
Sign up to save your podcasts
Or
ยุคดิจิตอล ห้องสมุดทั้งหลายทั่วโลกหรือแม้แต่ในไต้หวันเองก็ประสบกับความท้าทายทางเทคโนโลยี่สมัยใหม่ ดังนั้น การลงทุนด้านห้องสมุดจึงต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ มีการสรรหาระบบการจัดการที่มีประสิทธิภาพ และการสร้างเนื้อหาข้อมูลดิจิทัล และยังมีปรับเปลี่ยนจากที่มุ่งเน้นการดึงดูดให้คนเข้าห้องสมุด ให้กลายเป็นห้องสมุดที่เดินไปหาผู้ใช้บริการ เป็นต้น และยังมีบางห้องสมุดที่เคยเป็นห้องสมุดเก่า แต่หลังผ่านการบูรณะก็มีการผสมผสานวัฒนธรรมของเก่าๆเข้าไปด้วย ยกตัวอย่างห้องสมุดสาขาเขตซานฉงของนครนิวไทเป หลังบูรณะที่ต้องใช้เวลานาน 11 เดือนและเริ่มเปิดบริการในปลายเดือน ต.ค.(ปี2018)ที่ผ่านมา ได้นำมาเอาแผ่นเสียงเก่าๆที่มีคุณค่าในการย้อนยุคมาจัดแสดงให้ผู้คนเข้าไปชม เข้าไปสัมผัสกับการฟังเพลงเก่าๆจากแผ่นเสียงที่หายากในปัจจุบัน ทั้งนี้ ในอดีตที่เขตซานฉงของนครนิวไทเปเป็นแหล่งผลิตแผ่นเสียงที่สำคัญของไต้หวัน
ห้องสมุดนครนิวไทเป สาขาเขตซานฉง เปิดบริการให้ประชาชนไปฟังแผ่านเสียงเก่าร่วม 10,000 แผ่นฟรี
สำหรับเนื้อที่ของห้องสมุดแห่งนี้มีประมาณ 750 ผิง(2,475 ตร.ม.) จัดที่นั่งให้ฟังแผ่นเสียงแบบสบายๆ มีพื้นที่กว้าง ทั้งนี้เดิมห้องสมุดซานฉงแห่งนี้มีความชำรุดทรุดโทรม หลังคาและผนังน้ำรั่วหลายแห่ง ในที่สุดก็ทำการปิดห้องสมุดและบูรณะใหม่ แต่เนื่องจากเขตซานฉงในอดีตเป็นแหล่งผลิตแผ่นเสียงที่ใหญ่ที่สุดในไต้หวัน เพราะฉะนั้น ทางกรมวัฒนธรรมของนครนิวไทเปจึงคิดว่าน่าจะมีการปรับเปลี่ยนโฉมใหม่ของห้องสมุดให้เป็นสถานบันเทิงสำหรับคนที่สนใจฟังเพลงเก่าจากแผ่นเสียง และยังเป็นการย้อนยุคอีกด้วย และอีกประการหนึ่งคือมีประชาชนจำนวนไม่น้อยที่รักการฟังแผ่นเสียงในสมัยก่อนและมีการเก็บสะสมแผ่นเสียงไว้แล้วก็นำมาบริจาคมากถึง 8,000 แผ่นอีกด้วย ซึ่งในวันที่ทำพิธีเปิดห้องสมุดแห่งนี้ นายจูลี่หลุน ผู้ว่านครนิวไทเปคนปัจจุบันพูดด้วยเสียงหัวเราะเพื่อเชิญชวนประชาชนมาฟังแผ่นเสียงหรือชมภาพ ถ่ายภาพกับแผ่นเสียงในอดีตว่า “ อย่ามัวแต่อยู่ในบ้านอ่านหนังสือพิมพ์หรือดูแต่ข่าวการเมืองเพียงอย่างเดียวเลย มาเพลิดเพลินที่ห้องสมุดแล้วก็ฟังแผ่นเสียงกันดีกว่า”
นายจูลี่หลุน ผู้ว่าการนครนิวไทเป ทดลองฟังแผ่นเสียงเก่า
เขตซานฉงเขตนครนิวไทเป ในยุคปี 1960-1980 ที่นี่ถือเป็นเมืองที่เคยผลิตแผ่นเสียงที่มากที่สุดในไต้หวัน ในยุคนั้นประมาณ 90% ของแผ่นเสียงล้วนผลิตจากเมืองซานฉง นอกจากนี้ เมื่อประมาณ 8 ปีก่อนคือประมาณปี 2010 นักจัดรายการดนตรีทางวิทยุที่ชื่อเสียงชื่อนายสวี่เฉิง (許誠) เสียชีวิตลง ญาติของเขาได้บริจาคแผ่นเสียงที่เก็บสะสมไว้ประมาณ 8,000 แผ่นบริจาคให้กับห้องสมุดนครนิวไทเป ในจำนวนแผ่นเสียงที่บริจาคนั้นก็มีหลายๆแผ่นเป็นแผ่นเสียงที่หาซื้อไม่ได้แล้ว เพราะฉะนั้น จึงเป็นโอกาสดีที่ทางห้องสมุดนครนิวไทเปจึงทำการปรับเปลี่ยนโฉมของห้องสมุดให้มีพื้นที่สำหรับเก็บแผ่นเสียงเก่าๆ รวมทั้งมีพื้นที่สำหรับบริการประชาชนที่สนใจฟังแผ่นเสียงอีกด้วย ถือว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากเลยทีเดียว
ประชาชนที่ชื่นชอบเสียงดนตรีแบบคลาสสิคสามารถไปใช้บริการฟรีได้
