
Sign up to save your podcasts
Or
ที่นี่ไต้หวัน –01 ธ.ค. 63-มารู้จักปลากระบอก ปลาที่ไข่แพงกว่าเนื้อกันดีกว่า...
ปลากระบอกภาษาจีนเรียกว่า “อูอวี๋-烏魚” ส่วนไข่ปลากระบอกจะเรียกว่า “อูอวี๋จื่อ-烏魚子” ช่วงนี้เป็นฤดูกาลของปลากระบอกในไต้หวัน ในทุกปีก่อนและหลังเทศกาลตงจื้อ(เทศกาลกินขนมอี๊)ประมาณ 10 วันก็ถือเป็นฤดูกาลการจับปลากระบอก ปลากระบอกธรรมชาติที่มีไข่เต็มท้องก็กำลังว่ายเข้ามาบริเวณชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของไต้หวัน แต่เนื่องจากในปัจจุบันทรัพยากรทางทะเลเริ่มขาดแคลนจากการแย่งชิงกันจับทำให้มีปริมาณของสัตว์น้ำน้อยลงเรื่อยๆ ปลาจากกระบอกธรรมชาติก็เช่นกันมีจำนวนลดน้อยลง ทำให้กว่า 90% ของปลากระบอกในไต้หวันต้องอาศัยการเลี้ยงในบ่อ และช่วงเวลาของการเลี้ยงปลากระบอกเพื่อเอาไข่ปลามาขายก็จะเร็วกว่าการจับได้จากธรรมชาติประมาณเดือนเศษๆ ซึ่งก็คือช่วงปลายเดือนพ.ย. ที่กำลังจะเข้าสู่หน้าหนาว สำหรับการเลี้ยงปลากระบอกในไต้หวันนั้นต้องบอกว่า ปลากระบอกที่เลี้ยงได้ฆ่าปลาเอาไข่มาตากแห้งขายจะราคาดีกว่าเนื้อปลากระบอกเสียอีก ทั้งนี้ ไข่ปลากระบอกเป็นอาหารเรียกน้ำย่อยของงานเลี้ยงโต๊ะจีน เป็นอาหารตรุษจีนที่ขึ้นชื่อ ไม่ว่าจะเป็นจีนแผ่นดินใหญ่ หรือไต้หวัน ต่างใช้ไข่ปลากระบอกมาประกอบอาหาร ยิ่งไข่ปลากระบอกของไต้หวันมีคุณภาพ รสชาติอร่อย ที่ผ่านมา ดังระเบิดไปถึงจีนแผ่นดินใหญ่ ออกรายการโทรทัศน์ประกอบอาหารไข่ปลากระบอก จนผู้ประกอบการจีนแผ่นดินใหญ่ต้องสั่งซื้อไปขาย นอกจากนี้ ไต้หวันมีการพัฒนาปรับปรุงวิธีการเพาะเลี้ยงในช่วงหลายปีที่ผ่านมาประสบความผลสำเร็จดี คุณภาพไข่ปลากระบอกตากแห้งที่ฟาร์มเพาะเลี้ยงในไต้หวันผลิตได้มีรสชาติไม่แพ้ไข่ปลาจากแหล่งธรรมชาติ จึงไม่แปลกใจเลยที่ไข่ปลากระบอกกลายเป็นอาหารรสเลิศบนโต๊ะอาหาร
ไข่ปลากระบอกสด
อย่างไรก็ตาม ในภาวะโลกร้อนหรือการที่อุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศบนโลกสูงขึ้น ช่วงของการจับปลากระบอกทุกปี เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาจะประสบปัญหาที่ยากอยู่ 2 อย่าง อย่างแรกก็คือ คุณภาพของไข่ปลากระบอกขึ้นอยู่กับอุณหภูมิเป็นตัวตัดสิน เพราะว่าในช่วงฤดูใบไม้ร่วงของทุกปี กลุ่มเซลล์ในรังไข่ของปลากระบอกก็จะเริ่มเจริญเติบโต จนกระทั่งช่วงเดือนพ.ย.ก็จะโตเต็มที่ หากช่วงที่กลุ่มเซลล์ในรังไข่กำลังโตเจอสภาพอากาศที่หนาวเย็นพอ ไข่ของปลากระบอกก็จะใหญ่และหอม แต่ถ้าอากาศไม่หนาวพอ ไข่ของปลากระบอกก็จะมีขนาดเล็กและมีความหอมน้อยกว่า ไข่ปลากระบอกขนาดเล็กแผ่นหนึ่งจะมีน้ำหนักร้อยกว่ากรัมเท่านั้น ถือว่าเล็กมาก ทั้งนี้ การที่จะเลี้ยงปลากระบอกเพื่อฆ่าเอาไข่ปลามาขายได้นั้นต้องใช้เวลาเลี้ยงนานถึง 3 ปี ถ้าหากรู้ว่าไข่ปลากระบอกมีขนาดเล็กแต่ก็ยังฆ่าปลาเพื่อเอาไข่ออกมาขาย ก็บอกได้ว่าความพยายามที่เลี้ยงปลามา 3 ปีประสบปัญหาขาดทุนแน่นอน แต่ถ้าปลากระบอกที่เลี้ยงมา 3 ปีแล้วไม่ฆ่าปลาเพื่อเอาไข่ไปขาย หากผ่านพ้นฤดูหนาวไปแล้ว ไข่ที่อยู่ในตัวปลากระบอกก็จะถูกขับออกไปจนหมด ใช่ว่าจะต้องรออีกสักเดือนหรือว่ารอให้อากาศหนาวอีกหน่อยแล้วค่อยจับปลาเพื่อจะได้ไข่ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ต้องบอกว่าฤดูกาลผ่านไปแล้วไข่ปลากระบอกก็จะหายไปด้วยนั่นเอง หากเกษตรกรผู้เลี้ยงคิดว่า เลี้ยงไปอีก 1 ปีแล้วค่อยจับปลาเอาไข่ไปขาย และในเวลา 1 ปีที่เพิ่มขึ้น จะคุ้มกับค่าอาหารที่ต้องเลี้ยงปลาหรือไม่ และอีกประการหนึ่งก็ยังบอกไม่ได้ว่า ปีหน้าอากาศจะหนาวพอหรือไม่ ไม่มีใครรู้หรือทำนายได้
ไข่ปลากระบอกตากแห้งที่อัดขึ้นรูปแล้ว
สำหรับแหล่งเลี้ยงปลากระบอกในไต้หวันมีหลายแห่งด้วยกัน เลี้ยงกันบริเวณชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ อย่างเช่น หยุนหลิน จางฮั่ว เจียอี้ หรือแม้แต่เมืองซินจู๋ เป็นต้น แต่ว่าแหล่งเลี้ยงปลากระบอกที่ใหญ่ที่สุดอยู่ที่ตำบลโข่วหูเมืองหยุนหลิน ในวันนี้ขอยกตัวอย่างแหล่งเลี้ยงปลากระบอกที่เขตจู๋เป่ยของเมืองซินจู๋ซึ่งเป็นแหล่งเลี้ยงที่มีชื่อเสียงด้วย แต่การเลี้ยงปลากระบอกที่นี่เริ่มขึ้นทีหลังราวๆ ปี 1990 ปัจจุบันเลี้ยงได้ประมาณ 150,000 ตัว/ปี ครองสัดส่วนการเลี้ยง 7% ถือว่าปริมาณไม่มากนัก แต่เนื่องจากอยู่ใกล้เส้นละติจูดที่ค่อนไปทางเหนือ มีอากาศเย็นกว่า ไข่ของปลากระบอกที่เลี้ยงได้จะใหญ่และมีความหอมกว่า ทางรัฐบาลท้องถิ่นร่วมกับผู้ประกอบการผลักดันกิจกรรมการบริโภคปลากระบอกในวันที่ 28 พ.ย.ที่ผ่านมา มีการแนะนำการปรุงอาหารจากปลากระบอกและไข่ปลากระบอกที่หลากหลาย อย่างเช่น ข้าวปั้นไข่ปลากระบอก ข้าวผัดไข่ปลากระบอก กิจกรรมดีไอวายที่เกี่ยวกับปลากระบอกระหว่างพ่อแม่ผู้ปกครองและลูกๆ เป็นต้น โถงจิ่นเจี๋ย ปธ.