
Sign up to save your podcasts
Or
ที่นี่ไต้หวัน –05 ม.ค. 63-มารู้จักซันเย่า(山藥) พืชสมุนไพรบำรุงสุขภาพแห่งเหมันตฤดูที่นิยมในไต้หวัน
ซานเย่า(山藥) คืออะไร? หลายคนอาจรู้จักแต่หลายคนอาจไม่คุ้นหรือว่าเคยกินแต่ไม่รู้ว่าเรียกว่าอะไร ไม่เป็นไรค่ะ วันนี้เรามาทำความรู้จักพร้อมๆ กันเลยนะคะ ซานเย่าภาษาอังกฤษเรียกว่า “ไชนีสแยม-Chinese yam” บางคนก็เรียกว่า “หวายซาน-淮山” แต่ว่าหวายซานแหล่งปลูกจะอยู่ที่จีนแผ่นดินใหญ่ คนแต้จิ๋วจะเรียกว่า “ฮ่วยซัว” มีขายตามร้านขายยาจีน เป็นรูปแบบแห้งใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องตุ๋นยาจีน หรือนำไปต้มกับน้ำซุปบำรุงสุขภาพ ต้มกับกระดูกหมูหรือไก่ก็ได้ อาจจะใส่เก๋ากี้หรือโกจิเบอร์รี่ที่ช่วยบำรุงสายตาไปด้วย หรือใส่พุทราแดงแห้งตุ๋นกับน้ำซุป หรือจะนำมาผัดก็ได้ สามารถกอบอาหารได้สารพัดอย่าง หรือนำไปทำเป็นขนมหวานต้มกับน้ำขิงก็ได้ หรือนำไปบดทำเป็นขนม หรือแปรรูปอาหารต่างๆ ได้ ซึ่งซานเย่ามีสรรพคุณมากมายบำรุงเกือบทุกอวัยวะไม่ว่าจะเป็น ปอด ม้าม ไต กระเพาะ บำรุงลมปราณ เป็นต้น ทั้งซานเย่าและห่วยซัวต่างก็เป็นประเภทมันเสา เป็นพืชมีหัวในวงศ์กลอย ซึ่งมีหลากหลายสายพันธุ์ ทั่วโลกมีมากกว่า 200 พันธุ์
ซันเย่าต้มซุปไก่
สำหรับในครั้งนี้ก็ขอแนะนำให้รู้จักกับซันเย่าสายพันธุ์ที่ปลูกในไต้หวันก็แล้วกัน ซึ่งปลูกกันหลายแห่ง ทางภาคเหนือปลูกที่เมืองจีหลง แถวๆ ใกล้กับอุทธยานแห่งชาติหยางหมิงซานก็ปลูก ส่วนภาคใต้แหล่งปลูกที่สำคัญอยู่ที่เมืองหนานโถว ซึ่งซานเย่าที่ปลูกในไต้หวันหากแบ่งตามลักษณะรูปร่างหน้าตาแล้วก็แบ่งเป็น 2 ชนิด ชนิดแรกมีรูปร่างเป็นหัวใหญ่ท่อนสั้นๆ และอีกชนิดมีรูปร่างท่อนยาวขนาดเล็กกว่า ส่วนถ้าดูลักษณะของเนื้อซานเย่าก็มีทั้งเนื้อสีขาว สีเหลือง และสีม่วงแดง ปัจจุบันเนื้อที่เพาะปลูกซันเย่าปริมาณมากและคุณภาพดีเป็นพันธุ์มันเลือดนก(大汕山藥) สีของรูปร่างภายนอกออกสีดำน้ำตาล เนื้อสีขาวออกเหลืองเล็กน้อย หัวมีความยาวประมาณ 62-150 ซม. แหล่งผลิตที่สำคัญของซันเย่าพันธุ์นี้อยู่ที่ตำบลหมิงเจียน ผูหลี่ จู๋ซาน จี๋จี๋ ของเมืองหนานโถว แต่ที่ตำบลหมิงเจียนจะเป็นแหล่งปลูกซานที่มีชื่อเสียงมาก เนื่องจากสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศที่เหมาะสม ได้รับแสงอาทิตย์เพียงพอ พื้นดินเป็นดินแดง ไม่ขังน้ำ และในอดีตเคยปลูกมาก 500-600 เฮกตาร์ เพียงแค่ที่บ้านของนายหยางฉางเหว่ย(楊長維) หัวหน้าสหกรณ์การผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรเมืองหนานโถวก็มีเนื้อที่เพาะปลูกซานเย่ามากกว่า 