
Sign up to save your podcasts
Or
ทีมวิจัย ม. NTNU ของไต้หวัน พบว่าสารแคทีชิน (catechins) ที่สกัดจากชาเขียวช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน ยับยั้งโควิด-19 ได้
เครื่องดื่มชาให้ประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย เป็นเครื่องดื่มที่กำลังได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มการบริโภคที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ สำหรับในใบชาสดหรือชาเขียวที่มีฤทธิ์ทางยาที่สำคัญที่ชื่อว่า แคทีชิน (catechins) นักวิทยาศาสตร์พบว่า มีฤทธิ์ต้านโรคภัยได้มากมาย สามารถจับกับอนุมูลอิสระได้หลายชนิดและขัดขวางการปฏิกิริยาออกซิเดชัน จึงช่วยป้องกันโรคหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง และโรคมะเร็งได้ ทั้งนี้ ชาเขียว (Green tea) คือ ชาที่ได้มาจากต้นชา โดยชาชนิดนี้จะไม่ผ่านขั้นตอนการหมักเลย เตรียมได้โดยการนำใบชาสดมาผ่านความร้อนเพื่อทำให้ใบชาแห้งอย่างรวดเร็ว ใช้ความร้อนไม่สูงเกินไปและใช้มือคลึงเบา ๆ ก่อนแห้ง หรืออบไอน้ำในระยะเวลาสั้น ๆ แล้วนำไปอบแห้งเพื่อยับยั้งการทำงานเอนไซม์ จึงได้ใบชาที่แห้งแต่ยังสดอยู่ และมีสีที่ค่อนข้างเขียว จึงเรียกกันว่า "ชาเขียว" และการที่ใบชาที่ได้นั้นไม่ผ่านขั้นตอนการหมัก จึงทำให้ใบชามีสารประกอบฟีนอล (Phenolic compound) หลงเหลืออยู่มากกว่าในอู่หลงและชาดำ ทำให้ชาเขียวมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมากกว่าชาทั้งสอง
ศ. เจิ้งเจี้ยนถิง ใช้เวลา 17 ปี วิจัยสารแคทีชิน
ขณะนี้ทีมวิจัยมหาวิทยาลัยซือต้า (National Taiwan Normal University -NTNU) ค้นพบสารแคทีชิน ซึ่งเป็นสารประกอบ Polyphenols ในชาเขียว มีสรรพคุณต้านเชื้อไวรัสโควิค-19 เสริมภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ช่วยลดปัญหาปอดถูกทำลายเฉียบพลัน ผลงานเป็นที่ยอมรับ ได้รับการตีพิมพ์ใน “Antioxidants” วารสารระดับโลกเมื่อเดือนกรกฎาคม โดยศาสตราจารย์เจิ้งเจี้ยนถิง (鄭劍廷) อาจารย์พิเศษ School of Life Science (วิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต) ม. ซือต้า ทำการวิจัยสารแคทีชิน ตั้งแต่เกิดการระบาดโรคซาร์สใน ปี 2003 โดยทำการทดลองมาตลอด ขณะนี้ผ่านไปแล้ว 17 ปีพบว่า สารแคทีชินมีสรรพคุณ ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ ต้านไวรัส ต้านเชื้อโรค และล่าสุดยังพบว่าสามารถต้านเชื้อโควิด-19 ที่กำลังระบาดในขณะนี้ได้ด้วย ซึ่งในการทดลองพบว่า สารแคทีชินที่มีความเข้มข้น 195 ไมโครกรัม จะยับยั้งการขยายตัวหรือการแพร่กระจายของเชื้อโควิด 19 และนอกจากนี้ ยังสามารถป้องการการแพร่ขยายหรือการกลายพันธุ์ของเชื้อโควิดได้ด้วย อย่างไรก็ตาม ศ. เจิ้งเจี้ยนถิงยังกล่าวว่า แม้สารแคทีชินสามารถได้รับจากการดื่มชาเขียวทั่วไป แต่ว่าปริมาณของสารแคทีชินไม่เพียงพอต่อการยับยั้งเชื้อไวรัส จำเป็นต้องอาศัยเทคนิคการสกัดที่เชี่ยวชาญ และต้องขจัดสารคาเฟอีนออกไปก่อน จะไม่เหมือนกับสารแคทีชินในชาเขียวที่ขายในท้องตลาด แต่ถ้าดื่มชาเขียวเพื่อต้านโควิด 19 ผู้ที่มีน้ำหนักตัว 50 ก.