
Sign up to save your podcasts
Or
กัวจางเซิ่ง(郭章盛) เกษตรกรผู้ประสบความสำเร็จในการปลูกกาแฟบนภูเขาสูงของไต้หวัน อาศัยอยู่ที่หมู่บ้านสือปี้ ตำบลกู่เคิง เมืองหยุนหลิน ตอนอายุ 19 ปี ประมาณปี 1980 ช่วงที่เดินทางลงจากภูเขาเหอเปา(荷苞山) มักจะได้ได้ยินผู้อาวุโสบอกว่า ในยุคญี่ปุ่นปกครองไต้หวัน ที่ภูเขาเหอเปาเคยเป็นแหล่งปลูกกาแฟที่สำคัญ แม้ว่าปัจจุบันถูกแทนที่ด้วยป่าไผ่หมดแล้ว แต่ยังไม่ตายใจ ยังอยากจะรู้ว่ามีต้นกาแฟแก่ๆ หลงเหลืออยู่หรือไม่ ดังนั้นจึงปีนขึ้นไปที่ยอดเขาเหอเปา พบว่ามีต้นกาแฟหลงเหลืออยู่จริง หลังจากขุดไปปลูกที่บ้านผ่านไปหลายปี ต้นกาแฟที่ปลูกได้ติดผลเป็นจำนวนมาก แต่ตอนนั้นไม่มีความรู้เรื่องการอบและบดกาแฟเลย จึงเก็บเมล็ดกาแฟที่ได้มากะเทาะเปลือก จากนั้นใช้กระทะผัดกับข้าวคั่วให้สุก แล้วใช้ปลายมีดอีโต้ทุบเมล็ดกาแฟให้ละเอียด ใส่ถ้วยชงด้วยน้ำร้อนดื่ม โดยไม่ได้ผ่านการกรอง ซึ่งเขาจำได้ว่าตอนที่ดื่มในปากยังเต็มไปด้วยกากกาแฟและกลิ่นไหม้ จึงกลายเป็นเรื่องจดจำไม่เคยลืมกับความหอมอร่อยของกาแฟถ้วยแรกในชีวิต
กาแฟพันธุ์หลากหลายปลูกในสวนของคุณกัวจางเซิ่ง ได้แก่ เกอิชา(ซ้าย) คาทูร่า(กลาง) พาคามาร่า(ขวา)
ช่วงที่เขาปลูกกาแฟได้ ที่ภูเขาอาลีซานก็ยังไม่ได้ริเริ่มปลูกกาแฟเลย และยังไม่รู้ว่าที่ระดับความสูงเหนือน้ำทะเล 1,200-1,300 เมตร อยู่ระหว่างละติจูด 25 องศาเหนือใต้ เป็นพื้นที่ที่เหมาะในการปลูกกาแฟคุณภาพดีที่สุดของไต้หวันด้วย กล่าวได้ว่า คุณกัวจางเซิ่ง กลายเป็นบุคคลแรกของไต้หวันที่ปลูกกาแฟบนภูเขาสูงแบบไม่รู้ตัว อย่างไรก็ตาม เขาได้ก้าวสู่วงการธุรกิจกาแฟอย่างจริงจังอีกครั้งเมื่อผ่านไปแล้วอีก 20 ปี ทั้งนี้ ต้นกาแฟที่ปลูกในยุคแรกถูกขุดทิ้งไปหมด เพราะตอนนั้นผู้คนในไต้หวันนิยมดื่มชา ขายชาได้ราคาดี จึงหันมาปลูกชาขาย จนกระทั่งหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหว 921 (วันที่ 21 กันยายน ปี 1999) รัฐบาลมีนโยบายฟื้นฟูการผลิตในท้องถิ่น ผลักดันกาแฟให้เป็น 1 ผลิตภัณฑ์ 1 ตำบล เขาเลยคิดว่าตัวเองเคยมีประสบการณ์ปลูกกาแฟสำเร็จมาก่อน จึงตัดสินใจออกจากงานการขับรถแม็คโคร ปรับปรุงสวนชาให้เป็นสวนกาแฟทั้งหมด
คุณกัวจางเซิ่งใช้วิธีต่อกิ่ง ร่นเวลาการปลูกจาก 5 ปี เหลือ 2 ปี