20 เฮกตาร์ นายหยางบอกว่า เนื่องจากที่ตำบลหมิงเจียนเคยได้รับอิทธิพลจากพายุไต้ฝุ่นพัดกระหน่ำ ทำให้ในเวลาต่อมามีพื้นที่เพาะปลูกซานเย่าน้อยลง แต่อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังคงมีพื้นที่เพาะปลูกซันเย่ามากกว่า 200 เฮกตาร์ ครองสัดส่วนการปลูกซานเย่า 60 %ของประเทศ ถือเป็นแหล่งปลูกซันเย่าที่สำคัญ
ใช้ท่อพลาสติกปลูกซานเย่า หัวที่ปลูกได้สวย ยาว ตรง เวลาขุดจะไม่เสียหาย
ซันเย่าเป็นพืชประเภทหัว คือมีรากหรือลำต้นอยู่ใต้ดินที่ใช้สะสมอาหารคล้ายๆ ประเภทมันเทศ ชาวบ้านทั่วไปคิดว่าไม่จำเป็นต้องดูแลอะไรมากมายก็สามารถปลูกได้หัวใหญ่สวย แต่ในความเป็นจริง ซานเย่าเป็นพืชหัวที่ปลูกและเก็บเกี่ยวปีละครั้ง ปลูกไม่ง่ายอย่างที่คิด ในสมัยก่อนจะปลูกซานเย่าในดินปนทรายที่ยกตัวสูง เนื่องจากซานเย่าจะฝังหัวอยู่ในดินที่ลึกมากกว่า 1 เมตรขึ้นไป เมื่อต้องการขุดหัวจึงมักเกิดความเสียหายง่าย แต่ว่าต่อมามีการนำเข้าท่อพลาสติกสำหรับใช้ปลูกจากประเทศญี่ปุ่น โดยฝังท่อพลาสติกที่ยาวประมาณ 1.3-1.5 เมตรแบบเฉียงๆ ลงในดิน เพื่อแก้ปัญหาความเสียหายจากการขุดหัวเมื่อมันโต การทำเช่นนี้ยังทำให้ซานเย่าที่ปลูกได้มีความสวยงาม มีรูปร่างยาวและตรง ซึ่งการปลูกซานเย่าจะต้องปรับหน้าดินให้เสร็จก่อนช่วงเทศกาลเชงเม้ง จะต้องเรียงท่อพลาสติกลงไปในดิน ใส่ปุ๋ย และเอาหัวพันธุ์ซานเย่าที่ผ่านการฆ่าเชื้อวางลงในท่อที่วางเฉียงๆ จากนั้นพลิกดิน กลบดิน ปูหน้าดินด้วยพลาสติก และสร้างค้างไม้สำหรับซานเย่าเลื้อย และหลังจากเทศกาลเชงเม้งไปแล้ว ซานเย่าที่ปลูกลงดินจะเริ่มแตกหน่อ ขั้นตอนการปลูกถ้านับตั้งแต่การปรับหน้าดินจนกระทั่งเก็บเกี่ยวได้นั้นจะต้องผ่านการทำงานถึง 28 ขั้นตอนซึ่งถือว่าไม่ง่ายเลยทีเดียว นอกจากนี้ ในช่วงการเจริญเติบโตนั้นก็ต้องระมัดระวังในเรื่องของการดูแลจัดการ อย่างเช่น ต้องกำจัดเชื้อฆ่าแมลง ต้องรดน้ำเป็นช่วงๆ ต้องใช้แรงงานและต้นทุนการปลูกไม่น้อย
สร้างค้างไม้เลื้อยให้ซานเย่า
ซานเย่าถือเป็นพืชที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ไม่กี่ปีนี้คนไต้หวันให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพ กินอาหารที่ปลอดภัยมีประโยชน์กับร่างกาย ทำให้ซานเย่าที่เป็นอาหารสุขภาพเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น นายหยางฉางเหว่ยบอกว่า ในสมัยก่อนคนยากจนไม่มีเงินซื้อเนื้อไก่ หญิงอยู่เดือนหลังคลอดบุตรของตำบลหมิงเจียนล้วนแต่ใช้ซานเย่าในการบำรุงสุขภาพ เพราะฉะนั้น ซานเย่าจึงได้รับฉายาว่า “โสมของคนจน” นายหยางยังบอกด้วยว่า ที่ผ่านมาคนตำบลหมิงเจียนปลูกซานเย่า กินซานเย่า แม้จะกินทุกวัน แต่ก็ไม่ค่อยรู้เรื่องของอาหารบำรุงสุขภาพ ไม่เคยคิดที่จะพัฒนาเป็นอาหารบำรุงสุขภาพ เนื่องจากซานเย่าสดเก็บได้ไม่นาน จำเป็นต้องแปรรูป จึงตั้งสหกรณ์แปรรูปสินค้าเกษตรเมืองหนานโถวขึ้น เพื่อรวมพลัง เพิ่มช่องทางการขายให้กับเกษตรกร ซานเย่าตำบลหมิงเจียนเหมาะต่อการนำไปแปรรูปมาก นอกจากปรุงสุกจากซานเย่าสดแล้ว สามารถแปรรูปเป็นซานเย่าแห้ง บะหมี่ซานเย่า หรือทำเป็นไส้ขนม หรือทำเป็นขนมขบเคี้ยว หรือแม้แต่นำไปหมักเป็นเหล้าซานเย่า สามารถพัฒนาแปรรูปได้หลากหลายรูปแบบอีก อย่างเช่น ในปี 2019 ภายใต้คำแนะนำของรัฐบาลเมืองหนานโถวและคณะกรรมการการเกษตร ผลักดันทำเครื่องดื่มซานเย่าผสมเห็ดหูหนูขาว และใส่พุดทราแดงทั้งผล เครื่องเคียงที่ใส่ล้วนเป็นผลิตภัณฑ์ของท้องถิ่น รสชาติไม่หวานมาก ได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคไม่น้อย และเพื่อเพิ่มช่องทางการขาย ในปีนี้ยังได้ร่วมมือกับเว็บไซด์ขายสินค้า MOMO ขายผลิตภัณฑ์เกษตรคุณภาพดีให้ผู้บริโภคได้ซื้อด้วย
แปรรูปซันเย่าเป็นเครื่องดื่มบำรุงสุขภาพ
ที่นี่ไต้หวัน –05 ม.ค. 63-มารู้จักซันเย่า(山藥) พืชสมุนไพรบำรุงสุขภาพแห่งเหมันตฤดูที่นิยมในไต้หวัน
ซานเย่า(山藥) คืออะไร? หลายคนอาจรู้จักแต่หลายคนอาจไม่คุ้นหรือว่าเคยกินแต่ไม่รู้ว่าเรียกว่าอะไร ไม่เป็นไรค่ะ วันนี้เรามาทำความรู้จักพร้อมๆ กันเลยนะคะ ซานเย่าภาษาอังกฤษเรียกว่า “ไชนีสแยม-Chinese yam” บางคนก็เรียกว่า “หวายซาน-淮山” แต่ว่าหวายซานแหล่งปลูกจะอยู่ที่จีนแผ่นดินใหญ่ คนแต้จิ๋วจะเรียกว่า “ฮ่วยซัว” มีขายตามร้านขายยาจีน เป็นรูปแบบแห้งใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องตุ๋นยาจีน หรือนำไปต้มกับน้ำซุปบำรุงสุขภาพ ต้มกับกระดูกหมูหรือไก่ก็ได้ อาจจะใส่เก๋ากี้หรือโกจิเบอร์รี่ที่ช่วยบำรุงสายตาไปด้วย หรือใส่พุทราแดงแห้งตุ๋นกับน้ำซุป หรือจะนำมาผัดก็ได้ สามารถกอบอาหารได้สารพัดอย่าง หรือนำไปทำเป็นขนมหวานต้มกับน้ำขิงก็ได้ หรือนำไปบดทำเป็นขนม หรือแปรรูปอาหารต่างๆ ได้ ซึ่งซานเย่ามีสรรพคุณมากมายบำรุงเกือบทุกอวัยวะไม่ว่าจะเป็น ปอด ม้าม ไต กระเพาะ บำรุงลมปราณ เป็นต้น ทั้งซานเย่าและห่วยซัวต่างก็เป็นประเภทมันเสา เป็นพืชมีหัวในวงศ์กลอย ซึ่งมีหลากหลายสายพันธุ์ ทั่วโลกมีมากกว่า 200 พันธุ์
ซันเย่าต้มซุปไก่
