
Sign up to save your podcasts
Or
ที่นี่ไต้หวัน–06 ต.ค. 63-รับมือสภาพอากาศสุดโต่ง!! ไต้หวันใช้เวลา 9 ปี พัฒนาข้าวหอมสายพันธุ์ใหม่ “ไถหนานหมายเลข 19” ประหยัดน้ำ 15%
สถานีปรับปรุงพันธุ์พืชเขตไถหนานชี้ว่า ไม่กี่ปีมานี้ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภาวะโลกร้อน ทำให้ปริมาณน้ำฝนที่ตกน้อยลง เสี่ยงต่อภาวะขาดแคลนน้ำที่เพิ่มขึ้น และปัจจุบันไต้หวันต้องการใช้น้ำในการปลูกข้าวมากถึง 44% ของทรัพยากรน้ำทั้งหมด เพื่อเป็นการประหยัดน้ำในการเพาะปลูกข้าว สถานีปรับปรุงพันธุ์พืชเขตไถหนานร่วมมือกับคณะเกษตรของมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวันหรือไถต้า ใช้เทคนิคการใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยคัดเลือกพันธุ์ข้าว หลังผ่านการปรับปรุงและทดลองปลูกเป็นเวลานาน 9 ปี ได้ข้าวสายพันธุ์ใหม่ตั้งชื่อว่า “ไถหนานหมายเลข 19” มีกลิ่นหอมของเผือก สุกก่อนเวลา และประหยัดน้ำด้วย
ข้าวไถหนานหมายเลข 19 หลังหุงสุกปล่อยไว้ให้เย็นยังมีความหนึบ มีกลิ่นหอมของเผือก เหมาะในการทำข้าวซูชิ
ข้าวสายพันธุ์ใหม่ ไถหนานหมายเลข 19 เป็นพันธุ์ข้าวที่ร่นเวลาในการเพาะปลูกน้อยลงประมาณ 20 วันเมื่อเทียบกับพันธุ์ข้าวไถหนานหมายเลข 11 ที่มีการเพาะปลูกมากที่สุดในไต้หวัน สามารถประหยัดน้ำในการเพาะปลูกได้ประมาณ 9-15% และมีความต้านทานโรคดี คุณภาพของเมล็ดข้าวอยู่ในเกณฑ์ดี ข้าวมีกลิ่นหอมของเผือก เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค เป็นข้าวที่มาจากการผสมพันธุ์ระหว่างข้าวไถหนานหมายเลข 16 และข้าวไถหนานหมายเลข 13 ถือเป็นข้าวคุณภาพดีที่ได้ข้อดีของข้าวทั้งสองสายพันธุ์ที่มีความลงตัวหรือเติมเต็มในสิ่งที่ขาด คือได้ข้อดีของข้าวไถหนานหมายเลข 16 ที่มีความหนึบ หลังหุงสุกและปล่อยให้เย็นแล้วก็ยังมีความหนึบที่ไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนได้ข้อดีของข้าวไถหนานหมายเลข 13 คือมีความหอมของกลิ่นเผือก ทนต่อโรคพืช และยังมีคุณสมบัติคือสุกก่อนเวลา อีกทั้งปริมาณของผลผลิตคงที่ และข้าวไถหนานหมายเลข 19 เริ่มทดลองปลูกตั้งแต่ปี 2011 และปี 2016 มีการทดลองปลูกในสถานีปรับปรุงพันธุ์พืชเกือบทุกภาค ทั้งทางภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ หลังทดลองปลูกพบว่า ข้าวที่ปลูกจากสถานีปรับปรุงพันธุ์ไถหนานจะได้รับการยอมรับของผู้บริโภคมากที่สุด และนอกจากนี้ ยังให้เกษตรกรทำการทดลองปลูกหลายครั้งว่าเป็นพันธุ์ที่เหมาะต่อการเพาะปลูกด้วย จนในที่สุดปี 2019 จึงได้ตั้งชื่ออย่างเป็นทางการ
ข้าวไถหนานหมายเลข 19 บรรจุถุงขายในซุปเปอร์มาร์เก็ต
