
Sign up to save your podcasts
Or
สถาบันวิจัยเทคโนโลยีการเกษตรของไต้หวัน(Agricultural Technology Research Institute:ATRI)ได้พัฒนา "จมูกอิเล็กทรอนิกส์ AI สำหรับดมกลิ่นชา" ฝึกฝนจมูกอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดมสารให้กลิ่น และเตือนให้ผู้ผลิตชาปรับขั้นตอนของการผลิต นักผลิตชาจึงไม่จำเป็นต้องเฝ้าดูตลอดทั้งวัน เป็นการแบ่งเบาภาระ ไม่ต้องเหนื่อยล้าเกินไป ทีมวิจัยได้เริ่มใช้จมูกอิเล็กทรอนิคส์ควบคุมการผลิตชาเปาโจ่ง (包種) นำไปประกวด ได้รับการจัดอันดับยอดเยี่ยม ในอนาคตจะขยายการนำไปใช้ผลิตชาประเภทอื่นๆ ใช้จมูกอิเล็กทรอนิกส์ช่วยให้ชาวไร่ชา ผลิตชาคุณภาพสูงได้อย่างง่ายดาย
ความสุขที่สุดของการดื่มชาคือกลิ่นหอมที่เกิดขึ้นเมื่อกลิ่นชาผ่านจมูกขณะที่ชง นักวิจัยจากสำนักวิจัยเทคโนโลยีพืช ของสถาบันวิจัยเทคโนโลยีการเกษตรอธิบายว่า เมื่อพืชประสบกับการขาดแคลนน้ำ ถูกแดดเผา หรือแมลงสัตว์กัดต่อย พืชเหล่านั้นจะผลิตสารเคมีที่เป็น "สารชีวสังเคราะห์ทุติยภูมิ" (secondary metabolites) ซึ่งช่วยให้พืช ต่อต้านความทุกข์ยากและส่งสัญญาณเตือน สารชีวสังเคราะห์ทุติยภูมิของใบชามักมีกลิ่นคล้ายกลิ่นดอกไม้และผลไม้ ดังนั้น ขั้นตอนแปรรูปใบชา จะต้องทำให้ใบชาเหี่ยว และนวดม้วนเพื่อให้ใบชาประสบภาวะถูกรังแก เช่น การขาดแคลนน้ำ และการแตกของเซลล์ จึงจะเกิดปฏิกริยาสร้างกลิ่นหอมที่มีเสน่ห์
ในกระบวนการผลิต ใบชาจะสร้างสารชีวสังเคราะห์ทุติยภูมิอย่างต่อเนื่อง และกลิ่นจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ในช่วงแรกของการผลิตใบชา จะมีกลิ่นเหม็นเขียวรุนแรง และสารเคมีผ่านการออกซิไดซ์ก่อน จึงจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นกลิ่นของดอกไม้และผลไม้ นอกจากนี้ กลิ่นในอุดมคติของชาแต่ละชนิดยังแตกต่างกัน เช่น ชาเปาโจ่งต้องการกลิ่นหอมของดอกไม้ที่ไม่ฉุนเกินไป ขณะที่การผลิตชานางงามบูรพา (東方美人) ต้องการกลิ่นดอกไม้ที่เข้มข้น จึงต้องมีการรังแกใบชา (นวด อบ คั่ว) มากขึ้นในกระบวนการผลิต
สถาบันวิจัยเทคโนโลยีการเกษตรของไต้หวัน(Agricultural Technology Research Institute:ATRI)ได้พัฒนา "จมูกอิเล็กทรอนิกส์ AI สำหรับดมกลิ่นชา" ฝึกฝนจมูกอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดมสารให้กลิ่น และเตือนให้ผู้ผลิตชาปรับขั้นตอนของการผลิต นักผลิตชาจึงไม่จำเป็นต้องเฝ้าดูตลอดทั้งวัน เป็นการแบ่งเบาภาระ ไม่ต้องเหนื่อยล้าเกินไป ทีมวิจัยได้เริ่มใช้จมูกอิเล็กทรอนิคส์ควบคุมการผลิตชาเปาโจ่ง (包種) นำไปประกวด ได้รับการจัดอันดับยอดเยี่ยม ในอนาคตจะขยายการนำไปใช้ผลิตชาประเภทอื่นๆ ใช้จมูกอิเล็กทรอนิกส์ช่วยให้ชาวไร่ชา ผลิตชาคุณภาพสูงได้อย่างง่ายดาย
ความสุขที่สุดของการดื่มชาคือกลิ่นหอมที่เกิดขึ้นเมื่อกลิ่นชาผ่านจมูกขณะที่ชง นักวิจัยจากสำนักวิจัยเทคโนโลยีพืช ของสถาบันวิจัยเทคโนโลยีการเกษตรอธิบายว่า เมื่อพืชประสบกับการขาดแคลนน้ำ ถูกแดดเผา หรือแมลงสัตว์กัดต่อย พืชเหล่านั้นจะผลิตสารเคมีที่เป็น "สารชีวสังเคราะห์ทุติยภูมิ" (secondary metabolites) ซึ่งช่วยให้พืช ต่อต้านความทุกข์ยากและส่งสัญญาณเตือน สารชีวสังเคราะห์ทุติยภูมิของใบชามักมีกลิ่นคล้ายกลิ่นดอกไม้และผลไม้ ดังนั้น ขั้นตอนแปรรูปใบชา จะต้องทำให้ใบชาเหี่ยว และนวดม้วนเพื่อให้ใบชาประสบภาวะถูกรังแก เช่น การขาดแคลนน้ำ และการแตกของเซลล์ จึงจะเกิดปฏิกริยาสร้างกลิ่นหอมที่มีเสน่ห์
ในกระบวนการผลิต ใบชาจะสร้างสารชีวสังเคราะห์ทุติยภูมิอย่างต่อเนื่อง และกลิ่นจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ในช่วงแรกของการผลิตใบชา จะมีกลิ่นเหม็นเขียวรุนแรง และสารเคมีผ่านการออกซิไดซ์ก่อน จึงจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นกลิ่นของดอกไม้และผลไม้ นอกจากนี้ กลิ่นในอุดมคติของชาแต่ละชนิดยังแตกต่างกัน เช่น ชาเปาโจ่งต้องการกลิ่นหอมของดอกไม้ที่ไม่ฉุนเกินไป ขณะที่การผลิตชานางงามบูรพา (東方美人) ต้องการกลิ่นดอกไม้ที่เข้มข้น จึงต้องมีการรังแกใบชา (นวด อบ คั่ว) มากขึ้นในกระบวนการผลิต