
Sign up to save your podcasts
Or
ที่นี่ไต้หวัน –08 ก.ย. 63-“ถั่วแดง”(紅豆)ธัญพืชแทนความรัก มากสรรพคุณ พัฒนาเป็นแผ่นมาร์กหน้าได้ด้วย.....
กรมการเกษตรและอาหาร คณะกรรมการการเกษตร ผลักดันโครงการยุ้งฉางธัญพืช(大糧倉計畫)ที่ผลิตในประเทศ แนะนำให้เกษตรกรปลูกธัญพืชสคุณภาพดี มีความสด ปลอดภัยและไม่ตัดแต่งพันธุกรรม(non-GMO) เช่น ถั่วแดง ถั่วลิสง ข้าวโพด ข้าวสาลี งา ข้าวฟ่าง เป็นต้น สำนักงานการเกษตรและอาหารเขตภาคใต้ขานรับโครงการส่งเสริมถั่วแดงที่ปลูกในเมืองผิงตงนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ มากขึ้น อาทิ บะหมี่ถั่วแดง น้ำถั่วแดง ขนมถั่วแดง ปลาหย๋องเตมเปถั่วแดง(紅豆天貝魚鬆) ขนมเค้กถั่วแดง แผ่นมาร์กหน้าถั่วแดง โลชั่นถั่วแดง เป็นต้น และยังมีการเปิดตัวผลิตภัณฑ์สินค้าจากถั่วแดงที่ลานกว้างหน้าสถานีรถไฟผิงตงปลายเดือนส.ค.ที่ผ่านมา
แผ่นมาร์กหน้าถั่วแดง
นายเหยาจื้อวั่ง(姚志旺) ผอ.สำนักงานการเกษตรและอาหารเขตภาคใต้ชี้ว่า ทั่วไต้หวันมีเนื้อที่ปลูกถั่วแดงประมาณ 5,300 เฮกตาร์ โดยมีการปลูกที่เมืองผิงตงมากถึง 4,600 เฮกตาร์ และในจำนวนนี้ปลูกที่ตำบลวั่นตัน(萬丹鄉)เมืองผิงตงมีจำนวนมากที่สุด 1,400 เฮกตาร์ นอกนั้นกระจัดกระจายอยู่ในตำบลซินหยวน ตงกั่ง ขันติ่ง หนานโจว และเทศบาลเมืองผิงตง ส่วนพื้นที่ที่ปลูกถั่วแดงมากเป็นอันดับ 2 อยู่ที่ตำบลเหม่ยหนงของเมืองเกาสงในพื้นที่ 1,000 เฮกตาร์
นายเหยาจื้อวั่งยังบอกด้วยว่า เนื่องจากอิทธิพลวัฒนธรรมการบริโภคอาหารตะวันตกทำให้คนไต้หวันบริโภคข้าวน้อยลง ในขณะที่ปริมาณการผลิตข้าวมีความเพียงพอต่อการบริโภค แต่ว่าต้องนำเข้าธัญพืชจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นทุกปี การผลักดันโครงการเพิ่มยุ้งฉางธัญพืช ส่งเสริมและแนะนำให้เกษตรกรปลูกธัญพืชคุณภาพดี ลดพื้นที่การเพาะปลูกข้าวให้น้อยลงและใช้พื้นที่ว่างเปล่าที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ให้มากขึ้น เพื่อหวังยกระดับการผลิตธัญพืชใช้บริโภคในประเทศ แนะนำให้ผู้ประกอบการแปรรูป สร้างแบรนด์ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ขยายผลผลิตสินค้าไปยังกลุ่มบริโภคให้มากขึ้น
หวงสู นวี่(黃淑女) ประธานสหกรณ์เกษตรอินทรีย์เหอเจียเมืองผิงตง และยังเป็นเจ้าของฟาร์มเกษตรอินทรีย์จู๋หลินของตำบลวั่นตันบอกว่า ถั่วแดงเป็นธัญพืชที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ทางฟาร์มยืนหยัดการปลูกธัญพืชอินทรีย์ที่ไม่ใช้ยาฆ่าแมลง มีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์จากพืช และในฟาร์มจะมีการเลี้ยงไก่ ห่านไปด้วย มีการดายหญ้าแบบธรรมชาติ เพื่อให้ผู้บริโภครับประทานอย่างมีความสุขและที่สำคัญมีความไว้วางใจกับการบริโภคด้วย
