
Sign up to save your podcasts
Or
การระบาดของศัตรูพืช ไม่ว่าจะเป็นโรคพืช แมลง และวัชพืชถือเป็นปัญหาสำคัญอันดับต้นๆ ของเกษตรกร สำหรับในไต้หวันมีเกษตรกรปลูกสตรอว์เบอร์รี ชื่อ สวี่ซานฉี(許三奇) เจ้าของฟาร์มนันทนาการชิงเซียง(清香休閒農場) ต้องเผชิญกับผลกระทบของศัตรูพืชในสตรอเบอร์รี่ แต่เขาจะไม่ใช้วิธีกำจัดศัตรูพืชด้วยการใช้สารเคมี แต่ใช้วิธีกำจัดศัตรูพืชแบบธรรมชาติ ด้วยการเลี้ยงแมลงเพื่อกำจัดแมลง คือเลี้ยงมวนตัวห้ำเพื่อทำลายเพลี้ยไฟดอกไม้ที่มาทำลายดอกสตรอว์เบอร์รี การทำเช่นนี้ไม่เพียงแต่เปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางระบบนิเวศของฟาร์ม แต่ยังทำให้เขามีชื่อเสียงในวงการเกษตรอีกด้วย
ฟาร์มนันทนาการชิงเซียงตั้งอยู่ในพื้นที่เนินเขาของเขตเน่ยหู กรุงไทเป จากเดิมพื้นที่ของฟาร์มใช้ปลูกข้าวและเห็ด แต่หลังจากที่คุณสวี่ซานฉีมาสืบทอดกิจการครอบครัว บังเอิญเป็นช่วงที่รัฐบาลผลักดันโครงการฟาร์มเกษตรเพื่อการท่องเที่ยว จึงได้เปลี่ยนพื้นที่เกษตรกรรมของครอบครัวให้เป็นฟาร์มการท่องเที่ยว โดยช่วงแรกเป็นฟาร์มเกษตรเก็บเห็ดหอม แต่ปริมาณผลผลิตไม่เพียงพอ จึงมีการปลูกผักและผลไม้อื่นๆ เพิ่ม และทดลองปลูกสตรอว์เบอร์รี มีการสร้างเรือนกระจกและอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ต่างๆ และเริ่มท้าทายการปลูกสตรอว์เบอร์รีออร์แกนิก เรียนรู้และควบคุมปัญหาโรคและแมลงศัตรูพืช และพบว่าศัตรูธรรมชาติที่สำคัญที่สุดคือ “เพลี้ยไฟดอกไม้” ซึ่งเป็นแมลงที่มีขนาดเล็กมาก เคลื่อนย้ายเร็ว ขยายพันธุ์เร็ว ชอบหลบอยู่ในใจกลางใบอ่อน และจะใช้ปากดูดกินใบ ดอก และผลสตรอว์เบอร์รีจนเสียหาย แม้ใช้กระดาษเหนียวสีน้ำเงินที่มีจำหน่ายทั่วไปในท้องตลาดเพื่อดึงดูดเพลี้ยมาติดกับดัก แต่ผลลัพธ์ไม่ดีเท่าที่ควร
ในระหว่างที่หาวิธีป้องกันและกำจัดเพลี้ยไฟ มีบริษัทที่เชี่ยวชาญด้านการเพาะพันธุ์ศัตรูธรรมชาติได้ติดต่อเขา หลังจากนั้นเขาได้นำศัตรูธรรมชาติของเพลี้ยไฟที่เรียกว่า “มวนตัวห้ำเอ็กซีกูอัส” เพื่อควบคุมจำนวนเพลี้ยไฟดอกไม้ในลักษณะศัตรูธรรมชาติและกำจัดมัน อย่างไรก็ตาม จำนวนเพลี้ยไฟดอกไม้ในขณะนั้นมีมากเกินไป ทำให้คุณสวี่ซานฉีต้องลงทุนมากขึ้น เขาบอกว่า มวนตัวห้ำ ราคาแพง ตัวละ 2 เหรียญไต้หวัน พื้นที่ 230-264 ตร.เมตร ต้องใช้เงินในการซื้อมวนตัวห้ำ 30,000 ถึง 40,000 เหรียญไต้หวัน หรือประมาณ 20,000 ตัว แต่ก็ถือว่าคุ้ม เพราะสามารถควบคุมเพลี้ยไฟได้สำเร็จ ทำให้สตรอว์เบอร์รีเติบโตในสภาพแวดล้อมที่ดีโดยไม่ได้รับผลกระทบจากแมลงศัตรูพืชอีกต่อไป
