
Sign up to save your podcasts
Or
ที่นี่ไต้หวัน –24 พ.ย. 63-หวั่นล้นตลาด!! สถานีปรับปรุงพันธุ์ไถหนานแนะนำการปรุงอาหารจากกะหล่ำปลีหลังเกษตรกรแห่ปลูก
กรมการเกษตรและอาหารชี้ว่า ปริมาณของกะหล่ำปลีที่ปลูกในช่วงปลายเดือนส.ค.ถึงต้นเดือนก.ย. และเก็บเกี่ยวในช่วงเดือนพ.ย.ยังไม่มาก ทั้งนี้ตั้งแต่เดือนส.ค.จนถึงปัจจุบันสภาพอากาศร้อนเป็นส่วนใหญ่และมักถูกหนอนแมลงกัดกินจึงมีผลผลิตค่อนข้างน้อย กะหล่ำปลีขึ้นไม่สวย ทำให้ปริมาณของกะหล่ำปลีลดลงเกือบครึ่ง ซึ่งโดยปกติแล้ว พื้นที่ 1 เฮกตาร์สามารถปลูกกะหล่ำปลีได้ประมาณ 30,000-40,000 ลูก ถ้าคำนวณค่าเฉลี่ยที่ 30,000 ลูก/เฮกตาร์ จะมีผลผลิตประมาณ 500,000-600,000 ต้น อย่างไรก็ตามคาดว่าราคาของกะหล่ำปลีเริ่มเข้าสู่ภาวะปกติและทรงตัวในช่วงปลายเดือนพ.ย-ต้นเดือนธ.ค. หวงรุ่ยเฉิง(黃瑞呈)รองหัวหน้าฝ่ายดูแลด้านการผลิตบอกว่า การปลูกกะหล่ำปลีต้องใช้เวลาประมาณ 60-70 วันจึงสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ หากดูจากสถิติการปลูกกะหล่ำปีของคณะกรรมการการเกษตรช่วงกลางเดือนก.ย.จำนวน 6,740,000 ต้น ราคาที่เพิ่มขึ้นของกะหล่ำในระลอกนี้คาดว่าถึงช่วงปลายเดือนพ.ย.ถึงต้นเดือนธ.ค.ก็จะเข้าสู่ภาวะปกติ แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเกษตรกรเห็นว่าราคาของกะหล่ำปลีดีจึงหันมาปลูกมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงกลางเดือนพ.ย.เมื่อดูจากสถิติแล้วปลูกเกินอัตรามีมากถึง 7,310,000 ลูก ทางกรมการเกษตรและอาหารได้ส่งข้อมูลแจ้งเตือนเกษตรกรแบ่งช่วงการเพาะปลูก กระจายความเสี่ยง เพราะว่าหลังปลูก 70 วันที่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ก็จะทำให้กะหล่ำปลีล้นตลาด ราคาตกต่ำช่วงกลางเดือนม.ค.ปีหน้า ทั้งนี้ ทางการไต้หวันจัดตั้งกลไกติดตามการปลูกกะหล่ำปลี ทำการรายงานทุก 10 วัน ปริมาณปลูกต่ำกว่า 3 ล้านต้นเป็นระดับสีเขียว ปริมาณ 3.9 -5.4 ล้านต้นอยู่ในระดับสีเหลือง ปริมาณ 5.4-6.0 ล้านต้นระดับสีแดง(กำลังพอดีกับความต้องการของตลาด) และถ้าปลูกกะหล่ำปลีตั้งแต่ 6 ล้านต้นขึ้นไปจะอยู่ในระดับสีม่วงที่แสดงถึงภาวะล้นตลาด ยกตัวอย่างในบางปีที่เกษตรกรแห่กันปลูกกะหล่ำปลี ทำให้ราคาของกะหล่ำปลีตกต่ำอย่างน่าใจหาย ราคาร่วงลงมาอยู่ที่ลูกละ 5-10 เหรียญไต้หวัน จนทำให้เกษตรกรตัดสินใจเปิดสวนให้ประชาชนเข้าไปเก็บกะหล่ำปลีสดๆ ในสวนตามใจชอบ ราคากะหล่ำปลีถูกยิ่งกว่าไข่ต้มใบชาในร้านสะดวกซื้อเสียอีก เกษตรกรต้องก้มหน้ายอมรับสภาพขาดทุน เนื่องจากขายได้ไม่คุ้มต้นทุนการปลูก ค่าปุ๋ย ค่าสารกำจัดแมลง เป็นต้น
กรมการเกษตรและอาหารแจ้งเตือนเกษตรกรแบ่งช่วงปลูก
