
Sign up to save your podcasts
Or
ที่นี่ไต้หวัน –11 ส.ค. 63-เรื่องหมูหมูแต่ไม่หมู!! ไต้หวันกลายเป็นเขตปลอดโรคปากเท้าเปื่อยในหมูกับความพยายามนานเกือบ 24 ปี และจะแข่งขันเพื่อการส่งออกหมูสดได้อย่างไร?
หลังจากที่คณะกรรมการการเกษตรไต้หวันประกาศในวันที่ 16 มิ.ย.ว่า ทางองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (Office International des Epizooties หรือ OIE) แจ้งว่า ไต้หวันกลายเป็นเขตปลอดโรคปากเท้าเปื่อยที่ไม่มีการฉีดวัคซีน ซึ่งถือเป็นความสำเร็จหลังจากที่ไต้หวันมุมานะพยายามมานานเกือบ 24 ปี จนในที่สุดไต้หวันก็สลัดพ้นจากการเป็นเขตระบาดของโรคปากเท้าเปื่อย และคาดว่าในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ ไต้หวันจะสามารถส่งออกเนื้อหมูสดไปต่างประเทศได้อีกครั้ง แต่อย่างไรก็ตาม ทางไต้หวันเองก็ไม่ปฏิเสธว่ายังต้องเผชิญกับสิ่งท้าทายหลายอย่าง ทั้งนี้ทั้งนั้น ตลาดส่งออกหมูขาดช่วงเวลามานาน เกษตรกรผู้เลี้ยงหมูจะยังสามารถยกระดับศักยภาพให้เข้ากับยุคสมัยปัจจุบันได้หรือไม่ ยังสามารถเชื่อมต่อกับนานาประเทศได้หรือไม่ ซึ่งนอกจากทางหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องแล้ว ความคิดเห็นจากภาคเอกชนที่เลี้ยงหมู รวมทั้งเชฟมิชลินที่เกี่ยวข้องทั้งหลาย ล้วนต้องนำมาขบคิดปรับปรุงเกี่ยวกับการแข่งขันในเรื่องของการส่งออกหมูสดของไต้หวัน
ที่ผ่านมา ไต้หวันเคยเป็นประเทศส่งออกหมูขนาดใหญ่ของโลก ประเทศที่ส่งออกเป็นหลักคือญี่ปุ่น เพราะว่าญี่ปุ่นอยู่ใกล้กับไต้หวัน แค่แช่เย็นก็ส่งไปขายที่ญี่ปุ่นได้โดยไม่ต้องแช่แข็ง จึงเป็นที่ถูกอกถูกใจของคนญี่ปุ่น เนื่องจากหมูแช่แข็งจะสูญเสียน้ำไปบางส่วนจะไม่อร่อย ในช่วงที่เฟื่องฟูเคยสร้างรายได้จากการส่งออกปีละ 50,000-60,000 ล้านเหรียญไต้หวัน และในปี 1996 ซึ่งเป็นช่วงขีดสูงสุด มีเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูมากถึง 25,000 ครัวเรือน จากสถิติของคณะกรรมการการเกษตรระบุ ช่วงที่ธุรกิจการเลี้ยงหมูเจริญรุ่งเรืองสร้างรายได้ 88,600 ล้านเหรียญไต้หวัน จำนวนหมูที่เลี้ยง 10,070,000 กว่าตัว เฉลี่ยคนไต้หวันทุก 2 คนจะเลี้ยงหมู 1 ตัว ครองสัดส่วนรายได้ภาคเกษตร 20 % ถือเป็นรายได้สูงสุดในภาคเกษตร โดยส่งออกไปขายที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นหลัก แต่ว่าปัจจุบันเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูแค่ 7,000 กว่าครัวเรือน ลดลงเกือบ 3 ใน 4 จากข้อมูลที่เกี่ยวข้องระบุ ในยุคปี 1990 ประเทศญี่ปุ่นนำเข้าหมูจากไต้หวันครองสัดส่วน 44% แต่หลังจากเดือนมี.ค.ปี 1997 ที่ไต้หวันเกิดการระบาดของโรคปากเท้าเปื่อย ธุรกิจการเลี้ยงหมูที่เจริญรุ่งเรืองก็ดับลงทันที ในช่วงที่เกิดการระบาดของโรคปากเท้าเปื่อยช่วงสั้นๆ 3-4 เดือน ได้ทำลายฆ่าหมูทั่วไต้หวันประมาณ 4,000,000 ตัว ราคาหมูจากกิโลกรัมละ 40 เหรียญไต้หวัน ตกฮวบเหลือกิโลกรัมละ 16 เหรียญไต้หวันซึ่งต่ำกว่าต้นทุนเสียอีก เกษตรกรผู้เลี้ยงหมูได้รับผลกระทบหนัก ติดหนี้ติดสินเป็นหนี้มากมายจนต้องเลิกกิจการ แม้แต่โรงงานผู้ผลิตอาหารสัตว์ โรงงานแปรรูปเนื้อหมูยังล้มละลายไปตามๆกัน คิดเป็นมูลค่าความเสียหายสูงถึง 170,000 ล้านเหรียญไต้หวัน ทำให้ไต้หวันขาดการส่งออกเนื้อหมูสดตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา