
Sign up to save your podcasts
Or
ที่นี่ไต้หวัน –01 ก.ย. 63-ลำไย!! ผลไม้ “ตามังกร-龍眼” แม้รสหวานแต่เปี่ยมด้วยพลัง อบแห้งใช้ในสมุนไพรจีนสรรพคุณเลิศ
ทำไมลำไยเรียกว่า “หลงเหยี่ยน-ตามังกร-龍眼” ที่นี่มีคำตอบค่ะ....
ลำไย(Longan) ภาษาจีนเรียกว่า “หลงเหยี่ยน-龍眼” ซึ่งแปลว่าตามังกร และมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า “กุ้ยหยวน-桂圓” จากการบันทึกระบุ คำว่าหลงเหยี่ยนนั้นเป็นคำเรียกชื่อลำไยช่วงแรกๆตั้งแต่อดีต สาเหตุเพราะว่าแหล่งปลูกลำไยในสมัยก่อนอยู่บริเวณทางตอนใต้ของจีน และลำไยยังเป็นเครื่องบรรณาการของฮ่องเต้ อีกทั้งเนื้อลำไยใส มีเมล็ดสีดำอยู่ข้างในคล้ายๆกับดวงตา คนสมัยก่อนจึงเรียกลำไยว่า หลงเหยี่ยนที่แปลว่าตามังกร และหลังจากที่เก็บผลลำไยสดแล้วก็เก็บรักษาได้นานประมาณ 1 สัปดาห์เท่านั้น ส่วนใหญ่ก็ต้องใช้ม้าควบด้วยความเร็วเพื่อส่งลำไยเข้าไปถวายฮ่องเต้ที่กรุงปักกิ่ง ประชาชนทั่วไปจะไม่ค่อยได้รับประทานลำไยกัน แต่ว่าต่อมาลำไยมีการปลูกกันมากขึ้นกลายเป็นของทั่วไปที่ประชาชนรับประทานกันได้ แต่ประชาชนทั่วไปก็หลีกเลี่ยงที่จะเรียกลำไยว่า หลงเหยี่ยน เพราะว่าถ้ารับประทานหลงเหยี่ยนก็คล้ายๆกับการรับประทานดวงตาของฮ่องเต้ เพราะว่าชาวจีนเชื่อว่าฮ่องเต้เป็นลูกหลานของมังกร นอกจากนี้ ในช่วงที่ลำไยออกผลก็เป็นช่วงที่กุ้ยฮัว(桂花)หรือดอกหอมหมื่นลี้กำลังส่งกลิ่นหอม ดังนั้นจึงเรียกลำไยอีกชื่อว่า กุ้หยวน-桂圓 นี่ก็เป็นสาเหตุที่เรียกลำไยว่า หลงเหยี่ยน-ตามังกร และกุ้ยหยวน
ปีนี้ถือเป็นลาภปากของคนไต้หวันที่ลำไยออกผลผลิตมากกว่าปีที่แล้วและราคาถูกกว่าอีกด้วย ทั้งนี้สภาพอากาศของปีนี้มีความเหมาะสม ทำให้ปริมาณการติดผลเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ช่วงแรกที่ลำไยขายสู่ท้องตลาด เกษตรกรผู้ปลูกลำไยก็โอดครวญว่าราคาของลำไยไม่ดีเพราะปริมาณมาก ราคาในท้องตลาดไม่ถึง 30% ของราคาปีที่แล้ว ถือว่าเป็นปีที่ราคาลำไยต่ำสุดในรอบ 10 ปีก็ว่าได้ และช่วงฤดูกาลของลำไยก็สั้นๆ 2-3 เดือนเท่านั้นอยู่ระหว่างเดือนก.ค.-ก.ย. เพราะฉะนั้นรัฐบาลท้องถิ่นที่มีผลผลิตลำไยปริมาณมากจึงส่งเสริมให้นำลำไยมาอบแห้งเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาได้เป็นปี อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มมูลค่าของลำไย ทั้งนี้ ลำไยอบแห้ง นิยมนำมาปรุงอาหาร ทำขนมหวาน และใช้ในส่วนผสมของยาสมุนไพรจีน แพทย์แผนจีนชี้ว่า ลำไยอบแห้งเป็นผลไม้บำรุง นำมาเป็นส่วนผสมทางยา มีสรรพคุณช่วยบำรุงประสาทตา และยังบำรุงเลือด เพิ่มการไหลเวียนของโลหิต บำรุงกำลังสตรี หลังการคลอดบุตร บำรุงประสาท ช่วยให้หลับสบาย ในรายที่นอนไม่หลับ ลดความเครียด บำรุงกำลังในรายที่ทำงานหนัก ช่วยให้ความจำดี เพราะว่าลำไยอบแห้งมีเกลือแร่ที่ร่างกายต้องการมากมาย ไม่ว่าจะเป็นทองแดง สังกะสี แมงกานีส เป็นต้น ถือเป็นผลไม้ที่เปี่ยมด้วยพลังจริงๆ เลยค่ะ
