
Sign up to save your podcasts
Or
เหตุการณ์ "น้ำมันใจอำมหิต" ซึ่งมีการปลอมปนน้ำมันรีไซเคิลขายเข้าสู่ตลาดในไต้หวันเมื่อปี 2014 ทำให้เกิดความวุ่นวายในสังคม ส่งผลให้ "ความปลอดภัยด้านอาหาร" เป็นประเด็นสำคัญ กลายเป็นนโยบายหลักของพรรคการเมือง
ผู้บริโภคคือกุญแจสำคัญ ในการผลักดันกลไกตรวจสอบความปลอดภัยและคุณภาพสินค้าเกษตร
กลไกการตรวจสอบความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์เกษตรในไต้หวันมีหน่วยงานหลัก 2 หน่วยงานที่รับผิดชอบในการแบ่งงาน อ้างอิงตามกฎหมายภายและระบบการบริหารของรัฐบาล ได้แก่ กระทรวงเกษตรบริหารจัดการความปลอดภัยของสารเคมีและยาที่ใช้ในการผลิตสินค้าเกษตรในฟาร์ม และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (TFDA) ของ กระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการมีหน้าที่รับผิดชอบความปลอดภัยอาหารวางที่วางจำหน่ายในท้องตลาด การแบ่งานดังกล่าวจากมุมมองของห่วงโซ่อุปทานสินค้าเกษตรและอาหาร (ห่วงโซ่อาหารเกษตร) ขอบเขตสิทธิและความรับผิดชอบของหน่วยงานมีกฎระเบียบที่ชัดเจน แต่การปฏิบัติงาน อาจเกิดการเกี่ยงงาน ดังนั้น การบริหารจัดการความปลอดภัยอาหารที่แหล่งผลิตหรือแหล่งที่มา ยังคงเป็นกลไกสำคัญในการดำเนินการควบคุมความปลอดภัยของอาหาร
เทคนิคแมสสเปกโตรเมทรีตรวจสอบแบบเร็วในห้องปฏิบัติการ
เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่จุดตรวจสอบ และหาวิธีการแก้ปัญหา กฎหมายและข้อบังคับภายในไต้หวันมีความสอดคล้องกับมาตรฐานสากล และนำมาตรฐาน HACCP (จุดควบคุมวิกฤตการวิเคราะห์อันตราย) และ ISO มาใช้ วัตถุประสงค์ของ HACCP คือเพื่อจัดการระบบระบบสำหรับการตรวจรับ การแปรรูป การผลิต การจัดเก็บ และการขนส่งวัตถุดิบอาหารเพื่อป้องกันและควบคุมอันตรายด้านความปลอดภัยของอาหาร มาตรฐาน ISO มีไว้สำหรับคุณภาพผลิตภัณฑ์ ประสิทธิภาพการบริการ ระบบการจัดการ เทคโนโลยี การผลิต สิ่งแวดล้อม และอาชีวอนามัย ความปลอดภัย ยา ความสอดคล้อง ความปลอดภัยของอาหารและอื่นๆ อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐาน HACCP หรือ ISO ก็ตาม สิ่งเหล่านี้คือการควบคุมและการจัดการจุดตรวจสอบภายนอก และยังถือเป็นมาตรฐานการตรวจสอบและรับรองสำหรับการส่งออกอาหารอีกด้วย สำหรับการจัดการแหล่งที่มาของสินค้าเกษตรที่แหล่งผลิต จุดสนใจหลักคือ "การตรวจสอบสารกำจัดศัตรูพืชตกค้าง" ซึ่งอยู่ภายใต้เขตอำนาจของกระทรวงเกษตร
ผักออร์แกนิคใช้ประกอบอาหารกลางวันในโรงเรียน
อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์อาหารพิษ อาหารมีสารตกค้างยังเกิดขึ้นเนือง ๆ ไม่หมดสิ้น แม้กฎหมายบัญญัติไว้เข้มงวดและเพียงพอ แต่การบังคับใช้ของรัฐบาลไม่เข้มงวด กระทบต่อความปลอดภัยและคุณภาพของสินค้าเกษตร นักวิชการในไต้หวันเสนอว่าการบรรลุเป้าหมายได้ จะต้องอาศัยความตื่นตัวของผู้บริโภคใส่ใจการการเลือกสินค้าเกษตรอย่างถูกวิธีด้วย
เทคนิคแมสสเปกโตรเมทรีตรวจสอบแบบเร็ว