สมาคมปลาเขตซิน จู๋บอกว่า ปลากระบอกแต่ละตัวต้องใช้เวลาเลี้ยงอย่างน้อย 3 ปี ถือเป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูง แม้เขตซินจู๋จะเลี้ยงปลากระบอกไม่มาก ในเนื้อที่ประมาณ 60 เฮกตาร์ ปีนี้ก็ยังประสบปัญหาผลกระทบจากโควิด 19 ทำให้ราคาของปลากระบอกตกไปบ้าง และผู้เลี้ยงก็เข้าสู่วัยชรา ค่าแรงและต้นทุนที่เพิ่มขึ้นย่อมกระทบกับความอยู่รอดของเกษตรกรผู้เลี้ยงปลา ดังนั้นจึงเชิญชวนให้ประชาชนเข้าร่วมงาน ร่วมด้วยช่วยกันเพื่อให้ธุรกิจการเลี้ยงปลากระบอกอยู่รอดอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ ทางรัฐบาลท้องถิ่นเมืองซินจู๋ สถาบันวิจัยสัตว์น้ำและหน่วยงานป้องกันโรคยังได้ผลักดันโครงการการเลี้ยงปลากระบอกที่ปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค สามารถตรวจสอบแหล่งเลี้ยงปลาได้ ตรวจสอบยาที่ตกค้างก่อนการจับปลาไปขาย มีการจัดการด้วยเทคโนโลยี AI เป็นการเลี้ยงปลาในสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีพิษ เป็นต้น
พิซซ่าไข่ปลากระบอก
ที่นี่ไต้หวัน –01 ธ.ค. 63-มารู้จักปลากระบอก ปลาที่ไข่แพงกว่าเนื้อกันดีกว่า...
ปลากระบอกภาษาจีนเรียกว่า “อูอวี๋-烏魚” ส่วนไข่ปลากระบอกจะเรียกว่า “อูอวี๋จื่อ-烏魚子” ช่วงนี้เป็นฤดูกาลของปลากระบอกในไต้หวัน ในทุกปีก่อนและหลังเทศกาลตงจื้อ(เทศกาลกินขนมอี๊)ประมาณ 10 วันก็ถือเป็นฤดูกาลการจับปลากระบอก ปลากระบอกธรรมชาติที่มีไข่เต็มท้องก็กำลังว่ายเข้ามาบริเวณชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของไต้หวัน แต่เนื่องจากในปัจจุบันทรัพยากรทางทะเลเริ่มขาดแคลนจากการแย่งชิงกันจับทำให้มีปริมาณของสัตว์น้ำน้อยลงเรื่อยๆ ปลาจากกระบอกธรรมชาติก็เช่นกันมีจำนวนลดน้อยลง ทำให้กว่า 90% ของปลากระบอกในไต้หวันต้องอาศัยการเลี้ยงในบ่อ และช่วงเวลาของการเลี้ยงปลากระบอกเพื่อเอาไข่ปลามาขายก็จะเร็วกว่าการจับได้จากธรรมชาติประมาณเดือนเศษๆ ซึ่งก็คือช่วงปลายเดือนพ.