
Sign up to save your podcasts
Or
"ตารางเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงในหนังสือชี้แจงผลกระทบสิ่งแวดล้อมของแผนพัฒนาการฉีดก๊าซในหลุมก๊าซภูเขาเถี่ยจัน (鐵砧山)" เสนอโดยบริษัท ไชน่า ปิโตรเลียม ผ่านการพิจารณาในวันที่ 25 กรกฎาคม 2023 มีแผนจะฉีดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงในบ่อน้ำมันที่ถูกทิ้งร้างภูเขาเที่ยจัน นักวิชาการเชื่อว่าบ่อน้ำมันที่ถูกทิ้งร้างมีความเหมาะสมที่จะเป็นสถานที่ทดลองการกักเก็บคาร์บอน ซึ่งจากการประเมินศักยภาพในการกักเก็บคาร์บอน เก็บได้มากถึง 50,000-60,000 ล้านตัน เมื่อเทียบกับการประเมินของสภาพัฒนาแห่งชาติ ที่คาดว่าจะต้องกักเก็บคาร์บอน 40 ล้านตัน ในปี 2050 ถือว่ามีความเพียงพอ
บ. ไชน่า ปิโตรเลียม(China National Petroleum Corporation:CNPC)จะใช้เขตพัฒนาก๊าซธรรมชาติ ภูเขาเถี่ยจัน ที่ตั้งอยู่ในเขตต้าเจี่ยของนครไทจง มีพื้นที่ประมาณ 1.025 เฮกตาร์ เพื่อเจาะหลุมฉีดคาร์บอนไดออกไซด์ลึก 1.85 กิโลเมตร และจะเริ่มทดสอบการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่ขนาดเล็กก่อน โครงการ 3 ปี คาดว่าจะฉีดคาร์บอนไดออกไซด์ 100,000 ตันต่อปี โดยมีปริมาณการฉีดรวม 300,000 ตัน
เว่ยกั๋วเอี้ยน (魏國彥) อดีตผู้อำนวยการสำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า แผนการทดลองกักเก็บคาร์บอนที่คล้ายกันนั้นมีการวางแผนไว้เมื่อกว่า 10 ปีที่แล้ว แต่เกรงว่าอาจจะระเบิดและรั่วไหล สาธารณชนตื่นตระหนก จึงไม่สามารถดำเนินต่อไป ส่งผลให้เทคโนโลยีกักเก็บคาร์บอนของไต้หวันล่าช้าไป 10 ปี ทั้งนี้ ภูเขาเถี่ยจัน เป็นแหล่งน้ำมันร้าง ในอดีตมีน้ำมันและก๊าซ ขณะนี้ถูกดูดออกไปหมดแล้ว การนำมากักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีความปลอดภัยมาก ตอนนี้เป็นเพียงการฉีดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กลับคืนเข้าไป คล้ายกับที่ธรรมชาติกักเก็บเดิม หากความลึกเพียงพอ อาจทำให้กลายเป็นของเหลวหรือแม้กระทั่งทำให้ตกผลึกเก็บไว้ได้ ส่งผลให้การปล่อยก๊าซคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2050 สามารถบรรลุผล ผ่านเทคโนโลยีการกักเก็บคาร์บอน อย่างไรก็ตาม ไต้หวันมีแผ่นดินไหวและรอยเลื่อนหลายแห่ง สภาพแวดล้อมทางธรณีวิทยาจะต้องได้รับการประเมินเพื่อหลีกเลี่ยงการปนเปื้อนของคาร์บอนไดออกไซด์ในน้ำใต้ดินที่เกิดจากแผ่นดินไหวขนาดเล็ก รัฐบาลจะต้องควบคุมและกำกับดูแลด้วย