นอกจากนี้ ทางสถานีปรับปรุงพันธุ์พืชเขตไถหนานยังใช้ข้าวสายพันธุ์ใหม่ไถหนานหมายเลข 19 ที่มีกลิ่นหอม สุกเร็ว ประหยัดน้ำนี้ พัฒนาเทคนิคการปลูกข้าวด้วยการเคลือบเมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยผงเหล็กด้วย โดยนายหยางหงอิง(楊宏瑛) ผอ.สถานีปรับปรุงพันธุ์เขตไถหนานชี้ว่า ที่เขตกวนเถียนของนครไถหนานซึ่งเป็นแหล่งปลูกกระจับที่สำคัญ และมีการปลูกกระจับสลับกับการปลูกข้าว โดยช่วงหน้าร้อนเกษตรกรเขตกวนเถียนจะปลูกกระจับ แต่พอถึงหน้าหนาวเกษตรกรจะสลับไปปลูกข้าว แต่เนื่องจากการปลูกข้าวในเขตกวนเถียนพื้นดินมีความชื้นแฉะ ทำให้เกษตรกรไม่สามารถใช้เครื่องไม้เครื่องมือในการปรับพื้นดิน หรือไม่เหมาะต่อการใช้เครื่องดำนา จึงใช้วิธีหว่านข้าว แต่การหว่านข้าวทำให้เมล็ดพันธุ์ข้าวติดอยู่ที่ผิวดิน เนื่องจากเมล็ดข้าวน้ำหนักเบา ทำให้เมล็ดข้าวอาจไหลไปตามน้ำ หรือบรรดานกอีแจวหรือนกอพยพหนีหนาวจิกกินเมล็ดข้าวไปจำนวนไม่น้อย ดังนั้น เกษตรกรจึงใช้ยาฆ่าแมลงเคลือบกับเมล็ดพันธุ์ข้าว เมื่อนกอีแจวหรือนกอพยพมาจิกเมล็ดข้าวก็ตายไปจำนวนไม่น้อย และเพื่อเป็นการอนุรักษ์นก หรือสร้างสิ่งแวดล้อมที่พักอาศัยให้กับสัตว์ป่าประเภทนกที่อพยพหนีหนาวหรือนกอีแจว ทางสถานีปรับปรุงพันธุ์พืชเขตไถหนานจึงร่วมมือกับสถานีปรับปรุงพันธุ์พืชเขตเจียอี้ ใช้เทคนิคการปลูกข้าวด้วยการเคลือบเมล็ดข้าวด้วยผงเหล็กที่มีการนำเข้าเทคโนโลยี่นี้จากประเทศญี่ปุ่น เพื่อให้เมล็ดข้าวที่จะปลูกนั้นมีสีเข้มใกล้เคียงกับสีของดิน อำพรางไม่ให้นกเห็น ลดโอกาสไปจิกกิน และยังลดปริมาณการไหลไปกับน้ำ
เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ยังไม่เคลือบด้วยผงเหล็ก(ภาพซ้าย) เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ผ่านการเคลือบด้วยผงเหล็ก (ภาพขวา) สามารถอำพรางนกมาจิกกินและกันข้าวไหล
อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีการเคลือบเมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยผงเหล็กที่นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่นมีราคาค่อนข้างสูง ต้นทุนในการเคลือบเมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยผงเหล็กตกกิโลกรัมละ 360 กว่าเหรียญไต้หวัน และเมื่อนำมาทดลองใช้กับพันธุ์ข้าวในไต้หวันแล้วยังทำให้อัตราการงอกของเมล็ดข้าวต่ำด้วย ดังนั้น สถานีปรับปรุงพันธ์พืชเขตไถหนานจึงปรับปรุงเทคโนโลยีการเคลือบเมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยผงเหล็กที่เหมาะกับพันธุ์ข้าวในไต้หวันเอง ราคาประหยัดกว่าเหลือเพียงกิโลกรัมละ 80 กว่าเหรียญไต้หวัน และยังมีการทดสอบว่าไม่มีเรื่องของโลหะหนักตกค้างที่ไม่สร้างปัญหาให้กับสิ่งแวดล้อมด้วย และสามารถผลิตให้เกษตรกรในไต้หวันได้ใช้กว้างขวางขึ้นได้ เซี่ยเหย้าชิง(謝耀清) ผอ.