ย. ที่กำลังจะเข้าสู่หน้าหนาว สำหรับการเลี้ยงปลากระบอกในไต้หวันนั้นต้องบอกว่า ปลากระบอกที่เลี้ยงได้ฆ่าปลาเอาไข่มาตากแห้งขายจะราคาดีกว่าเนื้อปลากระบอกเสียอีก ทั้งนี้ ไข่ปลากระบอกเป็นอาหารเรียกน้ำย่อยของงานเลี้ยงโต๊ะจีน เป็นอาหารตรุษจีนที่ขึ้นชื่อ ไม่ว่าจะเป็นจีนแผ่นดินใหญ่ หรือไต้หวัน ต่างใช้ไข่ปลากระบอกมาประกอบอาหาร ยิ่งไข่ปลากระบอกของไต้หวันมีคุณภาพ รสชาติอร่อย ที่ผ่านมา ดังระเบิดไปถึงจีนแผ่นดินใหญ่ ออกรายการโทรทัศน์ประกอบอาหารไข่ปลากระบอก จนผู้ประกอบการจีนแผ่นดินใหญ่ต้องสั่งซื้อไปขาย นอกจากนี้ ไต้หวันมีการพัฒนาปรับปรุงวิธีการเพาะเลี้ยงในช่วงหลายปีที่ผ่านมาประสบความผลสำเร็จดี คุณภาพไข่ปลากระบอกตากแห้งที่ฟาร์มเพาะเลี้ยงในไต้หวันผลิตได้มีรสชาติไม่แพ้ไข่ปลาจากแหล่งธรรมชาติ จึงไม่แปลกใจเลยที่ไข่ปลากระบอกกลายเป็นอาหารรสเลิศบนโต๊ะอาหาร
ไข่ปลากระบอกสด
อย่างไรก็ตาม ในภาวะโลกร้อนหรือการที่อุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศบนโลกสูงขึ้น ช่วงของการจับปลากระบอกทุกปี เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาจะประสบปัญหาที่ยากอยู่ 2 อย่าง อย่างแรกก็คือ คุณภาพของไข่ปลากระบอกขึ้นอยู่กับอุณหภูมิเป็นตัวตัดสิน เพราะว่าในช่วงฤดูใบไม้ร่วงของทุกปี กลุ่มเซลล์ในรังไข่ของปลากระบอกก็จะเริ่มเจริญเติบโต จนกระทั่งช่วงเดือนพ.ย.ก็จะโตเต็มที่ หากช่วงที่กลุ่มเซลล์ในรังไข่กำลังโตเจอสภาพอากาศที่หนาวเย็นพอ ไข่ของปลากระบอกก็จะใหญ่และหอม แต่ถ้าอากาศไม่หนาวพอ ไข่ของปลากระบอกก็จะมีขนาดเล็กและมีความหอมน้อยกว่า ไข่ปลากระบอกขนาดเล็กแผ่นหนึ่งจะมีน้ำหนักร้อยกว่ากรัมเท่านั้น ถือว่าเล็กมาก ทั้งนี้ การที่จะเลี้ยงปลากระบอกเพื่อฆ่าเอาไข่ปลามาขายได้นั้นต้องใช้เวลาเลี้ยงนานถึง 3 ปี ถ้าหากรู้ว่าไข่ปลากระบอกมีขนาดเล็กแต่ก็ยังฆ่าปลาเพื่อเอาไข่ออกมาขาย ก็บอกได้ว่าความพยายามที่เลี้ยงปลามา 3 ปีประสบปัญหาขาดทุนแน่นอน แต่ถ้าปลากระบอกที่เลี้ยงมา 3 ปีแล้วไม่ฆ่าปลาเพื่อเอาไข่ไปขาย หากผ่านพ้นฤดูหนาวไปแล้ว ไข่ที่อยู่ในตัวปลากระบอกก็จะถูกขับออกไปจนหมด ใช่ว่าจะต้องรออีกสักเดือนหรือว่ารอให้อากาศหนาวอีกหน่อยแล้วค่อยจับปลาเพื่อจะได้ไข่ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ต้องบอกว่าฤดูกาลผ่านไปแล้วไข่ปลากระบอกก็จะหายไปด้วยนั่นเอง หากเกษตรกรผู้เลี้ยงคิดว่า เลี้ยงไปอีก 1 ปีแล้วค่อยจับปลาเอาไข่ไปขาย และในเวลา 1 ปีที่เพิ่มขึ้น จะคุ้มกับค่าอาหารที่ต้องเลี้ยงปลาหรือไม่ และอีกประการหนึ่งก็ยังบอกไม่ได้ว่า ปีหน้าอากาศจะหนาวพอหรือไม่ ไม่มีใครรู้หรือทำนายได้
