
Sign up to save your podcasts
Or
หากให้เกษตรกรจัดลำดับสิ่งที่ต้องการ เครื่องจักรกลการเกษตร เครื่องจักรที่ช่วยลดแรงงานและใช้งานได้สะดวกจะติดอันดับต้น ๆ อย่างแน่นอน แต่การออกแบบเครื่องจักรกลการเกษตรนั้นไม่ง่าย เนื่องจากผลผลิตการเกษตรแตกต่างกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่มีมาตรฐานเดียวกัน พืชแต่ละต้นมีความสูง ขนาด และมุมของการแตกใบที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ ยังมีความแตกต่างในวิธีการทำงานของเกษตรกร การผลิตเครื่องจักรจึงมีตลาดเล็ก และต้องการการออกแบบเฉพาะ เป็นความท้าทายแรกในการพัฒนาเครื่องจักรกลการเกษตรในไต้หวัน
จงรุ่ยหย่ง (鍾瑞永)ผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องจักรกลการเกษตร ได้ทำงานในสายงานนี้มาเป็นเวลา 27 ปี และปัจจุบันดำรงตำแหน่งนักวิจัยและหัวหน้าฝ่ายสิ่งแวดล้อมพืชผลที่สถานีวิจัยและส่งเสริมการเกษตรเขตไถหนาน (สถานีไถหนาน) ได้พัฒนาเครื่องจักรกลการเกษตรที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับผัก งา และกระเทียม โดยได้รับสิทธิบัตรถึง 33 รายการ และในปีนี้ (2024) ยังได้รับเลือกเป็น 1 ใน 10 ผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตรยอดเยี่ยมระดับชาติครั้งที่ 48
"เครื่องจักรกลการเกษตรที่ดีสามารถต่อยอดอนาคตของกิจการได้" เป็นแรงบันดาลใจหลักในการทำงานของเขา
การพัฒนาเครื่องจักรการเกษตรบางครั้งใช้หลักการง่ายๆ ก็สำเร็จได้ เช่นการพัฒนาเครื่องจักรกลในการปลูกกระเทียม เป็นกระบวนการที่ประทับในความทรงจำของจงรุ่ยหย่งอย่างมาก ในอดีต การปลูกกระเทียมต้องใช้แรงงานคนในการจัดเรียงกลีบกระเทียมทีละกลีบให้เรียบร้อย โดยต้องหันยอดหน่อขึ้นด้านบนเพื่อให้กระเทียมสามารถงอกและเติบโตได้ ขั้นตอนที่ยุ่งยากนี้เป็นอุปสรรคสำคัญที่จำกัดประสิทธิภาพการปลูกกระเทียม เมื่อเห็นเกษตรกรก้มตัวทำงานอย่างหนัก จงรุ่ยหย่งจึงเริ่มคิดว่า จะมีวิธีไหนที่ทำให้กระบวนการนี้ง่ายขึ้นได้หรือไม่?
หลังจากการทดสอบหลายครั้ง เขาและทีมงานค้นพบวิธีการที่น่าทึ่ง: ปล่อยให้กลีบกระเทียมนอนราบ ใช่แล้ว! กลีบกระเทียมไม่จำเป็นต้องตั้งตรง หลังจากทดลองในพื้นที่ปลูก เกษตรกรพบว่าการปลูกด้วยวิธีนี้ยังคงทำให้กระเทียมเติบโตได้อย่างสมบูรณ์ การคิดค้นที่ล้ำหน้านี้ได้ชุบชีวิตใหม่ให้กับอุตสาหกรรมกระเทียม
การพัฒนาเครื่องตัดและมัดงาไม่ประสบความสำเร็จในตอนแรก แต่ได้รับความนิยมจากเกษตรกรรุ่นใหม่ การเก็บเกี่ยวงาที่ต้องพึ่งพาแรงงานคนมาโดยตลอด มีปัญหาจากจำนวนประชากรเกษตรกรที่ลดลงและชราภาพ พื้นที่ปลูกงาจึงลดลงเรื่อยๆ สถานีวิจัยไถหนานจึงพยายามช่วยเหลือกิจการผลิตงาโดยการพัฒนาสายพันธุ์และเครื่องจักรกลการเกษตร ซึ่งจงรุ่ยหย่งเป็นผู้รับผิดชอบในการพัฒนาเครื่องเก็บเกี่ยวงา
เขาสังเกตเห็นว่าการเก็บเกี่ยวงาต้องระวังไม่ให้เมล็ดแตกจากฝักขณะเก็บเกี่ยว จึงได้พัฒนา "เครื่องตัดและมัดงา" ซึ่งจะเก็บต้นงาโดยค่อยๆ จับต้นงาในแถวเดียวกันเข้ามาในเครื่องจักร หลังจากนั้นจึงตัดต้นงาที่โคนต้นทำการเก็บเกี่ยวได้สมบูรณ์
เมื่อเครื่องตัดและมัดงาออกวางจำหน่าย เกษตรกรรุ่นเก่าไม่สามารถยอมรับได้และให้ความเห็นเชิงลบ เนื่องจากมีต้นงาบางต้นอาจถูกบิดงอจากแรงมัดของเชือก ทำให้ต้องตั้งไม้ค้ำยันต้นให้ตั้งตรงหลังการเก็บเกี่ยว นอกจากนี้ เครื่องตัดและมัดงามีขนาดใหญ่ เกษตรกรต้องปรับระยะห่างระหว่างแถวให้กว้างขึ้นเพื่อให้เครื่องจักรผ่านได้
แต่หลี่คุนหวน (李昆桓)หัวหน้ากลุ่มเกษตรกรธัญพืชเขตอันติ้ง(安定) นครไถหนาน ซึ่งเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ที่ได้รับรางวัลเกษตรกรยอดเยี่ยมรุ่นที่ 7 เล่าว่า เมื่อห้าปีก่อนเครื่องตัดและมัดงาออกมา "ถูกเกษตรกรตำหนิอย่างหนัก" แต่ในมุมมองของเขา นั้นเป็นเพียงพฤติกรรมของเกษตรกรหัวโบราณที่ต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
หลี่คุนหวนมีพื้นที่ปลูกงาประมาณ 10 เฮกตาร์ วิเคราะห์ว่าการเก็บงาในอดีต หากจ้างคนงาน 10 คน จะใช้เวลาประมาณ 5 ถึง 8 วัน แต่ปัจจุบันขาดแคลนแรงงานอย่างหนัก เนื่องจากแรงงานส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ การเก็บเกี่ยวจึงใช้เวลานานถึง 15 ถึง 20 วัน ค่าแรงรายวันประมาณ 1,500 เหรียญไต้หวัน ทำให้ต้นทุนการเก็บเกี่ยวต่อเฮกตาร์สูงถึง 220,000 เหรียญไต้หวัน "แทบไม่เหลือผลกำไร"
หากให้เกษตรกรจัดลำดับสิ่งที่ต้องการ เครื่องจักรกลการเกษตร เครื่องจักรที่ช่วยลดแรงงานและใช้งานได้สะดวกจะติดอันดับต้น ๆ อย่างแน่นอน แต่การออกแบบเครื่องจักรกลการเกษตรนั้นไม่ง่าย เนื่องจากผลผลิตการเกษตรแตกต่างกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่มีมาตรฐานเดียวกัน พืชแต่ละต้นมีความสูง ขนาด และมุมของการแตกใบที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ ยังมีความแตกต่างในวิธีการทำงานของเกษตรกร การผลิตเครื่องจักรจึงมีตลาดเล็ก และต้องการการออกแบบเฉพาะ เป็นความท้าทายแรกในการพัฒนาเครื่องจักรกลการเกษตรในไต้หวัน
จงรุ่ยหย่ง (鍾瑞永)ผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องจักรกลการเกษตร ได้ทำงานในสายงานนี้มาเป็นเวลา 27 ปี และปัจจุบันดำรงตำแหน่งนักวิจัยและหัวหน้าฝ่ายสิ่งแวดล้อมพืชผลที่สถานีวิจัยและส่งเสริมการเกษตรเขตไถหนาน (สถานีไถหนาน) ได้พัฒนาเครื่องจักรกลการเกษตรที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับผัก งา และกระเทียม โดยได้รับสิทธิบัตรถึง 33 รายการ และในปีนี้ (2024) ยังได้รับเลือกเป็น 1 ใน 10 ผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตรยอดเยี่ยมระดับชาติครั้งที่ 48
"เครื่องจักรกลการเกษตรที่ดีสามารถต่อยอดอนาคตของกิจการได้" เป็นแรงบันดาลใจหลักในการทำงานของเขา
การพัฒนาเครื่องจักรการเกษตรบางครั้งใช้หลักการง่ายๆ ก็สำเร็จได้ เช่นการพัฒนาเครื่องจักรกลในการปลูกกระเทียม เป็นกระบวนการที่ประทับในความทรงจำของจงรุ่ยหย่งอย่างมาก ในอดีต การปลูกกระเทียมต้องใช้แรงงานคนในการจัดเรียงกลีบกระเทียมทีละกลีบให้เรียบร้อย โดยต้องหันยอดหน่อขึ้นด้านบนเพื่อให้กระเทียมสามารถงอกและเติบโตได้ ขั้นตอนที่ยุ่งยากนี้เป็นอุปสรรคสำคัญที่จำกัดประสิทธิภาพการปลูกกระเทียม เมื่อเห็นเกษตรกรก้มตัวทำงานอย่างหนัก จงรุ่ยหย่งจึงเริ่มคิดว่า จะมีวิธีไหนที่ทำให้กระบวนการนี้ง่ายขึ้นได้หรือไม่?