ต่อมาเขาประสบปัญหาใหม่ โดยในเดือนธันวาคม ปี 2023 โรคพืชมีความรุนแรงอีก แต่คุณสวี่ซานฉี พบว่า เนื่องจากที่ดินที่ปลูกไม่ได้รับการพัก เพราะที่ดินก็เหมือนกับคนที่ต้องพักผ่อน ที่ผ่านมาเขามักจะปล่อยให้ที่ดินพักด้วยการ "ปล่อยให้น้ำท่วมที่ดิน" แต่เนื่องจากสตรอว์เบอร์รีเป็นพืชที่ต้องการความแห้ง จึงต้องเลือกพื้นที่อื่นที่ไม่ใช่พื้นที่เดิมที่ปลูกสตรอว์เบอร์รีสำหรับปลูกต้นกล้า เพราะหากเพาะต้นกล้าไม้ในพื้นที่ปลูกเดิม แมลงศัตรูพืชและโรคต่างๆ ก็จะมาคุกคามอีก ทำให้ควบคุมได้ยาก วิธีการแก้ปัญหา คือในช่วง 1 ปี จะปลูกสตรอเบอร์รี่ตั้งแต่เดือนกันยายน และเก็บเกี่ยวสิ้นสุดในเดือนพฤษภาคม และตั้งแต่เดือนมิถุนายนก็จะปล่อยน้ำให้ท่วมพื้นดิน ประมาณปลายเดือนกรกฎาคมและต้นเดือนสิงหาคมก็จะปล่อยน้ำออก ปล่อยทิ้งไว้ให้พื้นดินแห้ง แล้วค่อยเริ่มปลูกในเดือนกันยายนอีก นอกจากนี้ การปล่อยน้ำให้แช่พื้นดิน ต้องใช้น้ำสะอาด ขณะเดียวกันต้องไม่ใช่เป็นน้ำนิ่ง คือต้องปล่อยให้น้ำไหลเข้าและไหลออกด้วย
คุณสวี่ซานฉี ไม่เพียงแต่ทำเกษตรออร์แกนิค ในเรื่องของระบบนิเวศเขาก็มีความเชี่ยวชาญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เขามุ่งฟื้นฟูอนุรักษ์กบต้นไม้ที่มีขนาดเล็ก เนื่องจากการพัฒนาเมืองในพื้นที่กรุงไทเปอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ที่อยู่อาศัยของกบต้นไม้ถูกทำลายซ้ำแล้วซ้ำเล่า รวมทั้งห่วงโซ่อาหารของโลกกบ กบตัวใหญ่จะกินกบตัวเล็ก และลูกอ๊อดมักจะกลายเป็นอาหารของสัตว์อื่น ดังนั้น ทุกฤดูหนาวเมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์กบต้นไม้ คุณสวี่ซานฉี จะจงใจให้อาหารลูกอ๊อดในสระด้านนอกเรือนกระจก เพื่อลูกอ๊อดจะได้เป็นอาหารของกบต้นไม้ ทั้งนี้ ในความทรงจำสมัยที่เขายังเด็ก พื้นที่ที่เคยปลูกข้าวในเขตเน่ยหู จะมีกบต้นไม้อยู่จำนวนมาก แต่หลังจากที่มีการขยายเมือง พื้นที่ปลูกข้าวเปลี่ยนไปปลูกอย่างอื่น ทำให้กบต้นไม้ไม่มีที่อยู่อาศัย จำนวนลดลงอย่างเห็นเด่นชัด ดังนั้น เขาใช้วิธีฟื้นฟูกบต้นไม้ โดยในช่วงเดือนพฤษภาคมหรือมิถุนายน หลังสิ้นสุดการเก็บผลสตรอว์เบอร์รี เขาจะปล่อยน้ำให้ท่วมพื้นที่ในสวน แลพบว่าหลังจากที่มีน้ำ กบจำนวนมากสามารถผสมพันธุ์ได้ ไม่เพียงแต่กบต้นไม้ แต่ยังมีกบสายพันธุ์อื่น เมื่อถึงฤดูปลูกตรอว์เบอร์รี กบเหล่านี้มันจะหลบอยู่ใต้ใบสตรอว์เบอร์รี และออกมากินแมลง ถือเป็นการบรรลุผลที่เสริมกัน
