ที่นี่ไต้หวัน

ที่นี่ไต้หวัน – มหัศจรรย์การบริหารร้านสะดวกซื้อแฟมิลี่มาร์ท


Listen Later

          ช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ร้านสะดวกซื้อแฟมิลี่มาร์ทจากเดิมในปี 1988 ที่เริ่มเปิดสาขาในไต้หวันมีเพียง 8 แห่ง และในช่วง 6 ปีแรกของการตั้งสาขาในไต้หวันขาดทุน 700 ล้านเหรียญไต้หวัน จนกระทั่งปัจจุบันเติบโตมีสาขาเพิ่มเป็น 3,143 แห่ง ยอดประกอบการในปี 2016 สูงถึง 60,500 ล้านเหรียญไต้หวัน กลายเป็นธุรกิจที่มีความหลากหลาย ไม่ว่าในเรื่องของระบบการจัดการขนส่งสินค้าหรือโลจิสติกส์ อาหารและเครื่องดื่ม ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเงิน รวมทั้งขนมปัง อาหารสด เป็นต้น กลายเป็นร้านสะดวกซื้อที่มีสาขามากอันดับ 2 จนทำให้ 7-11 ยักษ์ใหญ่อันดับ 1 ในวงการร้านสะดวกซื้อในไต้หวันต้องจับตามอง

          นาย เยี่ยหรงถิง (葉榮廷) ปธ.บริษัทแฟมิลี่มาร์ทในไต้หวันกล่าวว่า ในยุคแรกของการบุกเบิกของแฟมิลี่มาร์ทในไต้หวันก็เพื่อความอยู่รอด แต่ต่อมาได้พยายามที่จะไล่ตามคู่แข่งขัน ซึ่งต้องบอกว่าได้ใช้เวลาไม่นานนัก จนปัจจุบันทางแฟมิลี่มาร์ทได้แต่เปรียบเทียบกับตัวเองโดยไม่ต้องไปเปรียบเทียบกับใคร เพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆไม่ขาดสายเพื่อให้ได้สิ่งที่ผู้บริโภคต้องการ และเพื่อต้องการให้สโลแกนของแบรนด์แฟมิลี่มาร์ทเป็นจริงอย่างที่ว่า “全家就是你家” แฟมิลี่มาร์ทคือบ้านของคุณ

          แฟมิลี่มาร์ทสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆได้อย่างไร? ว่าไปแล้ว ผู้บริโภคโดยทั่วไปมีความประทับใจต่อร้านสะดวกซื้อสิ่งแรกไม่ใช่ว่าเป็นเรื่องของการจัดวางของขายในร้านที่มีความหลากหลาย แต่กลับเป็นเรื่องของความคิดสร้างสรรค์กับสิ่งใหม่ๆ ต่างหาก แฟมิลี่มาร์ทพัฒนาเส้นทางที่มีความแตกต่างกันจากสินค้าที่นำมาจัดเรียงขายบนหิ้งจากจำนวน 2,500 รายการให้มีเอกลักษณ์ของตัวเอง โดยมีการจำแนกเป็น 3 หัวข้อใหญ่ๆคือ

  1. วางอุปสรรคให้สูงเพื่อสร้างบรรทัดฐานใหม่ การที่แฟมิลี่มาร์สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆนั้นก็ไม่เพียงแต่ออกสินค้าตัวใหม่ๆเกิดขึ้น แต่สิ่งสำคัญคือการวางรากฐานเพื่อทำให้เกิดสิ่งใหม่ๆ อย่างเช่นมีระบบ App ของสมาชิก จะต้องมีระบบอิเลคทรอนิกส์การซื้อขายระหว่างสาขาที่สมบูรณ์ อย่างน้อยที่สุด ระบบจะต้องอัพเดทบันทึกการบริโภคใหม่ตลอดเวลา ระบบการคิดบัญชีจะต้องติดต่อกับร้านสาขาค้าที่ขายสินค้าออกไปและรายละเอียดการรับสินค้า เป็นต้น
  2. มีการร่วมมือกับผู้ประกอบการต้นน้ำหรือว่าแหล่งที่มาของวัตถุดิบ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ยกตัวอย่าง มันเทศ ไอศครีมหรือว่าสินค้าที่เป็นซีรี่ย์ และเพื่อเป็นการรับประกันคุณภาพสินค้า แฟมิลี่มาร์ทจำเป็นต้องติดต่อกับผู้ประกอบการต้นน้ำโดยตรง แต่ถ้าหากเอาแต่ขายสินค้าอย่างเดียว ก็จะเผชิญกับความท้าทายที่คล้ายๆกับผู้ประกอบการรายย่อย ที่อาจถูกแทนที่ได้ง่าย
  3. ยกระดับการครองใจผู้บริโภค ยกตัวอย่าง ตั้งแต่ปี 2013 ที่ทางแฟมิลี่มาร์ทนำไอศครีมโคนมาขายในร้านสาขา จนต่อมาในปี 2014 เว็บไซด์ของแฟมิลี่มาร์ทดังทะลุเกินคาด จนแซงหน้า 7-11 เสียอีก และต่อมาก็ดังในเรื่องของการขายมันเทศ กาแฟเหล้าเบย์ลี่ส์ หรือแม้แต่ร่วมกับบริษัทอี้เหม่ย ยักษ์ใหญ่วงการอาหารในไต้หวัน เป็นต้น
  4. บรรยากาศภายในร้านแฟมิลี่มาร์ทของไต้หวัน

    ...more
    View all episodesView all episodes
    Download on the App Store

    ที่นี่ไต้หวันBy รจรัตน์ ยนต์สุวรรณ, Rti