สำหรับในครั้งนี้ก็ขอแนะนำให้รู้จักกับซันเย่าสายพันธุ์ที่ปลูกในไต้หวันก็แล้วกัน ซึ่งปลูกกันหลายแห่ง ทางภาคเหนือปลูกที่เมืองจีหลง แถวๆ ใกล้กับอุทธยานแห่งชาติหยางหมิงซานก็ปลูก ส่วนภาคใต้แหล่งปลูกที่สำคัญอยู่ที่เมืองหนานโถว ซึ่งซานเย่าที่ปลูกในไต้หวันหากแบ่งตามลักษณะรูปร่างหน้าตาแล้วก็แบ่งเป็น 2 ชนิด ชนิดแรกมีรูปร่างเป็นหัวใหญ่ท่อนสั้นๆ และอีกชนิดมีรูปร่างท่อนยาวขนาดเล็กกว่า ส่วนถ้าดูลักษณะของเนื้อซานเย่าก็มีทั้งเนื้อสีขาว สีเหลือง และสีม่วงแดง ปัจจุบันเนื้อที่เพาะปลูกซันเย่าปริมาณมากและคุณภาพดีเป็นพันธุ์มันเลือดนก(大汕山藥) สีของรูปร่างภายนอกออกสีดำน้ำตาล เนื้อสีขาวออกเหลืองเล็กน้อย หัวมีความยาวประมาณ 62-150 ซม. แหล่งผลิตที่สำคัญของซันเย่าพันธุ์นี้อยู่ที่ตำบลหมิงเจียน ผูหลี่ จู๋ซาน จี๋จี๋ ของเมืองหนานโถว แต่ที่ตำบลหมิงเจียนจะเป็นแหล่งปลูกซานที่มีชื่อเสียงมาก เนื่องจากสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศที่เหมาะสม ได้รับแสงอาทิตย์เพียงพอ พื้นดินเป็นดินแดง ไม่ขังน้ำ และในอดีตเคยปลูกมาก 500-600 เฮกตาร์ เพียงแค่ที่บ้านของนายหยางฉางเหว่ย(楊長維) หัวหน้าสหกรณ์การผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรเมืองหนานโถวก็มีเนื้อที่เพาะปลูกซานเย่ามากกว่า 20 เฮกตาร์ นายหยางบอกว่า เนื่องจากที่ตำบลหมิงเจียนเคยได้รับอิทธิพลจากพายุไต้ฝุ่นพัดกระหน่ำ ทำให้ในเวลาต่อมามีพื้นที่เพาะปลูกซานเย่าน้อยลง แต่อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังคงมีพื้นที่เพาะปลูกซันเย่ามากกว่า 200 เฮกตาร์ ครองสัดส่วนการปลูกซานเย่า 60 %ของประเทศ ถือเป็นแหล่งปลูกซันเย่าที่สำคัญ
ใช้ท่อพลาสติกปลูกซานเย่า หัวที่ปลูกได้สวย ยาว ตรง เวลาขุดจะไม่เสียหาย
ซันเย่าเป็นพืชประเภทหัว คือมีรากหรือลำต้นอยู่ใต้ดินที่ใช้สะสมอาหารคล้ายๆ ประเภทมันเทศ ชาวบ้านทั่วไปคิดว่าไม่จำเป็นต้องดูแลอะไรมากมายก็สามารถปลูกได้หัวใหญ่สวย แต่ในความเป็นจริง ซานเย่าเป็นพืชหัวที่ปลูกและเก็บเกี่ยวปีละครั้ง ปลูกไม่ง่ายอย่างที่คิด ในสมัยก่อนจะปลูกซานเย่าในดินปนทรายที่ยกตัวสูง เนื่องจากซานเย่าจะฝังหัวอยู่ในดินที่ลึกมากกว่า 1 เมตรขึ้นไป เมื่อต้องการขุดหัวจึงมักเกิดความเสียหายง่าย แต่ว่าต่อมามีการนำเข้าท่อพลาสติกสำหรับใช้ปลูกจากประเทศญี่ปุ่น โดยฝังท่อพลาสติกที่ยาวประมาณ 1.3-1.5 เมตรแบบเฉียงๆ ลงในดิน เพื่อแก้ปัญหาความเสียหายจากการขุดหัวเมื่อมันโต การทำเช่นนี้ยังทำให้ซานเย่าที่ปลูกได้มีความสวยงาม