
Sign up to save your podcasts
Or
สำหรับใครก็ตามที่เป็นคนนั่งรถเมล์ในไต้หวันเป็นประจำก็จะมีความรู้สึกว่ามีการพัฒนาในทางที่ดีขึ้นกว่าสมัยก่อนเยอะมาก ไม่ว่าความสะอาดสะอ้าน รถที่ใหม่มีแอร์ทุกคัน คนขับเป็นมิตรกับผู้โดยสาร แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังจะเห็นภาพที่คนขับรถเมล์ในไต้หวันส่วนหนึ่ง(ต้องบอกว่าส่วนหนึ่งจริงๆค่ะ)ที่ไม่ค่อยเห็นใจผู้โดยสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้โดยสารที่เป็นคนสูงอายุหรือสว.นะคะ มักจะเห็นคนสูงอายุขึ้นรถเมล์ยังไม่ทันที่จะหาที่นั่งได้หรือยังไม่ได้นั่งลงที่เบาะ ปรากฏว่ารถเมล์ก็รีบออกรถ หรือไม่ก็ระหว่างทางจะเบรกรถกระทันหันบ่อยครั้ง จนทำให้คนสูงอายุต้องหกคะเมนหรือโอนเอนไปมา เป็นต้น
ธุรกิจการขนส่งมวลชนด้วยรถเมล์สมัยก่อนนั้นจะไม่ค่อยเน้นคุณภาพของการบริการ หน้าที่หลักของคนขับรถเมล์ก็คือพาผู้โดยสารจากจุดเอไปจุดบีที่เป็นจุดเป้าหมายแล้วก็หมดหน้าที่ แต่ว่าไม่กี่ปีนี้ วัฒนธรรมการนั่งรถเมล์ในไต้หวันได้รับการพัฒนามากขึ้น จะไม่เหมือนสมัยก่อนที่มองว่าผู้โดยสารก็คือสินค้า จากธุรกิจการขนส่งได้กลายเป็นธุรกิจการบริการด้านการขนส่ง และนอกจากนี้ ผู้โดยสารรถเมล์ก็มีปริมาณเพิ่มขึ้น
หลังจากที่ Vision Project ของหนังสือพิมพ์ยูไนเต็ด เดลี นิวส์ ของไต้หวันได้ทำการสำรวจกรณีการขึ้นรถเมล์ที่คนขับไม่ค่อยเป็นมิตรกันแล้ว ก็หวังผลักดันโครงการ “ปฏิวัติความอ่อนโยนของรถเมล์” โดยทำการสำรวจความรู้สึกของคนที่นั่งรถเมล์ คนขับรถเมล์และผู้ประกอบการรถเมล์เกี่ยวกับหัวข้อที่ว่า ทำไมรถเมล์ของไต้หวันจึงไม่ค่อยอ่อนโยนนัก เพื่อหวังว่าโครงการนี้จะช่วยกระตุ้นให้คนขับรถเมล์ ผู้ประกอบการรถเมล์ ผู้โดยสารและหน่วยงานรัฐบาลที่เกี่ยวข้องร่วมด้วยช่วยกันหาทางออกเพื่อลดอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับการนั่งรถเมล์ เพื่อต้องการให้คนที่นั่งรถเมล์ซึ่งเป็นขนส่งมวลชนมีความปลอดภัยขึ้น ช่วยกันเสริมสร้างวัฒนธรรมการนั่งรถเมล์ที่มีอารยธรรมมากยิ่งขึ้น
เพราะถ้าเปรียบเทียบกับวัฒนธรรมการขึ้นรถไฟฟ้าในไต้หวันแล้ว หลายๆคนในไต้หวันหรือแม้แต่ชาวต่างชาติต่างก็ชื่นชมกับการบริการของรถไฟฟ้า จนกลายเป็นความภาคภูมิใจของคนไต้หวัน อย่างเช่นว่า นั่งรถไฟฟ้าไต้หวันที่ภายในรถไฟฟ้าสะอาดสะอ้าน เวลาขึ้นลงรถไฟฟ้าผู้โดยสารส่วนใหญ่มีมารยาทเข้าแถวเป็นระเบียบเรียบร้อยโดยไม่ค่อยจะแย่งกันขึ้น หรือว่าแย่งที่นั่งกัน เป็นต้น นอกจากประชาชนจะได้รับความสะดวกและรู้สึกถึงความสะอาดเมื่อใช้บริการแล้ว ยังเปลี่ยนแปลงความเคยชินในการโดยสารระบบขนส่งมวลชนจนอาจพูดได้ว่า "ขาดรถไฟฟ้าไม่ได้
