เพื่อทำการวิจัยการต้านแผ่นดินไหวของสะพานเดียวกัน แบ่งเป็น 3 ตอม่อที่ต่างกัน นอกจากนี้ ยังได้ดำเนินการทดสอบการเคลื่อนที่จำลองแบบสองทิศทางของโครงสร้างสองชั้นขนาดจริงที่มีการใช้ "องค์อาคารยึดรั้งไร้การโก่งเดาะ" (Buckling Restrained Brace, BRB) ซึ่งเป็นครั้งแรกของโลก เพื่อยืนยันความเสถียรต่อ BRB รูปแบบใหม่ภายใต้แรงสั่นแผ่นดินไหวสองทิศทาง
NARLabs ระบุว่า เทคนิคการทดลองเครือข่ายขั้นสูงและการทดสอบโครงสร้างต้านแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ของทีมนี้ ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการทั้งในและต่างประเทศ พร้อมกับการจดสิทธิบัตรหลายฉบับ ทั้งนี้ยังมีผู้เชี่ยวชาญจากสหรัฐฯ และญี่ปุ่นหลายสิบคนที่เดินทางมาเยี่ยมชมด้วยตนเอง และส่งนักศึกษาเข้าร่วมฝึกงานในไต้หวัน ซึ่งได้ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางวิชาการระหว่างประเทศอย่างมาก และยกระดับสถานะของไต้หวันในวงการวิชาการนานาชาติอย่างชัดเจน
สถาบันวิจัยแห่งชาติยังระบุว่า ทีมของเหลียวหงหยวนใช้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ "Taiwania 2 AI" ของศูนย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูงแห่งชาติ เพื่อพัฒนาระบบวิเคราะห์ภาพด้วยคอมพิวเตอร์แบบหลายภารกิจ MTYOLO ที่เร็วและแม่นยำที่สุดในโลก
สถาบันวิจัยแห่งชาติระบุว่าผลงานนี้ได้ถูกนำไปใช้ในภาคอุตสาหกรรมเพื่อพัฒนาระบบบริการสังคมแล้ว รวมถึงระบบเฝ้าระวังมุมอับของรถบัสของบริษัทจงซิง ซึ่งสามารถเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้ถนน และระบบวิเคราะห์การจราจรพร้อมกับระบบควบคุมสัญญาณไฟจราจรอัจฉริยะของบริษัท Elan Microelectronics ซึ่งช่วยบรรเทาการจราจรและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการเดินทาง นอกจากนี้ โค้ดแบบโอเพนซอร์สยังถูกนำไปใช้ในการพัฒนาระบบเฝ้าระวังข้อบกพร่องของถนน และอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยสำหรับการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