อย่างไรก็ตาม จากประสบการณ์การทำการเกษตรที่ผ่านมา 10 ปี หลังจากที่หันมาทำเกษตรอินทรีย์แล้วพบว่า ผลผลิตค่อนข้างต่ำ แต่ราคาสูง ใช่ว่านักท่องเที่ยวทุกคนจะจ่ายได้ ดังนั้นอีกส่วนหนึ่งของฟาร์ม เขาใช้วิธีปลูกแบบสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ เพื่อให้นักท่องเที่ยวมีสิทธิ์เลือกได้ ซึ่งผลผลิตที่ตรวจสอบย้อนกลับได้ก็คือ มีการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีในระยะเวลาที่ปลอดภัย และการเก็บเกี่ยวทำได้หลังจากผ่านการตรวจสอบยาแล้วเท่านั้น ส่วนการทำฟาร์มออร์แกนิกห้ามใช้สารเคมีใดๆ โดยสิ้นเชิง ซึ่งทั้งสองอย่างนี้สามารถเห็นความแตกต่างของราคาได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ ปัจจุบันรัฐบาลส่งเสริมการควบคุมศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน IPM โดยเน้นแนวคิด “การป้องกันดีกว่าการรักษา” ใช้วิธีการป้องกันศัตรูพืช หากจำเป็นต้องใช้สารเคมีก็จะเป็นทางเลือกสุดท้าย และจะเลือกชนิดที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายมนุษย์ สิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด เพื่อตอบสนองต่อการส่งเสริมของรัฐบาล ฟาร์มนันทนาการชิงเซียงยังได้รับคำแนะนำและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง กลายเป็นฟาร์มแห่งแรกในเน่ยหูที่ผ่านการตรวจสอบ มีการใช้ยาฆ่าแมลงในช่วงที่ยังไม่ออกผล และจัดการโดยใช้วิธีควบคุมแบบอินทรีย์และชีวภาพเมื่อออกดอก เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของผู้บริโภค เกษตรกร และผืนดิน
การระบาดของศัตรูพืช ไม่ว่าจะเป็นโรคพืช แมลง และวัชพืชถือเป็นปัญหาสำคัญอันดับต้นๆ ของเกษตรกร สำหรับในไต้หวันมีเกษตรกรปลูกสตรอว์เบอร์รี ชื่อ สวี่ซานฉี(許三奇) เจ้าของฟาร์มนันทนาการชิงเซียง(清香休閒農場) ต้องเผชิญกับผลกระทบของศัตรูพืชในสตรอเบอร์รี่ แต่เขาจะไม่ใช้วิธีกำจัดศัตรูพืชด้วยการใช้สารเคมี แต่ใช้วิธีกำจัดศัตรูพืชแบบธรรมชาติ ด้วยการเลี้ยงแมลงเพื่อกำจัดแมลง คือเลี้ยงมวนตัวห้ำเพื่อทำลายเพลี้ยไฟดอกไม้ที่มาทำลายดอกสตรอว์เบอร์รี การทำเช่นนี้ไม่เพียงแต่เปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางระบบนิเวศของฟาร์ม แต่ยังทำให้เขามีชื่อเสียงในวงการเกษตรอีกด้วย
ฟาร์มนันทนาการชิงเซียงตั้งอยู่ในพื้นที่เนินเขาของเขตเน่ยหู กรุงไทเป จากเดิมพื้นที่ของฟาร์มใช้ปลูกข้าวและเห็ด แต่หลังจากที่คุณสวี่ซานฉีมาสืบทอดกิจการครอบครัว บังเอิญเป็นช่วงที่รัฐบาลผลักดันโครงการฟาร์มเกษตรเพื่อการท่องเที่ยว จึงได้เปลี่ยนพื้นที่เกษตรกรรมของครอบครัวให้เป็นฟาร์มการท่องเที่ยว โดยช่วงแรกเป็นฟาร์มเกษตรเก็บเห็ดหอม แต่ปริมาณผลผลิตไม่เพียงพอ จึงมีการปลูกผักและผลไม้อื่นๆ เพิ่ม และทดลองปลูกสตรอว์เบอร์รี มีการสร้างเรือนกระจกและอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ต่างๆ และเริ่มท้าทายการปลูกสตรอว์เบอร์รีออร์แกนิก เรียนรู้และควบคุมปัญหาโรคและแมลงศัตรูพืช และพบว่าศัตรูธรรมชาติที่สำคัญที่สุดคือ “เพลี้ยไฟดอกไม้” ซึ่งเป็นแมลงที่มีขนาดเล็กมาก เคลื่อนย้ายเร็ว ขยายพันธุ์เร็ว ชอบหลบอยู่ในใจกลางใบอ่อน และจะใช้ปากดูดกินใบ ดอก และผลสตรอว์เบอร์รีจนเสียหาย แม้ใช้กระดาษเหนียวสีน้ำเงินที่มีจำหน่ายทั่วไปในท้องตลาดเพื่อดึงดูดเพลี้ยมาติดกับดัก แต่ผลลัพธ์ไม่ดีเท่าที่ควร
ในระหว่างที่หาวิธีป้องกันและกำจัดเพลี้ยไฟ มีบริษัทที่เชี่ยวชาญด้านการเพาะพันธุ์ศัตรูธรรมชาติได้ติดต่อเขา หลังจากนั้นเขาได้นำศัตรูธรรมชาติของเพลี้ยไฟที่เรียกว่า “มวนตัวห้ำเอ็กซีกูอัส” เพื่อควบคุมจำนวนเพลี้ยไฟดอกไม้ในลักษณะศัตรูธรรมชาติและกำจัดมัน อย่างไรก็ตาม จำนวนเพลี้ยไฟดอกไม้ในขณะนั้นมีมากเกินไป ทำให้คุณสวี่ซานฉีต้องลงทุนมากขึ้น เขาบอกว่า มวนตัวห้ำ ราคาแพง ตัวละ 2 เหรียญไต้หวัน พื้นที่ 230-264 ตร.เมตร ต้องใช้เงินในการซื้อมวนตัวห้ำ 30,000 ถึง 40,000 เหรียญไต้หวัน หรือประมาณ 20,000 ตัว แต่ก็ถือว่าคุ้ม เพราะสามารถควบคุมเพลี้ยไฟได้สำเร็จ ทำให้สตรอว์เบอร์รีเติบโตในสภาพแวดล้อมที่ดีโดยไม่ได้รับผลกระทบจากแมลงศัตรูพืชอีกต่อไป
ต่อมาเขาประสบปัญหาใหม่ โดยในเดือนธันวาคม ปี 2023 โรคพืชมีความรุนแรงอีก แต่คุณสวี่ซานฉี พบว่า เนื่องจากที่ดินที่ปลูกไม่ได้รับการพัก เพราะที่ดินก็เหมือนกับคนที่ต้องพักผ่อน ที่ผ่านมาเขามักจะปล่อยให้ที่ดินพักด้วยการ "ปล่อยให้น้ำท่วมที่ดิน" แต่เนื่องจากสตรอว์เบอร์รีเป็นพืชที่ต้องการความแห้ง จึงต้องเลือกพื้นที่อื่นที่ไม่ใช่พื้นที่เดิมที่ปลูกสตรอว์เบอร์รีสำหรับปลูกต้นกล้า เพราะหากเพาะต้นกล้าไม้ในพื้นที่ปลูกเดิม แมลงศัตรูพืชและโรคต่างๆ ก็จะมาคุกคามอีก ทำให้ควบคุมได้ยาก วิธีการแก้ปัญหา คือในช่วง 1 ปี จะปลูกสตรอเบอร์รี่ตั้งแต่เดือนกันยายน และเก็บเกี่ยวสิ้นสุดในเดือนพฤษภาคม และตั้งแต่เดือนมิถุนายนก็จะปล่อยน้ำให้ท่วมพื้นดิน ประมาณปลายเดือนกรกฎาคมและต้นเดือนสิงหาคมก็จะปล่อยน้ำออก ปล่อยทิ้งไว้ให้พื้นดินแห้ง แล้วค่อยเริ่มปลูกในเดือนกันยายนอีก นอกจากนี้ การปล่อยน้ำให้แช่พื้นดิน ต้องใช้น้ำสะอาด ขณะเดียวกันต้องไม่ใช่เป็นน้ำนิ่ง คือต้องปล่อยให้น้ำไหลเข้าและไหลออกด้วย
