
Sign up to save your podcasts
Or
ไต้หวันกำลังเร่งส่งเสริมให้ผู้ประกอบการในประเทศลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือก๊าซที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจก โลกของเรากำลังเผชิญกับภาวะโลกร้อน ประเทศต่างๆ ให้ความสำคัญต่อเรื่องนี้และพยายามที่จะให้บรรลุเป้าหมายการผลิตแบบไร้ก๊าซคาร์บอน(การปล่อยก๊าซ = 0) ในปี 2050 การคำนึงถึงดัชนีการเปลี่ยนแปลงบรรยากาศโลกลดการใช้ถ่านหิน ยกระดับทางด้านพลังงาน ล้วนแต่เป็นเป้าหมายที่ประเทศต่างๆ กำลังผลักดัน ไต้หวันจะต้องเข้าสู่กลไกคาร์บอนเครดิตและภาษีคาร์บอนเช่นกัน หวังเหม่ยฮัว (王美花) รมว. กระทรวงเศรษฐการของไต้หวันได้กล่าวว่า ไต้หวันเป็นประเทศที่ต้องพึ่งพาการส่งออก เพราะฉะนั้นจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเข้าสู่กลไกคาร์บอนเครดิต ภาษีเครดิต
ภาษีคาร์บอนจะจัดเก็บภาษีไฟฟ้าที่ผลิตจากถ่านหิน
คาร์บอนเครดิตหมายถึง สิทธิที่เกิดจากการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนของบุคคลหรือองค์กรดำเนินการจนบรรลุเป้าหมาย สิทธิดังกล่าวนี้สามารถวัดปริมาณและตีราคาเป็นมูลค่านำไปซื้อขายในตลาดคาร์บอนเครดิตได้ ส่วนภาษีคาร์บอน (อังกฤษ: carbon tax) เป็นภาษีสิ่งแวดล้อมที่จัดเก็บเนื่องจากการผลิตสินค้าหรือบริการที่มีการปล่อยคาร์บอน เป็นมาตรการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพิ่มการแข่งขันของพลังงานทางเลือกประเภทอื่น เป็นการสร้างแรงจูงใจให้ผู้ผลิตหันไปใช้พลังงานสีเขียว
นโยบายการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของไต้หวัน โดยหลักการคือพยายามผลักดันการใช้พลังงานหมุนเวียนโดยเฉพาะพลังงานจากแสงอาทิตย์ มีการติดตั้งโซลาเซลล์เพิ่มขึ้นมาก หวังเหม่ยฮัว กล่าวว่าในปี 2019 ไต้หวันปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเผาผลาญเชื้อเพลิง เทียบกับปี 2017 ลดลง 30% หากเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงได้แก่ เกาหลีใต้สิงคโปร์ จีน นับว่าไต้หวันมีผลสำเร็จที่ดีกว่า ในส่วนของการผลักดันพลังงานหมุนเวียนนั้น ตั้งแต่ปี 2016 มีการผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน 4.7GW เมื่อถึงปี 2020 เพิ่มขึ้นเป็น 9.49GW หากคำนวณเป็นหน่วยกระแสไฟฟ้าในปี 2016 นั้นผลิตได้ 12,700 ล้านหน่วย นับถึงปี 2020 คิดเป็นจำนวนหน่วยกระแสไฟฟ้าเท่ากับ 150,100 ล้านหน่วย เพิ่มขึ้น 19%
ไต้หวันกำลังเร่งส่งเสริมให้ผู้ประกอบการในประเทศลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือก๊าซที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจก โลกของเรากำลังเผชิญกับภาวะโลกร้อน ประเทศต่างๆ ให้ความสำคัญต่อเรื่องนี้และพยายามที่จะให้บรรลุเป้าหมายการผลิตแบบไร้ก๊าซคาร์บอน(การปล่อยก๊าซ = 0) ในปี 2050 การคำนึงถึงดัชนีการเปลี่ยนแปลงบรรยากาศโลกลดการใช้ถ่านหิน ยกระดับทางด้านพลังงาน ล้วนแต่เป็นเป้าหมายที่ประเทศต่างๆ กำลังผลักดัน ไต้หวันจะต้องเข้าสู่กลไกคาร์บอนเครดิตและภาษีคาร์บอนเช่นกัน หวังเหม่ยฮัว (王美花) รมว. กระทรวงเศรษฐการของไต้หวันได้กล่าวว่า ไต้หวันเป็นประเทศที่ต้องพึ่งพาการส่งออก เพราะฉะนั้นจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเข้าสู่กลไกคาร์บอนเครดิต ภาษีเครดิต
ภาษีคาร์บอนจะจัดเก็บภาษีไฟฟ้าที่ผลิตจากถ่านหิน
คาร์บอนเครดิตหมายถึง สิทธิที่เกิดจากการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนของบุคคลหรือองค์กรดำเนินการจนบรรลุเป้าหมาย สิทธิดังกล่าวนี้สามารถวัดปริมาณและตีราคาเป็นมูลค่านำไปซื้อขายในตลาดคาร์บอนเครดิตได้ ส่วนภาษีคาร์บอน (อังกฤษ: carbon tax) เป็นภาษีสิ่งแวดล้อมที่จัดเก็บเนื่องจากการผลิตสินค้าหรือบริการที่มีการปล่อยคาร์บอน เป็นมาตรการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพิ่มการแข่งขันของพลังงานทางเลือกประเภทอื่น เป็นการสร้างแรงจูงใจให้ผู้ผลิตหันไปใช้พลังงานสีเขียว
นโยบายการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของไต้หวัน โดยหลักการคือพยายามผลักดันการใช้พลังงานหมุนเวียนโดยเฉพาะพลังงานจากแสงอาทิตย์ มีการติดตั้งโซลาเซลล์เพิ่มขึ้นมาก หวังเหม่ยฮัว กล่าวว่าในปี 2019 ไต้หวันปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเผาผลาญเชื้อเพลิง เทียบกับปี 2017 ลดลง 30% หากเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงได้แก่ เกาหลีใต้สิงคโปร์ จีน นับว่าไต้หวันมีผลสำเร็จที่ดีกว่า ในส่วนของการผลักดันพลังงานหมุนเวียนนั้น ตั้งแต่ปี 2016 มีการผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน 4.7GW เมื่อถึงปี 2020 เพิ่มขึ้นเป็น 9.49GW หากคำนวณเป็นหน่วยกระแสไฟฟ้าในปี 2016 นั้นผลิตได้ 12,700 ล้านหน่วย นับถึงปี 2020 คิดเป็นจำนวนหน่วยกระแสไฟฟ้าเท่ากับ 150,100 ล้านหน่วย เพิ่มขึ้น 19%