
Sign up to save your podcasts
Or
การติดตั้งเครื่องควบคุมอุณหภูมิอัตโนมัติไว้ในฟาร์มเลี้ยงไก่งวง
ที่ผ่านมาอากาศหนาวเย็นกว่าปกติ การเลี้ยงไก่งวงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ ถ้าดูแลไม่ดีจะติดไข้หวัดนกง่าย เพื่อป้องกันลมหนาวที่ส่งผลการเจริญเติบโตและป้องกันไข้หวัดนก ที่ตำบลเป๋ยกั่งเมืองหยุนหลิน มีผู้ประกอบการเลี้ยงไก่งวงทุ่มเงินล้านเหรียญไต้หวัน จัดตั้งระบบควบคุมอุณหภูมิอัตโนมัติในฟาร์มเลี้ยง ราวกับว่าไก่งวงอยู่ในคฤหาสน์ที่แสนสุขสบาย ซึ่งจากประสบการณ์ของผู้เลี้ยงพบว่า อุณหภูมิที่เหมาะต่อการเจริญเติบโตของไก่งวงมากที่สุดคือประมาณ 20 องศาเซลเซียส ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ ลมหนาวพัดเข้าสู่ไต้หวันหลายระลอก ทำให้บริเวณชายฝั่งทะเลแถบเมืองหยุนหลินอากาศหนาวเย็นติดต่อกันหลายวัน บางวันอุณหภูมิต่ำสุดอยู่ที่ 8-9 องศาเซลเซียส ถึงกระนั้นก็ตาม ไก่งวงที่เลี้ยงอยู่ในฟาร์มกลับไม่ได้สัมผัสกับลมหนาวจากนอกฟาร์มแม้แต่น้อย
ฟาร์มเลี้ยงไก่งวงที่มีการติดตั้งเครื่องควบคุมอุณหภูมิอัตโนมัติ
เฉินปิ่งเหยียน(陳炳炎) ประธานสมาคมพัฒนาไก่งวงไต้หวันและยังเป็นเจ้าของฟาร์มเลี้ยงไก่งวงกว่า 4,000 ตัวบอกว่า ตนเองได้ทุ่มเงินกว่าล้านเหรียญไต้หวันในการจัดตั้งระบบควบคุมอุณหภูมิอัตโนมัติภายในฟาร์มเลี้ยง ไม่ว่าอากาศจะหนาวเหน็บหรือว่าร้อนมากน้อยแค่ไหน ก็จะตั้งอุณหภูมิอยู่ที่ 20 องศา การตั้งอุณหภูมิระดับนี้ ไม่เพียงแต่ไก่งวงมีสุขภาพดี อัตราการเจริญเติบโตยังสูงกว่า 90% ด้วย ส่วนในช่วงหน้าร้อนจะเปิดแอร์ควบคู่กับม่านน้ำ เพื่อลดอุณหภูมิในฟาร์ม แต่เมื่อถึงหน้าหนาวก็จะใช้พัดลมร้อนเพิ่มความอบอุ่น ซึ่งในปีนี้การระบาดของโควิด 19 ทุเลาลงกว่าปีที่แล้ว หลังจากที่ภัตตาคาร ร้านอาหาร เปิดให้ลูกค้าเข้าไปรับประทานในร้านได้ ส่งผลให้ราคาไก่งวงขายได้ราคาดี ปัจจุบันมีการปรับราคาเป็นกิโลกรัมละ 150 เหรียญไต้หวัน จากปีที่แล้วอยู่ที่กิโลกรัมละ 140 เหรียญไต้หวัน แม้อุปกรณ์ติดตั้งปรับอุณหภูมิไว้ในฟาร์มจะแพง แต่ก็คุ้มต่อการลงทุน นอกจากนี้ หลังคาของฟาร์มยังมีการติดตั้งโซลาเซลล์ ซึ่งถือว่าคุ้มค่ามาก ราวกับใช้ไฟฟ้าฟรี เพราะไฟฟ้าจากโซลาเซลล์เพียงพอต่อการใช้งาน
แผงควบคุมอุณหภูมิอัตโนมัติ
