
Sign up to save your podcasts
Or
ไต้หวันวิจัยเทคโนโลยีการกีฬาช่วยนักกีฬาคว้าเหรียญรางวัล
อู๋เฉิงเหวิน (吳誠文) รมว. กระทรวงวิทยาศาสตร์ อดีตนักเบสบอลระดับชาติ เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการครั้งแรกในวันที่ 17 กรกฎาคม 2024 ได้มีการรายงานผลการส่งเสริมวิจัยเทคโนโลยีการกีฬา ช่วยเหลือนักกีฬาระดับชาติคว้าเหรียญรางวัลการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ในอนาคตจะช่วยเสริมสมรรถนะการแบกเกี้ยวในพิธีแห่เจ้าแม่มาจู่ศาลเจ้าไป๋ซาถุน (白沙屯) จะพิจารณาว่ามีเทคโนโลยีอะไรช่วยเพิ่มพลังในการเดินแบกเกี้ยวระยะทางไกลได้
กระทรวงวิทยาศาสตร์แห่งชาติจัดการประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 11 มีการรายงาน "ผลการส่งเสริมการวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา" รายงานผลการดำเนินงานในปัจจุบันและแผนงานสำหรับกีฬาในสังคมอย่างครบวงจร
อู๋เฉิงเหวิน แถลงข่าวหลังการประชุมว่ากีฬาถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของสังคมและวัฒนธรรมของชาติ ในอนาคต "แผนโครงการวิจัยวิทยาศาสตร์ความแม่นยำด้านการกีฬา” จะอาศัยพื้นฐานของกีฬาและเทคโนโลยี ส่งเสริมสุขภาพประชาชน วัฒนธรรมที่ดีต่อสุขภาพ และอุตสาหกรรมที่ดีต่อสุขภาพ เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ "ชาวไต้หวันมีสุขภาพดี"
ซูซั่วปิน (蘇碩斌) ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาการวิจัยด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ กระทรวงวิทยาศาสตร์ชี้ว่า เพื่อสนับสนุนนักกีฬาโอลิมปิก รัฐบาลได้ผลักดัน "แผนโครงการวิจัยวิทยาศาสตร์ความแม่นยำด้านการกีฬา" ตั้งแต่ พฤศจิกายน 2018 โดยระยะแรกของแผนโครงการเริ่ม 2018 – 2022 ได้อุดหนุนทีมวิจัยทั้งหมด 8 ทีม โดยมุ่งเน้น 5 กีฬาที่ไต้หวันได้เปรียบและมีศักยภาพ ได้แก่ เบสบอล แบดมินตัน ปิงปอง ยกน้ำหนัก และปั่นจักรยาน ประสบความสำเร็จในการพัฒนา พื้นรองเท้าวัดแรงกดเท้าแบบเซนเซ่อร์ไร้สาย, KarmaZone สไตร์คโซนเบสบอล, ระบบอัจฉริยะวิเคราะห์การเทคนิคตีลูกปิงปอง
ซู่ซั่วปินกล่าวว่าาแผนโครงการระยะที่ 2 ปี 2023 - 2026 หวังที่จะขยายขอบเขตตามความต้องการของประชาชน อุดหนุนทีมวิจัย 12 ทีม ครอบคลุมฟุตบอล ยิมนาสติก เบสบอล มวย ว่ายน้ำ แบดมินตัน วอลเลย์บอล เทเบิลเทนนิส ไตรกีฬา และยกน้ำหนัก รวม 10 รายการ พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ แอปพลิเคชันใหม่ และรูปแบบธุรกิจใหม่ หวังส่งเสริมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีการกีฬาและสุขภาพของประชาชน
ซูชั่วปิน ยกตัวอย่างผลการวิจัยโครงการ "วิธีการและอุปกรณ์ตรวจจับตำแหน่งสไตร์คโซนกีฬาเบสบอล" ที่พัฒนาโดยทีมงานของ ศ. หม่าสีปิน (馬席彬) ม. ชิงหัว ได้วิจัยพัฒนาอุปกรณ์และวิธีการตรวจหาตำแหน่งไม้ตีและจุดตีลูกที่ดีที่สุด ได้จดสิทธิบัตรในสหรัฐอเมริกาและไต้หวันแล้ว รวมทั้งเครื่องจ่ายบอลอัจฉริยะที่สามารถควบคุมความเร็วของลูก จุดลงของลูก และประเภทของลูกได้โดยอัตโนมัติและแม่นยำ
ซูซั่วปินชี้ว่า ผลการวิจัยโครงการที่ผ่านมา ได้ช่วยเหลือนักกีฬาระดับชาติ เช่น กัวซิ่งฉุน (郭婞淳), ไต้จืออิ่ง (戴資穎), หลินหยุนหรู (林昀儒), เจิ้งอี๋จิ้ง (鄭怡靜), เฉินป๋อเอี้ยน (陳柏諺), หวังก้วนหง (王冠閎), เฉินเนี่ยนฉิน(陳念琴) และถังเจียหง (唐嘉鴻) บรรลุผลที่ดีในการแข่งขันระดับนานาชาติ เช่น การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก เกมส์อันเป็นที่ภาคภูมิใจของชาวไต้หวัน
เมื่อมองไปข้างหน้าในอนาคต ซูซั่วปิน กล่าวว่ากระทรวงวิทยาศาสตร์มีเป้าหมายที่จะพัฒนาการกีฬาในเชิงวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของไต้หวัน เช่น การแห่เจ้าแม่มาจู่ของศาลเจ้าไป๋ซาถุน จะพิจารณาว่ามีเทคโนโลยีการกีฬาใดบ้างที่สามารถช่วยเหลือ ผู้แบกเกี้ยวเจ้าแม่มาจู่เดินทางระยะไกล