หลินเตี้ยนซุ่น (林殿順) ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยการกักเก็บคาร์บอนและความร้อนใต้พิภพของมหาวิทยาลัยจงยัง (National Central University) กล่าวว่า พื้นที่ภูเขาเถี่ยจันค่อนข้างมั่นคง ในภาวะที่แหล่งน้ำมันที่ถูกทิ้งร้างที่คล้ายกันมีเพียงไม่กี่แห่งในไต้หวัน ไต้หวันอาจพิจารณาวิธีการกักเก็บไว้ใต้ "ชั้นน้ำเกลือ" ที่ระดับความลึกเกินกว่า 800 เมตร คาร์บอนไดออกไซด์จะกลายเป็น "สภาวะวิกฤตยิ่งยวด" ซึ่งจะต้องหาชั้นหินที่มีช่องว่าง และสามารถปิดผนึก นอกจากนี้ เขายังกล่าวด้วยว่าพื้นที่บนบกและทางทะเลของไต้หวันมีศักยภาพสูง ประมาณการคร่าวๆ มีพื้นที่จัดเก็บคาร์บอนประมาณ 5 หมื่นล้านตันถึง 6 หมื่นล้านตัน และการประเมินโดยละเอียดยังมีอยู่ที่ 1 – 2 หมื่นล้านตัน ปัจจุบัน สภาพัฒนาแห่งชาติมีแผนจัดเก็บ 40 ล้านตันในปี 2050 ถือว่าเพียงพอ
สวีกวงหรง (徐光蓉) กรรมการบริหาร กลุ่มคุณแม่ปฏิบัติแก้ไขสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงกล่าวว่า ในอดีตมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในธรรมชาติธรรมชาติรั่วไหลจำนวนมากที่ทะเลสาบไนออส(ทะเลสาบมรณะ) ในแคเมอรูน แอฟริกา จากการที่ภูเขาไฟมีการปะทุในลักษณะการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ไหลรั่วลงน้ำและอากาศรอบบริเวณภูเขาไฟ จนเป็นเหตุให้มีการตายหมู่ของผู้คนและสัตว์กว่าหลายพันชีวิต ดังนั้น ขอแนะนำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรทำหน้าที่ติดตามผลการทดลอง เมื่อเกิดการรั่วไหล ต้องดำเนินมาตรการอพยพคนรอบข้าง เป็นต้น
"ตารางเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงในหนังสือชี้แจงผลกระทบสิ่งแวดล้อมของแผนพัฒนาการฉีดก๊าซในหลุมก๊าซภูเขาเถี่ยจัน (鐵砧山)" เสนอโดยบริษัท ไชน่า ปิโตรเลียม ผ่านการพิจารณาในวันที่ 25 กรกฎาคม 2023 มีแผนจะฉีดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงในบ่อน้ำมันที่ถูกทิ้งร้างภูเขาเที่ยจัน นักวิชาการเชื่อว่าบ่อน้ำมันที่ถูกทิ้งร้างมีความเหมาะสมที่จะเป็นสถานที่ทดลองการกักเก็บคาร์บอน ซึ่งจากการประเมินศักยภาพในการกักเก็บคาร์บอน เก็บได้มากถึง 50,000-60,000 ล้านตัน เมื่อเทียบกับการประเมินของสภาพัฒนาแห่งชาติ ที่คาดว่าจะต้องกักเก็บคาร์บอน 40 ล้านตัน ในปี 2050 ถือว่ามีความเพียงพอ
บ. ไชน่า ปิโตรเลียม(China National Petroleum Corporation:CNPC)จะใช้เขตพัฒนาก๊าซธรรมชาติ ภูเขาเถี่ยจัน ที่ตั้งอยู่ในเขตต้าเจี่ยของนครไทจง มีพื้นที่ประมาณ 1.025 เฮกตาร์ เพื่อเจาะหลุมฉีดคาร์บอนไดออกไซด์ลึก 1.85 กิโลเมตร และจะเริ่มทดสอบการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่ขนาดเล็กก่อน โครงการ 3 ปี คาดว่าจะฉีดคาร์บอนไดออกไซด์ 100,000 ตันต่อปี โดยมีปริมาณการฉีดรวม 300,000 ตัน