นอกจากนี้ ยังมีอีกหนึ่งตัวอย่างของการทุ่มงบประมาณมหาศาลเพื่อปรับสภาพแวดล้อมของการเลี้ยงไก่งวง ซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลซีโข่ว(溪口)เมืองเจียอี้ ไช่คุนเฉิน(蔡坤宸) ลูกเกษตรกรเลี้ยงไก่งวงเมืองเจียอี้ ปัจจุบันอายุ 29 ปี หลังเรียนจบคณะวิศวะสิ่งแวดล้อมสุขภาพและความปลอดภัยได้ทำงานด้านจักสานจากไม้ไผ่ แต่เมื่อ 6 ปีที่แล้ว กลับบ้านเกิดรับกิจการเลี้ยงไก่งวงแบบดั้งเดิมของที่บ้าน เขาได้ใช้ความรู้ด้านวิศวะที่เรียนมาประยุกต์ใช้กับการเลี้ยงไก่งวง ทุ่มงบประมาณนับ 10 ล้านเหรียญไต้หวันเพื่อปรับปรุงฟาร์มเลี้ยง ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทดสอบสภาพแวดล้อม ปรับอุณหภูมิ ความชื้น การทำเช่นนี้นอกจากเป็นการยกระดับคุณภาพสิ่งแวดล้อมการเลี้ยงแล้ว ยังลดภาระด้านแรงงานที่ดูแลอีกด้วย เพราะที่ผ่านมา คุณพ่อใช้วิธีเลี้ยงไก่งวงแบบดั้งเดิม ต้องคอยระวังและดูแลตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากการเลี้ยงไก่งวงที่ใช้ระบบอัจฉริยะแล้ว ไช่คุนเฉินที่มีหัวการค้า ยังได้พัฒนาผลิตภัณฑ์เนื้อไก่งวงแปรรูป เพราะว่าช่วง 2 ปีที่ผ่านมาในช่วงการระบาดของโควิด 19 ที่ค่อนข้างรุนแรง ส่งผลทำให้ขายเนื้อไก่งวงสดลดลง 30-50% เนื่องจากไก่งวงที่แปรรูปไม่มีส่วนผสมของมันหมู จึงได้รับความนิยมจากชาวมุสลิมที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในไต้หวัน มีการเพิ่มช่องทางการขายโดยส่งไปถึงที่บ้าน ทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้น 20% เขาบอกว่าในอนาคตจะพัฒนาผลิตภัณฑ์ไก่งวงที่สามารถรับประทานได้เลย เพื่อเพิ่มมูลค่าของธุรกิจไก่งวง
ข้าวมันไก่งวงเมืองเจียอี้
การเลี้ยงไก่งวงในไต้หวัน มีประวัติการเลี้ยงมานานกว่า 100 ปีแล้ว มีการนำเข้ามาเลี้ยง ตั้งแต่ยุคที่ชาวฮอลแลนด์ปกครองไต้หวัน ในอดีตส่วนใหญ่จะเลี้ยงไก่งวงไว้ที่ลานหลังบ้าน เลี้ยงเป็นรายได้เสริม แต่ว่าปัจจุบันการเลี้ยงไก่งวงมีความเชี่ยวชาญเป็นแบบมืออาชีพ ปริมาณการเลี้ยงไก่งวงของไต้หวันในปัจจุบันประมาณปีละ 160,000-180,000 ตัว มีฟาร์มเลี้ยงประมาณ 85 ครัวเรือน 95% ของเนื้อไก่งวงสดจะส่งขายร้านอาหาร ภัตตาคาร แม้ต้นทุนการเลี้ยงสูงกว่านำเข้าจากต่างประเทศ แต่รสชาติอร่อย เนื้อนุ่ม หวาน เป็นที่ต้องการของร้านอาหาร ไก่งวงถือเป็นเนื้อสัตว์สีขาว มีประโยชน์กับร่างกาย มีคุณค่าทางโภชนาการสูง แต่น่าเสียดายที่หลายคนไม่ทราบ คนทั่วไปที่คำนึงถึงสุขภาพมักจะเลือกบริโภคเนื้อสัตว์สีขาว เช่น ไก่งวง,ไก่,เป็ด,ห่าน หรือปลา นอกจากนี้ ไก่งวงยังมีวิตามิน เกลือแร่ และแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกายมากมาย อย่างเช่น มีแคลเซียมสูง โปรตีนสูง แร่ธาตุสูง โซเดียมต่ำ ไขมันต่ำ ให้พลังงานต่ำ คอเลสเตอรอลต่ำ เหมาะกับคนที่ออกกำลังกาย หรือคนที่เพาะกายต้องการเพิ่มกล้ามเนื้อด้วย