ยุคดิจิตอล ห้องสมุดทั้งหลายทั่วโลกหรือแม้แต่ในไต้หวันเองก็ประสบกับความท้าทายทางเทคโนโลยี่สมัยใหม่ ดังนั้น การลงทุนด้านห้องสมุดจึงต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ มีการสรรหาระบบการจัดการที่มีประสิทธิภาพ และการสร้างเนื้อหาข้อมูลดิจิทัล และยังมีปรับเปลี่ยนจากที่มุ่งเน้นการดึงดูดให้คนเข้าห้องสมุด ให้กลายเป็นห้องสมุดที่เดินไปหาผู้ใช้บริการ เป็นต้น และยังมีบางห้องสมุดที่เคยเป็นห้องสมุดเก่า แต่หลังผ่านการบูรณะก็มีการผสมผสานวัฒนธรรมของเก่าๆเข้าไปด้วย ยกตัวอย่างห้องสมุดสาขาเขตซานฉงของนครนิวไทเป หลังบูรณะที่ต้องใช้เวลานาน 11 เดือนและเริ่มเปิดบริการในปลายเดือน ต.ค.(ปี2018)ที่ผ่านมา ได้นำมาเอาแผ่นเสียงเก่าๆที่มีคุณค่าในการย้อนยุคมาจัดแสดงให้ผู้คนเข้าไปชม เข้าไปสัมผัสกับการฟังเพลงเก่าๆจากแผ่นเสียงที่หายากในปัจจุบัน ทั้งนี้ ในอดีตที่เขตซานฉงของนครนิวไทเปเป็นแหล่งผลิตแผ่นเสียงที่สำคัญของไต้หวัน
ห้องสมุดนครนิวไทเป สาขาเขตซานฉง เปิดบริการให้ประชาชนไปฟังแผ่านเสียงเก่าร่วม 10,000 แผ่นฟรี
สำหรับเนื้อที่ของห้องสมุดแห่งนี้มีประมาณ 750 ผิง(2,475 ตร.ม.) จัดที่นั่งให้ฟังแผ่นเสียงแบบสบายๆ มีพื้นที่กว้าง ทั้งนี้เดิมห้องสมุดซานฉงแห่งนี้มีความชำรุดทรุดโทรม หลังคาและผนังน้ำรั่วหลายแห่ง ในที่สุดก็ทำการปิดห้องสมุดและบูรณะใหม่ แต่เนื่องจากเขตซานฉงในอดีตเป็นแหล่งผลิตแผ่นเสียงที่ใหญ่ที่สุดในไต้หวัน เพราะฉะนั้น ทางกรมวัฒนธรรมของนครนิวไทเปจึงคิดว่าน่าจะมีการปรับเปลี่ยนโฉมใหม่ของห้องสมุดให้เป็นสถานบันเทิงสำหรับคนที่สนใจฟังเพลงเก่าจากแผ่นเสียง และยังเป็นการย้อนยุคอีกด้วย และอีกประการหนึ่งคือมีประชาชนจำนวนไม่น้อยที่รักการฟังแผ่นเสียงในสมัยก่อนและมีการเก็บสะสมแผ่นเสียงไว้แล้วก็นำมาบริจาคมากถึง 8,000 แผ่นอีกด้วย ซึ่งในวันที่ทำพิธีเปิดห้องสมุดแห่งนี้ นายจูลี่หลุน ผู้ว่านครนิวไทเปคนปัจจุบันพูดด้วยเสียงหัวเราะเพื่อเชิญชวนประชาชนมาฟังแผ่นเสียงหรือชมภาพ ถ่ายภาพกับแผ่นเสียงในอดีตว่า “ อย่ามัวแต่อยู่ในบ้านอ่านหนังสือพิมพ์หรือดูแต่ข่าวการเมืองเพียงอย่างเดียวเลย มาเพลิดเพลินที่ห้องสมุดแล้วก็ฟังแผ่นเสียงกันดีกว่า”
นายจูลี่หลุน ผู้ว่าการนครนิวไทเป ทดลองฟังแผ่นเสียงเก่า
เขตซานฉงเขตนครนิวไทเป ในยุคปี 1960-1980 ที่นี่ถือเป็นเมืองที่เคยผลิตแผ่นเสียงที่มากที่สุดในไต้หวัน ในยุคนั้นประมาณ 90% ของแผ่นเสียงล้วนผลิตจากเมืองซานฉง นอกจากนี้ เมื่อประมาณ 8 ปีก่อนคือประมาณปี 2010 นักจัดรายการดนตรีทางวิทยุที่ชื่อเสียงชื่อนายสวี่เฉิง (許誠) เสียชีวิตลง ญาติของเขาได้บริจาคแผ่นเสียงที่เก็บสะสมไว้ประมาณ 8,000 แผ่นบริจาคให้กับห้องสมุดนครนิวไทเป ในจำนวนแผ่นเสียงที่บริจาคนั้นก็มีหลายๆแผ่นเป็นแผ่นเสียงที่หาซื้อไม่ได้แล้ว เพราะฉะนั้น จึงเป็นโอกาสดีที่ทางห้องสมุดนครนิวไทเปจึงทำการปรับเปลี่ยนโฉมของห้องสมุดให้มีพื้นที่สำหรับเก็บแผ่นเสียงเก่าๆ รวมทั้งมีพื้นที่สำหรับบริการประชาชนที่สนใจฟังแผ่นเสียงอีกด้วย ถือว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากเลยทีเดียว
ประชาชนที่ชื่นชอบเสียงดนตรีแบบคลาสสิคสามารถไปใช้บริการฟรีได้