เพื่อรับมือกับสถานการณ์ของกะหล่ำปลีที่กำลังจะล้นตลาดในไม่ช้าและเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่ม ทางสถานีปรับปรุงพันธุ์พืชเขตไถหนานจัดงานแถลงข่าว “คุณค่าของกะหล่ำปลีและการนำมาประกอบอาหาร” ในวันที่ 17 พ.ย.ที่ผ่านมา ในงานยังได้เชิญ หวงฮุ่ยหลิง นักโภชนาการโรงพยาบาลไถหนานแนะนำประโยชน์ของกะหล่ำปลี และยังมีการจัดแสดงผลงานวิจัยการแปรรูปจากกะหล่ำปลี ขณะเดียวกันได้แนะนำวิธีการปรุงอาหารที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นจากกะหล่ำปลี และยังได้เชิญกลุ่มคหกรรมจากสมาคมเกษตรตำบลต่างๆในเขตหยุนหลิน เจียอี้ ไถหนาน มาร่วมกันแบ่งปันประสบการณ์การปรุงอาหาร เพื่อเพิ่มมูลค่าของกะหล่ำปลีอีกทางหนึ่ง โดยใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นตามฤดูกาลนำมาปรุงกับกะหล่ำปลีที่ปลูกได้ในฤดูกาลปรุงเป็นอาหาร 10 ชนิด อย่างเช่น เจียนปิ่งหรือขนมทอดกะหล่ำปลีซีฟู้ด พิซซ่ากุ้งกะหล่ำปลี เปาะเปี๊ยะหมูกะหล่ำปลี เป็นต้น โดยแต่ละเมนูผ่านการคำนวณจำนวนแคลอลี่จากนักโภชนการและทำเป็นสูตรอาหารขึ้นมา เพื่อคาดหวังให้ประชาชนรู้จักนำวัสดุตามฤดูกาลที่มีอยู่ในท้องถิ่นนำมาประกอบอาหารในครอบครัว ให้เด็กๆ รู้จักผักในฤดูกาลและสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว สืบทอดอาหารที่อร่อยๆ ให้กับรุ่นต่อไปด้วย
แนะนำปรุงอาหารใช้วัตถุดิบท้องถิ่นและกะหล่ำปลีในฤดูกาล
หยางหงอิง(楊宏瑛) หัวหน้าปรับปรุงพันธุ์พืชเขตไถหนานบอกว่า กะหล่ำปลีเป็นผักที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหารมากมาย ประกอบด้วยเส้นใยอาหาร มีแร่ธาตุหลากหลายชนิดและมีวิตามินซีมาก เป็นผักที่นิยมบริโภคของคนไต้หวัน โดยส่วนใหญ่มักจะคุ้นเคยกับการนำมาผัด แต่ช่วงหน้าหนาวนิยมใส่ในสุกี้ ในงานแถลงข่าวยังได้เปิดตัวกะหล่ำปลีกิมจิที่ทำสำเร็จแล้ว 2 รสชาติ คือ รสเผ็ดร้อนหรือหมาล่า และรสกิมจิสไตล์เกาหลี ซึ่งทั้ง 2 รสชาตินี้แตกต่างจากกิมจิสไตล์ไต้หวัน และแนะนำให้ใช้กะหล่ำปลีแทนผักกาดขาว สูตรที่แนะนำไม่ใส่สารกันบูด ไม่เติมสารปรุงแต่งหรือสี ใช้เทคนิกหรือสูตรของนักโภชนาการ สามารถเก็บไว้ในตู้เย็นนานถึง 3 เดือน เหมาะต่อการถ่ายโอนสิทธิ์ให้กับโรงงานแปรรูปอาหาร ขณะนี้สมาคมเกษตรเขตกวนเถียนกำลังพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ นอกจากนี้ ยังแนะนำการทำกะหล่ำปลีอบแห้งที่ผ่านกระบวนการดึงน้ำออกแล้ว สามารถเก็บรักษาได้นานและยังคงคุณค่าทางโภชนาการสูง สามารถนำมารับประทานกับข้าวต้น โจ๊ก หรือพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อย่างอื่นเช่นใส่ในขนมขบเคี้ยวจากธัญพืช เป็นต้น