คุณสวี่ซานฉี ไม่เพียงแต่ทำเกษตรออร์แกนิค ในเรื่องของระบบนิเวศเขาก็มีความเชี่ยวชาญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เขามุ่งฟื้นฟูอนุรักษ์กบต้นไม้ที่มีขนาดเล็ก เนื่องจากการพัฒนาเมืองในพื้นที่กรุงไทเปอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ที่อยู่อาศัยของกบต้นไม้ถูกทำลายซ้ำแล้วซ้ำเล่า รวมทั้งห่วงโซ่อาหารของโลกกบ กบตัวใหญ่จะกินกบตัวเล็ก และลูกอ๊อดมักจะกลายเป็นอาหารของสัตว์อื่น ดังนั้น ทุกฤดูหนาวเมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์กบต้นไม้ คุณสวี่ซานฉี จะจงใจให้อาหารลูกอ๊อดในสระด้านนอกเรือนกระจก เพื่อลูกอ๊อดจะได้เป็นอาหารของกบต้นไม้ ทั้งนี้ ในความทรงจำสมัยที่เขายังเด็ก พื้นที่ที่เคยปลูกข้าวในเขตเน่ยหู จะมีกบต้นไม้อยู่จำนวนมาก แต่หลังจากที่มีการขยายเมือง พื้นที่ปลูกข้าวเปลี่ยนไปปลูกอย่างอื่น ทำให้กบต้นไม้ไม่มีที่อยู่อาศัย จำนวนลดลงอย่างเห็นเด่นชัด ดังนั้น เขาใช้วิธีฟื้นฟูกบต้นไม้ โดยในช่วงเดือนพฤษภาคมหรือมิถุนายน หลังสิ้นสุดการเก็บผลสตรอว์เบอร์รี เขาจะปล่อยน้ำให้ท่วมพื้นที่ในสวน แลพบว่าหลังจากที่มีน้ำ กบจำนวนมากสามารถผสมพันธุ์ได้ ไม่เพียงแต่กบต้นไม้ แต่ยังมีกบสายพันธุ์อื่น เมื่อถึงฤดูปลูกตรอว์เบอร์รี กบเหล่านี้มันจะหลบอยู่ใต้ใบสตรอว์เบอร์รี และออกมากินแมลง ถือเป็นการบรรลุผลที่เสริมกัน
อย่างไรก็ตาม จากประสบการณ์การทำการเกษตรที่ผ่านมา 10 ปี หลังจากที่หันมาทำเกษตรอินทรีย์แล้วพบว่า ผลผลิตค่อนข้างต่ำ แต่ราคาสูง ใช่ว่านักท่องเที่ยวทุกคนจะจ่ายได้ ดังนั้นอีกส่วนหนึ่งของฟาร์ม เขาใช้วิธีปลูกแบบสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ เพื่อให้นักท่องเที่ยวมีสิทธิ์เลือกได้ ซึ่งผลผลิตที่ตรวจสอบย้อนกลับได้ก็คือ มีการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีในระยะเวลาที่ปลอดภัย และการเก็บเกี่ยวทำได้หลังจากผ่านการตรวจสอบยาแล้วเท่านั้น ส่วนการทำฟาร์มออร์แกนิกห้ามใช้สารเคมีใดๆ โดยสิ้นเชิง ซึ่งทั้งสองอย่างนี้สามารถเห็นความแตกต่างของราคาได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ ปัจจุบันรัฐบาลส่งเสริมการควบคุมศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน IPM โดยเน้นแนวคิด “การป้องกันดีกว่าการรักษา” ใช้วิธีการป้องกันศัตรูพืช หากจำเป็นต้องใช้สารเคมีก็จะเป็นทางเลือกสุดท้าย และจะเลือกชนิดที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายมนุษย์ สิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด เพื่อตอบสนองต่อการส่งเสริมของรัฐบาล ฟาร์มนันทนาการชิงเซียงยังได้รับคำแนะนำและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง กลายเป็นฟาร์มแห่งแรกในเน่ยหูที่ผ่านการตรวจสอบ มีการใช้ยาฆ่าแมลงในช่วงที่ยังไม่ออกผล และจัดการโดยใช้วิธีควบคุมแบบอินทรีย์และชีวภาพเมื่อออกดอก เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของผู้บริโภค เกษตรกร และผืนดิน