ไก่งวงอบที่เลี้ยงในไต้หวัน
การติดตั้งเครื่องควบคุมอุณหภูมิอัตโนมัติไว้ในฟาร์มเลี้ยงไก่งวง
ที่ผ่านมาอากาศหนาวเย็นกว่าปกติ การเลี้ยงไก่งวงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ ถ้าดูแลไม่ดีจะติดไข้หวัดนกง่าย เพื่อป้องกันลมหนาวที่ส่งผลการเจริญเติบโตและป้องกันไข้หวัดนก ที่ตำบลเป๋ยกั่งเมืองหยุนหลิน มีผู้ประกอบการเลี้ยงไก่งวงทุ่มเงินล้านเหรียญไต้หวัน จัดตั้งระบบควบคุมอุณหภูมิอัตโนมัติในฟาร์มเลี้ยง ราวกับว่าไก่งวงอยู่ในคฤหาสน์ที่แสนสุขสบาย ซึ่งจากประสบการณ์ของผู้เลี้ยงพบว่า อุณหภูมิที่เหมาะต่อการเจริญเติบโตของไก่งวงมากที่สุดคือประมาณ 20 องศาเซลเซียส ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ ลมหนาวพัดเข้าสู่ไต้หวันหลายระลอก ทำให้บริเวณชายฝั่งทะเลแถบเมืองหยุนหลินอากาศหนาวเย็นติดต่อกันหลายวัน บางวันอุณหภูมิต่ำสุดอยู่ที่ 8-9 องศาเซลเซียส ถึงกระนั้นก็ตาม ไก่งวงที่เลี้ยงอยู่ในฟาร์มกลับไม่ได้สัมผัสกับลมหนาวจากนอกฟาร์มแม้แต่น้อย
ฟาร์มเลี้ยงไก่งวงที่มีการติดตั้งเครื่องควบคุมอุณหภูมิอัตโนมัติ
เฉินปิ่งเหยียน(陳炳炎) ประธานสมาคมพัฒนาไก่งวงไต้หวันและยังเป็นเจ้าของฟาร์มเลี้ยงไก่งวงกว่า 4,000 ตัวบอกว่า ตนเองได้ทุ่มเงินกว่าล้านเหรียญไต้หวันในการจัดตั้งระบบควบคุมอุณหภูมิอัตโนมัติภายในฟาร์มเลี้ยง ไม่ว่าอากาศจะหนาวเหน็บหรือว่าร้อนมากน้อยแค่ไหน ก็จะตั้งอุณหภูมิอยู่ที่ 20 องศา การตั้งอุณหภูมิระดับนี้ ไม่เพียงแต่ไก่งวงมีสุขภาพดี อัตราการเจริญเติบโตยังสูงกว่า 90% ด้วย ส่วนในช่วงหน้าร้อนจะเปิดแอร์ควบคู่กับม่านน้ำ เพื่อลดอุณหภูมิในฟาร์ม แต่เมื่อถึงหน้าหนาวก็จะใช้พัดลมร้อนเพิ่มความอบอุ่น ซึ่งในปีนี้การระบาดของโควิด 19 ทุเลาลงกว่าปีที่แล้ว หลังจากที่ภัตตาคาร ร้านอาหาร เปิดให้ลูกค้าเข้าไปรับประทานในร้านได้ ส่งผลให้ราคาไก่งวงขายได้ราคาดี ปัจจุบันมีการปรับราคาเป็นกิโลกรัมละ 150 เหรียญไต้หวัน จากปีที่แล้วอยู่ที่กิโลกรัมละ 140 เหรียญไต้หวัน แม้อุปกรณ์ติดตั้งปรับอุณหภูมิไว้ในฟาร์มจะแพง แต่ก็คุ้มต่อการลงทุน นอกจากนี้ หลังคาของฟาร์มยังมีการติดตั้งโซลาเซลล์ ซึ่งถือว่าคุ้มค่ามาก ราวกับใช้ไฟฟ้าฟรี เพราะไฟฟ้าจากโซลาเซลล์เพียงพอต่อการใช้งาน
แผงควบคุมอุณหภูมิอัตโนมัติ
