ไต้หวันไฮเทค

ไต้หวันไฮเทค วันอังคารที่ 6 กรกฏาคม 2564


Listen Later

AI ปัญญาประดิษฐ์เป็นสิ่งที่ผู้คนให้ความสนใจในช่วงหลายปีที่ผ่านมา รายงานแนวโน้ม AI ในไต้หวัน 80% ของกิจการ มีการใช้เทคโนโลยี AI เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพองค์กรและเพิ่มรายได้มากขึ้น ไม่ว่าในภาคการผลิต การตลาด การบริการลูกค้า ล้วนมีการใช้ AI อย่างกว้างขวาง

บริษัท HIPOWER ของไต้หวันได้พัฒนาการประมวลผลวิเคราะห์ภาพ นำ AI มาประยุกต์ใช้ในด้านการตรวจจับป้ายทะเบียนรถยนต์ การตรวจปริมาณการจราจรรถยนต์ โดยในปี 2020 ได้ร่วมมือกับนครไถหนานทดลองประยุกต์ใช้ AI เมืองอัจฉริยะ ภายใต้ความร่วมมือโครงการเมืองอัจฉริยะและสำนักคมนาคมได้มีการกำหนดจุดทดลองที่เขตตะวันออก ใช้อุปกรณ์พื้นฐานที่นครไถหนานมีอยู่ โดยไม่มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างระบบเครื่องถ่ายภาพ ใช้กล้องถ่ายภาพที่มีอยู่เดิม เก็บข้อมูลภาพต่างๆบนถนน เพื่อทำการวิเคราะห์ด้วยระดับความละเอียด 640 x 480 พิกเซล ใช้ระบบ YOLO ในการประมวลผล AI deep learning

ในกระบวนการทดลองรูปแบบของ YOLO ที่ผ่านมา จะมีชั้นของภาพวัตถุหลายชั้น ใช้ในการจำแนกวัตถุหลายประเภท เนื่องจากออกแบบให้มีจำนวนภาพค่อนข้างมาก จึงต้องทำการประมวลผลภาพต่างๆ ที่ใช้เวลามากขึ้น มีข้อมูลจำนวนมหาศาล การทดลองในครั้งนี้จึงมีการคำนึงว่าวัตถุที่นำมาประมวลผลจะไม่ซับซ้อนมาก หากทำ layer ภาพหลายชั้นเกินไปจะลดประสิทธิภาพการประมวลผล และทำให้ขั้นตอนการฝึก AI ประสิทธิภาพต่ำลง เพราะฉะนั้น จึงได้ทำการเก็บภาพที่มีเลเยอร์ต่ำลง เพื่อเพิ่มความแม่นยำและประสิทธิภาพการประมวลผล ก่อนประมวลภาพจะมีการผ่านขั้นตอนปรับปรุงภาพให้มีความชัดเจนขึ้น เพิ่มแสงและความคมชัดให้มีระดับใกล้เคียงกัน และลบส่วนของภาพที่เป็นส่วนเกิน หรือส่วนรบกวนต่อการประมวล ทำให้ขั้นตอนการจำแนกวัตถุ และการกำหนดตำแหน่งวัตถุมีความแม่นยำมากขึ้น ในการทดลองครั้งนี้มีการใช้ภาพเพียง 5,000 ภาพ เป็นภาพที่เกิดจากการถ่ายภาพแบบรวดเร็ว ทำการวิเคราะห์คนบนถนน ชนิดของรถ(รถยนต์ รถมอเตอร์ไซค์ รถขนาดใหญ่) ทิศทางการเคลื่อนที่ ปริมาณทิศทางเคลื่อนไหล การจำแนกชนิดของรถยนต์มีความแม่นยำมากกว่า  90%  การวิเคราะห์คนเดินถนนมีความแม่นยำกว่า 90% เช่นกัน

ผลการทดลองตามโครงการนี้จะช่วยลดกำลังคนด้านการจราจรในอนาคต เป็นการวางโครงฐานการจราจรอัจฉริยะที่มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้เป็นการใช้อุปกรณ์ถ่ายภาพของเดิม การทดลองประสบผลดีจะสามารถ copy รูปแบบเช่นนี้ เพื่อนำไปใช้ในจุดอื่นๆได้ สามารถลดต้นทุน ไม่เพิ่มภาระให้กับหน่วยงานที่ใช้ระบบนี้ เพียงแค่ประยุกต์ AI เข้ากับเครื่องถ่ายภาพที่มีอยู่เดิม ใช้ solution ที่กำหนดในการทดลองครั้งนี้เป็นพื้นฐานเพื่อสร้างระบบติดตามแบบฉับพลัน ควบคุมสัญญาณไฟจราจร บริเวณสี่แยก เพื่อบังคับสัญญานไฟจราจรให้คนข้ามถนนมีความสะดวกขึ้น ทำให้การจราจรมีความคล่องตัวมากขึ้นด้วย

...more
View all episodesView all episodes
Download on the App Store

ไต้หวันไฮเทคBy แสงชัย กิตติภูมิวงศ์, Rti