
Sign up to save your podcasts
Or
สถานีวิจัยและส่งเสริมการเกษตรเขตกลาง หน่วยงานภายใต้คณะกรรมการการเกษตรนำเปลือกหอยนางรมมาใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงคุณภาพดินและพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้เพิ่มขึ้น เปรียบเสมือนการเปลี่ยนขยะให้เป็นทองคำ
คลิกฟังรายการที่นี่
การเลี้ยงหอยนางรมของไต้หวันมีความเฟื่องฟูเริ่มจาก แหล่งเลี้ยงส่วนใหญ่อยู่ในเมืองจางฮั่ว หยุนหลิน เจียอี้ และนครไถหนาน แต่ละปีทำให้มีเปลือกหอยประมาณ 110,000 ตัน ซึ่งเปลือกหอยเหล่านี้มักถูกกองทับถมอยู่ตามริมชายฝั่ง เมื่อเกิดการย่อยสลายโดยจุลินทรีย์จะมีกลิ่นเหม็นเน่า ทับถมกลายเป็นขยะที่สร้างมลภาวะเป็นพิษ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีทีมวิจัยในไต้หวันทำการวิจัยพัฒนาเพื่อใช้ประโยชน์จากเปลือกหอยนางรมให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
ไต้หวันวิจัยพัฒนาใช้เปลือกหอยนางรมที่ทิ้งให้เกิดประโยชน์
ส่วนประกอบหลักของเปลือกหอยนางรมคือแคลเซียมคาร์บอเนต (Calcium carbonate) ประมาณ 95% เปลือกหอยมีรูมากมาย ทนต่อความร้อน ทนต่อแรงกด และมีความถ่วงจำเพาะสูงกว่าน้ำ สามารถนำมาใช้เป็นปุ๋ย เป็นอาหารสัตว์ ใช้ในการกรองน้ำ และใช้เป็นสารฆ่าเชื้อโรค หรือใช้เป็นส่วนผสมในการทำถนน สถิติในไต้หวันชี้ว่ามีการนำมาใช้ทำปุ๋ย 24,000 ตัน อาหารสัตว์ 48,000 ตัน วัสดุปลูกพืช 13,000 ตัน ที่เหลือใช้ในการกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ในบ่อเลี้ยงปลา กรองน้ำ ทำถนน เภสัชภัณฑ์ รวมประมาณ 20,000 ตัน อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการใช้ประโยชน์อย่างหลากหลายแต่ก็ยังมีเปลือกหอยนางรมที่ถูกกองสุมไว้อีกจำนวนมาก
เปลือกหอยบดผงใช้ร่วมสารชีวภาพ พืชงอกงามดี
ผงเปลือกหอยนางรมสามารถนำมาใช้ในการปรับปรุงคุณภาพดินได้ ขณะนี้มีการขึ้นทะเบียนปุ๋ย 4-13 และผงเปลือกหอยนางรมยังแบ่งเป็น ผงบดละเอียด และผงผ่านการเผา (Calcination) ซึ่งผงที่ผ่านการเผาจะทำให้แคลเซียมคาร์บอเนต กลายเป็น แคลเซียมออกไซด์ที่มีความเป็นด่างสูงขึ้น
แปลงทดลองปลูก เปลือกหอยบดผงใช้ร่วมสารชีวภาพ
สถานีวิจัยและส่งเสริมการเกษตรเขตกลางได้วิจัยทดลองปริมาณและสัดส่วนที่เหมาะสม ในนำผงเปลือกหอยนางรมที่ผ่านการเผาแล้วมาใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงคุณภาพดินที่เป็นกรด หลักการสำคัญคือจะต้องทำการศึกษาความเป็นกรดด่างในดินก่อน จึงจะกำหนดปริมาณการใช้ผงเปลือกหอยนางรมได้ถูกต้อง นอกจากนี้ผงเปลือกหอยนางรมที่ผ่านการเผามีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อโรคได้ จึงนำไปใช้ในการปรับปรุงคุณภาพน้ำให้มีความสะอาด และใช้ร่วมกับสารชีวภาพ เพื่อปรับปรุงคุณภาพวัสดุปลูกให้ดีขึ้นด้วย
