ไต้หวันไฮเทค

ไต้หวันไฮเทค วันอังคารที่ 25 ก.พ.2568


Listen Later

คอมเพรสเซ่อร์แบบแบริ่งแม่เหล็ก(Active Magnetic Bearing Compressor/Chiller) ของสถาบันวิจัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (ITRI) ได้รับการใช้งานอย่างแพร่หลายในโรงพยาบาลและอาคารธุรกิจ ซึ่งสามารถประหยัดพลังงานได้ถึง 40% เมื่อเทียบกับเครื่องทำความเย็นแบบดั้งเดิม 

   ความต้องการพลังงานทั่วโลกที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกที่รุนแรง การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานกลายเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในปัจจุบัน องค์การพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) ระบุว่า การเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานเป็นหนึ่งในวิธีหลักในการบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนทั่วโลก เพื่อตอบสนองต่อความท้าทายนี้ ทั่วโลกกำลังเร่งยกระดับพัฒนาด้านการใช้พลังงาน โดยมุ่งลดการพึ่งพาอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานสูง และเสริมสร้างการใช้พลังงานทดแทน ในภาวะเช่นนี้ เทคโนโลยีการประหยัดพลังงานของอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานสูง เช่น เครื่องปรับอากาศ ได้กลายเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจจากทั่วโลก
   จากการคาดการณ์ของ IEK Consulting ในปี 2027 ตลาดอาคารที่ปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ (Net Zero Buildings) จะมีมูลค่าถึง 109.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จึงเป็นโอกาสอุตสาหกรรมประหยัดพลังงานจะจะขยายตัวอย่างมาก โดยเฉพาะระบบปรับอากาศประสิทธิภาพสูง เทคโนโลยีการจัดการพลังงาน และมอเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง สำหรับไต้หวัน การส่งเสริมนวัตกรรมเทคโนโลยีการประหยัดพลังงานและการอัพเกรดอุปกรณ์เป็นกลยุทธ์ที่จำเป็นในการรับมือต่อความท้าทายการลดการปล่อยคาร์บอนทั่วโลกและก้าวไปข้างหน้าในการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมในประเทศ
   เครื่องปรับอากาศเป็นหนึ่งในอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานมากที่สุดในภาคการอยู่อาศัยและอุตสาหกรรม เป็นเป้าหมายสำคัญในการหาวิธีประหยัดพลังงาน สถาบันวิจัยอุตสาหกรรมได้ร่วมมือกับผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศและคอมเพรสเซอร์ชั้นนำในไต้หวัน โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานพลังงานกระทรวงเศรษฐกิจ เพื่อพัฒนาเครื่องทำความเย็นแบบแบริ่งแม่เหล็ก และใช้สารทำความเย็นที่ไม่ก่อให้เกิดการปล่อยความร้อนในบรรยากาศ โดยเทคโนโลยีนี้ไม่เพียงเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบเครื่องปรับอากาศ แต่ยังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมีประสิทธิภาพ เทคโนโลยีนี้สามารถลดการปล่อยคาร์บอนได้ถึง 1,700 กิโลกรัมต่อ TOR (Ton of Refrigeration)  และสามารถประหยัดพลังงานได้สูงสุดถึง 60%
   นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ เช่น มอเตอร์อิเล็กทรอนิกส์แบบเปลี่ยนความเร็ว (EC Motor) ที่สามารถปรับความเร็วและกำลังได้อย่างแม่นยำ ซึ่งช่วยประหยัดพลังงานได้ถึง 40% 
   เทคโนโลยีเหล่านี้ได้รับการนำไปใช้จริงในเครื่องปรับอากาศของแบรนด์ในประเทศ เช่น TECO (東元) และ SAMPO (聲寶) โดยสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของระบบเครื่องปรับอากาศได้ระหว่าง 5% ถึง 11% และทำให้มีความสามารถในการแข่งขันในตลาดได้มากขึ้น รวมทั้งยังสามารถนำไปใช้ในตลาดอื่น ๆ เช่น ศูนย์ข้อมูลที่ใช้พลังงานสูง

...more
View all episodesView all episodes
Download on the App Store

ไต้หวันไฮเทคBy แสงชัย กิตติภูมิวงศ์, Rti