นายเฉินจี๋จ้ง(陳吉仲) ประธานคณะกรรมการการเกษตรบอกว่า ที่บ้านตนในอดีตคุณพ่อคุณแม่ก็เป็นเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูและได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคปากและเท้าเปื่อยเช่นกัน และเลิกกิจการเลี้ยงหมู ขาดทุนไป 4-5 ล้านเหรียญไต้หวัน ซึ่งเงิน 4-5 ล้านนี้สำหรับเกษตรกรแล้วถือว่าล้มละลายเลยทีเดียว เกษตรกรไม่มีเงินทุนหนาก็ได้แต่ขายที่ดินใช้หนี้สิน เพราะว่าเลี้ยงหมูแล้วขายก็ไม่ออก และช่วงที่เลี้ยงไม่ได้ แต่ยังต้องใช้หนี้คืนค่าอาหารสัตว์
หลังจากที่ไต้หวันผ่านประสบการณ์ความเจ็บปวดจากการเป็นเขตระบาดของโรคปากเท้าเปื่อยแล้ว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชนก็จะต้องระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง นอกจากจะต้องร่วมกันผลักดันการป้องกันโรคต่อไป และยังต้องขบคิดกับความท้าทายต่อเป้าหมายของการส่งออกที่ขาดช่วงไปนานถึง 24 ปีอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 24 ปีที่ผ่านมาที่ไต้หวันเป็นเขตระบาดของโรคปากเท้าเปื่อย ได้มีเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูเลิกกิจการเลี้ยงหมูไปแล้ว 18,000 ครัวเรือน ไม่มีการส่งออกหมูสด เกษตรกรเลี้ยงหมูที่เหลืออยู่ก็เลี้ยงหมูเพื่อส่งขายให้กับผู้บริโภคในประเทศ 90 % และอีก 10% อาศัยการนำเข้าจากต่างประเทศ เพราะฉะนั้นปริมาณการเลี้ยงหมูในปัจจุบันจะสอดคล้องกับการส่งออกที่กำลังจะเพิ่มได้หรือไม่? หรือว่าจะทำให้เกิดราคาแปรปรวนของการบริโภคหมูในประเทศ ก็เป็นสิ่งที่หน่วยงานภาครัฐและเอกชนต้องร่วมด้วยช่วยกัน
ที่นี่ไต้หวัน –11 ส.ค. 63-เรื่องหมูหมูแต่ไม่หมู!! ไต้หวันกลายเป็นเขตปลอดโรคปากเท้าเปื่อยในหมูกับความพยายามนานเกือบ 24 ปี และจะแข่งขันเพื่อการส่งออกหมูสดได้อย่างไร?
หลังจากที่คณะกรรมการการเกษตรไต้หวันประกาศในวันที่ 16 มิ.ย.ว่า ทางองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (Office International des Epizooties หรือ OIE) แจ้งว่า ไต้หวันกลายเป็นเขตปลอดโรคปากเท้าเปื่อยที่ไม่มีการฉีดวัคซีน ซึ่งถือเป็นความสำเร็จหลังจากที่ไต้หวันมุมานะพยายามมานานเกือบ 24 ปี จนในที่สุดไต้หวันก็สลัดพ้นจากการเป็นเขตระบาดของโรคปากเท้าเปื่อย และคาดว่าในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ ไต้หวันจะสามารถส่งออกเนื้อหมูสดไปต่างประเทศได้อีกครั้ง แต่อย่างไรก็ตาม ทางไต้หวันเองก็ไม่ปฏิเสธว่ายังต้องเผชิญกับสิ่งท้าทายหลายอย่าง ทั้งนี้ทั้งนั้น ตลาดส่งออกหมูขาดช่วงเวลามานาน เกษตรกรผู้เลี้ยงหมูจะยังสามารถยกระดับศักยภาพให้เข้ากับยุคสมัยปัจจุบันได้หรือไม่ ยังสามารถเชื่อมต่อกับนานาประเทศได้หรือไม่ ซึ่งนอกจากทางหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องแล้ว ความคิดเห็นจากภาคเอกชนที่เลี้ยงหมู รวมทั้งเชฟมิชลินที่เกี่ยวข้องทั้งหลาย ล้วนต้องนำมาขบคิดปรับปรุงเกี่ยวกับการแข่งขันในเรื่องของการส่งออกหมูสดของไต้หวัน