ลำไยเป็นผลไม้ที่นิยมปลูกในสวนรั้วบ้านที่พบเห็นกันมากที่สุดชนิดหนึ่ง เนื้อที่เพาะปลูกลำไยในไต้หวันมีประมาณ 10,700 เฮกตาร์ แต่อย่างไรก็ตาม แหล่งปลูกลำไยมากที่สุดอยู่ที่นครไถหนานในเนื้อที่ 3,800 เฮกตาร์ และยังเป็นผลไม้ที่นิยมปลูกมานานกว่า 300 ปีแล้ว จนปัจจุบันมีพันธุ์ลำไยคุณภาพดีอยู่หลายชนิด และแต่ละพันธุ์มีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนกัน
ลำไยเป็นผลไม้ที่มีรสหวานฉ่ำ มีประโยชน์และสรรพคุณมากมาย ในเนื้อลำไยสดประกอบด้วยน้ำตาลหลักๆ 3 ชนิด คือ กลูโคส ฟรุกโตส และซูโครส จะให้พลังงานดีเลิศสำหรับผู้ใช้แรงงานหรือออกกำลังกายหนัก นอกจากนี้ในเนื้อผลของลำไยยังประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน เส้นใย แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินต่างๆ ไนอาซิน กรดอะมิโน เป็นต้น ดังนั้นจึงควรรับประทานแต่ปริมาณที่พอควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยโรคเบาหวานหรือคนที่กำลังอยู่ในโหมดของการลดความอ้วน รับประทานวันละ 6-7 ผลก็พอ แต่ถ้าเป็นคนปกติทั่วไปก็รับประทานวันละมากสุดไม่ควรเกิน 20 ผล หรือใครก็ตามที่รับประทานลำไยแล้วเกิดอาการร้อนใน เกิดแผลในช่องปาก หรืออาการตาแฉะมีอาการท้องผูก ท้องเสีย ให้งดไปก่อนหรือรับประทานแต่น้อยก็พอนะคะ
ที่นี่ไต้หวัน –01 ก.ย. 63-ลำไย!! ผลไม้ “ตามังกร-龍眼” แม้รสหวานแต่เปี่ยมด้วยพลัง อบแห้งใช้ในสมุนไพรจีนสรรพคุณเลิศ
ทำไมลำไยเรียกว่า “หลงเหยี่ยน-ตามังกร-龍眼” ที่นี่มีคำตอบค่ะ....
ลำไย(Longan) ภาษาจีนเรียกว่า “หลงเหยี่ยน-龍眼” ซึ่งแปลว่าตามังกร และมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า “กุ้ยหยวน-桂圓” จากการบันทึกระบุ คำว่าหลงเหยี่ยนนั้นเป็นคำเรียกชื่อลำไยช่วงแรกๆตั้งแต่อดีต สาเหตุเพราะว่าแหล่งปลูกลำไยในสมัยก่อนอยู่บริเวณทางตอนใต้ของจีน และลำไยยังเป็นเครื่องบรรณาการของฮ่องเต้ อีกทั้งเนื้อลำไยใส มีเมล็ดสีดำอยู่ข้างในคล้ายๆกับดวงตา คนสมัยก่อนจึงเรียกลำไยว่า หลงเหยี่ยนที่แปลว่าตามังกร และหลังจากที่เก็บผลลำไยสดแล้วก็เก็บรักษาได้นานประมาณ 1 สัปดาห์เท่านั้น ส่วนใหญ่ก็ต้องใช้ม้าควบด้วยความเร็วเพื่อส่งลำไยเข้าไปถวายฮ่องเต้ที่กรุงปักกิ่ง ประชาชนทั่วไปจะไม่ค่อยได้รับประทานลำไยกัน แต่ว่าต่อมาลำไยมีการปลูกกันมากขึ้นกลายเป็นของทั่วไปที่ประชาชนรับประทานกันได้ แต่ประชาชนทั่วไปก็หลีกเลี่ยงที่จะเรียกลำไยว่า หลงเหยี่ยน เพราะว่าถ้ารับประทานหลงเหยี่ยนก็คล้ายๆกับการรับประทานดวงตาของฮ่องเต้ เพราะว่าชาวจีนเชื่อว่าฮ่องเต้เป็นลูกหลานของมังกร นอกจากนี้ ในช่วงที่ลำไยออกผลก็เป็นช่วงที่กุ้ยฮัว(桂花)หรือดอกหอมหมื่นลี้กำลังส่งกลิ่นหอม ดังนั้นจึงเรียกลำไยอีกชื่อว่า กุ้หยวน-桂圓 นี่ก็เป็นสาเหตุที่เรียกลำไยว่า หลงเหยี่ยน-ตามังกร และกุ้ยหยวน
