ไต้หวันไฮเทค

ไต้หวันไฮเทค วันอังคารที่ 24 ก.ย.2567


Listen Later

   สถาบันวิจัยสารเคมีเกษตร (Agricultural Chemicals Research Institute) กระทรวงเกษตรได้นำเอาเทคโนโลยีแมสสเปกโตรเมตรี ผสานกับการสกัดสารเคมีเกษตรอย่างรวดเร็ว  FaPEx® และ เทคโนโลยีการประมวลผล AI จัดตั้งห้องปฏิบัติการเคลื่อนที่พร้อมด้วยแมสสเปกโตรมิเตอร์ตรวจสอบรวดเร็วแห่งแรกสำหรับการตรวจสอบสารเคมีเกษตรตกค้าง 200 รายการ รู้ผลการตรวจภายในเวลาเฉลี่ย 10 นาที เทคโนโลยีการตรวจสอบที่เร็วที่สุดในโลก รถตรวจสอบเคลื่อนที่ สามารถลาดตระเวนไปยังจุดตรวจสอบ ให้บริการได้รวดเร็วในถิ่นผลิต ชะลอการเก็บเกี่ยวผลิตภัณฑ์ที่ตรวจสอบไม่ผ่าน เป็นหลักประกันความปลอดภัยยด้านอาหาร คาดว่าภายในสิ้นปีนี้ จะจัดตั้งรถตรวจสอบได้ 5 คัน และให้บริการตรวจสอบได้ปีละ 15,000 รายการ

ภายในรถตรวจสอบสารตกค้างมีห้องปฏิบัติการพร้อมอุปรกรณ์แมสสเปกโตรมิเตอร์

   ในอนาคตจะมีการจัดตั้งสถานีเตรียมตัวอย่างสำหรับการตรวจด้วยแมสสเปกโตรเมทรีโดยร่วมกับสมาคมเกษตรกรและสหกรณ์ จากนั้น ห้องปฏิบัติการเคลื่อนที่จะเข้าตรวจสอบ นอกจากนี้ ยังสามารถผสานงานกับผู้เชี่ยวชาญด้านโรคพืชเพื่อให้บริการวินิจฉัยโรคและแมลงศัตรูพืช รวมถึงบริการให้คำปรึกษาด้านการใช้สารเคมี เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการใช้ยา รถตรวจสอบเคลื่อนที่ทั้ง 5 คันจะดำเนินการโดยมูลนิธิการเกษตรหลิวกง (Liu-Kung Agriculture Foundation) กรุงไทเป, มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหูเหว่ย ศูนย์ตรวจสอบประจำภูมิภาคของมหาวิทยาลัยตงหัว รวมถึงมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเจียอี้

   สถาบันวิจัยสารเคมีเกษตรแถลงว่า ในการจัดตั้งห้องปฏิบัติการเคลื่อนที่สำหรับการตรวจสอบสารเคมีเกษตรตกค้างด้วยแมสสเปกโตรเมทรี ได้ลงนามบันทึกความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน โรงพยาบาลพืช (Plant Teaching Hospital) มหาวิทยาลัยเจียอี้ และมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหูเหว่ย

   การตรวจสอบสารตกค้างของสารเคมีเกษตรตามวิธีการตรวจสอบทางเคมีที่ใช้ในระดับสากลจะใช้เวลาประมาณ 3 ถึง 7 วัน แต่หากใช้เทคโนโลยีห้องปฏิบัติการเคลื่อนที่ตรวจด้วยแมสสเปกโตรเมทรี ตัวอย่างแรกจะสามารถออกผลการตรวจได้ในเวลาประมาณ 20 ถึง 25 นาที และตั้งแต่ตัวอย่างที่สองเป็นต้นไปจะใช้เวลาตรวจสอบประมาณ 8 ถึง 10 นาทีต่อชิ้น นอกจากนี้ เมื่อเทียบกับวิธีการตรวจสอบที่ประกาศโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข (วิธีการวิเคราะห์สารตกค้างหลายชนิด (ฉบับที่ 5) ซึ่งมีค่าใช้จ่ายประมาณ 4,000 ถึง 8,000 เหรียญไต้หวันต่อชิ้น เทคโนโลยีห้องปฏิบัติการเคลื่อนที่จะมีค่าใช้จ่ายเพียง 1,200 เหรียญไต้หวันต่อชิ้น ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสารเคมีเกษตร นายสวีฉือหง (徐慈鴻) กล่าวว่า รถตรวจสอบเคลื่อนที่ถูกสร้างขึ้นโดยสถาบันวิจัยสารเคมีเกษตร มีต้นทุนการผลิตประมาณ 13 ล้านเหรียญไต้หวันต่อคัน ในอนาคตจะมอบหมายให้ 5 หน่วยงาน เช่น มูลนิธิหลิวกง เป็นผู้ดำเนินการ และสำนักงานเกษตรและอาหาร กระทรวงเกษตรจะวางแผนการให้บริการตรวจสอบ ซึ่งจะเปิดโอกาสให้สมาคมเกษตรกร สหกรณ์ และฟาร์มเกษตรขนาดใหญ่ทั่วไต้หวันสามารถยื่นขอการตรวจสอบได้ โดยจะมีการจัดรถเข้าประจำจุดและหมุนเวียนตรวจสอบ โดยคาดว่าจะให้บริการฟรีแก่เกษตรกร 3 ครั้งต่อราย

   นอกจากนี้ รถแต่ละคันจะมีความสามารถในการตรวจสอบอย่างน้อย 3,000 รายการต่อปีตามเป้าหมายของกระทรวงเกษตร แต่ละหน่วยงานสามารถวางแผนการให้บริการตรวจสอบของตนเองได้ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านพืชจากศูนย์ตรวจสอบภูมิภาคหรือโรงพยาบาลพืชสามารถร่วมไปกับรถเพื่อตรวจสอบและให้คำปรึกษาได้เช่นกัน

สถาบันวิจัยสารเคมีเกษตรจัดตั้งห้องปฏิบัติการเคลื่อนที่

สวีฉือหง กล่าวว่า อุปกรณ์ตรวจสอบแบบเดิมมีขนาดใหญ่และอาจต้องใช้รถบรรทุกขนส่ง อีกทั้งการสกัดตัวอย่างยังใช้เวลาประมาณ 3 ถึง 7 วัน เมื่อมีการพัฒนาเทคโนโลยี FaPEx® และการประมวลผลด้วยปัญญาประดิษฐ์ ทำให้อุปกรณ์มีความแม่นยำและขนาดเล็กลง ประกอบกับการผลักดันกฎหมายด้านโรคพืชในไต้หวัน ทำให้การจัดตั้งห้องปฏิบัติการเคลื่อนที่สามารถเกิดขึ้นได้

...more
View all episodesView all episodes
Download on the App Store

ไต้หวันไฮเทคBy แสงชัย กิตติภูมิวงศ์, Rti