ที่ผ่านมา ไต้หวันเคยเป็นประเทศส่งออกหมูขนาดใหญ่ของโลก ประเทศที่ส่งออกเป็นหลักคือญี่ปุ่น เพราะว่าญี่ปุ่นอยู่ใกล้กับไต้หวัน แค่แช่เย็นก็ส่งไปขายที่ญี่ปุ่นได้โดยไม่ต้องแช่แข็ง จึงเป็นที่ถูกอกถูกใจของคนญี่ปุ่น เนื่องจากหมูแช่แข็งจะสูญเสียน้ำไปบางส่วนจะไม่อร่อย ในช่วงที่เฟื่องฟูเคยสร้างรายได้จากการส่งออกปีละ 50,000-60,000 ล้านเหรียญไต้หวัน และในปี 1996 ซึ่งเป็นช่วงขีดสูงสุด มีเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูมากถึง 25,000 ครัวเรือน จากสถิติของคณะกรรมการการเกษตรระบุ ช่วงที่ธุรกิจการเลี้ยงหมูเจริญรุ่งเรืองสร้างรายได้ 88,600 ล้านเหรียญไต้หวัน จำนวนหมูที่เลี้ยง 10,070,000 กว่าตัว เฉลี่ยคนไต้หวันทุก 2 คนจะเลี้ยงหมู 1 ตัว ครองสัดส่วนรายได้ภาคเกษตร 20 % ถือเป็นรายได้สูงสุดในภาคเกษตร โดยส่งออกไปขายที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นหลัก แต่ว่าปัจจุบันเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูแค่ 7,000 กว่าครัวเรือน ลดลงเกือบ 3 ใน 4 จากข้อมูลที่เกี่ยวข้องระบุ ในยุคปี 1990 ประเทศญี่ปุ่นนำเข้าหมูจากไต้หวันครองสัดส่วน 44% แต่หลังจากเดือนมี.ค.ปี 1997 ที่ไต้หวันเกิดการระบาดของโรคปากเท้าเปื่อย ธุรกิจการเลี้ยงหมูที่เจริญรุ่งเรืองก็ดับลงทันที ในช่วงที่เกิดการระบาดของโรคปากเท้าเปื่อยช่วงสั้นๆ 3-4 เดือน ได้ทำลายฆ่าหมูทั่วไต้หวันประมาณ 4,000,000 ตัว ราคาหมูจากกิโลกรัมละ 40 เหรียญไต้หวัน ตกฮวบเหลือกิโลกรัมละ 16 เหรียญไต้หวันซึ่งต่ำกว่าต้นทุนเสียอีก เกษตรกรผู้เลี้ยงหมูได้รับผลกระทบหนัก ติดหนี้ติดสินเป็นหนี้มากมายจนต้องเลิกกิจการ แม้แต่โรงงานผู้ผลิตอาหารสัตว์ โรงงานแปรรูปเนื้อหมูยังล้มละลายไปตามๆกัน คิดเป็นมูลค่าความเสียหายสูงถึง 170,000 ล้านเหรียญไต้หวัน ทำให้ไต้หวันขาดการส่งออกเนื้อหมูสดตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา นายเฉินจี๋จ้ง(陳吉仲) ประธานคณะกรรมการการเกษตรบอกว่า ที่บ้านตนในอดีตคุณพ่อคุณแม่ก็เป็นเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูและได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคปากและเท้าเปื่อยเช่นกัน และเลิกกิจการเลี้ยงหมู ขาดทุนไป 4-5 ล้านเหรียญไต้หวัน ซึ่งเงิน 4-5 ล้านนี้สำหรับเกษตรกรแล้วถือว่าล้มละลายเลยทีเดียว เกษตรกรไม่มีเงินทุนหนาก็ได้แต่ขายที่ดินใช้หนี้สิน เพราะว่าเลี้ยงหมูแล้วขายก็ไม่ออก และช่วงที่เลี้ยงไม่ได้ แต่ยังต้องใช้หนี้คืนค่าอาหารสัตว์
หลังจากที่ไต้หวันผ่านประสบการณ์ความเจ็บปวดจากการเป็นเขตระบาดของโรคปากเท้าเปื่อยแล้ว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชนก็จะต้องระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง นอกจากจะต้องร่วมกันผลักดันการป้องกันโรคต่อไป และยังต้องขบคิดกับความท้าทายต่อเป้าหมายของการส่งออกที่ขาดช่วงไปนานถึง 24 ปีอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 24 ปีที่ผ่านมาที่ไต้หวันเป็นเขตระบาดของโรคปากเท้าเปื่อย ได้มีเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูเลิกกิจการเลี้ยงหมูไปแล้ว 18,000 ครัวเรือน ไม่มีการส่งออกหมูสด เกษตรกรเลี้ยงหมูที่เหลืออยู่ก็เลี้ยงหมูเพื่อส่งขายให้กับผู้บริโภคในประเทศ 90 % และอีก 10% อาศัยการนำเข้าจากต่างประเทศ เพราะฉะนั้นปริมาณการเลี้ยงหมูในปัจจุบันจะสอดคล้องกับการส่งออกที่กำลังจะเพิ่มได้หรือไม่? หรือว่าจะทำให้เกิดราคาแปรปรวนของการบริโภคหมูในประเทศ ก็เป็นสิ่งที่หน่วยงานภาครัฐและเอกชนต้องร่วมด้วยช่วยกัน