ไข่ปลากระบอกตากแห้งที่อัดขึ้นรูปแล้ว
สำหรับแหล่งเลี้ยงปลากระบอกในไต้หวันมีหลายแห่งด้วยกัน เลี้ยงกันบริเวณชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ อย่างเช่น หยุนหลิน จางฮั่ว เจียอี้ หรือแม้แต่เมืองซินจู๋ เป็นต้น แต่ว่าแหล่งเลี้ยงปลากระบอกที่ใหญ่ที่สุดอยู่ที่ตำบลโข่วหูเมืองหยุนหลิน ในวันนี้ขอยกตัวอย่างแหล่งเลี้ยงปลากระบอกที่เขตจู๋เป่ยของเมืองซินจู๋ซึ่งเป็นแหล่งเลี้ยงที่มีชื่อเสียงด้วย แต่การเลี้ยงปลากระบอกที่นี่เริ่มขึ้นทีหลังราวๆ ปี 1990 ปัจจุบันเลี้ยงได้ประมาณ 150,000 ตัว/ปี ครองสัดส่วนการเลี้ยง 7% ถือว่าปริมาณไม่มากนัก แต่เนื่องจากอยู่ใกล้เส้นละติจูดที่ค่อนไปทางเหนือ มีอากาศเย็นกว่า ไข่ของปลากระบอกที่เลี้ยงได้จะใหญ่และมีความหอมกว่า ทางรัฐบาลท้องถิ่นร่วมกับผู้ประกอบการผลักดันกิจกรรมการบริโภคปลากระบอกในวันที่ 28 พ.ย.ที่ผ่านมา มีการแนะนำการปรุงอาหารจากปลากระบอกและไข่ปลากระบอกที่หลากหลาย อย่างเช่น ข้าวปั้นไข่ปลากระบอก ข้าวผัดไข่ปลากระบอก กิจกรรมดีไอวายที่เกี่ยวกับปลากระบอกระหว่างพ่อแม่ผู้ปกครองและลูกๆ เป็นต้น โถงจิ่นเจี๋ย ปธ.สมาคมปลาเขตซิน จู๋บอกว่า ปลากระบอกแต่ละตัวต้องใช้เวลาเลี้ยงอย่างน้อย 3 ปี ถือเป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูง แม้เขตซินจู๋จะเลี้ยงปลากระบอกไม่มาก ในเนื้อที่ประมาณ 60 เฮกตาร์ ปีนี้ก็ยังประสบปัญหาผลกระทบจากโควิด 19 ทำให้ราคาของปลากระบอกตกไปบ้าง และผู้เลี้ยงก็เข้าสู่วัยชรา ค่าแรงและต้นทุนที่เพิ่มขึ้นย่อมกระทบกับความอยู่รอดของเกษตรกรผู้เลี้ยงปลา ดังนั้นจึงเชิญชวนให้ประชาชนเข้าร่วมงาน ร่วมด้วยช่วยกันเพื่อให้ธุรกิจการเลี้ยงปลากระบอกอยู่รอดอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ ทางรัฐบาลท้องถิ่นเมืองซินจู๋ สถาบันวิจัยสัตว์น้ำและหน่วยงานป้องกันโรคยังได้ผลักดันโครงการการเลี้ยงปลากระบอกที่ปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค สามารถตรวจสอบแหล่งเลี้ยงปลาได้ ตรวจสอบยาที่ตกค้างก่อนการจับปลาไปขาย มีการจัดการด้วยเทคโนโลยี AI เป็นการเลี้ยงปลาในสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีพิษ เป็นต้น
พิซซ่าไข่ปลากระบอก