หลังปลูกได้เมล็ดกาแฟจำนวนมากแล้ว โกดังในบ้านเต็มไปด้วยเมล็ดกาแฟจนไม่มีพื้นที่เก็บ จนต้องเอาไปฝากที่บ้านญาติ ตอนนั้นรู้สึกผิดหวังมาก เคยคิดละทิ้งการปลูกกาแฟ และยังถูกเพื่อนและญาติต่อว่าด้วย ไม่คาดคิดในปี 2005 สหกรณ์เกษตรตำบลกู่เคิงจัดงานแข่งขันประกวดกาแฟคุณภาพดี เขาได้ส่งกาแฟเข้าประกวดปรากฏว่าได้รับรางวัลชนะเลิศ หลังจากสร้างชื่อเสียงแล้ว ทำให้การขายกาแฟในระยะยาวดีขึ้น เขามีความมั่นใจที่จะก้าวต่อไป และเริ่มขยายพื้นที่การเพาะปลูก รวมทั้งจัดตั้งแบรนด์กาแฟของตัวเอง นอกจากนี้ ในปี 2020 ยังได้รับรองว่าเป็นผู้ผลิตกาแฟคุณภาพดีที่มีคะแนนสูงสุดจากสมาคมกาแฟพิเศษ(Specialty Coffee Association)ที่การันตีโดยสถาบันเพื่อพัฒนาคุณภาพกาแฟ(CQI-Coffee Qualtiy Institute)
ลานตากเมล็ดกาแฟ
ยุคแรกที่ผู้คนเริ่มคลั่งไคล้ดื่มกาแฟทิปิก้า(Typica) คุณกัวจางเซิ่งบอกว่า คนอื่นยอมจ่ายเงินสูงเพื่อซื้อมาดื่ม แต่ตัวเขาเองยอมจ่ายเงินสูงเพื่อซื้อมาปลูก หลังปลูกติดต่อกัน 4 ปีก็ปลูกไม่ขึ้น เหตุเพราะซื้อเมล็ดพันธุ์ที่ผ่านการกะเทาะเปลือกแล้ว อย่างไรก็ตาม เขาไม่ตายใจ ไปหาผู้นำเข้าเมล็ดกาแฟที่ไม่ผ่านการกะเทาะเปลือกมาปลูก เมื่อปลูกได้รุ่นแรกแล้วก็พบว่ากาแฟแต่ละต้นหน้าตาไม่เหมือนกันอีก เหตุเพราะยีนพืชดั้งเดิมไม่เหมือนกัน ทำให้รสชาติต่างกัน จากนั้นทดลองแยกปลูกอย่างละเอียด จนกลายเป็นผู้นำด้านสายพันธุ์ทิปิก้าในไต้หวัน เขายอมซื้อต้นกาแฟครั้งละ 2,000 ต้นเพื่อปลูกและคัดเลือกพันธุ์ดีที่สุด ทำการทดลองปลูกจริง เขาเสมือนนักวิทยาศาสตร์ที่อยู่ในสวนกาแฟ ทดลองหลายๆ ครั้ง ส่วนในเรื่องขั้นตอนหลังการผลิตเขาก็มีความแม่นยำ ยุคแรกที่กระบวนหลังการผลิตกาแฟของไต้หวันยังไม่สุกงอม เขาต้องรวบรวมข้อมูลจากแหล่งปลูกทั้งในและต่างประเทศ จากนั้นทำการทดลอง และค้นหาปัญหาจากการประกวดกาแฟ หากไม่ได้รับรางวัลก็จะซื้อกาแฟของผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศมาดื่มดู หรือลองดื่มกาแฟมีชื่อที่ต่างๆ หรือซื้อกาแฟนำเข้ากิโลละกว่า 10,000 เหรียญไต้หวันมาทดลองดื่ม เพื่อเรียนรู้ข้อดีของคนอื่น
ผลิตภัณฑ์กาแฟของคุณกัวจางเซิ่ง เป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภค
กัวจางเซิ่ง(郭章盛) เกษตรกรผู้ประสบความสำเร็จในการปลูกกาแฟบนภูเขาสูงของไต้หวัน อาศัยอยู่ที่หมู่บ้านสือปี้ ตำบลกู่เคิง เมืองหยุนหลิน ตอนอายุ 19 ปี ประมาณปี 1980 ช่วงที่เดินทางลงจากภูเขาเหอเปา(荷苞山) มักจะได้ได้ยินผู้อาวุโสบอกว่า ในยุคญี่ปุ่นปกครองไต้หวัน ที่ภูเขาเหอเปาเคยเป็นแหล่งปลูกกาแฟที่สำคัญ แม้ว่าปัจจุบันถูกแทนที่ด้วยป่าไผ่หมดแล้ว แต่ยังไม่ตายใจ ยังอยากจะรู้ว่ามีต้นกาแฟแก่ๆ หลงเหลืออยู่หรือไม่ ดังนั้นจึงปีนขึ้นไปที่ยอดเขาเหอเปา พบว่ามีต้นกาแฟหลงเหลืออยู่จริง หลังจากขุดไปปลูกที่บ้านผ่านไปหลายปี ต้นกาแฟที่ปลูกได้ติดผลเป็นจำนวนมาก แต่ตอนนั้นไม่มีความรู้เรื่องการอบและบดกาแฟเลย จึงเก็บเมล็ดกาแฟที่ได้มากะเทาะเปลือก จากนั้นใช้กระทะผัดกับข้าวคั่วให้สุก แล้วใช้ปลายมีดอีโต้ทุบเมล็ดกาแฟให้ละเอียด ใส่ถ้วยชงด้วยน้ำร้อนดื่ม โดยไม่ได้ผ่านการกรอง ซึ่งเขาจำได้ว่าตอนที่ดื่มในปากยังเต็มไปด้วยกากกาแฟและกลิ่นไหม้ จึงกลายเป็นเรื่องจดจำไม่เคยลืมกับความหอมอร่อยของกาแฟถ้วยแรกในชีวิต
กาแฟพันธุ์หลากหลายปลูกในสวนของคุณกัวจางเซิ่ง ได้แก่ เกอิชา(ซ้าย) คาทูร่า(กลาง) พาคามาร่า(ขวา)
ช่วงที่เขาปลูกกาแฟได้ ที่ภูเขาอาลีซานก็ยังไม่ได้ริเริ่มปลูกกาแฟเลย และยังไม่รู้ว่าที่ระดับความสูงเหนือน้ำทะเล 1,200-1,300 เมตร อยู่ระหว่างละติจูด 25 องศาเหนือใต้ เป็นพื้นที่ที่เหมาะในการปลูกกาแฟคุณภาพดีที่สุดของไต้หวันด้วย กล่าวได้ว่า คุณกัวจางเซิ่ง กลายเป็นบุคคลแรกของไต้หวันที่ปลูกกาแฟบนภูเขาสูงแบบไม่รู้ตัว อย่างไรก็ตาม เขาได้ก้าวสู่วงการธุรกิจกาแฟอย่างจริงจังอีกครั้งเมื่อผ่านไปแล้วอีก 20 ปี ทั้งนี้ ต้นกาแฟที่ปลูกในยุคแรกถูกขุดทิ้งไปหมด เพราะตอนนั้นผู้คนในไต้หวันนิยมดื่มชา ขายชาได้ราคาดี จึงหันมาปลูกชาขาย จนกระทั่งหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหว 921 (วันที่ 21 กันยายน ปี 1999) รัฐบาลมีนโยบายฟื้นฟูการผลิตในท้องถิ่น ผลักดันกาแฟให้เป็น 1 ผลิตภัณฑ์ 1 ตำบล เขาเลยคิดว่าตัวเองเคยมีประสบการณ์ปลูกกาแฟสำเร็จมาก่อน จึงตัดสินใจออกจากงานการขับรถแม็คโคร ปรับปรุงสวนชาให้เป็นสวนกาแฟทั้งหมด
คุณกัวจางเซิ่งใช้วิธีต่อกิ่ง ร่นเวลาการปลูกจาก 5 ปี เหลือ 2 ปี
