
Sign up to save your podcasts
Or
สับปะรดเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของไต้หวัน ในปี 2020 ส่งออก 46,000 ตัน มูลค่าสูงถึง 8,570 ล้านเหรียญไต้หวันตลาดส่งออกสำคัญคือ จีน ญี่ปุ่น ฮ่องกง สิงคโปร์ หลังจีนระงับการนำเข้าสับปะรดไต้หวันตั้งแต่เดือนมีนาคม ปี 2021 ตลาดส่งออกหลักมุ่งไปที่ สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ผู้ประกอบการเร่งขยายตลาดไปยัง เกาหลีใต้ มาเลเซีย ออสเตรเลีย อีกด้วย เนื่องจากระยะทางขนส่งไกล จะต้องพัฒนาเทคโนโลยีรักษาความสดของสับปะรด ถือเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการ ซึ่งการส่งออกสับปะรดของไต้หวันส่วนใหญ่เป็นพันธุ์จินจ้วน (ไถหนง เบอร์ 17) รสชาติหวาน เนื้อละเอียด แกนอ่อนนิ่ม กรดน้ำตาลต่ำ แต่มีข้อเสียคือสุกเร็ว เก็บไว้ไม่นาน เป็นอุปสรรคใหญ่ต่อการส่งออก ทั้งนี้ ฤดูเก็บเกี่ยวสับปะรดไต้หวันคือ เดือนเมษายน อุณหภูมิผลสับปะรดในไร่ ตอนเช้า 35°C ขึ้นไป ตอนบ่ายอุณหภูมิอาจสูงถึง 40°C ขึ้นไป ขณะที่อุณหภูมิเหมาะสมในการเก็บรักษาคือ 13°C จึงต้องหาทางบริหารเพื่อลดอุณหภูมิและมีความแม่นยำ เพื่อการส่งออกได้อย่างราบรื่น
สับปะรดที่ส่งออกจะต้องทำให้อุณหภูมิเย็นลงโดยเร็ว
การทำให้อุณหภูมิผลสับปะรดเย็นลงโดยเร็ว ถือเป็นกระบวนการสำคัญใน Cold Chain Logistics ต้องหาทางลดอุณหภูมิในโรงเก็บสับปะรด ขั้นตอนคือ เก็บสับปะรดจากไร่แล้วต้องรีบส่งเข้าโรงคัดบรรจุ ใช้พัดลม พ่นไอน้ำ ลดอุณหภูมิให้ต่ำกว่า 30°C ป้องกันไม่ให้สับปะรดสุกเร็ว จากนั้นรีบคัดแยกบรรจุกล่อง นำเข้าห้องเย็น ลดเวลาอยู่ในอุณหภูมิปกติให้สั้นที่สุด อย่างไรก็ตาม ผลการวิจัยชี้ว่า สับปะรดอุณหภูมิ 28°C ใส่ในกล่องบรรจุวางเรียงบนพาเลท เก็บในห้องเย็น ตั้งอุณหภูมิ 12°C เป็นเวลา 24 ชั่วโมง อุณหภูมิสับปะรดจะลดเหลือ 17°C เท่านั้น แต่ว่าการเตรียมส่งออกมีเวลาอยู่ในห้องเย็น 10-13 ชั่วโมงก่อนบรรจุลงตู้คอนเทนเนอร์ ดังนั้นจะต้องหาวิธีการลดอุณหภูมิที่มีประสิทธิภาพสูง