มีรูปร่างยาวและตรง ซึ่งการปลูกซานเย่าจะต้องปรับหน้าดินให้เสร็จก่อนช่วงเทศกาลเชงเม้ง จะต้องเรียงท่อพลาสติกลงไปในดิน ใส่ปุ๋ย และเอาหัวพันธุ์ซานเย่าที่ผ่านการฆ่าเชื้อวางลงในท่อที่วางเฉียงๆ จากนั้นพลิกดิน กลบดิน ปูหน้าดินด้วยพลาสติก และสร้างค้างไม้สำหรับซานเย่าเลื้อย และหลังจากเทศกาลเชงเม้งไปแล้ว ซานเย่าที่ปลูกลงดินจะเริ่มแตกหน่อ ขั้นตอนการปลูกถ้านับตั้งแต่การปรับหน้าดินจนกระทั่งเก็บเกี่ยวได้นั้นจะต้องผ่านการทำงานถึง 28 ขั้นตอนซึ่งถือว่าไม่ง่ายเลยทีเดียว นอกจากนี้ ในช่วงการเจริญเติบโตนั้นก็ต้องระมัดระวังในเรื่องของการดูแลจัดการ อย่างเช่น ต้องกำจัดเชื้อฆ่าแมลง ต้องรดน้ำเป็นช่วงๆ ต้องใช้แรงงานและต้นทุนการปลูกไม่น้อย
สร้างค้างไม้เลื้อยให้ซานเย่า
ซานเย่าถือเป็นพืชที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ไม่กี่ปีนี้คนไต้หวันให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพ กินอาหารที่ปลอดภัยมีประโยชน์กับร่างกาย ทำให้ซานเย่าที่เป็นอาหารสุขภาพเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น นายหยางฉางเหว่ยบอกว่า ในสมัยก่อนคนยากจนไม่มีเงินซื้อเนื้อไก่ หญิงอยู่เดือนหลังคลอดบุตรของตำบลหมิงเจียนล้วนแต่ใช้ซานเย่าในการบำรุงสุขภาพ เพราะฉะนั้น ซานเย่าจึงได้รับฉายาว่า “โสมของคนจน” นายหยางยังบอกด้วยว่า ที่ผ่านมาคนตำบลหมิงเจียนปลูกซานเย่า กินซานเย่า แม้จะกินทุกวัน แต่ก็ไม่ค่อยรู้เรื่องของอาหารบำรุงสุขภาพ ไม่เคยคิดที่จะพัฒนาเป็นอาหารบำรุงสุขภาพ เนื่องจากซานเย่าสดเก็บได้ไม่นาน จำเป็นต้องแปรรูป จึงตั้งสหกรณ์แปรรูปสินค้าเกษตรเมืองหนานโถวขึ้น เพื่อรวมพลัง เพิ่มช่องทางการขายให้กับเกษตรกร ซานเย่าตำบลหมิงเจียนเหมาะต่อการนำไปแปรรูปมาก นอกจากปรุงสุกจากซานเย่าสดแล้ว สามารถแปรรูปเป็นซานเย่าแห้ง บะหมี่ซานเย่า หรือทำเป็นไส้ขนม หรือทำเป็นขนมขบเคี้ยว หรือแม้แต่นำไปหมักเป็นเหล้าซานเย่า สามารถพัฒนาแปรรูปได้หลากหลายรูปแบบอีก อย่างเช่น ในปี 2019 ภายใต้คำแนะนำของรัฐบาลเมืองหนานโถวและคณะกรรมการการเกษตร ผลักดันทำเครื่องดื่มซานเย่าผสมเห็ดหูหนูขาว และใส่พุดทราแดงทั้งผล เครื่องเคียงที่ใส่ล้วนเป็นผลิตภัณฑ์ของท้องถิ่น รสชาติไม่หวานมาก ได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคไม่น้อย และเพื่อเพิ่มช่องทางการขาย ในปีนี้ยังได้ร่วมมือกับเว็บไซด์ขายสินค้า MOMO ขายผลิตภัณฑ์เกษตรคุณภาพดีให้ผู้บริโภคได้ซื้อด้วย
แปรรูปซันเย่าเป็นเครื่องดื่มบำรุงสุขภาพ