โลชั่นถั่วแดง
ถั่วแดง(Kidney bean) ภาษาจีนเรียกว่า “หงโต้ว-紅豆” มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า “เซียงซือโต้ว-相思豆” ซึ่งหมายถึงตัวแทนแห่งความรักและความคิดถึง ประมาณปี 1961 ที่ตำบลวั่นตันซึ่งถือเป็นแหล่งปลูกถั่วแดงที่สำคัญของเมืองผิงตง ก่อนหรือหลังวันชาติไต้หวันหรือที่นิยมเรียก 雙十節 (ซวงสือเจ๋) เทศกาลวันคู่สิบหรือวันสองสิบ จะมีการหยอดเมล็ดถั่วแดงลงดิน และจะมีการจ้างหนุ่มสาวรวมกลุ่ม 3-5 คนช่วยกันหยอดถั่วแดง ทั้งนี้ในยุคนั้นยังเป็นสังคมเกษตร จึงเป็นโอกาสดีที่หนุ่มสาวที่มาทำงานได้พบปะสังสรรค์กัน เมื่อนานวันเข้าก็บ่มเพาะเป็นความรัก มีการมอบเมล็ดถั่วแดงให้กับฝ่ายตรงข้ามเพื่อเป็นตัวแทนของความรัก จนทำให้หนุ่มสาวหลายคู่ได้ตกลงปลงใจแต่งงานด้วยกันกลายเป็นครอบครัวที่มีความสุข และในเวลาต่อมากลายเป็นประเพณีการแต่งงานของท้องถิ่นชาวฮกเกี้ยนที่มีการนำถั่วแดงมาเซ่นไหว้ฟ้าดิน และยังนำถั่วแดงมาเป็นธัญพืชที่ใช้เซ่นไหว้ยุ้งฉางเพื่อขอพรให้มีความอุดมสมบูรณ์อีกด้วย นี่ก็เป็นสาเหตุที่ว่า ถั่วแดงเป็นตัวแทนของความรักความคะนึงหา
ที่นี่ไต้หวัน –08 ก.ย. 63-“ถั่วแดง”(紅豆)ธัญพืชแทนความรัก มากสรรพคุณ พัฒนาเป็นแผ่นมาร์กหน้าได้ด้วย.....
กรมการเกษตรและอาหาร คณะกรรมการการเกษตร ผลักดันโครงการยุ้งฉางธัญพืช(大糧倉計畫)ที่ผลิตในประเทศ แนะนำให้เกษตรกรปลูกธัญพืชสคุณภาพดี มีความสด ปลอดภัยและไม่ตัดแต่งพันธุกรรม(non-GMO) เช่น ถั่วแดง ถั่วลิสง ข้าวโพด ข้าวสาลี งา ข้าวฟ่าง เป็นต้น สำนักงานการเกษตรและอาหารเขตภาคใต้ขานรับโครงการส่งเสริมถั่วแดงที่ปลูกในเมืองผิงตงนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ มากขึ้น อาทิ บะหมี่ถั่วแดง น้ำถั่วแดง ขนมถั่วแดง ปลาหย๋องเตมเปถั่วแดง(紅豆天貝魚鬆) ขนมเค้กถั่วแดง แผ่นมาร์กหน้าถั่วแดง โลชั่นถั่วแดง เป็นต้น และยังมีการเปิดตัวผลิตภัณฑ์สินค้าจากถั่วแดงที่ลานกว้างหน้าสถานีรถไฟผิงตงปลายเดือนส.ค.ที่ผ่านมา
แผ่นมาร์กหน้าถั่วแดง
นายเหยาจื้อวั่ง(姚志旺) ผอ.สำนักงานการเกษตรและอาหารเขตภาคใต้ชี้ว่า ทั่วไต้หวันมีเนื้อที่ปลูกถั่วแดงประมาณ 5,300 เฮกตาร์ โดยมีการปลูกที่เมืองผิงตงมากถึง 4,600 เฮกตาร์ และในจำนวนนี้ปลูกที่ตำบลวั่นตัน(萬丹鄉)เมืองผิงตงมีจำนวนมากที่สุด 1,400 เฮกตาร์ นอกนั้นกระจัดกระจายอยู่ในตำบลซินหยวน ตงกั่ง ขันติ่ง หนานโจว และเทศบาลเมืองผิงตง ส่วนพื้นที่ที่ปลูกถั่วแดงมากเป็นอันดับ 2 อยู่ที่ตำบลเหม่ยหนงของเมืองเกาสงในพื้นที่ 1,000 เฮกตาร์