นอกจากนี้ ยังมีอีกหนึ่งตัวอย่างของการทุ่มงบประมาณมหาศาลเพื่อปรับสภาพแวดล้อมของการเลี้ยงไก่งวง ซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลซีโข่ว(溪口)เมืองเจียอี้ ไช่คุนเฉิน(蔡坤宸) ลูกเกษตรกรเลี้ยงไก่งวงเมืองเจียอี้ ปัจจุบันอายุ 29 ปี หลังเรียนจบคณะวิศวะสิ่งแวดล้อมสุขภาพและความปลอดภัยได้ทำงานด้านจักสานจากไม้ไผ่ แต่เมื่อ 6 ปีที่แล้ว กลับบ้านเกิดรับกิจการเลี้ยงไก่งวงแบบดั้งเดิมของที่บ้าน เขาได้ใช้ความรู้ด้านวิศวะที่เรียนมาประยุกต์ใช้กับการเลี้ยงไก่งวง ทุ่มงบประมาณนับ 10 ล้านเหรียญไต้หวันเพื่อปรับปรุงฟาร์มเลี้ยง ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทดสอบสภาพแวดล้อม ปรับอุณหภูมิ ความชื้น การทำเช่นนี้นอกจากเป็นการยกระดับคุณภาพสิ่งแวดล้อมการเลี้ยงแล้ว ยังลดภาระด้านแรงงานที่ดูแลอีกด้วย เพราะที่ผ่านมา คุณพ่อใช้วิธีเลี้ยงไก่งวงแบบดั้งเดิม ต้องคอยระวังและดูแลตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากการเลี้ยงไก่งวงที่ใช้ระบบอัจฉริยะแล้ว ไช่คุนเฉินที่มีหัวการค้า ยังได้พัฒนาผลิตภัณฑ์เนื้อไก่งวงแปรรูป เพราะว่าช่วง 2 ปีที่ผ่านมาในช่วงการระบาดของโควิด 19 ที่ค่อนข้างรุนแรง ส่งผลทำให้ขายเนื้อไก่งวงสดลดลง 30-50% เนื่องจากไก่งวงที่แปรรูปไม่มีส่วนผสมของมันหมู จึงได้รับความนิยมจากชาวมุสลิมที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในไต้หวัน มีการเพิ่มช่องทางการขายโดยส่งไปถึงที่บ้าน ทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้น 20% เขาบอกว่าในอนาคตจะพัฒนาผลิตภัณฑ์ไก่งวงที่สามารถรับประทานได้เลย เพื่อเพิ่มมูลค่าของธุรกิจไก่งวง
ข้าวมันไก่งวงเมืองเจียอี้
การเลี้ยงไก่งวงในไต้หวัน มีประวัติการเลี้ยงมานานกว่า 100 ปีแล้ว มีการนำเข้ามาเลี้ยง ตั้งแต่ยุคที่ชาวฮอลแลนด์ปกครองไต้หวัน ในอดีตส่วนใหญ่จะเลี้ยงไก่งวงไว้ที่ลานหลังบ้าน เลี้ยงเป็นรายได้เสริม แต่ว่าปัจจุบันการเลี้ยงไก่งวงมีความเชี่ยวชาญเป็นแบบมืออาชีพ ปริมาณการเลี้ยงไก่งวงของไต้หวันในปัจจุบันประมาณปีละ 160,000-180,000 ตัว มีฟาร์มเลี้ยงประมาณ 85 ครัวเรือน 95% ของเนื้อไก่งวงสดจะส่งขายร้านอาหาร ภัตตาคาร แม้ต้นทุนการเลี้ยงสูงกว่านำเข้าจากต่างประเทศ แต่รสชาติอร่อย เนื้อนุ่ม หวาน เป็นที่ต้องการของร้านอาหาร ไก่งวงถือเป็นเนื้อสัตว์สีขาว มีประโยชน์กับร่างกาย มีคุณค่าทางโภชนาการสูง แต่น่าเสียดายที่หลายคนไม่ทราบ คนทั่วไปที่คำนึงถึงสุขภาพมักจะเลือกบริโภคเนื้อสัตว์สีขาว เช่น ไก่งวง,ไก่,เป็ด,ห่าน หรือปลา นอกจากนี้ ไก่งวงยังมีวิตามิน เกลือแร่ และแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกายมากมาย อย่างเช่น มีแคลเซียมสูง โปรตีนสูง แร่ธาตุสูง โซเดียมต่ำ ไขมันต่ำ ให้พลังงานต่ำ คอเลสเตอรอลต่ำ เหมาะกับคนที่ออกกำลังกาย หรือคนที่เพาะกายต้องการเพิ่มกล้ามเนื้อด้วย
ไก่งวงอบที่เลี้ยงในไต้หวัน