ท่านถึงได้กล่าวเป็นบทไว้ว่า คำที่เรียกว่าธรรม คือ ทำดี ไม่ใช่ทำชั่ว
ท่านยกเป็นตำรับตำราไว้ว่า
น หิ ธมฺโม อธมฺโม อุโภ สมวิปากโน อธมฺโม นิรยํ เนติ ธมฺโม ปาเปติ
สุคตึ อุโภ สภาวา
สภาพทั้งสอง ธมฺโม จ คือธรรมด้วย อธมฺโม จ คือไม่ใช่ธรรม
ด้วยมีผลไม่เสมอกัน หามีผลเสมอกันไม่
อธมฺโม นิรยํ เนติ อธรรมที่ไม่ใช่ธรรม ย่อมนำสัตว์ไปสู่นรก
ธมฺโม ปาเปติ สุคตึ สิ่งที่เป็นธรรม สภาพที่เป็นธรรม ยังสัตว์ให้ถึงซึ่ง
สุคติ ไม่เหมือนกันอย่างนี้
เมื่อรู้จักสภาพที่ไม่เป็นธรรม ถ้าว่าเราอยู่เสียกับธรรมเช่นนี้แล้ว
สภาพที่ไม่เป็นธรรมก็ไม่เข้ามาเจือปนได้ ไม่สามารถทำอะไรกับเราได้ เราอยู่
เสียกับธรรมเรื่อยไป ไม่ออกจากธรรม ไม่ถอนจากธรรมทีเดียว สภาพที่ไม่
ใช่ธรรมก็มาทำอะไรไม่ได้ สิ่งที่เป็นบาปอกุศลที่เป็นชั่วร้ายมาทำอะไรไม่ได้
เราอยู่กับธรรมเรื่อยไป อยู่กับฝ่ายดีฝ่ายเดียว
เมื่ออยู่ฝ่ายดีฝ่ายเดียว แตกกายทำลายขันธ์ กายก็ไม่มีเสีย วาจาก็
ไม่มีเสีย ใจก็ไม่มีเสีย เมื่อแตกกายทำลายขันธ์ ก็มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้อง
หน้า นรกไม่มีทีเดียว นี่ขั้นต่ำไม่ไปนรกทีเดียว
เมื่อรู้จักหลักอันนี้ต้องปฏิบัติให้ถูกส่วน ให้ถูกในธรรมอยู่เสมอ อย่า
เอาใจไปวางที่อื่น ให้จดอยู่กลางดวงธรรม วางอยู่กลางดวงธรรมเสมอไป