การติดตั้งพัดลมดูดอากาศสามารถแก้ปัญหาได้ ซึ่งการติดตั้งพัดลมดูดอากาศที่ด้านบนขณะเก็บสับปะรดในห้องเย็น เป็นการดึงความเย็นจากอากาศด้านล่างเข้าไปสู่กล่องบรรจุ โดยรูปแบบการติดตั้งพัดลมมีหลายอย่าง เช่น แบบอุโมงค์ แบบดูดจากด้านบน และแบบดูดเข้ากำแพง ซึ่งพบว่การดูดด้านบนใช้งานได้ยืดหยุ่นที่สุด แต่ต้องเจาะรูกล่องบรรจุเป็นแนวตรงให้อากาศผ่านทะลุได้ตลอด เมื่อวางกล่องบนแผ่นพาเลทจะต้องวางเรียงให้รูระบายอากาศทะลุผ่านกล่องทุกชั้นได้ ซึ่งอุปกรณ์ทำให้เย็นแบบดูดอากาศที่ด้านบนมีการจดสิทธิบัตร M592654 ของไต้หวันแล้ว โดยคณะกรรมการการเกษตร มี ศ. หวงจ้าวเจีย (黃肇家) เป็นผู้วิจัย ที่แต่เดิมใช้ในการลดอุณหภูมิกล้วยไม้ฟาแลน หลังทดสอบแล้ว เหมาะกับการใช้ลดอุณหภูมิได้
สับปะรดที่ส่งออกจะต้องทำให้อุณหภูมิเย็นลงโดยเร็ว
การดูดอากาศจากด้านบน ควรจะทำความคราวละ 1 พาเลท รูปแบบที่ใช้ในเชิงพาณิชย์คือ การติดตั้งตัวดูดไว้ด้านบน จากการทดลองเมื่อผลไม้ ส่งเข้าสู่โรงคัดบรรจุอุณหภูมิ 34°C ใช้พัดลมเป่าและบรรจุกล่องแล้วลดเหลือ 28 °C วางเรียงบนพาเลทโดยใช้สับปะรด 48 กล่อง(นน. 480 กก.) เก็บเข้าห้องเย็นตั้งอุณหภูมิ 12°C เวลา 2 ชั่วโมง อุณหภูมิลดจาก 28°C เหลือ 20°C หากเทียบกับในห้องเย็นเดียวกันแต่ใช้วิธีวางเรียงเข้าไปไม่ได้ใช้พัดลมดูด 2 ชั่วโมงอุณหภูมิยังอยู่ที่ 26°C ถือว่าวิธีการนี้มีประสิทธิภาพสูง
สับปะรดเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของไต้หวัน ในปี 2020 ส่งออก 46,000 ตัน มูลค่าสูงถึง 8,570 ล้านเหรียญไต้หวันตลาดส่งออกสำคัญคือ จีน ญี่ปุ่น ฮ่องกง สิงคโปร์ หลังจีนระงับการนำเข้าสับปะรดไต้หวันตั้งแต่เดือนมีนาคม ปี 2021 ตลาดส่งออกหลักมุ่งไปที่ สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ผู้ประกอบการเร่งขยายตลาดไปยัง เกาหลีใต้ มาเลเซีย ออสเตรเลีย อีกด้วย เนื่องจากระยะทางขนส่งไกล จะต้องพัฒนาเทคโนโลยีรักษาความสดของสับปะรด ถือเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการ ซึ่งการส่งออกสับปะรดของไต้หวันส่วนใหญ่เป็นพันธุ์จินจ้วน (ไถหนง เบอร์ 17) รสชาติหวาน เนื้อละเอียด แกนอ่อนนิ่ม กรดน้ำตาลต่ำ แต่มีข้อเสียคือสุกเร็ว เก็บไว้ไม่นาน เป็นอุปสรรคใหญ่ต่อการส่งออก ทั้งนี้ ฤดูเก็บเกี่ยวสับปะรดไต้หวันคือ เดือนเมษายน อุณหภูมิผลสับปะรดในไร่ ตอนเช้า 35°C ขึ้นไป ตอนบ่ายอุณหภูมิอาจสูงถึง 40°C ขึ้นไป ขณะที่อุณหภูมิเหมาะสมในการเก็บรักษาคือ 13°C จึงต้องหาทางบริหารเพื่อลดอุณหภูมิและมีความแม่นยำ เพื่อการส่งออกได้อย่างราบรื่น