หลังจากการทดสอบหลายครั้ง เขาและทีมงานค้นพบวิธีการที่น่าทึ่ง: ปล่อยให้กลีบกระเทียมนอนราบ ใช่แล้ว! กลีบกระเทียมไม่จำเป็นต้องตั้งตรง หลังจากทดลองในพื้นที่ปลูก เกษตรกรพบว่าการปลูกด้วยวิธีนี้ยังคงทำให้กระเทียมเติบโตได้อย่างสมบูรณ์ การคิดค้นที่ล้ำหน้านี้ได้ชุบชีวิตใหม่ให้กับอุตสาหกรรมกระเทียม
การพัฒนาเครื่องตัดและมัดงาไม่ประสบความสำเร็จในตอนแรก แต่ได้รับความนิยมจากเกษตรกรรุ่นใหม่ การเก็บเกี่ยวงาที่ต้องพึ่งพาแรงงานคนมาโดยตลอด มีปัญหาจากจำนวนประชากรเกษตรกรที่ลดลงและชราภาพ พื้นที่ปลูกงาจึงลดลงเรื่อยๆ สถานีวิจัยไถหนานจึงพยายามช่วยเหลือกิจการผลิตงาโดยการพัฒนาสายพันธุ์และเครื่องจักรกลการเกษตร ซึ่งจงรุ่ยหย่งเป็นผู้รับผิดชอบในการพัฒนาเครื่องเก็บเกี่ยวงา
เขาสังเกตเห็นว่าการเก็บเกี่ยวงาต้องระวังไม่ให้เมล็ดแตกจากฝักขณะเก็บเกี่ยว จึงได้พัฒนา "เครื่องตัดและมัดงา" ซึ่งจะเก็บต้นงาโดยค่อยๆ จับต้นงาในแถวเดียวกันเข้ามาในเครื่องจักร หลังจากนั้นจึงตัดต้นงาที่โคนต้นทำการเก็บเกี่ยวได้สมบูรณ์
เมื่อเครื่องตัดและมัดงาออกวางจำหน่าย เกษตรกรรุ่นเก่าไม่สามารถยอมรับได้และให้ความเห็นเชิงลบ เนื่องจากมีต้นงาบางต้นอาจถูกบิดงอจากแรงมัดของเชือก ทำให้ต้องตั้งไม้ค้ำยันต้นให้ตั้งตรงหลังการเก็บเกี่ยว นอกจากนี้ เครื่องตัดและมัดงามีขนาดใหญ่ เกษตรกรต้องปรับระยะห่างระหว่างแถวให้กว้างขึ้นเพื่อให้เครื่องจักรผ่านได้
แต่หลี่คุนหวน (李昆桓)หัวหน้ากลุ่มเกษตรกรธัญพืชเขตอันติ้ง(安定) นครไถหนาน ซึ่งเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ที่ได้รับรางวัลเกษตรกรยอดเยี่ยมรุ่นที่ 7 เล่าว่า เมื่อห้าปีก่อนเครื่องตัดและมัดงาออกมา "ถูกเกษตรกรตำหนิอย่างหนัก" แต่ในมุมมองของเขา นั้นเป็นเพียงพฤติกรรมของเกษตรกรหัวโบราณที่ต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
หลี่คุนหวนมีพื้นที่ปลูกงาประมาณ 10 เฮกตาร์ วิเคราะห์ว่าการเก็บงาในอดีต หากจ้างคนงาน 10 คน จะใช้เวลาประมาณ 5 ถึง 8 วัน แต่ปัจจุบันขาดแคลนแรงงานอย่างหนัก เนื่องจากแรงงานส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ การเก็บเกี่ยวจึงใช้เวลานานถึง 15 ถึง 20 วัน ค่าแรงรายวันประมาณ 1,500 เหรียญไต้หวัน ทำให้ต้นทุนการเก็บเกี่ยวต่อเฮกตาร์สูงถึง 220,000 เหรียญไต้หวัน "แทบไม่เหลือผลกำไร"