สถานีวิจัยและส่งเสริมการเกษตรเขตกลาง หน่วยงานภายใต้คณะกรรมการการเกษตรนำเปลือกหอยนางรมมาใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงคุณภาพดินและพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้เพิ่มขึ้น เปรียบเสมือนการเปลี่ยนขยะให้เป็นทองคำ
คลิกฟังรายการที่นี่
การเลี้ยงหอยนางรมของไต้หวันมีความเฟื่องฟูเริ่มจาก แหล่งเลี้ยงส่วนใหญ่อยู่ในเมืองจางฮั่ว หยุนหลิน เจียอี้ และนครไถหนาน แต่ละปีทำให้มีเปลือกหอยประมาณ 110,000 ตัน ซึ่งเปลือกหอยเหล่านี้มักถูกกองทับถมอยู่ตามริมชายฝั่ง เมื่อเกิดการย่อยสลายโดยจุลินทรีย์จะมีกลิ่นเหม็นเน่า ทับถมกลายเป็นขยะที่สร้างมลภาวะเป็นพิษ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีทีมวิจัยในไต้หวันทำการวิจัยพัฒนาเพื่อใช้ประโยชน์จากเปลือกหอยนางรมให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
ไต้หวันวิจัยพัฒนาใช้เปลือกหอยนางรมที่ทิ้งให้เกิดประโยชน์
ส่วนประกอบหลักของเปลือกหอยนางรมคือแคลเซียมคาร์บอเนต (Calcium carbonate) ประมาณ 95% เปลือกหอยมีรูมากมาย ทนต่อความร้อน ทนต่อแรงกด และมีความถ่วงจำเพาะสูงกว่าน้ำ สามารถนำมาใช้เป็นปุ๋ย เป็นอาหารสัตว์ ใช้ในการกรองน้ำ และใช้เป็นสารฆ่าเชื้อโรค หรือใช้เป็นส่วนผสมในการทำถนน สถิติในไต้หวันชี้ว่ามีการนำมาใช้ทำปุ๋ย 24,000 ตัน อาหารสัตว์ 48,000 ตัน วัสดุปลูกพืช 13,000 ตัน ที่เหลือใช้ในการกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ในบ่อเลี้ยงปลา กรองน้ำ ทำถนน เภสัชภัณฑ์ รวมประมาณ 20,000 ตัน อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการใช้ประโยชน์อย่างหลากหลายแต่ก็ยังมีเปลือกหอยนางรมที่ถูกกองสุมไว้อีกจำนวนมาก
เปลือกหอยบดผงใช้ร่วมสารชีวภาพ พืชงอกงามดี
ผงเปลือกหอยนางรมสามารถนำมาใช้ในการปรับปรุงคุณภาพดินได้ ขณะนี้มีการขึ้นทะเบียนปุ๋ย 4-13 และผงเปลือกหอยนางรมยังแบ่งเป็น ผงบดละเอียด และผงผ่านการเผา (Calcination) ซึ่งผงที่ผ่านการเผาจะทำให้แคลเซียมคาร์บอเนต กลายเป็น แคลเซียมออกไซด์ที่มีความเป็นด่างสูงขึ้น
แปลงทดลองปลูก เปลือกหอยบดผงใช้ร่วมสารชีวภาพ
สถานีวิจัยและส่งเสริมการเกษตรเขตกลางได้วิจัยทดลองปริมาณและสัดส่วนที่เหมาะสม ในนำผงเปลือกหอยนางรมที่ผ่านการเผาแล้วมาใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงคุณภาพดินที่เป็นกรด หลักการสำคัญคือจะต้องทำการศึกษาความเป็นกรดด่างในดินก่อน จึงจะกำหนดปริมาณการใช้ผงเปลือกหอยนางรมได้ถูกต้อง นอกจากนี้ผงเปลือกหอยนางรมที่ผ่านการเผามีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อโรคได้ จึงนำไปใช้ในการปรับปรุงคุณภาพน้ำให้มีความสะอาด และใช้ร่วมกับสารชีวภาพ เพื่อปรับปรุงคุณภาพวัสดุปลูกให้ดีขึ้นด้วย