เว่ยกั๋วเอี้ยน (魏國彥) อดีตผู้อำนวยการสำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า แผนการทดลองกักเก็บคาร์บอนที่คล้ายกันนั้นมีการวางแผนไว้เมื่อกว่า 10 ปีที่แล้ว แต่เกรงว่าอาจจะระเบิดและรั่วไหล สาธารณชนตื่นตระหนก จึงไม่สามารถดำเนินต่อไป ส่งผลให้เทคโนโลยีกักเก็บคาร์บอนของไต้หวันล่าช้าไป 10 ปี ทั้งนี้ ภูเขาเถี่ยจัน เป็นแหล่งน้ำมันร้าง ในอดีตมีน้ำมันและก๊าซ ขณะนี้ถูกดูดออกไปหมดแล้ว การนำมากักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีความปลอดภัยมาก ตอนนี้เป็นเพียงการฉีดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กลับคืนเข้าไป คล้ายกับที่ธรรมชาติกักเก็บเดิม หากความลึกเพียงพอ อาจทำให้กลายเป็นของเหลวหรือแม้กระทั่งทำให้ตกผลึกเก็บไว้ได้ ส่งผลให้การปล่อยก๊าซคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2050 สามารถบรรลุผล ผ่านเทคโนโลยีการกักเก็บคาร์บอน อย่างไรก็ตาม ไต้หวันมีแผ่นดินไหวและรอยเลื่อนหลายแห่ง สภาพแวดล้อมทางธรณีวิทยาจะต้องได้รับการประเมินเพื่อหลีกเลี่ยงการปนเปื้อนของคาร์บอนไดออกไซด์ในน้ำใต้ดินที่เกิดจากแผ่นดินไหวขนาดเล็ก รัฐบาลจะต้องควบคุมและกำกับดูแลด้วย
หลินเตี้ยนซุ่น (林殿順) ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยการกักเก็บคาร์บอนและความร้อนใต้พิภพของมหาวิทยาลัยจงยัง (National Central University) กล่าวว่า พื้นที่ภูเขาเถี่ยจันค่อนข้างมั่นคง ในภาวะที่แหล่งน้ำมันที่ถูกทิ้งร้างที่คล้ายกันมีเพียงไม่กี่แห่งในไต้หวัน ไต้หวันอาจพิจารณาวิธีการกักเก็บไว้ใต้ "ชั้นน้ำเกลือ" ที่ระดับความลึกเกินกว่า 800 เมตร คาร์บอนไดออกไซด์จะกลายเป็น "สภาวะวิกฤตยิ่งยวด" ซึ่งจะต้องหาชั้นหินที่มีช่องว่าง และสามารถปิดผนึก นอกจากนี้ เขายังกล่าวด้วยว่าพื้นที่บนบกและทางทะเลของไต้หวันมีศักยภาพสูง ประมาณการคร่าวๆ มีพื้นที่จัดเก็บคาร์บอนประมาณ 5 หมื่นล้านตันถึง 6 หมื่นล้านตัน และการประเมินโดยละเอียดยังมีอยู่ที่ 1 – 2 หมื่นล้านตัน ปัจจุบัน สภาพัฒนาแห่งชาติมีแผนจัดเก็บ 40 ล้านตันในปี 2050 ถือว่าเพียงพอ
สวีกวงหรง (徐光蓉) กรรมการบริหาร กลุ่มคุณแม่ปฏิบัติแก้ไขสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงกล่าวว่า ในอดีตมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในธรรมชาติธรรมชาติรั่วไหลจำนวนมากที่ทะเลสาบไนออส(ทะเลสาบมรณะ) ในแคเมอรูน แอฟริกา จากการที่ภูเขาไฟมีการปะทุในลักษณะการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ไหลรั่วลงน้ำและอากาศรอบบริเวณภูเขาไฟ จนเป็นเหตุให้มีการตายหมู่ของผู้คนและสัตว์กว่าหลายพันชีวิต ดังนั้น ขอแนะนำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรทำหน้าที่ติดตามผลการทดลอง เมื่อเกิดการรั่วไหล ต้องดำเนินมาตรการอพยพคนรอบข้าง เป็นต้น