
Sign up to save your podcasts
Or
ม.ตงไห่(Tunghai University) แถลงข่าวในวันที่ 10 สิงหาคม 2023 ชี้ว่ากำลังเดินหน้าสนับสนุนให้ไต้หวันบรรลุเป้าหมายคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2050 ด้วยการสร้าง "สวนอัจริยะความเป็นกลางทางคาร์บอน" ที่ใช้เทคโนโลยี AI ควบคุมการเพาะเลี้ยงสาหร่าย เพื่อดูดซับคาร์บอนนำไปสู่การบรรลุเป้าหมาย โดยมีการร่วมมือกับบริษัทด้านไบโอเทค จัดตั้งศูนย์กลางการวิจัยและการพัฒนา ทั้งนี้ จากสถิติระบุ การผลิตสาหร่ายขนาดเล็ก 1 กิโลกรัมจะดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ 2 กิโลกรัม ประสิทธิภาพการกักเก็บคาร์บอนของสาหร่ายสูงกว่าของพืชสีเขียวบนบก 15 ถึง 20 เท่า กล่าวได้ว่า เป็นการลดคาร์บอนประสิทธิภาพสูง
ลั่วหย่งเจี้ยน (駱永建) ศต.ภาควิชาเคมีและวิศวกรรมวัสดุแห่ง ม. ตงไห่ กล่าวว่านอกจากจะดูดซับคาร์บอนแล้ว สาหร่ายยังสามารถนำไปใช้เป็นอาหารปลาและปุ๋ยพืชได้อีกด้วย ปัจจุบันมีการเลี้ยงปลานิลกว่า 400 ตัว และปลูกผักต่างๆ เพื่อใช้สาหร่ายดูดซับคาร์บอน ผสานการปลูกพืชไร้ดิน การเลี้ยงปลา สร้างสวนอัจฉริยะ มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน สร้างระบบเศรษฐกิจแบบหมุนเวียน
จางเจียซิว (張嘉修) รองอธิบการบดีของ ม. ตงไห่ กล่าวว่า สวนสาธารณะปลอดคาร์บอนอัจฉริยะจะทำหน้าที่เป็นเขตสาธิตสำหรับองค์กรต่างๆ ไม่เพียงแต่ช่วยให้อุตสาหกรรมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน แต่ยังเชื่อมโยงองค์กรต่างๆ เพื่อสร้างอุตสาหกรรมที่ยั่งยืนและสร้างวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยสีเขียว
บริเวณโดยรอบ ม. ตงไห่ มีโรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่ง จางเจียซิวกล่าวว่า การลดคาร์บอนอย่างยั่งยืนคือทิศทางในอนาคตแต่ยังมีผู้ผลิตจำนวนมากที่ไม่ทราบวิธีลดคาร์บอน สวนสาธิตคาร์บอนเป็นกลางแห่งนี้ ใช้สำหรับแนะแนวผู้ผลิต และบ่มเพาะบุคลลากรตามมาตรฐาน ISO14064-1 ตรวจสอบตามจุดสำคัญของการปล่อยคาร์บอนของผู้ผลิต จะมีคำแนะนำในการปรับปรุงกระบวนการผลิตและการประหยัดน้ำ การประหยัดพลังงาน และการลดคาร์บอนและกักเก็บคาร์บอน มุ่งไปสู่การปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์
ม.ตงไห่(Tunghai University) แถลงข่าวในวันที่ 10 สิงหาคม 2023 ชี้ว่ากำลังเดินหน้าสนับสนุนให้ไต้หวันบรรลุเป้าหมายคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2050 ด้วยการสร้าง "สวนอัจริยะความเป็นกลางทางคาร์บอน" ที่ใช้เทคโนโลยี AI ควบคุมการเพาะเลี้ยงสาหร่าย เพื่อดูดซับคาร์บอนนำไปสู่การบรรลุเป้าหมาย โดยมีการร่วมมือกับบริษัทด้านไบโอเทค จัดตั้งศูนย์กลางการวิจัยและการพัฒนา ทั้งนี้ จากสถิติระบุ การผลิตสาหร่ายขนาดเล็ก 1 กิโลกรัมจะดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ 2 กิโลกรัม ประสิทธิภาพการกักเก็บคาร์บอนของสาหร่ายสูงกว่าของพืชสีเขียวบนบก 15 ถึง 20 เท่า กล่าวได้ว่า เป็นการลดคาร์บอนประสิทธิภาพสูง
ลั่วหย่งเจี้ยน (駱永建) ศต.ภาควิชาเคมีและวิศวกรรมวัสดุแห่ง ม. ตงไห่ กล่าวว่านอกจากจะดูดซับคาร์บอนแล้ว สาหร่ายยังสามารถนำไปใช้เป็นอาหารปลาและปุ๋ยพืชได้อีกด้วย ปัจจุบันมีการเลี้ยงปลานิลกว่า 400 ตัว และปลูกผักต่างๆ เพื่อใช้สาหร่ายดูดซับคาร์บอน ผสานการปลูกพืชไร้ดิน การเลี้ยงปลา สร้างสวนอัจฉริยะ มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน สร้างระบบเศรษฐกิจแบบหมุนเวียน
จางเจียซิว (張嘉修) รองอธิบการบดีของ ม. ตงไห่ กล่าวว่า สวนสาธารณะปลอดคาร์บอนอัจฉริยะจะทำหน้าที่เป็นเขตสาธิตสำหรับองค์กรต่างๆ ไม่เพียงแต่ช่วยให้อุตสาหกรรมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน แต่ยังเชื่อมโยงองค์กรต่างๆ เพื่อสร้างอุตสาหกรรมที่ยั่งยืนและสร้างวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยสีเขียว
บริเวณโดยรอบ ม. ตงไห่ มีโรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่ง จางเจียซิวกล่าวว่า การลดคาร์บอนอย่างยั่งยืนคือทิศทางในอนาคตแต่ยังมีผู้ผลิตจำนวนมากที่ไม่ทราบวิธีลดคาร์บอน สวนสาธิตคาร์บอนเป็นกลางแห่งนี้ ใช้สำหรับแนะแนวผู้ผลิต และบ่มเพาะบุคลลากรตามมาตรฐาน ISO14064-1 ตรวจสอบตามจุดสำคัญของการปล่อยคาร์บอนของผู้ผลิต จะมีคำแนะนำในการปรับปรุงกระบวนการผลิตและการประหยัดน้ำ การประหยัดพลังงาน และการลดคาร์บอนและกักเก็บคาร์บอน มุ่งไปสู่การปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์