ข้าวผัดรวมมิตรอร่อยๆ
ที่นี่ไต้หวัน –24 พ.ย. 63-หวั่นล้นตลาด!! สถานีปรับปรุงพันธุ์ไถหนานแนะนำการปรุงอาหารจากกะหล่ำปลีหลังเกษตรกรแห่ปลูก
กรมการเกษตรและอาหารชี้ว่า ปริมาณของกะหล่ำปลีที่ปลูกในช่วงปลายเดือนส.ค.ถึงต้นเดือนก.ย. และเก็บเกี่ยวในช่วงเดือนพ.ย.ยังไม่มาก ทั้งนี้ตั้งแต่เดือนส.ค.จนถึงปัจจุบันสภาพอากาศร้อนเป็นส่วนใหญ่และมักถูกหนอนแมลงกัดกินจึงมีผลผลิตค่อนข้างน้อย กะหล่ำปลีขึ้นไม่สวย ทำให้ปริมาณของกะหล่ำปลีลดลงเกือบครึ่ง ซึ่งโดยปกติแล้ว พื้นที่ 1 เฮกตาร์สามารถปลูกกะหล่ำปลีได้ประมาณ 30,000-40,000 ลูก ถ้าคำนวณค่าเฉลี่ยที่ 30,000 ลูก/เฮกตาร์ จะมีผลผลิตประมาณ 500,000-600,000 ต้น อย่างไรก็ตามคาดว่าราคาของกะหล่ำปลีเริ่มเข้าสู่ภาวะปกติและทรงตัวในช่วงปลายเดือนพ.ย-ต้นเดือนธ.ค. หวงรุ่ยเฉิง(黃瑞呈)รองหัวหน้าฝ่ายดูแลด้านการผลิตบอกว่า การปลูกกะหล่ำปลีต้องใช้เวลาประมาณ 60-70 วันจึงสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ หากดูจากสถิติการปลูกกะหล่ำปีของคณะกรรมการการเกษตรช่วงกลางเดือนก.ย.จำนวน 6,740,000 ต้น ราคาที่เพิ่มขึ้นของกะหล่ำในระลอกนี้คาดว่าถึงช่วงปลายเดือนพ.ย.ถึงต้นเดือนธ.ค.ก็จะเข้าสู่ภาวะปกติ แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเกษตรกรเห็นว่าราคาของกะหล่ำปลีดีจึงหันมาปลูกมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงกลางเดือนพ.ย.เมื่อดูจากสถิติแล้วปลูกเกินอัตรามีมากถึง 7,310,000 ลูก ทางกรมการเกษตรและอาหารได้ส่งข้อมูลแจ้งเตือนเกษตรกรแบ่งช่วงการเพาะปลูก กระจายความเสี่ยง เพราะว่าหลังปลูก 70 วันที่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ก็จะทำให้กะหล่ำปลีล้นตลาด ราคาตกต่ำช่วงกลางเดือนม.ค.ปีหน้า ทั้งนี้ ทางการไต้หวันจัดตั้งกลไกติดตามการปลูกกะหล่ำปลี ทำการรายงานทุก 10 วัน ปริมาณปลูกต่ำกว่า 3 ล้านต้นเป็นระดับสีเขียว ปริมาณ 3.9 -5.4 ล้านต้นอยู่ในระดับสีเหลือง ปริมาณ 5.4-6.0 ล้านต้นระดับสีแดง(กำลังพอดีกับความต้องการของตลาด) และถ้าปลูกกะหล่ำปลีตั้งแต่ 6 ล้านต้นขึ้นไปจะอยู่ในระดับสีม่วงที่แสดงถึงภาวะล้นตลาด ยกตัวอย่างในบางปีที่เกษตรกรแห่กันปลูกกะหล่ำปลี ทำให้ราคาของกะหล่ำปลีตกต่ำอย่างน่าใจหาย ราคาร่วงลงมาอยู่ที่ลูกละ 5-10 เหรียญไต้หวัน จนทำให้เกษตรกรตัดสินใจเปิดสวนให้ประชาชนเข้าไปเก็บกะหล่ำปลีสดๆ ในสวนตามใจชอบ ราคากะหล่ำปลีถูกยิ่งกว่าไข่ต้มใบชาในร้านสะดวกซื้อเสียอีก เกษตรกรต้องก้มหน้ายอมรับสภาพขาดทุน เนื่องจากขายได้ไม่คุ้มต้นทุนการปลูก ค่าปุ๋ย ค่าสารกำจัดแมลง เป็นต้น
กรมการเกษตรและอาหารแจ้งเตือนเกษตรกรแบ่งช่วงปลูก
