ไต้หวันไฮเทค

ไต้หวันไฮเทค วันอังคารที่ 9 ม.ค.2567


Listen Later

   ขั้นตอนการฟักไข่เป็ดผัก(เป็ดพันธุ์ Tsaiya-菜鴨種)ใช้เวลาประมาณ 28 วัน ตามปกติในวันที่ 5 ถึง วันที่ 10 ของระยะฟักตัว และก่อนส่งไข่เข้า "เครื่องฟัก" (เครื่องฟักไข่ เครื่องกะเทาะ) ผู้เลี้ยงเป็ดจะส่องไข่โดยใช้ตามอง มีการตรวจสอบ 2 ครั้งเพื่อยืนยันว่าไข่มีการปฏิสนธิแล้วและยังไม่ตาย อย่างไรก็ตาม การตรวจสอบด้วยตามองใช้เวลานานและต้องใช้แรงงานมากมักมีข้อผิดพลาดที่เกิดจากความเมื่อยล้าของดวงตาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สถาบันวิจัยปศุสัตว์ไต้หวัน กระทรวงเกษตร(Taiwan Livestock Research Institute, MOA) ร่วมมือกับ มหาวิทยาลัย จงซิง พัฒนาระบบการส่องดูไข่ที่ประหยัดเวลาและแรงงานได้มากกว่า 80% การวิเคราะห์ด้วย AI Deep Learning อัตราความแม่นยำเกิน 98% และการพัฒนาเทคโนโลยีเสร็จสิ้นแล้วในปี 2023

ผู้เลี้ยงเป็ดจะใช้ไฟส่องไข่(ในภาพเป็นไข่ที่ไม่ผ่านการปฏิสนธิ)

   โดยทั่วไปไข่เป็ดฟักจะอยู่ในตู้ฟักเป็นเวลา 25 วัน จากนั้นจึงย้ายเข้าเครื่องกระตุ้นการกะเทาะเปลือกเป็นเวลา 3 วัน ในการใช้แสงเพื่อตรวจสอบว่าไข่ได้รับการปฏิสนธิระหว่างวันที่ 5 ถึง 10 เป็นการตรวจสภาพการฟักไข่ ดูว่ามีหลอดเลือด เยื่อหุ้มตัวอ่อน ถุงไข่แดง (Yolk Sac) และการพัฒนาเนื้อเยื่ออื่น ๆ ในไข่หรือไม่ โดยพวกเขาจะตรวจสอบอีกครั้ง ด้วยแสงไฟระหว่างวันที่ 14 ถึง 18 เพื่อยืนยันว่าตัวอ่อนยังคงเติบโตต่อไป แต่ว่า หลังจากฟักตัว 12 วัน เปลือกไข่จะมีความโปร่งใสน้อยลงและสังเกตได้ยาก ผู้เลี้ยงเป็ดจะต้องใช้ตามองแนบใกล้เปลือกไข่ และสัมผัสความร้อนเปลือกไข่ เพื่อดูการเจริญเติบโตของตัวอ่อน

วิเคราะห์ภาพไข่แบบอัจฉริยะ เพื่อคัดไข่ที่ไม่ได้ปฏิสนธิและไข่ที่หยุดโต

   ปกติตู้ฟักขนาดทั่วไปมีรองรับไข่ได้เกือบ 10,000 ฟอง ใช้เวลาประมาณ 66 นาทีจึงจะตรวจดูเสร็จสิ้น ซึ่งใช้เวลานานและดวงตาเมื่อยล้า สถาบันวิจัยปศุสัตว์ไต้หวันผสมผสานการวิเคราะห์ภาพจากการฉายแสงและการตรวจจับอุณหภูมิพื้นผิวของไข่ พัฒนาเป็นระบบฉายแสงตรวจเพื่อวิเคราะห์ภาพไข่แบบอัจฉริยะ ถ่ายภาพไข่ในถาดฟักเพียงครั้งเดียว วิเคราะห์ด้วยปัญญาประดิษฐ์ เพื่อคัดแยกไข่ที่ไม่ได้ปฏิสนธิและไข่ที่มีการหยุดการเจริญเติบโต

TLRI พัฒนาระบบอัจฉริยะตรวจสอบการปฏิสนธิไข่เป็ด

   เจ้าหน้าที่สถาบันวิจัยปศุสัตว์แถลงว่า เทคโนโลยีนี้ใช้ไฟ LED สีเหลืองเพื่อฉายภาพออพติคัล กำหนดความยาวคลื่นของแหล่งกำเนิดแสงที่เหมาะสมที่สุด วิธีรวมแสงและตำแหน่งการถ่ายภาพที่เหมาะสม ทำให้ได้ภาพสำหรับการวิเคราะห์และตีความ จัดทำฐานข้อมูลภาพเพื่อฝึกฝน AI Deep Learning ในการตรวจสอบและคัดแยกไข่ที่ไม่ปฏิสนธิ หรือไข่ที่ยุติการเติบโต ในแต่ละถาดฟักไข่ ( 192 ฟอง) ใช้เวลาเพียง 12 วินาที ช่วยลดกำลังคนและเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจสอบอย่างมาก มีการทยอยจัดทำฐานฐานข้อมูลภาพไข่ไก่แล้ว เพื่อนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้กับฟาร์มเลี้ยงไก่ได้ในอนาคตอีกด้วย

...more
View all episodesView all episodes
Download on the App Store

ไต้หวันไฮเทคBy แสงชัย กิตติภูมิวงศ์, Rti