
Sign up to save your podcasts
Or
คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยซื่อซิน(Shih Hsin University) จัดประชุมสัมมนานานาชาติเรื่องแนวโน้มและความท้าทายด้านการบริหารจัดการธุรกิจในยุค AI
เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2024 ม.ซื่อซิน จัดสัมมนานานาชาติเรื่องแนวโน้มและความท้าทายด้านการบริหารจัดการธุรกิจในยุค AI โดยเน้นการสำรวจผลกระทบของปัญญาประดิษฐ์ (AI) ต่อรูปแบบการจัดการธุรกิจ ลักษณะการทำงาน และความต้องการทักษะในอนาคต อดีต นรม.เฉินชง(陳冲)ได้กล่าวว่า การประยุกต์ใช้ AI สามารถทำให้บริการทางการแพทย์แม่นยำยิ่งขึ้น และอาจทำให้แนวคิด "ป้องกันก่อนป่วย" เป็นจริงได้
ในหัวข้อ “AI allows more outside-the-box thinking” (AI ช่วยเปิดกรอบความคิดสู่ความสร้างสรรค์) เฉินชงได้ชี้ให้เห็นว่า AI สามารถปลดล็อกกรอบความคิดแบบเดิม ๆ และเติมเต็มนวัตกรรมใหม่ ๆ ให้กับการบริหารจัดการธุรกิจ นอกจากนี้ เขายังเปรียบเทียบ AI ในการแพทย์กับหลักการ "มอง ฟัง สอบถาม และจับชีพจร" (望聞問切) ในการวินิจฉัยโรคแบบแผนจีน พร้อมเน้นย้ำว่า AI สามารถขยายการใช้งานข้อมูลทางการแพทย์และบรรลุแนวคิดป้องกันโรคได้ก่อนที่จะเกิดโรคขึ้น อย่างไรก็ตาม เขาเตือนถึงปัญหาข้อขัดแย้งด้านทรัพย์สินทางปัญญาและจริยธรรมที่เกิดจากการใช้ AI พร้อมเรียกร้องให้ทุกประเทศพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานและกฎหมายให้เหมาะสมกับความก้าวหน้าของ AI
นายแพทย์หวงอี้ซิว(黃奕修) หัวหน้าแผนกจักษุวิทยา โรงพยาบาลฉางเกิง สาขาหลินโข่ว และผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาโรคจอตาในไต้หวัน ได้แบ่งปันประสบการณ์ในหัวข้อ "การแพทย์อัจฉริยะ – บทเรียนจากการพัฒนาด้านจักษุวิทยา" โดยเขาอธิบายว่า AI เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับการวินิจฉัยโรคด้านจักษุ เพราะมีพื้นฐานจากภาพถ่ายทางการแพทย์ที่ช่วยให้การวิเคราะห์แม่นยำยิ่งขึ้น ตั้งแต่การช่วยผ่าตัดต้อกระจกไปจนถึงการพยากรณ์ความเสี่ยงจากภาพจอตา เช่น โรคเบาหวาน หัวใจขาดเลือด และแม้กระทั่งความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต นพ.หวงกล่าวว่า AI มีศักยภาพที่จะเปลี่ยนแปลงตรรกะการวินิจฉัยโรคและสนับสนุนการรักษาที่แม่นยำเฉพาะบุคคล พร้อมเรียกร้องให้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการแพทย์สำหรับ AI อย่างเหมาะสม
ด้าน ดร.โทโมฮิโระ โมริคาวะ(Tomohiro Morikawa) รองศ.จากมหาวิทยาลัยเฮียวโงะ(University of Hyogo) ประเทศญี่ปุ่น ได้วิเคราะห์การประยุกต์ใช้ AI ในด้านความปลอดภัยของการดำเนินงานองค์กร โดยนำเสนอกรณีศึกษาการใช้เทคโนโลยี Deep Learning และ Natural Language Processing (NLP) เพื่อคาดการณ์และรับมือต่อการโจมตีทางไซเบอร์ที่ยังไม่เคยเกิดขึ้น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านความปลอดภัยดิจิทัลขององค์กร
ในพิธีเปิดงาน หลี่กงฉิน(李功勤) รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยซื่อซิน กล่าวว่านวัตกรรม AI กำลังเร่งเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินธุรกิจและโครงสร้างสังคมทั่วโลก โดยสถาบันการศึกษาควรมีบทบาทเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ การประชุมสัมมนาครั้งนี้จึงเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขา เพื่อกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์และพัฒนาบุคลากรด้านการจัดการยุคใหม่ที่มีทักษะด้านข้อมูลและการสื่อสารครบถ้วน
อดีต นรม.เฉินชง ชี้ว่า การประยุกต์ใช้ AI สามารถทำให้บริการทางการแพทย์แม่นยำยิ่งขึ้น
คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยซื่อซิน(Shih Hsin University) จัดประชุมสัมมนานานาชาติเรื่องแนวโน้มและความท้าทายด้านการบริหารจัดการธุรกิจในยุค AI
เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2024 ม.ซื่อซิน จัดสัมมนานานาชาติเรื่องแนวโน้มและความท้าทายด้านการบริหารจัดการธุรกิจในยุค AI โดยเน้นการสำรวจผลกระทบของปัญญาประดิษฐ์ (AI) ต่อรูปแบบการจัดการธุรกิจ ลักษณะการทำงาน และความต้องการทักษะในอนาคต อดีต นรม.เฉินชง(陳冲)ได้กล่าวว่า การประยุกต์ใช้ AI สามารถทำให้บริการทางการแพทย์แม่นยำยิ่งขึ้น และอาจทำให้แนวคิด "ป้องกันก่อนป่วย" เป็นจริงได้
ในหัวข้อ “AI allows more outside-the-box thinking” (AI ช่วยเปิดกรอบความคิดสู่ความสร้างสรรค์) เฉินชงได้ชี้ให้เห็นว่า AI สามารถปลดล็อกกรอบความคิดแบบเดิม ๆ และเติมเต็มนวัตกรรมใหม่ ๆ ให้กับการบริหารจัดการธุรกิจ นอกจากนี้ เขายังเปรียบเทียบ AI ในการแพทย์กับหลักการ "มอง ฟัง สอบถาม และจับชีพจร" (望聞問切) ในการวินิจฉัยโรคแบบแผนจีน พร้อมเน้นย้ำว่า AI สามารถขยายการใช้งานข้อมูลทางการแพทย์และบรรลุแนวคิดป้องกันโรคได้ก่อนที่จะเกิดโรคขึ้น อย่างไรก็ตาม เขาเตือนถึงปัญหาข้อขัดแย้งด้านทรัพย์สินทางปัญญาและจริยธรรมที่เกิดจากการใช้ AI พร้อมเรียกร้องให้ทุกประเทศพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานและกฎหมายให้เหมาะสมกับความก้าวหน้าของ AI
นายแพทย์หวงอี้ซิว(黃奕修) หัวหน้าแผนกจักษุวิทยา โรงพยาบาลฉางเกิง สาขาหลินโข่ว และผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาโรคจอตาในไต้หวัน ได้แบ่งปันประสบการณ์ในหัวข้อ "การแพทย์อัจฉริยะ – บทเรียนจากการพัฒนาด้านจักษุวิทยา" โดยเขาอธิบายว่า AI เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับการวินิจฉัยโรคด้านจักษุ เพราะมีพื้นฐานจากภาพถ่ายทางการแพทย์ที่ช่วยให้การวิเคราะห์แม่นยำยิ่งขึ้น ตั้งแต่การช่วยผ่าตัดต้อกระจกไปจนถึงการพยากรณ์ความเสี่ยงจากภาพจอตา เช่น โรคเบาหวาน หัวใจขาดเลือด และแม้กระทั่งความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต นพ.หวงกล่าวว่า AI มีศักยภาพที่จะเปลี่ยนแปลงตรรกะการวินิจฉัยโรคและสนับสนุนการรักษาที่แม่นยำเฉพาะบุคคล พร้อมเรียกร้องให้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการแพทย์สำหรับ AI อย่างเหมาะสม
ด้าน ดร.โทโมฮิโระ โมริคาวะ(Tomohiro Morikawa) รองศ.จากมหาวิทยาลัยเฮียวโงะ(University of Hyogo) ประเทศญี่ปุ่น ได้วิเคราะห์การประยุกต์ใช้ AI ในด้านความปลอดภัยของการดำเนินงานองค์กร โดยนำเสนอกรณีศึกษาการใช้เทคโนโลยี Deep Learning และ Natural Language Processing (NLP) เพื่อคาดการณ์และรับมือต่อการโจมตีทางไซเบอร์ที่ยังไม่เคยเกิดขึ้น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านความปลอดภัยดิจิทัลขององค์กร
ในพิธีเปิดงาน หลี่กงฉิน(李功勤) รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยซื่อซิน กล่าวว่านวัตกรรม AI กำลังเร่งเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินธุรกิจและโครงสร้างสังคมทั่วโลก โดยสถาบันการศึกษาควรมีบทบาทเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ การประชุมสัมมนาครั้งนี้จึงเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขา เพื่อกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์และพัฒนาบุคลากรด้านการจัดการยุคใหม่ที่มีทักษะด้านข้อมูลและการสื่อสารครบถ้วน
อดีต นรม.เฉินชง ชี้ว่า การประยุกต์ใช้ AI สามารถทำให้บริการทางการแพทย์แม่นยำยิ่งขึ้น