สับปะรดที่ส่งออกจะต้องทำให้อุณหภูมิเย็นลงโดยเร็ว
การทำให้อุณหภูมิผลสับปะรดเย็นลงโดยเร็ว ถือเป็นกระบวนการสำคัญใน Cold Chain Logistics ต้องหาทางลดอุณหภูมิในโรงเก็บสับปะรด ขั้นตอนคือ เก็บสับปะรดจากไร่แล้วต้องรีบส่งเข้าโรงคัดบรรจุ ใช้พัดลม พ่นไอน้ำ ลดอุณหภูมิให้ต่ำกว่า 30°C ป้องกันไม่ให้สับปะรดสุกเร็ว จากนั้นรีบคัดแยกบรรจุกล่อง นำเข้าห้องเย็น ลดเวลาอยู่ในอุณหภูมิปกติให้สั้นที่สุด อย่างไรก็ตาม ผลการวิจัยชี้ว่า สับปะรดอุณหภูมิ 28°C ใส่ในกล่องบรรจุวางเรียงบนพาเลท เก็บในห้องเย็น ตั้งอุณหภูมิ 12°C เป็นเวลา 24 ชั่วโมง อุณหภูมิสับปะรดจะลดเหลือ 17°C เท่านั้น แต่ว่าการเตรียมส่งออกมีเวลาอยู่ในห้องเย็น 10-13 ชั่วโมงก่อนบรรจุลงตู้คอนเทนเนอร์ ดังนั้นจะต้องหาวิธีการลดอุณหภูมิที่มีประสิทธิภาพสูง
การติดตั้งพัดลมดูดอากาศสามารถแก้ปัญหาได้ ซึ่งการติดตั้งพัดลมดูดอากาศที่ด้านบนขณะเก็บสับปะรดในห้องเย็น เป็นการดึงความเย็นจากอากาศด้านล่างเข้าไปสู่กล่องบรรจุ โดยรูปแบบการติดตั้งพัดลมมีหลายอย่าง เช่น แบบอุโมงค์ แบบดูดจากด้านบน และแบบดูดเข้ากำแพง ซึ่งพบว่การดูดด้านบนใช้งานได้ยืดหยุ่นที่สุด แต่ต้องเจาะรูกล่องบรรจุเป็นแนวตรงให้อากาศผ่านทะลุได้ตลอด เมื่อวางกล่องบนแผ่นพาเลทจะต้องวางเรียงให้รูระบายอากาศทะลุผ่านกล่องทุกชั้นได้ ซึ่งอุปกรณ์ทำให้เย็นแบบดูดอากาศที่ด้านบนมีการจดสิทธิบัตร M592654 ของไต้หวันแล้ว โดยคณะกรรมการการเกษตร มี ศ. หวงจ้าวเจีย (黃肇家) เป็นผู้วิจัย ที่แต่เดิมใช้ในการลดอุณหภูมิกล้วยไม้ฟาแลน หลังทดสอบแล้ว เหมาะกับการใช้ลดอุณหภูมิได้
สับปะรดที่ส่งออกจะต้องทำให้อุณหภูมิเย็นลงโดยเร็ว
การดูดอากาศจากด้านบน ควรจะทำความคราวละ 1 พาเลท รูปแบบที่ใช้ในเชิงพาณิชย์คือ การติดตั้งตัวดูดไว้ด้านบน จากการทดลองเมื่อผลไม้ ส่งเข้าสู่โรงคัดบรรจุอุณหภูมิ 34°C ใช้พัดลมเป่าและบรรจุกล่องแล้วลดเหลือ 28 °C วางเรียงบนพาเลทโดยใช้สับปะรด 48 กล่อง(นน. 480 กก.) เก็บเข้าห้องเย็นตั้งอุณหภูมิ 12°C เวลา 2 ชั่วโมง อุณหภูมิลดจาก 28°C เหลือ 20°C หากเทียบกับในห้องเย็นเดียวกันแต่ใช้วิธีวางเรียงเข้าไปไม่ได้ใช้พัดลมดูด 2 ชั่วโมงอุณหภูมิยังอยู่ที่ 26°C ถือว่าวิธีการนี้มีประสิทธิภาพสูง