สำนักการเกษตรไถหนานชี้ว่า ตั้งแต่ปี 2018 เริ่มมีการทดลองปลูกข้าวด้วยเทคโนโลยีการเคลือบเมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยผงเหล็กในพื้นที่ 5 เฮกตาร์ ปี 2019 เพิ่มพื้นที่ทดลองเป็น 20 เฮกตาร์ ผลปรากฏว่าได้รับความเสียหายจากนกจิกกินน้อยลง ผลการปลูกก็ดีด้วย และในปีนี้ยังคงผลักดันโครงการนี้ต่อเนื่อง และยังบริการฟรีสำหรับเกษตรกรที่ต้องการเคลือบเมล็ดข้าวด้วยผงเหล็ก แต่ว่าจะอำนวยความสะดวกให้กับเกษตรกรเขตกวนเถียนเป็นอันดับแรกก่อน
ไต้หวันปรับปรุงเทคโนโลยีการเคลือบเมล็ดข้าวด้วยผงเหล็กเอง
นอกจากนี้ เพื่อเป็นการรับมือกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ทางสถานีปรับปรุงพันธุ์เขตไถหนานยังทำนโยบายที่สอดคล้องกับการเพิ่มผลผลิตยุ้งฉางธัญพืช โดยปลูกธัญพืชเป็นหลัก ปลูกข้าวเป็นรอง มีการปลูกธัญพืชประเภทถั่วดำและข้าวโพดหวาน สลับกับการปลูกข้าวสายพันธุ์ใหม่ไถหนานหมายเลข 19 โดยช่วงฤดูใบไม้ผลิปลูกถั่วดำและข้าวโพดหวาน จากนั้นในเดือนพ.ค.ถึงเดือน ส.ค.ปลูกข้าวไถหนานหมายเลข 19 ซึ่งการปลูกสลับแบบนี้ไม่เพียงแต่ลดปริมาณการใช้น้ำ30-40% ของการปลูกข้าว ยังลดค่าใช้จ่ายในเรื่องของการกำจัดศัตรูพืชด้วย
ที่นี่ไต้หวัน–06 ต.ค. 63-รับมือสภาพอากาศสุดโต่ง!! ไต้หวันใช้เวลา 9 ปี พัฒนาข้าวหอมสายพันธุ์ใหม่ “ไถหนานหมายเลข 19” ประหยัดน้ำ 15%
สถานีปรับปรุงพันธุ์พืชเขตไถหนานชี้ว่า ไม่กี่ปีมานี้ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภาวะโลกร้อน ทำให้ปริมาณน้ำฝนที่ตกน้อยลง เสี่ยงต่อภาวะขาดแคลนน้ำที่เพิ่มขึ้น และปัจจุบันไต้หวันต้องการใช้น้ำในการปลูกข้าวมากถึง 44% ของทรัพยากรน้ำทั้งหมด เพื่อเป็นการประหยัดน้ำในการเพาะปลูกข้าว สถานีปรับปรุงพันธุ์พืชเขตไถหนานร่วมมือกับคณะเกษตรของมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวันหรือไถต้า ใช้เทคนิคการใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยคัดเลือกพันธุ์ข้าว หลังผ่านการปรับปรุงและทดลองปลูกเป็นเวลานาน 9 ปี ได้ข้าวสายพันธุ์ใหม่ตั้งชื่อว่า “ไถหนานหมายเลข 19” มีกลิ่นหอมของเผือก สุกก่อนเวลา และประหยัดน้ำด้วย
ข้าวไถหนานหมายเลข 19 หลังหุงสุกปล่อยไว้ให้เย็นยังมีความหนึบ มีกลิ่นหอมของเผือก เหมาะในการทำข้าวซูชิ