หลังปลูกได้เมล็ดกาแฟจำนวนมากแล้ว โกดังในบ้านเต็มไปด้วยเมล็ดกาแฟจนไม่มีพื้นที่เก็บ จนต้องเอาไปฝากที่บ้านญาติ ตอนนั้นรู้สึกผิดหวังมาก เคยคิดละทิ้งการปลูกกาแฟ และยังถูกเพื่อนและญาติต่อว่าด้วย ไม่คาดคิดในปี 2005 สหกรณ์เกษตรตำบลกู่เคิงจัดงานแข่งขันประกวดกาแฟคุณภาพดี เขาได้ส่งกาแฟเข้าประกวดปรากฏว่าได้รับรางวัลชนะเลิศ หลังจากสร้างชื่อเสียงแล้ว ทำให้การขายกาแฟในระยะยาวดีขึ้น เขามีความมั่นใจที่จะก้าวต่อไป และเริ่มขยายพื้นที่การเพาะปลูก รวมทั้งจัดตั้งแบรนด์กาแฟของตัวเอง นอกจากนี้ ในปี 2020 ยังได้รับรองว่าเป็นผู้ผลิตกาแฟคุณภาพดีที่มีคะแนนสูงสุดจากสมาคมกาแฟพิเศษ(Specialty Coffee Association)ที่การันตีโดยสถาบันเพื่อพัฒนาคุณภาพกาแฟ(CQI-Coffee Qualtiy Institute)
ลานตากเมล็ดกาแฟ
ยุคแรกที่ผู้คนเริ่มคลั่งไคล้ดื่มกาแฟทิปิก้า(Typica) คุณกัวจางเซิ่งบอกว่า คนอื่นยอมจ่ายเงินสูงเพื่อซื้อมาดื่ม แต่ตัวเขาเองยอมจ่ายเงินสูงเพื่อซื้อมาปลูก หลังปลูกติดต่อกัน 4 ปีก็ปลูกไม่ขึ้น เหตุเพราะซื้อเมล็ดพันธุ์ที่ผ่านการกะเทาะเปลือกแล้ว อย่างไรก็ตาม เขาไม่ตายใจ ไปหาผู้นำเข้าเมล็ดกาแฟที่ไม่ผ่านการกะเทาะเปลือกมาปลูก เมื่อปลูกได้รุ่นแรกแล้วก็พบว่ากาแฟแต่ละต้นหน้าตาไม่เหมือนกันอีก เหตุเพราะยีนพืชดั้งเดิมไม่เหมือนกัน ทำให้รสชาติต่างกัน จากนั้นทดลองแยกปลูกอย่างละเอียด จนกลายเป็นผู้นำด้านสายพันธุ์ทิปิก้าในไต้หวัน เขายอมซื้อต้นกาแฟครั้งละ 2,000 ต้นเพื่อปลูกและคัดเลือกพันธุ์ดีที่สุด ทำการทดลองปลูกจริง เขาเสมือนนักวิทยาศาสตร์ที่อยู่ในสวนกาแฟ ทดลองหลายๆ ครั้ง ส่วนในเรื่องขั้นตอนหลังการผลิตเขาก็มีความแม่นยำ ยุคแรกที่กระบวนหลังการผลิตกาแฟของไต้หวันยังไม่สุกงอม เขาต้องรวบรวมข้อมูลจากแหล่งปลูกทั้งในและต่างประเทศ จากนั้นทำการทดลอง และค้นหาปัญหาจากการประกวดกาแฟ หากไม่ได้รับรางวัลก็จะซื้อกาแฟของผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศมาดื่มดู หรือลองดื่มกาแฟมีชื่อที่ต่างๆ หรือซื้อกาแฟนำเข้ากิโลละกว่า 10,000 เหรียญไต้หวันมาทดลองดื่ม เพื่อเรียนรู้ข้อดีของคนอื่น
ผลิตภัณฑ์กาแฟของคุณกัวจางเซิ่ง เป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภค