ที่นี่ไต้หวัน

ที่นี่ไต้หวัน - 2020-10-20


Listen Later

ที่นี่ไต้หวัน วันที่ 20 ตุลาคม 2563 - มารู้จักหนานฟางอ้าว!! แหล่งจับปลาซาบะ กำลังสร้างสะพานข้ามท่าเรือแห่งใหม่ มีกำหนดสร้างเสร็จในปี 2022

สะพานข้ามท่าเรือหนานฟางอ้าว (南方澳跨港大橋) ที่ตำบลซูอ้าวในเมืองอี๋หลานที่มีประวัติการสร้างมานาน 21 ปี ต่อมาวันที่ 1 ต.ค. ปี 2019 เกิดเหตุการณ์สยองขวัญสะพานถล่ม ทำให้ลูกเรือประมงเสียชีวิต 6 คน และมีผู้ได้รับบาดเจ็บจำนวน 12 คน จนในที่สุดวันที่ 5 ต.ค.ที่ผ่านมา ได้จัดพิธิวางศิลาฤกษ์เพื่อสร้างสะพานหนานฟางอ้าวแห่งใหม่ และลักษณะหน้าตาของสะพานแห่งใหม่นี้มีการออกแบบโดยใช้รูปลักษณ์ของปลาซาบะที่เป็นผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นด้วย สะพานหนานฟางอ้าวแห่งใหม่คาดว่าจะใช้เวลาในการสร้าง 2 ปีและสร้างเสร็จในปี 2022 เน้นความปลอดภัย สวยงาม และการสร้างที่รวดเร็ว ความยาวของสะพาน 600 เมตร ความกว้าง 13 -14.6 เมตร มีอายุใช้งานนานถึง 100 ปี ทนต่อการกัดกร่อนของเกลือ สามารถทนต่อแผ่นดินไหวระดับ 7 ทั้งนี้ สะพานหนานฟางอ้าว เป็นสะพานข้ามท่าเรือประมงซูอ้าว ซึ่งเป็น 1 ใน 3 ท่าเรือประมงที่ใหญ่ที่สุดของไต้หวัน และยังเป็นท่าเรือที่จับปลาซาบะได้ปริมาณมากที่สุดในไต้หวันด้วย ซึ่งก่อนหน้านี้ วันที่ 27 ก.ย.ที่ผ่านมา ที่หนานฟางอ้าวยังจัดงานเทศกาลปลาซาบะ และเทศกาลเซ่นไหว้ปลาซาบะ ดังนั้น การออกแบบสะพานหนานฟางอ้าวแห่งใหม่นี้จึงมีการใช้ห้วข้อหลัก 2 อย่าง คือ ปลาซาบะและคลื่นทะเล โดยมีการนำหัวปลา ครีบหลัง และลายเส้นของตัวปลาซาบะออกแบบไว้ที่ตัวสะพาน

เทศกาลเซ่นไหว้ปลาซาบะหนานฟางอ้าวปี 2020

ปลาซาบะ ภาษาจีนเรียกว่า“ชิงอวี๋-鯖魚”คำว่า“ซาบะ”ป็นภาษาญี่ปุ่น จัดเป็นปลาแมคเคอเรลจำพวกหนึ่ง มีรูปร่างเรียวยาวคล้ายกระสวยหรือจรวด เป็นปลาผิวน้ำ อาศัยอยู่เป็นฝูง เพราะฉะนั้นเวลาที่ถูกจับก็จะถูกจับทั้งฝูง ว่ายน้ำได้รวดเร็ว โดยมากเป็นปลาที่พบกระจายพันธุ์ในมหาสมุทรและน่านน้ำเขตหนาว ปลาซาบะที่จับได้ในไต้หวันมี 2 ชนิด ซึ่งชนิดที่ 1 คือ Blue mackerel ภาษาจีนเรียกว่า“ฮัวฟู่ชิง-花腹鯖” ส่วนคนญี่ปุ่นเรียกว่า“โกมาซาบะ”(Goma Saba) ลักษณะของปลาซาบะชนิดนี้จะมีจุดดำตามท้องและลำตัว ความอร่อยของปลาซาบะชนิดนี้อยู่ที่ไขมันและน้ำมันที่อยู่ตามผิวและลำตัว มีประโยชน์เพราะมีไขมันดี พบแพร่กระจายอยู่ในบริเวณน่านน้ำของเม็กซิโก  หมู่เกาะฮาวาย  ในเขตทะเลแดงรวมทั้งอ่าวเปอร์เซีย  ยังพบมากในแถบประเทศญี่ปุ่น ตอนใต้ของออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ไต้หวัน(จับได้แถบเกาะกุยซานหรือชายฝั่งตะวันออก)  ส่วนปลาซาบะชนิดที่ 2 ภาษาจีนเรียกว่า“ไป๋ฟู่ชิง-白腹鯖”คนญี่ปุ่นเรียกว่า“มะซาบะ”(Ma Saba) บางคนเรียกว่า Pacific mackerel ลักษณะของปลาซาบะชนิดนี้ลำตัวสีน้ำเงินท้องสีขาวและมีจุดสีดำตามลำตัว อาศัยอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก พบว่ามีแหล่งแพร่กระจายเป็นพื้นที่กว้างกว่าชนิดแรก อยู่แถบอเมริกาทางฝั่งตะวันตกคือด้านที่ติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก  และเรียงลงมาทั้งแถบของทวีปอเมริกาใต้  มหาสมุทรอินเดีย ซีกตะวันออกของทวีปแอฟริกาเลาะไปจนถึงแถบทะเลอาราเบียรวมทั้งปากีสถาน  อินเดีย  ศรีลังกา  และยังพบมากรอบเกาะออสเตรเลีย  รวมทั้งแถบชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่ ไต้หวัน เกาหลี  ญี่ปุ่น  จนจรดฝั่งตะวันออกของรัสเซียด้วย

ปลาซาบะที่จับได้ในไต้หวัน

      ปลาซาบะสามารถนำมาประกอบอาหารได้สารพัดอย่าง ไม่ว่าจะนำมาเจี๋ยนหรือทอดกินกับน้ำพริก ย่างซีอิ๊ว ทอดซอสซีอิ๊ว ย่างเกลือ นึ่งซีอิ๊วก็ได้ หรือแกะเนื้อปลามาผัดกะเพรา ผัดพริกแกง ผัดพริกขิง หรือทำลาบปลาซาบะ เป็นต้น ปลาซาบะเป็นปลาที่ราคาถูกมากเมื่อเทียบกับปลาชนิดอื่น เป็นอาหารคนยาก มากด้วยคุณค่าทางสารอาหาร เป็นโปรตีนย่อยง่าย มีไขมันไม่อิ่มตัว EPA และ DHA ซึ่งร่างกายไม่สามารถสร้างได้เอง เหมาะสำหรับทุกเพศทุกวัย ทุกฐานะ

ปลาซาบะย่าง

...more
View all episodesView all episodes
Download on the App Store

ที่นี่ไต้หวันBy รจรัตน์ ยนต์สุวรรณ, Rti