ข้าวสายพันธุ์ใหม่ ไถหนานหมายเลข 19 เป็นพันธุ์ข้าวที่ร่นเวลาในการเพาะปลูกน้อยลงประมาณ 20 วันเมื่อเทียบกับพันธุ์ข้าวไถหนานหมายเลข 11 ที่มีการเพาะปลูกมากที่สุดในไต้หวัน สามารถประหยัดน้ำในการเพาะปลูกได้ประมาณ 9-15% และมีความต้านทานโรคดี คุณภาพของเมล็ดข้าวอยู่ในเกณฑ์ดี ข้าวมีกลิ่นหอมของเผือก เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค เป็นข้าวที่มาจากการผสมพันธุ์ระหว่างข้าวไถหนานหมายเลข 16 และข้าวไถหนานหมายเลข 13 ถือเป็นข้าวคุณภาพดีที่ได้ข้อดีของข้าวทั้งสองสายพันธุ์ที่มีความลงตัวหรือเติมเต็มในสิ่งที่ขาด คือได้ข้อดีของข้าวไถหนานหมายเลข 16 ที่มีความหนึบ หลังหุงสุกและปล่อยให้เย็นแล้วก็ยังมีความหนึบที่ไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนได้ข้อดีของข้าวไถหนานหมายเลข 13 คือมีความหอมของกลิ่นเผือก ทนต่อโรคพืช และยังมีคุณสมบัติคือสุกก่อนเวลา อีกทั้งปริมาณของผลผลิตคงที่ และข้าวไถหนานหมายเลข 19 เริ่มทดลองปลูกตั้งแต่ปี 2011 และปี 2016 มีการทดลองปลูกในสถานีปรับปรุงพันธุ์พืชเกือบทุกภาค ทั้งทางภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ หลังทดลองปลูกพบว่า ข้าวที่ปลูกจากสถานีปรับปรุงพันธุ์ไถหนานจะได้รับการยอมรับของผู้บริโภคมากที่สุด และนอกจากนี้ ยังให้เกษตรกรทำการทดลองปลูกหลายครั้งว่าเป็นพันธุ์ที่เหมาะต่อการเพาะปลูกด้วย จนในที่สุดปี 2019 จึงได้ตั้งชื่ออย่างเป็นทางการ
ข้าวไถหนานหมายเลข 19 บรรจุถุงขายในซุปเปอร์มาร์เก็ต
นอกจากนี้ ทางสถานีปรับปรุงพันธุ์พืชเขตไถหนานยังใช้ข้าวสายพันธุ์ใหม่ไถหนานหมายเลข 19 ที่มีกลิ่นหอม สุกเร็ว ประหยัดน้ำนี้ พัฒนาเทคนิคการปลูกข้าวด้วยการเคลือบเมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยผงเหล็กด้วย โดยนายหยางหงอิง(楊宏瑛) ผอ.สถานีปรับปรุงพันธุ์เขตไถหนานชี้ว่า ที่เขตกวนเถียนของนครไถหนานซึ่งเป็นแหล่งปลูกกระจับที่สำคัญ และมีการปลูกกระจับสลับกับการปลูกข้าว โดยช่วงหน้าร้อนเกษตรกรเขตกวนเถียนจะปลูกกระจับ แต่พอถึงหน้าหนาวเกษตรกรจะสลับไปปลูกข้าว แต่เนื่องจากการปลูกข้าวในเขตกวนเถียนพื้นดินมีความชื้นแฉะ ทำให้เกษตรกรไม่สามารถใช้เครื่องไม้เครื่องมือในการปรับพื้นดิน หรือไม่เหมาะต่อการใช้เครื่องดำนา จึงใช้วิธีหว่านข้าว แต่การหว่านข้าวทำให้เมล็ดพันธุ์ข้าวติดอยู่ที่ผิวดิน เนื่องจากเมล็ดข้าวน้ำหนักเบา ทำให้เมล็ดข้าวอาจไหลไปตามน้ำ หรือบรรดานกอีแจวหรือนกอพยพหนีหนาวจิกกินเมล็ดข้าวไปจำนวนไม่น้อย ดังนั้น เกษตรกรจึงใช้ยาฆ่าแมลงเคลือบกับเมล็ดพันธุ์ข้าว เมื่อนกอีแจวหรือนกอพยพมาจิกเมล็ดข้าวก็ตายไปจำนวนไม่น้อย และเพื่อเป็นการอนุรักษ์นก หรือสร้างสิ่งแวดล้อมที่พักอาศัยให้กับสัตว์ป่าประเภทนกที่อพยพหนีหนาวหรือนกอีแจว ทางสถานีปรับปรุงพันธุ์พืชเขตไถหนานจึงร่วมมือกับสถานีปรับปรุงพันธุ์พืชเขตเจียอี้ ใช้เทคนิคการปลูกข้าวด้วยการเคลือบเมล็ดข้าวด้วยผงเหล็กที่มีการนำเข้าเทคโนโลยี่นี้จากประเทศญี่ปุ่น เพื่อให้เมล็ดข้าวที่จะปลูกนั้นมีสีเข้มใกล้เคียงกับสีของดิน อำพรางไม่ให้นกเห็น ลดโอกาสไปจิกกิน และยังลดปริมาณการไหลไปกับน้ำ
เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ยังไม่เคลือบด้วยผงเหล็ก(ภาพซ้าย) เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ผ่านการเคลือบด้วยผงเหล็ก (ภาพขวา) สามารถอำพรางนกมาจิกกินและกันข้าวไหล
อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีการเคลือบเมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยผงเหล็กที่นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่นมีราคาค่อนข้างสูง ต้นทุนในการเคลือบเมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยผงเหล็กตกกิโลกรัมละ 360 กว่าเหรียญไต้หวัน และเมื่อนำมาทดลองใช้กับพันธุ์ข้าวในไต้หวันแล้วยังทำให้อัตราการงอกของเมล็ดข้าวต่ำด้วย ดังนั้น สถานีปรับปรุงพันธ์พืชเขตไถหนานจึงปรับปรุงเทคโนโลยีการเคลือบเมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยผงเหล็กที่เหมาะกับพันธุ์ข้าวในไต้หวันเอง ราคาประหยัดกว่าเหลือเพียงกิโลกรัมละ 80 กว่าเหรียญไต้หวัน และยังมีการทดสอบว่าไม่มีเรื่องของโลหะหนักตกค้างที่ไม่สร้างปัญหาให้กับสิ่งแวดล้อมด้วย และสามารถผลิตให้เกษตรกรในไต้หวันได้ใช้กว้างขวางขึ้นได้ เซี่ยเหย้าชิง(謝耀清) ผอ.สำนักการเกษตรไถหนานชี้ว่า ตั้งแต่ปี 2018 เริ่มมีการทดลองปลูกข้าวด้วยเทคโนโลยีการเคลือบเมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยผงเหล็กในพื้นที่ 5 เฮกตาร์ ปี 2019 เพิ่มพื้นที่ทดลองเป็น 20 เฮกตาร์ ผลปรากฏว่าได้รับความเสียหายจากนกจิกกินน้อยลง ผลการปลูกก็ดีด้วย และในปีนี้ยังคงผลักดันโครงการนี้ต่อเนื่อง และยังบริการฟรีสำหรับเกษตรกรที่ต้องการเคลือบเมล็ดข้าวด้วยผงเหล็ก แต่ว่าจะอำนวยความสะดวกให้กับเกษตรกรเขตกวนเถียนเป็นอันดับแรกก่อน
ไต้หวันปรับปรุงเทคโนโลยีการเคลือบเมล็ดข้าวด้วยผงเหล็กเอง
นอกจากนี้ เพื่อเป็นการรับมือกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ทางสถานีปรับปรุงพันธุ์เขตไถหนานยังทำนโยบายที่สอดคล้องกับการเพิ่มผลผลิตยุ้งฉางธัญพืช โดยปลูกธัญพืชเป็นหลัก ปลูกข้าวเป็นรอง มีการปลูกธัญพืชประเภทถั่วดำและข้าวโพดหวาน สลับกับการปลูกข้าวสายพันธุ์ใหม่ไถหนานหมายเลข 19 โดยช่วงฤดูใบไม้ผลิปลูกถั่วดำและข้าวโพดหวาน จากนั้นในเดือนพ.ค.ถึงเดือน ส.ค.ปลูกข้าวไถหนานหมายเลข 19 ซึ่งการปลูกสลับแบบนี้ไม่เพียงแต่ลดปริมาณการใช้น้ำ30-40% ของการปลูกข้าว ยังลดค่าใช้จ่ายในเรื่องของการกำจัดศัตรูพืชด้วย