ปีนี้ถือเป็นลาภปากของคนไต้หวันที่ลำไยออกผลผลิตมากกว่าปีที่แล้วและราคาถูกกว่าอีกด้วย ทั้งนี้สภาพอากาศของปีนี้มีความเหมาะสม ทำให้ปริมาณการติดผลเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ช่วงแรกที่ลำไยขายสู่ท้องตลาด เกษตรกรผู้ปลูกลำไยก็โอดครวญว่าราคาของลำไยไม่ดีเพราะปริมาณมาก ราคาในท้องตลาดไม่ถึง 30% ของราคาปีที่แล้ว ถือว่าเป็นปีที่ราคาลำไยต่ำสุดในรอบ 10 ปีก็ว่าได้ และช่วงฤดูกาลของลำไยก็สั้นๆ 2-3 เดือนเท่านั้นอยู่ระหว่างเดือนก.ค.-ก.ย. เพราะฉะนั้นรัฐบาลท้องถิ่นที่มีผลผลิตลำไยปริมาณมากจึงส่งเสริมให้นำลำไยมาอบแห้งเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาได้เป็นปี อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มมูลค่าของลำไย ทั้งนี้ ลำไยอบแห้ง นิยมนำมาปรุงอาหาร ทำขนมหวาน และใช้ในส่วนผสมของยาสมุนไพรจีน แพทย์แผนจีนชี้ว่า ลำไยอบแห้งเป็นผลไม้บำรุง นำมาเป็นส่วนผสมทางยา มีสรรพคุณช่วยบำรุงประสาทตา และยังบำรุงเลือด เพิ่มการไหลเวียนของโลหิต บำรุงกำลังสตรี หลังการคลอดบุตร บำรุงประสาท ช่วยให้หลับสบาย ในรายที่นอนไม่หลับ ลดความเครียด บำรุงกำลังในรายที่ทำงานหนัก ช่วยให้ความจำดี เพราะว่าลำไยอบแห้งมีเกลือแร่ที่ร่างกายต้องการมากมาย ไม่ว่าจะเป็นทองแดง สังกะสี แมงกานีส เป็นต้น ถือเป็นผลไม้ที่เปี่ยมด้วยพลังจริงๆ เลยค่ะ
ลำไยเป็นผลไม้ที่นิยมปลูกในสวนรั้วบ้านที่พบเห็นกันมากที่สุดชนิดหนึ่ง เนื้อที่เพาะปลูกลำไยในไต้หวันมีประมาณ 10,700 เฮกตาร์ แต่อย่างไรก็ตาม แหล่งปลูกลำไยมากที่สุดอยู่ที่นครไถหนานในเนื้อที่ 3,800 เฮกตาร์ และยังเป็นผลไม้ที่นิยมปลูกมานานกว่า 300 ปีแล้ว จนปัจจุบันมีพันธุ์ลำไยคุณภาพดีอยู่หลายชนิด และแต่ละพันธุ์มีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนกัน
ลำไยเป็นผลไม้ที่มีรสหวานฉ่ำ มีประโยชน์และสรรพคุณมากมาย ในเนื้อลำไยสดประกอบด้วยน้ำตาลหลักๆ 3 ชนิด คือ กลูโคส ฟรุกโตส และซูโครส จะให้พลังงานดีเลิศสำหรับผู้ใช้แรงงานหรือออกกำลังกายหนัก นอกจากนี้ในเนื้อผลของลำไยยังประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน เส้นใย แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินต่างๆ ไนอาซิน กรดอะมิโน เป็นต้น ดังนั้นจึงควรรับประทานแต่ปริมาณที่พอควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยโรคเบาหวานหรือคนที่กำลังอยู่ในโหมดของการลดความอ้วน รับประทานวันละ 6-7 ผลก็พอ แต่ถ้าเป็นคนปกติทั่วไปก็รับประทานวันละมากสุดไม่ควรเกิน 20 ผล หรือใครก็ตามที่รับประทานลำไยแล้วเกิดอาการร้อนใน เกิดแผลในช่องปาก หรืออาการตาแฉะมีอาการท้องผูก ท้องเสีย ให้งดไปก่อนหรือรับประทานแต่น้อยก็พอนะคะ