เพื่อรับมือกับสถานการณ์ของกะหล่ำปลีที่กำลังจะล้นตลาดในไม่ช้าและเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่ม ทางสถานีปรับปรุงพันธุ์พืชเขตไถหนานจัดงานแถลงข่าว “คุณค่าของกะหล่ำปลีและการนำมาประกอบอาหาร” ในวันที่ 17 พ.ย.ที่ผ่านมา ในงานยังได้เชิญ หวงฮุ่ยหลิง นักโภชนาการโรงพยาบาลไถหนานแนะนำประโยชน์ของกะหล่ำปลี และยังมีการจัดแสดงผลงานวิจัยการแปรรูปจากกะหล่ำปลี ขณะเดียวกันได้แนะนำวิธีการปรุงอาหารที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นจากกะหล่ำปลี และยังได้เชิญกลุ่มคหกรรมจากสมาคมเกษตรตำบลต่างๆในเขตหยุนหลิน เจียอี้ ไถหนาน มาร่วมกันแบ่งปันประสบการณ์การปรุงอาหาร เพื่อเพิ่มมูลค่าของกะหล่ำปลีอีกทางหนึ่ง โดยใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นตามฤดูกาลนำมาปรุงกับกะหล่ำปลีที่ปลูกได้ในฤดูกาลปรุงเป็นอาหาร 10 ชนิด อย่างเช่น เจียนปิ่งหรือขนมทอดกะหล่ำปลีซีฟู้ด พิซซ่ากุ้งกะหล่ำปลี เปาะเปี๊ยะหมูกะหล่ำปลี เป็นต้น โดยแต่ละเมนูผ่านการคำนวณจำนวนแคลอลี่จากนักโภชนการและทำเป็นสูตรอาหารขึ้นมา เพื่อคาดหวังให้ประชาชนรู้จักนำวัสดุตามฤดูกาลที่มีอยู่ในท้องถิ่นนำมาประกอบอาหารในครอบครัว ให้เด็กๆ รู้จักผักในฤดูกาลและสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว สืบทอดอาหารที่อร่อยๆ ให้กับรุ่นต่อไปด้วย
แนะนำปรุงอาหารใช้วัตถุดิบท้องถิ่นและกะหล่ำปลีในฤดูกาล
หยางหงอิง(楊宏瑛) หัวหน้าปรับปรุงพันธุ์พืชเขตไถหนานบอกว่า กะหล่ำปลีเป็นผักที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหารมากมาย ประกอบด้วยเส้นใยอาหาร มีแร่ธาตุหลากหลายชนิดและมีวิตามินซีมาก เป็นผักที่นิยมบริโภคของคนไต้หวัน โดยส่วนใหญ่มักจะคุ้นเคยกับการนำมาผัด แต่ช่วงหน้าหนาวนิยมใส่ในสุกี้ ในงานแถลงข่าวยังได้เปิดตัวกะหล่ำปลีกิมจิที่ทำสำเร็จแล้ว 2 รสชาติ คือ รสเผ็ดร้อนหรือหมาล่า และรสกิมจิสไตล์เกาหลี ซึ่งทั้ง 2 รสชาตินี้แตกต่างจากกิมจิสไตล์ไต้หวัน และแนะนำให้ใช้กะหล่ำปลีแทนผักกาดขาว สูตรที่แนะนำไม่ใส่สารกันบูด ไม่เติมสารปรุงแต่งหรือสี ใช้เทคนิกหรือสูตรของนักโภชนาการ สามารถเก็บไว้ในตู้เย็นนานถึง 3 เดือน เหมาะต่อการถ่ายโอนสิทธิ์ให้กับโรงงานแปรรูปอาหาร ขณะนี้สมาคมเกษตรเขตกวนเถียนกำลังพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ นอกจากนี้ ยังแนะนำการทำกะหล่ำปลีอบแห้งที่ผ่านกระบวนการดึงน้ำออกแล้ว สามารถเก็บรักษาได้นานและยังคงคุณค่าทางโภชนาการสูง สามารถนำมารับประทานกับข้าวต้น โจ๊ก หรือพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อย่างอื่นเช่นใส่ในขนมขบเคี้ยวจากธัญพืช เป็นต้น
ข้าวผัดรวมมิตรอร่อยๆ