นายเหยาจื้อวั่งยังบอกด้วยว่า เนื่องจากอิทธิพลวัฒนธรรมการบริโภคอาหารตะวันตกทำให้คนไต้หวันบริโภคข้าวน้อยลง ในขณะที่ปริมาณการผลิตข้าวมีความเพียงพอต่อการบริโภค แต่ว่าต้องนำเข้าธัญพืชจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นทุกปี การผลักดันโครงการเพิ่มยุ้งฉางธัญพืช ส่งเสริมและแนะนำให้เกษตรกรปลูกธัญพืชคุณภาพดี ลดพื้นที่การเพาะปลูกข้าวให้น้อยลงและใช้พื้นที่ว่างเปล่าที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ให้มากขึ้น เพื่อหวังยกระดับการผลิตธัญพืชใช้บริโภคในประเทศ แนะนำให้ผู้ประกอบการแปรรูป สร้างแบรนด์ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ขยายผลผลิตสินค้าไปยังกลุ่มบริโภคให้มากขึ้น
หวงสู นวี่(黃淑女) ประธานสหกรณ์เกษตรอินทรีย์เหอเจียเมืองผิงตง และยังเป็นเจ้าของฟาร์มเกษตรอินทรีย์จู๋หลินของตำบลวั่นตันบอกว่า ถั่วแดงเป็นธัญพืชที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ทางฟาร์มยืนหยัดการปลูกธัญพืชอินทรีย์ที่ไม่ใช้ยาฆ่าแมลง มีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์จากพืช และในฟาร์มจะมีการเลี้ยงไก่ ห่านไปด้วย มีการดายหญ้าแบบธรรมชาติ เพื่อให้ผู้บริโภครับประทานอย่างมีความสุขและที่สำคัญมีความไว้วางใจกับการบริโภคด้วย
โลชั่นถั่วแดง
ถั่วแดง(Kidney bean) ภาษาจีนเรียกว่า “หงโต้ว-紅豆” มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า “เซียงซือโต้ว-相思豆” ซึ่งหมายถึงตัวแทนแห่งความรักและความคิดถึง ประมาณปี 1961 ที่ตำบลวั่นตันซึ่งถือเป็นแหล่งปลูกถั่วแดงที่สำคัญของเมืองผิงตง ก่อนหรือหลังวันชาติไต้หวันหรือที่นิยมเรียก 雙十節 (ซวงสือเจ๋) เทศกาลวันคู่สิบหรือวันสองสิบ จะมีการหยอดเมล็ดถั่วแดงลงดิน และจะมีการจ้างหนุ่มสาวรวมกลุ่ม 3-5 คนช่วยกันหยอดถั่วแดง ทั้งนี้ในยุคนั้นยังเป็นสังคมเกษตร จึงเป็นโอกาสดีที่หนุ่มสาวที่มาทำงานได้พบปะสังสรรค์กัน เมื่อนานวันเข้าก็บ่มเพาะเป็นความรัก มีการมอบเมล็ดถั่วแดงให้กับฝ่ายตรงข้ามเพื่อเป็นตัวแทนของความรัก จนทำให้หนุ่มสาวหลายคู่ได้ตกลงปลงใจแต่งงานด้วยกันกลายเป็นครอบครัวที่มีความสุข และในเวลาต่อมากลายเป็นประเพณีการแต่งงานของท้องถิ่นชาวฮกเกี้ยนที่มีการนำถั่วแดงมาเซ่นไหว้ฟ้าดิน และยังนำถั่วแดงมาเป็นธัญพืชที่ใช้เซ่นไหว้ยุ้งฉางเพื่อขอพรให้มีความอุดมสมบูรณ์อีกด้วย นี่ก็เป็นสาเหตุที่ว่า ถั่วแดงเป็นตัวแทนของความรักความคะนึงหา