ก. ให้รับประทานสารแคทีชิน วันละ 2.5 กรัม โดยอาจจะแบ่งเป็น 2 ครั้ง ครั้งละ 1.25 กรัม หรือ 3 ครั้ง ครั้งละ 0.83 กรัม ก็ได้ จะทำให้สารแคทีชินอยู่ในการแสเลือดในปริมาณที่เหมาะสม มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการขยายตัวของไวรัสโควิดได้
ทีมวิจัย ม. NTNU ของไต้หวัน พบสารแคทีชินที่สกัดจากชาเขียวยับยั้งโควิด-19 ได้ ซึ่งผลงานนี้ได้ตีพิมพ์ลงวารสารระดับโลก
ผู้ร่วมเขียนวิทยานิพนธ์ลำดับที่ 1 นายหยางจือชิง (楊芝青) ผู้เชี่ยวชาญของสำนักงานอาหารและยาของไต้หวันระบุว่า ทั่วโลกกำลังถูกคุกคามจากโควิด-19 ในต่างประเทศมีข่าวผู้รับวัคซีนโควิด 2 เข็มแล้ว ยังคงป่วยด้วยโรคโควิด การใช้สารแคทีชินช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน จะต้านการระบาดของโควิด-19 ได้ ผู้ร่วมเขียนวิทยานิพนธ์อีกท่าน นายอู๋จางเจ๋อ (吳彰哲) คณบดี คณะวิทยาศาสตร์การอาหาร ม. National Taiwan Ocean University บอกว่า ที่ผ่านมานั้นมีการยืนยันว่าแคทีชินสามารถต่อต้านไวรัสไข้หวัดได้ ผลการทดลองในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่ายับยั้งโควิด-19 ได้ ยังช่วยลดอาการปอดถูกทำลาย เป็นประโยชน์อย่างมากต่อการป้องกันและรักษาผู้ป่วยโรคโควิด
ทีมวิจัย ม. NTNU ของไต้หวัน พบว่าสารแคทีชิน (catechins) ที่สกัดจากชาเขียวช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน ยับยั้งโควิด-19 ได้
เครื่องดื่มชาให้ประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย เป็นเครื่องดื่มที่กำลังได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มการบริโภคที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ สำหรับในใบชาสดหรือชาเขียวที่มีฤทธิ์ทางยาที่สำคัญที่ชื่อว่า แคทีชิน (catechins) นักวิทยาศาสตร์พบว่า มีฤทธิ์ต้านโรคภัยได้มากมาย สามารถจับกับอนุมูลอิสระได้หลายชนิดและขัดขวางการปฏิกิริยาออกซิเดชัน จึงช่วยป้องกันโรคหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง และโรคมะเร็งได้ ทั้งนี้ ชาเขียว (Green tea) คือ ชาที่ได้มาจากต้นชา โดยชาชนิดนี้จะไม่ผ่านขั้นตอนการหมักเลย เตรียมได้โดยการนำใบชาสดมาผ่านความร้อนเพื่อทำให้ใบชาแห้งอย่างรวดเร็ว ใช้ความร้อนไม่สูงเกินไปและใช้มือคลึงเบา ๆ ก่อนแห้ง หรืออบไอน้ำในระยะเวลาสั้น ๆ แล้วนำไปอบแห้งเพื่อยับยั้งการทำงานเอนไซม์ จึงได้ใบชาที่แห้งแต่ยังสดอยู่ และมีสีที่ค่อนข้างเขียว จึงเรียกกันว่า "ชาเขียว" และการที่ใบชาที่ได้นั้นไม่ผ่านขั้นตอนการหมัก จึงทำให้ใบชามีสารประกอบฟีนอล (Phenolic compound) หลงเหลืออยู่มากกว่าในอู่หลงและชาดำ ทำให้ชาเขียวมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมากกว่าชาทั้งสอง