เหตุการณ์ "น้ำมันใจอำมหิต" ซึ่งมีการปลอมปนน้ำมันรีไซเคิลขายเข้าสู่ตลาดในไต้หวันเมื่อปี 2014 ทำให้เกิดความวุ่นวายในสังคม ส่งผลให้ "ความปลอดภัยด้านอาหาร" เป็นประเด็นสำคัญ กลายเป็นนโยบายหลักของพรรคการเมือง
ผู้บริโภคคือกุญแจสำคัญ ในการผลักดันกลไกตรวจสอบความปลอดภัยและคุณภาพสินค้าเกษตร
กลไกการตรวจสอบความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์เกษตรในไต้หวันมีหน่วยงานหลัก 2 หน่วยงานที่รับผิดชอบในการแบ่งงาน อ้างอิงตามกฎหมายภายและระบบการบริหารของรัฐบาล ได้แก่ กระทรวงเกษตรบริหารจัดการความปลอดภัยของสารเคมีและยาที่ใช้ในการผลิตสินค้าเกษตรในฟาร์ม และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (TFDA) ของ กระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการมีหน้าที่รับผิดชอบความปลอดภัยอาหารวางที่วางจำหน่ายในท้องตลาด การแบ่งานดังกล่าวจากมุมมองของห่วงโซ่อุปทานสินค้าเกษตรและอาหาร (ห่วงโซ่อาหารเกษตร) ขอบเขตสิทธิและความรับผิดชอบของหน่วยงานมีกฎระเบียบที่ชัดเจน แต่การปฏิบัติงาน อาจเกิดการเกี่ยงงาน ดังนั้น การบริหารจัดการความปลอดภัยอาหารที่แหล่งผลิตหรือแหล่งที่มา ยังคงเป็นกลไกสำคัญในการดำเนินการควบคุมความปลอดภัยของอาหาร
เทคนิคแมสสเปกโตรเมทรีตรวจสอบแบบเร็วในห้องปฏิบัติการ
เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่จุดตรวจสอบ และหาวิธีการแก้ปัญหา กฎหมายและข้อบังคับภายในไต้หวันมีความสอดคล้องกับมาตรฐานสากล และนำมาตรฐาน HACCP (จุดควบคุมวิกฤตการวิเคราะห์อันตราย) และ ISO มาใช้ วัตถุประสงค์ของ HACCP คือเพื่อจัดการระบบระบบสำหรับการตรวจรับ การแปรรูป การผลิต การจัดเก็บ และการขนส่งวัตถุดิบอาหารเพื่อป้องกันและควบคุมอันตรายด้านความปลอดภัยของอาหาร มาตรฐาน ISO มีไว้สำหรับคุณภาพผลิตภัณฑ์ ประสิทธิภาพการบริการ ระบบการจัดการ เทคโนโลยี การผลิต สิ่งแวดล้อม และอาชีวอนามัย ความปลอดภัย ยา ความสอดคล้อง ความปลอดภัยของอาหารและอื่นๆ อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐาน HACCP หรือ ISO ก็ตาม สิ่งเหล่านี้คือการควบคุมและการจัดการจุดตรวจสอบภายนอก และยังถือเป็นมาตรฐานการตรวจสอบและรับรองสำหรับการส่งออกอาหารอีกด้วย สำหรับการจัดการแหล่งที่มาของสินค้าเกษตรที่แหล่งผลิต จุดสนใจหลักคือ "การตรวจสอบสารกำจัดศัตรูพืชตกค้าง" ซึ่งอยู่ภายใต้เขตอำนาจของกระทรวงเกษตร
ผักออร์แกนิคใช้ประกอบอาหารกลางวันในโรงเรียน
อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์อาหารพิษ อาหารมีสารตกค้างยังเกิดขึ้นเนือง ๆ ไม่หมดสิ้น แม้กฎหมายบัญญัติไว้เข้มงวดและเพียงพอ แต่การบังคับใช้ของรัฐบาลไม่เข้มงวด กระทบต่อความปลอดภัยและคุณภาพของสินค้าเกษตร นักวิชการในไต้หวันเสนอว่าการบรรลุเป้าหมายได้ จะต้องอาศัยความตื่นตัวของผู้บริโภคใส่ใจการการเลือกสินค้าเกษตรอย่างถูกวิธีด้วย
เทคนิคแมสสเปกโตรเมทรีตรวจสอบแบบเร็ว