สำหรับใครก็ตามที่เป็นคนนั่งรถเมล์ในไต้หวันเป็นประจำก็จะมีความรู้สึกว่ามีการพัฒนาในทางที่ดีขึ้นกว่าสมัยก่อนเยอะมาก ไม่ว่าความสะอาดสะอ้าน รถที่ใหม่มีแอร์ทุกคัน คนขับเป็นมิตรกับผู้โดยสาร แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังจะเห็นภาพที่คนขับรถเมล์ในไต้หวันส่วนหนึ่ง(ต้องบอกว่าส่วนหนึ่งจริงๆค่ะ)ที่ไม่ค่อยเห็นใจผู้โดยสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้โดยสารที่เป็นคนสูงอายุหรือสว.นะคะ มักจะเห็นคนสูงอายุขึ้นรถเมล์ยังไม่ทันที่จะหาที่นั่งได้หรือยังไม่ได้นั่งลงที่เบาะ ปรากฏว่ารถเมล์ก็รีบออกรถ หรือไม่ก็ระหว่างทางจะเบรกรถกระทันหันบ่อยครั้ง จนทำให้คนสูงอายุต้องหกคะเมนหรือโอนเอนไปมา เป็นต้น
ธุรกิจการขนส่งมวลชนด้วยรถเมล์สมัยก่อนนั้นจะไม่ค่อยเน้นคุณภาพของการบริการ หน้าที่หลักของคนขับรถเมล์ก็คือพาผู้โดยสารจากจุดเอไปจุดบีที่เป็นจุดเป้าหมายแล้วก็หมดหน้าที่ แต่ว่าไม่กี่ปีนี้ วัฒนธรรมการนั่งรถเมล์ในไต้หวันได้รับการพัฒนามากขึ้น จะไม่เหมือนสมัยก่อนที่มองว่าผู้โดยสารก็คือสินค้า จากธุรกิจการขนส่งได้กลายเป็นธุรกิจการบริการด้านการขนส่ง และนอกจากนี้ ผู้โดยสารรถเมล์ก็มีปริมาณเพิ่มขึ้น
หลังจากที่ Vision Project ของหนังสือพิมพ์ยูไนเต็ด เดลี นิวส์ ของไต้หวันได้ทำการสำรวจกรณีการขึ้นรถเมล์ที่คนขับไม่ค่อยเป็นมิตรกันแล้ว ก็หวังผลักดันโครงการ “ปฏิวัติความอ่อนโยนของรถเมล์” โดยทำการสำรวจความรู้สึกของคนที่นั่งรถเมล์ คนขับรถเมล์และผู้ประกอบการรถเมล์เกี่ยวกับหัวข้อที่ว่า ทำไมรถเมล์ของไต้หวันจึงไม่ค่อยอ่อนโยนนัก เพื่อหวังว่าโครงการนี้จะช่วยกระตุ้นให้คนขับรถเมล์ ผู้ประกอบการรถเมล์ ผู้โดยสารและหน่วยงานรัฐบาลที่เกี่ยวข้องร่วมด้วยช่วยกันหาทางออกเพื่อลดอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับการนั่งรถเมล์ เพื่อต้องการให้คนที่นั่งรถเมล์ซึ่งเป็นขนส่งมวลชนมีความปลอดภัยขึ้น ช่วยกันเสริมสร้างวัฒนธรรมการนั่งรถเมล์ที่มีอารยธรรมมากยิ่งขึ้น
เพราะถ้าเปรียบเทียบกับวัฒนธรรมการขึ้นรถไฟฟ้าในไต้หวันแล้ว หลายๆคนในไต้หวันหรือแม้แต่ชาวต่างชาติต่างก็ชื่นชมกับการบริการของรถไฟฟ้า จนกลายเป็นความภาคภูมิใจของคนไต้หวัน อย่างเช่นว่า นั่งรถไฟฟ้าไต้หวันที่ภายในรถไฟฟ้าสะอาดสะอ้าน เวลาขึ้นลงรถไฟฟ้าผู้โดยสารส่วนใหญ่มีมารยาทเข้าแถวเป็นระเบียบเรียบร้อยโดยไม่ค่อยจะแย่งกันขึ้น หรือว่าแย่งที่นั่งกัน เป็นต้น นอกจากประชาชนจะได้รับความสะดวกและรู้สึกถึงความสะอาดเมื่อใช้บริการแล้ว ยังเปลี่ยนแปลงความเคยชินในการโดยสารระบบขนส่งมวลชนจนอาจพูดได้ว่า "ขาดรถไฟฟ้าไม่ได้