ศ. เจิ้งเจี้ยนถิง ใช้เวลา 17 ปี วิจัยสารแคทีชิน
ขณะนี้ทีมวิจัยมหาวิทยาลัยซือต้า (National Taiwan Normal University -NTNU) ค้นพบสารแคทีชิน ซึ่งเป็นสารประกอบ Polyphenols ในชาเขียว มีสรรพคุณต้านเชื้อไวรัสโควิค-19 เสริมภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ช่วยลดปัญหาปอดถูกทำลายเฉียบพลัน ผลงานเป็นที่ยอมรับ ได้รับการตีพิมพ์ใน “Antioxidants” วารสารระดับโลกเมื่อเดือนกรกฎาคม โดยศาสตราจารย์เจิ้งเจี้ยนถิง (鄭劍廷) อาจารย์พิเศษ School of Life Science (วิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต) ม. ซือต้า ทำการวิจัยสารแคทีชิน ตั้งแต่เกิดการระบาดโรคซาร์สใน ปี 2003 โดยทำการทดลองมาตลอด ขณะนี้ผ่านไปแล้ว 17 ปีพบว่า สารแคทีชินมีสรรพคุณ ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ ต้านไวรัส ต้านเชื้อโรค และล่าสุดยังพบว่าสามารถต้านเชื้อโควิด-19 ที่กำลังระบาดในขณะนี้ได้ด้วย ซึ่งในการทดลองพบว่า สารแคทีชินที่มีความเข้มข้น 195 ไมโครกรัม จะยับยั้งการขยายตัวหรือการแพร่กระจายของเชื้อโควิด 19 และนอกจากนี้ ยังสามารถป้องการการแพร่ขยายหรือการกลายพันธุ์ของเชื้อโควิดได้ด้วย อย่างไรก็ตาม ศ. เจิ้งเจี้ยนถิงยังกล่าวว่า แม้สารแคทีชินสามารถได้รับจากการดื่มชาเขียวทั่วไป แต่ว่าปริมาณของสารแคทีชินไม่เพียงพอต่อการยับยั้งเชื้อไวรัส จำเป็นต้องอาศัยเทคนิคการสกัดที่เชี่ยวชาญ และต้องขจัดสารคาเฟอีนออกไปก่อน จะไม่เหมือนกับสารแคทีชินในชาเขียวที่ขายในท้องตลาด แต่ถ้าดื่มชาเขียวเพื่อต้านโควิด 19 ผู้ที่มีน้ำหนักตัว 50 ก.ก. ให้รับประทานสารแคทีชิน วันละ 2.5 กรัม โดยอาจจะแบ่งเป็น 2 ครั้ง ครั้งละ 1.25 กรัม หรือ 3 ครั้ง ครั้งละ 0.83 กรัม ก็ได้ จะทำให้สารแคทีชินอยู่ในการแสเลือดในปริมาณที่เหมาะสม มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการขยายตัวของไวรัสโควิดได้
ทีมวิจัย ม. NTNU ของไต้หวัน พบสารแคทีชินที่สกัดจากชาเขียวยับยั้งโควิด-19 ได้ ซึ่งผลงานนี้ได้ตีพิมพ์ลงวารสารระดับโลก
ผู้ร่วมเขียนวิทยานิพนธ์ลำดับที่ 1 นายหยางจือชิง (楊芝青) ผู้เชี่ยวชาญของสำนักงานอาหารและยาของไต้หวันระบุว่า ทั่วโลกกำลังถูกคุกคามจากโควิด-19 ในต่างประเทศมีข่าวผู้รับวัคซีนโควิด 2 เข็มแล้ว ยังคงป่วยด้วยโรคโควิด การใช้สารแคทีชินช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน จะต้านการระบาดของโควิด-19 ได้ ผู้ร่วมเขียนวิทยานิพนธ์อีกท่าน นายอู๋จางเจ๋อ (吳彰哲) คณบดี คณะวิทยาศาสตร์การอาหาร ม. National Taiwan Ocean University บอกว่า ที่ผ่านมานั้นมีการยืนยันว่าแคทีชินสามารถต่อต้านไวรัสไข้หวัดได้ ผลการทดลองในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่ายับยั้งโควิด-19 ได้ ยังช่วยลดอาการปอดถูกทำลาย เป็นประโยชน์อย่างมากต่อการป้องกันและรักษาผู้ป่วยโรคโควิด