ไต้หวันวิจัยเทคโนโลยีการกีฬาช่วยนักกีฬาคว้าเหรียญรางวัล
อู๋เฉิงเหวิน (吳誠文) รมว. กระทรวงวิทยาศาสตร์ อดีตนักเบสบอลระดับชาติ เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการครั้งแรกในวันที่ 17 กรกฎาคม 2024 ได้มีการรายงานผลการส่งเสริมวิจัยเทคโนโลยีการกีฬา ช่วยเหลือนักกีฬาระดับชาติคว้าเหรียญรางวัลการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ในอนาคตจะช่วยเสริมสมรรถนะการแบกเกี้ยวในพิธีแห่เจ้าแม่มาจู่ศาลเจ้าไป๋ซาถุน (白沙屯) จะพิจารณาว่ามีเทคโนโลยีอะไรช่วยเพิ่มพลังในการเดินแบกเกี้ยวระยะทางไกลได้
กระทรวงวิทยาศาสตร์แห่งชาติจัดการประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 11 มีการรายงาน "ผลการส่งเสริมการวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา" รายงานผลการดำเนินงานในปัจจุบันและแผนงานสำหรับกีฬาในสังคมอย่างครบวงจร
อู๋เฉิงเหวิน แถลงข่าวหลังการประชุมว่ากีฬาถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของสังคมและวัฒนธรรมของชาติ ในอนาคต "แผนโครงการวิจัยวิทยาศาสตร์ความแม่นยำด้านการกีฬา” จะอาศัยพื้นฐานของกีฬาและเทคโนโลยี ส่งเสริมสุขภาพประชาชน วัฒนธรรมที่ดีต่อสุขภาพ และอุตสาหกรรมที่ดีต่อสุขภาพ เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ "ชาวไต้หวันมีสุขภาพดี"
ซูซั่วปิน (蘇碩斌) ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาการวิจัยด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ กระทรวงวิทยาศาสตร์ชี้ว่า เพื่อสนับสนุนนักกีฬาโอลิมปิก รัฐบาลได้ผลักดัน "แผนโครงการวิจัยวิทยาศาสตร์ความแม่นยำด้านการกีฬา" ตั้งแต่ พฤศจิกายน 2018 โดยระยะแรกของแผนโครงการเริ่ม 2018 – 2022 ได้อุดหนุนทีมวิจัยทั้งหมด 8 ทีม โดยมุ่งเน้น 5 กีฬาที่ไต้หวันได้เปรียบและมีศักยภาพ ได้แก่ เบสบอล แบดมินตัน ปิงปอง ยกน้ำหนัก และปั่นจักรยาน ประสบความสำเร็จในการพัฒนา พื้นรองเท้าวัดแรงกดเท้าแบบเซนเซ่อร์ไร้สาย, KarmaZone สไตร์คโซนเบสบอล, ระบบอัจฉริยะวิเคราะห์การเทคนิคตีลูกปิงปอง
ซู่ซั่วปินกล่าวว่าาแผนโครงการระยะที่ 2 ปี 2023 - 2026 หวังที่จะขยายขอบเขตตามความต้องการของประชาชน อุดหนุนทีมวิจัย 12 ทีม ครอบคลุมฟุตบอล ยิมนาสติก เบสบอล มวย ว่ายน้ำ แบดมินตัน วอลเลย์บอล เทเบิลเทนนิส ไตรกีฬา และยกน้ำหนัก รวม 10 รายการ พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ แอปพลิเคชันใหม่ และรูปแบบธุรกิจใหม่ หวังส่งเสริมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีการกีฬาและสุขภาพของประชาชน
ซูชั่วปิน ยกตัวอย่างผลการวิจัยโครงการ "วิธีการและอุปกรณ์ตรวจจับตำแหน่งสไตร์คโซนกีฬาเบสบอล" ที่พัฒนาโดยทีมงานของ ศ. หม่าสีปิน (馬席彬) ม. ชิงหัว ได้วิจัยพัฒนาอุปกรณ์และวิธีการตรวจหาตำแหน่งไม้ตีและจุดตีลูกที่ดีที่สุด ได้จดสิทธิบัตรในสหรัฐอเมริกาและไต้หวันแล้ว รวมทั้งเครื่องจ่ายบอลอัจฉริยะที่สามารถควบคุมความเร็วของลูก จุดลงของลูก และประเภทของลูกได้โดยอัตโนมัติและแม่นยำ
ซูซั่วปินชี้ว่า ผลการวิจัยโครงการที่ผ่านมา ได้ช่วยเหลือนักกีฬาระดับชาติ เช่น กัวซิ่งฉุน (郭婞淳), ไต้จืออิ่ง (戴資穎), หลินหยุนหรู (林昀儒), เจิ้งอี๋จิ้ง (鄭怡靜), เฉินป๋อเอี้ยน (陳柏諺), หวังก้วนหง (王冠閎), เฉินเนี่ยนฉิน(陳念琴) และถังเจียหง (唐嘉鴻) บรรลุผลที่ดีในการแข่งขันระดับนานาชาติ เช่น การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก เกมส์อันเป็นที่ภาคภูมิใจของชาวไต้หวัน
เมื่อมองไปข้างหน้าในอนาคต ซูซั่วปิน กล่าวว่ากระทรวงวิทยาศาสตร์มีเป้าหมายที่จะพัฒนาการกีฬาในเชิงวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของไต้หวัน เช่น การแห่เจ้าแม่มาจู่ของศาลเจ้าไป๋ซาถุน จะพิจารณาว่ามีเทคโนโลยีการกีฬาใดบ้างที่สามารถช่วยเหลือ ผู้แบกเกี้ยวเจ้าแม่มาจู่เดินทางระยะไกล